ชุดการเรียนเพื่อฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน Basic Grammar ชั้น ม.2 เรื่อง Adverb(คำกริยาวิเศษณ์)
Test (แบบทดสอบ)
Directions: Choose the correct answer in each item.
1. The driver drives a car very .…… .
a. fast b. fastly c. faster d. the fastest
2. Supa returns home ….... she can.
a. as quick as b. as quickly as
c. quicker than d. more quickly as
3. My sister types ……. my brother.
a. well than b. slow than
c. very good than d. faster than
4. Patrick works ….… than his boss does.
a. more carefully b. more careful
c. carefulier d. the most carfully
5. She sat ….... in an armchair in the hall.
a. comfortably b. comfortable
c. more comfortably d. the most comfortable
6. My parents went ……. .
a. last week to town b. week last to town
c. to town last week d. town to last week
7. We ….. our friends in Brunei every year.
a. visit usually b. visit oftenly
c. oftenly visit d. usually visit
8. Though he is thin, he can work …… .
a. hard b. hardly c. more hard d. harder
9. She smiles …… when she sees her boyfriend.
a. happy b. happyly c. happily d. very happy
10. Which is incorrect?
a. Shannon comes early at school.
b. Mary speaks Thai very well.
c. Alice works hardly for her family.
d. I always finish my homework at 5 p.m.
Adverb (คำกริยาวิเศษณ์) ทำหน้าที่ขยายคำกริยา ขยายคำวิเศษณ์หรือคุณศัพท์ รวมทั้งขยายคำกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน โดยแบ่งเป็น
ชนิดต่างๆ ดังนี้
1. Adverb of Manner คือ คำกริยาวิเศษณ์บอกอาการหรือท่าทาง ใช้ขยายกริยาเพื่อบอกให้รู้ว่าการกระทำนั้นมีลักษณะอย่างไร ได้แก่
happily อย่างมีความสุข |
well อย่างดี |
fast อย่างรวดเร็ว |
quickly อย่างรวดเร็ว |
carefully อย่างระมัดระวัง |
late อย่างล่าช้า |
beautifully อย่างสวยงาม |
attentively อย่างตั้งใจ |
greedily อย่างตะกละ |
1.) ถ้าประโยคไม่มีกรรมให้วาง adv. ไว้ข้างหลังกริยา เช่น
They walk slowly. เขาเดินอย่างช้าๆ
Her eyes shine brightly. ดวงตาของเธอส่องสว่าง/เจิดจ้า
2.) ถ้าประโยคนั้นมีกรรมให้วาง adv. ไว้ข้างหลังกรรม เช่น
I can speak Japanese well. ฉันพูดภาษาญี่ปุ่นได้อย่างดี
She sings the song beautifully. หล่อนร้องเพลงนั้นได้อย่างไพเราะ
* Vocabulary: Adverb of Manner *
angrily อย่างโมโห His face looks angrily.
|
beautifully อย่างสวยงาม She dresses beautifully. |
carefully อย่างระมัดระวัง Please cut carefully. |
correctly อย่างถูกต้อง He lifts correctly. |
easily อย่างง่ายดาย Do it easily. |
greedily อย่างตะกละ He eats greedily.
|
happily อย่างมีความสุข Please smile happily.
|
hard อย่างขยันขันแข็ง He works hard.
|
heavily อย่างหนัก It rains heavily.
|
high อย่างสูง A bird flies high.
|
honestly อย่างซื่อสัตย์ Honestly, he returns a purse to a woman. |
hungrily อย่างหิวโหย He eats hungrily.
|
* Vocabulary: Adverb of Manner *
late สาย He comes late at 11.30.
|
lazily อย่างเกียจคร้าน Joey sits lazily.
|
loudly อย่างดัง He announces loudly.
|
neatly อย่างเรียบร้อย They wear clothes neatly. |
patiently อย่างอดทน They wait patiently for the bus. |
politely อย่างสุภาพ Micky says politely.
|
quickly อย่างรวดเร็ว She runs quickly.
|
quietly อย่างเงียบๆ Please walk quietly. . |
safely อย่างปลอดภัย Winai drives safely.
|
sleepily ง่วงนอน Liza looks sleepily.
|
slowly อย่างช้าๆ They walk slowly.
|
thoughtfully อย่างรอบคอบ Doctors work thoughtfully.
|
2. Adverb of Place คือ คำกริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ ได้แก่
at ที่นี่ somewhere ที่ไหนสักแห่ง here ที่นี่
around รอบๆ near ใกล้ far ไกล
there ที่นั่น inside ข้างใน outside ข้างนอก
3. Adverb of Frequency คือ คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ว่าทำสิ่งนี้สิ่งนั้นบ่อย หรือ ถี่มากน้อยแค่ไหน ได้แก่
always สมํ่าเสมอ เป็นประจำ |
generally โดยทั่วๆไป |
frequency, often บ่อยๆ |
seldom, rarely ไม่ค่อยจะ |
usually ตามปกติ |
hardly ever แทบจะไม่ |
sometimes บางครั้ง
|
never ไม่เคยเลย
|
|
|
การวางตำแหน่งของ Adverb of Frequency
1.) ถ้าประโยคนั้นมี verb to be หรือ verb to have ให้วางคำกริยาวิเศษณ์ไว้หลัง verb to be และ verb to have เช่น
She is always late. หล่อนสายเป็นประจำ
He has never traveled by train. เขาไม่เคยเดินทางโดยรถไฟ
2.) วางไว้หน้าคำกริยาแท้ เช่น
Don often goes to the park. Don ไปที่สวนสาธารณะบ่อยๆ
*** ระดับความถี่และความบ่อยของ Adverb of Frequency ***
always 100%
usually 80%
often 60%
sometimes 40%
rarely, hardly 20%
never 0%
4. Adverb of Time คือ คำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา ว่าได้กระทำกริยาอาการเมื่อไร ได้แก่
all day ตลอดทั้งวัน already เรียบร้อยแล้ว before ก่อน
everyday ทุกวัน finally ในที่สุด for a while สักครู่
later ต่อไป last ครั้งที่ผ่านมา now เดี๋ยวนี้
soon ในไม่ช้า this afternoon บ่ายวันนี้ today วันนี้
tonight คืนนี้ tomorrow พรุ่งนี้ yesterday เมื่อวาน
5. Adverb of Degree คือ คำกริยาวิเศษณ์บอกปริมาณและระดับของความเข้มข้นของการกระทำอาการต่างๆ ได้แก่
almost, nearly เกือบจะ too มาก (เกินไป) very มาก quite มาก (ทีเดียว)
enough เพียงพอ hardly ไม่ใคร่จะ rather ค่อนข้างจะ only เพียงแค่
การวางตำแหน่งของ Adverb of Degree
คำกริยาวิเศษณ์บอกปริมาณและระดับของความเข้มข้นของการกระทำอาการต่างๆ จะวางไว้ข้างหน้าคำวิเศษณ์ (adjective), คำกริยาวิเศษณ์ (adverb) หรือคำกริยา (verb) ที่มันขยาย
1.) Adverb ที่ลงท้ายด้วย -ly เป็นคำที่แสดงความเห็นของผู้พูดเกี่ยวกับการกระทำนั้น นิยมวางไว้ในประโยค เช่น
They have carefully considered all of the possibilities. พวกเขาได้พิจารณาความเป็นไปได้ทั้งหมดอย่างระมัดระวัง
She hardly hadany time to talk to him. หล่อนแทบจะไม่มีเวลาคุยกับเขา
และอาจจะวางAdverbไว้ข้างหน้าประโยคได้เมื่อต้องการเน้น Adverb นั้น เช่น
Patiently, we waited for the show. พวกเราได้รอคอยการแสดงนั้นอย่างอดทน
2.) ประโยคอุทานที่ขึ้นต้นด้วย How ให้วาง Adverbs of Manner ไว้ข้างหลัง How เช่น
How quickly the time passes. เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วอะไรเช่นนี้
How hard she works! หล่อนทำงานอย่างหนักอะไรเช่นนี้
3.) ในประโยค passive voice ถ้ามีกริยาวิเศษณ์มาขยาย ให้วางไว้ข้างหน้ากริยาช่อง 3 เสมอ เช่น
The report was well written. รายงานนั้นถูกเขียนไว้อย่างดี
4.) ในการใช้ภาษาอย่างเป็นทางการ จะไม่วางกริยาวิเศษณ์ตามหลัง to ใน infinitive
เช่น We wantedto consider the situation carefully. พวกเราต้องการที่จะพิจารณาสถานการณ์นั้นอย่างระมัดระวัง
ในกรณีที่ประโยคหนึ่งมีคำกริยาวิเศษณ์อยู่หลายชนิดให้เรียงลำดับดังนี้ คือ
1. Manner 2. Place 3. Frequency 4. Time
*ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำกริยาวิเศษณ์*
1.) บางประโยคจะมีคำกริยาวิเศษณ์ที่บ่งบอกจุดประสงค์ (Purpose) ของการกระทำ เช่น
We swim to keep in shape. พวกเราว่ายน้ำ เพื่อรักษาหุ่นหรือทรวดทรง
2.) คำที่มีรูปเหมือนกันเป็นได้ทั้งคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ ได้แก่
early เร็ว, แต่เช้า far ไกล |
high สูง late ช้า, สาย, ดึก |
fast เร็ว hard ยาก, แข็ง |
pretty มากทีเดียว |
ประโยคที่มีคำกริยาวิเศษณ์ |
ประโยคที่มีคำวิเศษณ์ |
He runs fast. |
He is a fast runner. |
She works hard. |
She is a hard worker. |
3.) คำกริยาวิเศษณ์ส่วนใหญ่มาจากคำคุณศัพท์ และจะเติม ly ท้ายคำ มีหลักการดังนี้
3.1) นำคำคุณศัพท์มาเติม ly ได้เลย เช่น beautiful-beautifully อย่างสวยงาม, quiet-quietly อย่างเงียบๆ, wonderful-wonderfully อย่างยอดเยี่ยม
3.2) คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย e ให้ตัด e ออก แล้วเติม ly เช่น true-truly อย่างแท้จริง
3.3) คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม ly เช่น happy-happily อย่างเป็นสุข, angry-angrily อย่างโมโห
3.4) คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย le ให้ตัด e ออก แล้วเติม y เช่น simple- simply อย่างง่ายๆ หรืออย่างธรรมดา,
possible-possibly เป็นไปได้
หมายเหตุ คำคุณศัพท์บางตัวลงท้ายด้วย ly อยู่แล้ว เช่น friendly เป็นมิตร, lonely โดดเดี่ยว, lovelyน่ารัก, ugly น่าเกลียด, silly โง่
หรืองี่เง่า มีหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ได้เลย
*การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ (adverb หรือ adv.)*
การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ เพื่อแสดงลักษณะอากัปกริยาของสิ่งนั้นหรือบุคคลนั้นกับอีกของสิ่งหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ว่ามีมากกว่าหรือ
น้อยกว่ากันอย่างไร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้น เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบคำวิเศษณ์ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบขั้นธรรมดาหรือขั้นที่เท่ากัน (Positive Degree) ใช้รูปประโยคบอกเล่า คือ as+adv.+as
และประโยคปฏิเสธ คือ not as (หรือ so)+ adv.+ as เช่น
2. การเปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative Degree) ใช้รูป adv.+ than ในขั้นกว่า โดยเติม er ข้างหลังคำกริยาวิเศษณ์สั้นๆ
ไม่เกิน 2 พยางค์ เช่น higher สูงกว่า, narrower แคบกว่า, faster เร็วกว่า
*ถ้าคำกริยาวิเศษณ์คำใดมีพยางค์เดียวออกเสียงสั้น ให้เพิ่มพยัญชนะตัวท้ายก่อน แล้วเติม er ทำให้เป็นขั้นกว่า เช่น bigger ใหญ่กว่า,
hotter ร้อนกว่า
*ถ้ามากกว่า 3 พยางค์ขึ้นไปให้เติม more (มากกว่า) หรือ less (น้อยกว่า) ไว้ข้างหน้าคำกริยาวิเศษณ์ แล้วตามด้วย than ทำให้เป็นขั้นกว่า
หมายเหตุ
1.) การเปรียบเทียบขั้นกว่า มักใช้ more หรือ less กับคำกริยาวิเศษณ์ที่ลงท้ายด้วย ly เช่น
ขั้นปกติ ขั้นกว่า
slowly more/less slowly
quickly more/less quickly
2.) กรณีที่คำกริยาวิเศษณ์มีรูปเดียวกับคำวิเศษณ์ มักเติม er ต่อท้ายคำ และตามด้วย than ในการเปรียบเทียบขั้นกว่า เช่น
ขั้นปกติ ขั้นกว่า
early earlier
fast faster
hard harder
late later
3.) คำกริยาวิเศษณ์บางคำในรูปขั้นกว่าและขั้นสุดจะเปลี่ยนรูปไปจากกฎเกณฑ์ คือ ไม่เติม er หรือ est เช่น
ขั้นปกติ ขั้นกว่า ขั้นสุด
badly worst worst
far farther/further farthest/furthest
little(น้อย) less least
much(มาก) more most
well better best
3. การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด (Superlative Degree) ใช้รูปadv.+ est หรือเปลี่ยนรูปไปจากกฎเกณฑ์ และใช้รูป
most + adv. ที่มากกว่า 2 พยางค์ขึ้นไป เช่น
Mike played worst of all. (คำกริยาวิเศษณ์เปลี่ยนรูป ซึ่งคำเดิมคือ badly)
She sang best in the group. (คำกริยาวิเศษณ์เปลี่ยนรูป ซึ่่งคำเดิมคือ well)
He works most carefully. (คำกริยาวิเศษณ์ที่มากกว่า 2 พยางค์)
ข้อสังเกต คำกริยาวิเศษณ์บางคำมี 1 หรือ 2 พยางค์ เช่น tired, clearly, friendly ใช้ most ในการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด เช่น
Lewis works most tired of all. Lewis ทำงาน อย่างเหน็ดเหนื่อยที่สุด
หมายเหตุ - คำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด ไม่ต้องใส่ the นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์
- การเปรียบเทียบขั้นสูงสุดของกริยาวิเศษณ์ ที่มีรูปเดียวกับ คำวิเศษณ์ จะเติม est หลังคำนั้นๆ เช่น hardest, fastest, latest
*โปรดทำแบบทดสอบอีกครั้ง แล้วตรวจความถูกต้องจากเฉลย*
เฉลย (Answer Key)
1. a. 2. b. 3. d. 4. a. 5. a.
6. c. 7. d. 8. a. 9. c 10. c.