ประเพณีการแต่งงาน
ประเพณีการแต่งงาน
พิธีแต่งงานแบบไทยภาค กลาง ถือเป็นพิธีแต่งงานที่คุ้นเคยกันอยู่เป็นอย่างดี เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วความนิยมแต่งงานตามลำดับแบบภาคกลางกันอยู่แล้ว ซึ่ง ขึ้นตอนของพิธีการ ของพิธีแต่งงานแบบภาคกลาง จะเริ่มต้นจาก หนุ่มสาวคู่หนึ่ง ที่ตกลงปลงใจจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน และพร้อมที่จะเข้าพิธีวิวาห์อย่างเป็นทางการ จะต้องมีการตกลงสินสอด รวมถึงฤกษ์งานแต่งงาน ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นชีวิตคู่ ซึ่งมีลำดับพิธีการตามแบบฉบับภาคกลางดังนี้
พิธีสงฆ์ : พิธีการแรกเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลในงานแต่งงานของคู่บ่าวสาว ซึ่งเมื่อเสร็จพิธีสงฆ์แล้วลำดับต่อไป คือ พิธีการแห่ขบวนขันหมาก
พิธีการตั้งขบวนแห่ขันหมาก แห่ขันหมาก รับขันหมาก : ในปัจจุบันนิยมจัดพิธีหมั้นและพิธีแต่งในวันเดียว ดังนั้น จึงมีการรวบรัดเอา ขันหมากหมั้น และ ขันหมากแต่ง เข้าไว้ด้วยกัน โดยจะที่มีทั้ง ขันหมากเอก และ ขันหมากโท และเมื่อตั้งขบวนขันหมากเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่จะมีขบวนกลองยาวนำหน้าเพื่อสร้างความครึกครื้น โดยขั้นตอนนี้ต้องให้เจ้าสาวเตรียมตัวรอขันหมากบนบ้าน ส่วนเจ้าบ่าวก็จะไปบริเวณที่จัดขบวนขันหมากเตรียมตัวรอฤกษ์เคลื่อนขบวนมา บ้านเจ้าสาว จากนั้นขบวนขันหมากก็จะเตรียมตัวเข้าไปในบ้าน ซึ่งจะต้องผ่านด่าน พิธีกั้นประตูทั้ง 3 คือ ประตูนาก ประตูเงิน และประตูทอง โดยเจ้าบ่าวจะเตรียมซองไว้ เพื่อเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนขอผ่านประตู หลังจากนี้ถือเป็นพิธีการช่วงต่อไป
พิธีสู่ขอและพิธีนับสินสอด : ขั้นตอนต่อไป คือ การนำของจากขบวนขันหมากมาจัดวางเรียงกัน จากนั้นเฒ่าแก่ฝ่ายชายจะเริ่มการเจรจาสู่ขอ เมื่อตกลงยินยอมยกลูกสาวให้ ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวจะนำพานสินสอดออกมาเปิด เพื่อเข้าสู่พิธีนับสินสอด หลังจากนับสินสอดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะช่วยกันโปรยถั่ว งา ข้าวเปลือก ข้าวตอก ดอกไม้ ใบเงิน ใบทอง ที่บรรจุมาในพานขันหมากเอกลงบนสินสอด แล้วเข้าสู่พิธีพิธีสวมแหวนหมั้น
พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพร : บ่าว สาวนั่งที่ตั่งเพื่อทำพิธีรดน้ำสังข์ ซึ่งเจ้าสาวต้องนั่งด้านซ้ายของเจ้าบ่าวเสมอ ประธานในพิธีคล้องพวงมาลัย สวมมงคลแฝดบนศีรษะของบ่าวสาว พร้อมกับเจิมที่หน้าผากมงคลแฝด จากนั้นประธานหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพรให้บ่าวสาว ตามด้วยพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ผู้ร่วมงานที่เป็นผู้ใหญ่ และเชิญแขกอื่น ๆ เข้ารดน้ำตามลำดับความอาวุโส
ถือเป็นความรู้อีกหนึ่งอย่างสำหรับ ขั้นตอนการจัดงานแต่งงาน นอกจากจะมีวัตถุประสงค์การจัดงานแต่งงานเพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว อีกหนึ่งอย่างก็เพื่อเป็นแนวทางของคู่บ่าวสาวมือใหม่ สำหรับการปฏิบัติที่ถูกต้องในวันวิวาห์ตามแต่ละภาค
จัดทำโดย น.ส. สุราลัย เสถียรกิจอำไพ ม.5/8 เลขที่ 29