ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษา เกี่ยวกับ โรคติดต่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา เกี่ยวกับ โรคติดต่อ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นายเชิงชาย เอี่ยมชัยภูมิ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนบ้านละลมโพธิ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความรู้และความคิดด้วยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้มีความรู้กว้างไกลมีนิสัยรักการอ่าน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา เกี่ยวกับ โรคติดต่อสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ เพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับ โรคติดต่อ
3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับ โรคติดต่อ และ
4) เพื่อวัดระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับ โรคติดต่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านละลมโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีจับสลากใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับ โรคติดต่อ จำนวน 6 เรื่อง 2) แผนจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับ โรคติดต่อ จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 - 0.80 ค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.20 - 0.77 และค่าความเชื่อมั่น 0.91 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับ โรคติดต่อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ระหว่าง 0.31 - 0.77 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การหาดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Samples) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา เกี่ยวกับ โรคติดต่อ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.86/85.00 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา เกี่ยวกับ โรคติดต่อ สำหรับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา โรคติดต่อ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.6538 หมายความว่า นักเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.6538 คิดเป็นร้อยละ 65.38
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา เกี่ยวกับ โรคติดต่อ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58