รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่นกล ชั้นมธยมศึกษาปีที่ 5
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์
เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางรจนา ใจห้าว
หน่วยงาน โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11
ปีที่ศึกษา 2557
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมที่เน้นทักระบวนการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากเรียนด้วยชุดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จังหวัด สุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวนทั้งสิ้น 128 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 46 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยชุดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.43 ถึง 0.73 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.93 และแบบวัดความพึงพอใจต่อชุดการสอนที่เน้นกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent samples) ผลการวิเคราะห์ชุดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ โดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.56 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 0.84 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความพึงพอใจโดยใช้สูตรการหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient : ) เท่ากับ 0.85
ผลการศึกษาพบว่า
ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการศึกษาพบว่า ชุดการสอนที่เน้นกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาได้สร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 78.59/77.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75
2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมที่เน้นกระบวนแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนน () เท่ากับ 17.90 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 4.05 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนน () เท่ากับ 31.17 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.83 โดยเมื่อเปรียบเทียบกับค่า (t - dependent) จากตารางที่ระดับ .01 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.462 ได้ค่า เท่ากับ 18.74 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมโดยรวมคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.73 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.93 ถึง 4.40 อยู่ในระดับมากทุกรายการ โดยรายการที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ รายการที่ 2 ชุดกิจกรรมช่วยให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้