สุขภาพดีชีวีปลอดภัย โรงเรียนเทศบาล3 ชุมชนวัดจันทราวาส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นายสุวัฒน์ ทะเลน้อย
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าเพื่อ1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่องสุขภาพดีชีวีปลอดภัยโรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาสกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่องสุขภาพดีชีวีปลอดภัยโรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3)ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้เรื่องสุขภาพดีชีวีปลอดภัย 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้เรื่องสุขภาพดีชีวีปลอดภัยโรงเรียนเทศบาล3ชุมชนวัดจันทราวาส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 34 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้เรื่องสุขภาพดีชีวีปลอดภัย โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม คือ รู้เรื่องโรค ,อหิวาต์ ,ไข้เลือดออก ,หวัดสายพันธุ์ใหม่,ไข้หวัดนก, เอดส์, ภัยธรรมชาติและสารเสพติด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสุขภาพดีชีวีปลอดภัย โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.28 ถึง 0.76 ค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.47 ถึง 0.78 และ ค่าความเชื่อมั่น 0.88 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ระหว่าง 0.32 ถึง 0.76 และ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การหาดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Samples) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน