รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ด้วยคำประพันธ์ ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง ชั้น ป.5 / ชาตรี บุญมี
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า 1) เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริม การอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยคำประพันธ์ ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยคำประพันธ์ ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยคำประพันธ์ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยคำประพันธ์ ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษารายงานประกอบด้วย หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยคำประพันธ์ ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม คือ เล่มที่ 1 เรื่องประวัติความเป็นมากลุ่มบ้านนาหมื่นศรี เล่มที่ 2 เรื่อง เรื่องเล่าเครื่องจักสานบ้านโต๊ะบัน เล่มที่ 3 เรื่อง เรื่องเล่าปลาฉิ้งฉ้าง เล่มที่ 4 เรื่อง เรื่องเล่าไม้เทพทาโร เล่มที่ 5 เรื่องเรื่องเล่ามีดพร้านาป้อ และเล่มที่ 6 เรื่อง เรื่องเล่าหมูย่างเมืองตรัง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.25 ถึง 0.87 ค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.25 ถึง 0.71 และค่าความเชื่อมั่น 0.88 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ระหว่าง 0.46 ถึง 0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การหาดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Samples) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยคำประพันธ์ ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.52/81.47 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยคำประพันธ์ ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยคำประพันธ์ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7162 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.7162 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.62
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน เพื่อการเรียนรู้ ด้วยคำประพันธ์ ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองตรัง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24