หลากหลายกลายเป็นหนึ่ง
หลากหลายกลายเป็นหนึ่ง
ปัญหาความขัดแย้งเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้อยู้แล้วในสังคมทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง หรือชนชั้นล่าง ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยตั้งแต่เรื่องเล็กๆในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงเรื่องใหญ่ระดับชาติ ซึ่งปัญหาที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กแต่กลับส่งผลกระทบต่อคนในชาติทั้งหมดก็คือปัญหาจากเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากคนมองว่าเป็นเรื่องเล็กก็จะเห็นว่าไม่มีอะไร แต่หากมองว่าเป็นเรื่องใหญ่ ก็สามารถลุกลามจนถึงขั้นเกิดสงครามกันได้ ตัวอย่างเช่น สงครามครูเสด เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางศาสนา ระหว่างศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 เนื่องจากชาวคริสต์ต้องการยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และ เมืองคอนสแตนติโนเปิลหรือเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกีในปัจจุบัน แต่ในตอนนั้นชาวมุสลิมเป็นเจ้าของดินแดนศักดิ์นั้นอยู่ ดินแดนแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์ เกิดการสู้รบกันมากมายหลายครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งย่อมเกิดความสูญเสียมากมายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ถึงแม้ว่าสงครามครูเสดจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนความรู้และวิทยาการระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออก แต่ความเลวร้ายจากสงครามย่อมมีมากกว่าประโยชน์ เพราะชีวิตที่สูญเสียไปย่อมไม่มีวันเอากลับคืนมาได้
บทสรุปของสงครามในครั้งนั้นคือกองทัพมุสลิมสามารถยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืน จากชาวคริสต์ได้ และขับไล่ผู้รุกรานต่างดินแดนออกไป ซึ่งยังคงดำรงชาติมุสลิมสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงมีสงครามย่อยๆเกิดขึ้นเป็นระยะหลังจากจบสงครามครูเสด ลามมาเป็นปัญหาทางเชื้อชาติในปัจจุบัน
เห็นได้ชัดว่าปัญหาความขัดแย้งไม่เคยส่งผลดีกับใคร ดังนั้น เราจึงต้องมีวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งหรือลดการเกิดความขัดแย้งให้ได้มากที่สุด ดังเช่นการเกิดของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดความขัดแย้งที่อาจจะก่อให้เกิดสงครามที่จะส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลก จึงมีประเทศต่างๆทั่วโลกร่วมเป็นสมาชิก เพราะไม่มีประเทศไหนต้องการให้เกิดสงครามทั้งนั้น แต่สำหรับความขัดแย้งที่ไมใช่ความขัดแย้งระดับชาติแล้วก็ต้องมีมาตรการในการสร้างสันติสุข สร้างกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันซึ่งเรื่องหลักๆก็ต้องเน้นในเรื่องต่างๆดังนี้
1.เรื่องศาสนา
ต้องให้สิทธิเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา ไม่มีการบังคับว่าคนประเทศนี้ สัญชาตินี้จะต้องนับถือศาสนาอะไร หรือต้อไม่มีการบังคับให้นับถือศาสนาตามศาสนาที่ผู้นำประเทศขณะนั้นนับถือและศริทธาอยู่ เพราะจะเป็นการลบหลู่ความเชื่อของอีกศาสนานึง และเป็นการไม่ให้เกียรติกันอย่างสูงสุด ซึ่งจะก่อให้เกิดความไม่พอใจ และอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งระดับชาติได้
2.สิทธิขั้นพื้นฐาน
มนุษย์ทุกคนเกิดมาไม่ว่าจะในตระกูลชนชั้นสูงหรือประชาชนธรรมดาทุกคนก็ล้วนแล้วแต่เป็นมนุษย์ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จึงต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเท่าเทียมกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ในการได้รับการศึกษา สิทธิ์ในการจะมีชีวิตอยู่ สิทธิ์ในการเลือกคู่ครอง หรือสิทธิ์ในการได้รับการรักาาพยาบาลขั้นพื้นฐาน ก็ควรจะเท่าเทียมกัน ไม่ใช่คนนี้รวยกว่าจะได้สิทธิพิเศษ หรือคนที่จนกว่าห้ามเข้ารับการรักษาหรือไม่มีสิทธิที่จะเรียน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่สร้างความไม่เป็นธรรมทางสังคม ซึ่งเมื่อความไม่พอใจถูกเก็บสะสมเอาไว้มากๆจะเกิดการลุกฮืออย่างรุนแรง ดังที่มีตัวอย่างให้เป็นในประวิติศสาตร์โลกทั่วไป เช่นการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็มาจากชนชั้นขุนนางที่กดขี่ชนชั้นล่างมากเกินไปจนเกิดการลุกฮืออย่างรุนแรง เนื่องจากชนชั้นสูงมีประชากรเพียงแค่หยิบมือ เมื่อเทียบกับชนชั้นล่างที่มีมากกว่าหลายเท่า หากชนชั้นล่างไม่พอใจอย่างรุนแรง เหตุการณ์ก็จะบานปลายจนแก้ไขไม่ได้
ดังนั้นสิทธิขั้นพื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะสร้างสันติภาพและสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้ทุกเชื้อชาติและ ระดับชนชั้นในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ปรองดอง และลดการเกิดความขัดแย้งได้
3.การเจรจาอย่างสันติวิธี
หากเกิดความขัดแย้งกันขึ้นจนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องมีการเจรจากันด้วยสันติวิธี ด้วยเหตุผล ห้ามใช้อารมณ์ในการเจรจาเด็ดขาด เพราะการใช้อารมณ์มีแต่จะทำให้เรื่องปัญหานั้นแย่ลงไปอีก เมื่ออารมณ์ปะทะกับอารมณ์ ต่อให้จะเป็นปัญหาเล็กๆ ก็สามารถนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่กว่าและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้
4.สติ การมีสติรู้ตัว รู้ถูก รู้ผิด รู้ชอบเป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่ง หากคนเรารู้ว่าสิ่งไหนดี ก็จะทำสิ่งนั้น หากรู้ว่าสิ่งไหนไม่ดีและส่งผลกระทบที่ไม่ดีก็จะหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับสิ่งนั้น ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้ลดความขัดแย้งกันที่ง่ายที่สุดที่คนเราสามารถทำได้ ดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไร เพียงแค่รู้ผิด ชอบ ชั่ว ดี ก็จะทำให้สังคมหน้าอยู่มากขึ้นอีกเยอะ และสามารถอยู่ร่วมกันกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่เบียดเบียนกัน
ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าวไปเป็นเพียงแค่แนวทางที่จะรักษาความสงบสุขของสังคมได้เท่านั้น ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการปฏิบัติ หลีกเลี่ยงอย่างไรความขัดแย้งก็คงต้องเกิดขึ้น แต่ถ้าหากทุกคนร่วมใจกันคิดดี ทำดี ต่อให้เราอยู่ที่ไหน หากเราไม่ไประรานใคร ก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข