รายงานการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์
ชื่อเรื่อง รายงานการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นายเกรติศาสตร์ ปัตตะเน
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยแย้วิทยา อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม คือ แผ่นดินไหว สึนามิ พายุหมุน เอลนีโญ ภัยโลกร้อน อุทกภัย ดินถล่ม และไฟป่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.30 ถึง 0.74 ค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.46 ถึง 0.76 และค่าความเชื่อมั่น 0.86 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ระหว่าง 0.30 ถึง 0.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การหาดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Samples) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.99/86.40 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.7239 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 0.7239 คิดเป็นร้อยละ 72.39
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานภูมิศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32