รายงานการใช้หนังสืออ่านประกอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของ สิ่งมีชีวิต
ชื่อเรื่อง : รายงานการใช้หนังสืออ่านประกอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของ
สิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา : นางสาวสุกัญญา กุลสุวรรณ
โรงเรียน : โรงเรียนห้วยต้อนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างหนังสืออ่านประกอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านประกอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน
3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านประกอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และ
4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยหนังสืออ่านประกอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนห้วยต้อนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ที่กำลังเรียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องที่ใช้ในการศึกษา คือ หนังสืออ่านประกอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 9 เรื่อง คือ เรื่อง พันธุกรรม เรื่อง เรณูฟักทอง เรื่อง ติดตาติดใจ เรื่อง ปลากัดในขวดแก้ว เรื่อง ต้นไม้ของเพื่อน เรื่อง โรงเห็ดหลังบ้าน เรื่อง บ่อปลาหลังบ้าน เรื่อง งูเหลือมกับเจ้าตูบ และเรื่อง สัตว์ในทุ่ง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.73 ค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.30 - 0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) อยู่ระหว่าง 0.39-0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบ การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
ผลการศึกษา พบว่า
1. หนังสืออ่านประกอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 เรื่อง มีค่าเท่ากับ 88.33/86.98 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านประกอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลด้วยหนังสืออ่านประกอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7113 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.7113 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.13
4. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออ่านประกอบสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50