การพัฒนากิจกรรมลูกเสือ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนลูกเสือ ชั้นประถมศึกษา
ชื่อเรื่อง : การพัฒนากิจกรรมลูกเสือ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนลูกเสือ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5(ลูกเสือโท)
โรงเรียนประโคนชัยวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
ชื่อผู้วิจัย : นางกัญญาภรณ์ นุชวงษ์ ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2550
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เน้นการพัฒนากิจกรรมลูกเสือ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนลูกเสือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ลูกเสือโท) จำนวน 7 ชุด 46 เล่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนลูกเสือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ (ลูกเสือโท) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด คือ 80/80 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนลูกเสือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ลูกเสือโท) และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนลูกเสือ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 ที่เรียนลูกเสือ ในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนประโคนชัยวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเฉพาะนักเรียนที่ผู้รายงานได้รับมอบหมายให้ทำการสอน ทำการวิจัยในปีการศึกษา 2550 สรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ เอกสารประกอบการเรียนลูกเสือ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 (ลูกเสือโท) จำนวน 7 ชุด 46 เล่ม พบว่ามีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ และประสิทธิภาพ ของผลสัมฤทธิ์ (E1/E2) เป็น 89.92/86.64 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สรุปได้ว่า เอกสารประกอบการเรียนลูกเสือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ลูกเสือโท) ทั้ง 7 ชุด 46 เล่ม มีค่าประสิทธิภาพในระดับสูง สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบ การเรียนลูกเสือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ลูกเสือโท) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนลูกเสือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ลูกเสือโท) มีคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 39.14 ค่าความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน (t-test) เป็น18.84 หรือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0 .01 3. ผลการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อเอกสารประกอบ การเรียนลูกเสือชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ลูกเสือโท) ทั้ง 7 ชุด 46 เล่ม พบว่า โดยภาพรวมแล้วนักเรียนมีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียนลูกเสือ ทั้ง 7 ชุด ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเป็น 4.86 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้รายงาน นางเรณู ใจสุข
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านปางแก (สภาประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2552
บทคัดย่อ
การรายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้
เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80
/80 และค่าดัชนีประสิทธิผล ตั้งแต่
0.50 ขึ้นไป เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 10 เล่ม
ประกอบด้วย เล่ม 1 การเขียนคำ มีประสิทธิภาพ 88.47 / 87.30
เล่ม 2 การเขียนประโยค มีประสิทธิภาพ 88.23 / 86.80
เล่ม 3 การเขียนข้อความ
มีประสิทธิภาพ88.80 / 88.60 เล่ม 4
การเขียนโครงเรื่อง มีประสิทธิภาพ 89.07 / 88.20
เล่ม 5 โวหารการเขียนเรียงความ
มีประสิทธิภาพ 88.47 / 88.60 เล่ม 6 การเขียนคำนำ มีประสิทธิภาพ 88.20 / 88.20 เล่ม 7 การเขียนเนื้อเรื่อง มีประสิทธิภาพ
88.47 / 87.30 เล่ม 8 การเขียนสรุป
มีประสิทธิภาพ 88.80 / 86.80 เล่ม 9
การเขียนเรียงความ มีประสิทธิภาพ88.20 /
88.20 เล่ม 10 การเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ
88.47 / 87.70 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1
โรงเรียนบ้านปางแก (สภาประชานุกูล)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2551 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 22 คน
ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาปรากฏว่า
1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ
88.30
สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
คือ 80 / 80 และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ
0.94
2. ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1โรงเรียนบ้านปางแก (สภาประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4
ทดสอบก่อนเรียน
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.28 และทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 88.75
และหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 แสดงว่าแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียน
โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 โรงเรียนบ้านปางแก (สภาประชานุกูล)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา
เขต 4
โดยรวมมีระดับความพึงพอใจ
อยู่ในระดับ มากที่สุด
โดยสรุปทำให้ทราบว่า
การจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้แบบฝึกทักษะ
ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และนักเรียนได้มีความคิด และมีจินตนาการที่สร้างสรรค์ในด้านการเขียนเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยค ทำให้นักเรียนมีทักษะทางด้านการเขียนเพิ่มขึ้นได้