รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโน
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์)
ผู้รายงาน นางมนต์ฤทัย วงศ์โต
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนนครนอก) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 122 คน ประกอบด้วย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 36 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 34 คน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 จำนวน 22 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนนครนอก) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้จำนวน 9 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน แบบทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนและหลัง จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพและวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานประดิษฐ์) มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.21/86.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สูงกว่าก่อนเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก