การใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ม.4
ชื่อเรื่อง* การใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน* นางบุษกร ชมชู
ปีการศึกษา* 2560
บทคัดย่อ
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า เพื่อ 1) สร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้
เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนคูเมืองวิทยา จำนวน 45 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 9 เรื่อง คือ (1)The Panpipe by the Canal Side (แคนริมคลอง), (2) The Treasure in Paddy Field (ขุมทรัพย์กลางนา) , (3)The Origin of Sripakdi (กำเนิดศรีภักดี), (4)The Basketry Village (หมู่บ้านจักสาน), (5)Taproots in Mid Farmland (รากไม้กลางไร่นา) , (6) Quack Singh’s Disciple (ศิษย์หมอสิงห์), (7) Silk Threading and Weaving (สาวไหมทอผ้า), (8) Nong Bua Daeng : The Swamp of Red Lotus (หนองบัวแดง) และ (9)Mom’s Mhum (หม่ำของแม่) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก (P) ระหว่าง 0.44 ถึง 0.78 ค่าความยาก (B) ระหว่าง 0.23 ถึง 0.73 และค่าความเชื่อมั่น 0.90 และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ระหว่าง 0.36 ถึง 0.73 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ และและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
ผลการศึกษารายงานปรากฏว่า
1. หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.02/80.75
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิ พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86