สารลับฉบับที่สิบเอ็ด: ดัดนิสัยกันหน่อย

http://i183.photobucket.com/albums/x74/green_master/560de828.jpg
เชิญเลือกรายการที่ต้องการ
................................................................................................................................................................
วิธีรักษา
หากคุณมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับหรือหลับยากต้องใช้เวลามากกว่า 30 นาทีหรือตื่นเร็วทำให้ไม่สดชื่นหลังจากตื่นนอน เราเรียกนอนไม่หลับ นอนไม่หลับไม่ใช่โรคแต่เป็นอาการเนื่องจากสาเหตุต่างๆที่กระตุ้น เช่น ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า โรคต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมในการนอน ยาบางชนิดก็ทำให้นอนไม่หลับเช่น ยาลดน้ำมูกยาแก้แพ้ ยารักษาโรคหัวใจ ยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคหอบหืด
(แต่ถ้าตามจริงแล้ว ตอนหมูแดงกินยาลดน้ำมูกมันทำให้หลับไม่ใช่หรอ)
นอกจากภาวะต่างดังกล่าวก็ยังมีโรคที่ทำให้นอนไม่หลับ sleep disorder โรคดังกล่าวได้แก่
>>Narcolepsy
>>Sleep Apnea
>>Periodic Leg Movements in Sleep (PLMS)
>>Restless Legs Syndrome (RLS)
>>Circadian Rhythm Disorder
ผลกระทบจาการนอนไม่หลับกระทบกับคุณภาพชีวิต คุณภาพการทำงาน และความปลอดภัย
>>ผู้ที่นอนไม่หลับจะมีอัตราการเกิดโรคซึมเศร้า 4 เท่า
>>การนอนไม่หลับเป็นความเครียดอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจ
>>อาจจะเกิดอันตรายขณะทำงาน ขับรถ
>>ขาดงานบ่อย ไม่ก้าวหน้าในการทำงาน
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยารักษานอนไม่หลับ
>>ต้องหาสาเหตุว่านอนไม่หลับเกิดจากโรคอะไร และโรคนั้นรักษาด้วยยานอนหลับได้ผล
>>นอนไม่หลับก่อให้เกิดผลเสียต่อชีวิตประจำวัน
>>ใช้การรักษาวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
>>ภาวะนอนไม่หลับเป็นภาวะชั่วคราว
>>ภาวะนอนไม่หลับเป็นอาการแสดงของโรคอื่น เช่น Alzheimer, dementia
หลักการให้ยารักษาภาวะนอนไม่หลับ
>>ให้ยาขนาดน้อยที่สุด
>>ควรจะใช้ระยะสั้น
>>หากใช้ระยะยาวให้หยุดใช้ยาเป็นช่วงๆ
>>ควรใช้ยาร่วมกับวิธีการอื่นร่วมด้วย
>>ยานอนหลับ ซึ่งยานอนหลับเป็นยาที่ทำให้หลับง่าย ยานอนหลับที่ดีต้องให้ผลคือ นอนหลับเร็ว นอนหลับนานขึ้น ตื่นกลางคืนน้อยลง และสดชื่นหลังจากตื่น
มาดูตัวยาที่ใช้รักษากัน
ยาที่ใช้แบ่งเป็น
1.Benzodiazepines ยานี้เป็นยาที่ใช้บ่อย ยานี้ลดการกระตุ้นของเซลล์สมอง ผลข้างเคียงไม่มากและอัตราการติดยาไม่มาก ยาที่นิยมใช้ได้แก่ lorazepam , alprazolam , triazolam , flurazepam , temazepam , oxazepam , prazepam , quazepam , estazolam , flunitrazepam เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลต่อจิตประสาทและเป็นยาที่ทางอาหารและยาควบคุม การจ่ายยาจะต้องมีใบสั่งแพทย์ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
ยากลุ่มนี้แบ่งตามการออกฤทธิ์เป็นสองแบบคือออกฤทธิ์ระยะสั้นได้แก่ยา lorazepam , alprazolam , triazolam ยากลุ่มนี้จะอยู่ในกระแสเลือดระยะสั้น ไม่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน ส่วนอีกกลุ่มคือออกฤทธิ์ระยะยาว ยาจะอยู่ในกระแสเลือดเป็นเวลานานได้แก่ยา flurazepam,quazepam ยากลุ่มนี้จะทำให้ง่วงนอนในตอนกลางวัน และเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ
การให้ยากลุ่มนี้ต้องระวังในผู้สูงอายุ ควรจะได้ในขนาดครึ่งหนึ่งของคนปกติและควรจะได้ยาที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น ยานี้ไม่ควรให้ในคนท้องและเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่เพราะยาจะผ่านไปสู่ลูกได้
หากได้ยาเกิดขนาดมักไม่ถึงกับเสียชีวิต ผู้ป่วยที่รับประทานยาเป็นเวลานานและหยุดยาอาจจะมีอาการนอนไม่หลับและเกิดร่วมกับอาการอย่างอื่น เช่นอาหารไม่ย่อย เหงื่อออก ใจสั่น ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะมีภาพหลอน อาการหยุดยาจะเป็นประมาณ 1-3 สัปดาห์ สำหรับอาการหยุดยาที่ไม่รุนแรงอาจจะเป็นแค่ 1-2 วัน การที่จะหยุดยาควรจะค่อยลดขนาดยาลงไม่ควรหยุดยาทันทีเพราะจะเกิดผลข้างเคียง
ควรจะรับประทานยานานแค่ไหน ยานอนหลับควรใช้ระยะสั้นไม่ควรให้ระยะยาวแต่บางรายก็มีความจำเป็นต้องให้ระยะยาวโดยมากไม่ควรให้เกิน 4 สัปดาห์
ข้อควรระวังในการใช้ยา ไม่ควรดื่มสุราขณะใช้ยานี้เพราะจะทำให้ยาออกฤทธิ์นาน ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้สูงอายุที่ต้องตื่นบ่อบเนื่องจากอาจจะเกิดหกล้ม ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร และไม่ควรให้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีโรค sleep apnea syndrome
2.Non-Benzodiazepine Hypnotics เป็นยานอนหลับอีกชนิดหนึ่งที่ได้ผลค่อนข้างดีได้แก่ Zolpidem,Zopiclone ไม่ค่อยมีอาการดื้อยา และไม่ค่อยมีอาการติดยา ผลข้างเคียงของยาไม่มากเป็นยาที่เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง
3.Antidepressants ยาแก้โรคซึมเศร้าเหมาสำหรับอาการนอนไม่หลับที่พบร่วมกับภาวะซึมเศร้า ยาใหม่ที่ได้ผลดีควรออกฤทธิ์ต่อ serotonin เช่น trazodone,nefazodone,paroxetine
4.ยาอื่นได้แก่ ยาแก้แพ้เช่น chlorpheniramine,diphenhydramine,hydroxyzine อาจจะทำให้นอนหลับได้
แนะนำให้ทราบแต่ไม่แนะนำให้ใช้
Barbiturates เป็นยานอนหลับใช้สมัยก่อน เนื่องจากยานี้หากได้เกินขนาดอาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิต และอัตราการติดยาสูง ปัจจุบันไม่ควรใช้ในภาวะนอนไม่หลับ
สำหรับภาวะที่นอนไม่หลับเกิดจากวัยทองการให้ฮอร์โมน Estrogen Replacement Therapy จะช่วยให้หลับดีขึ้น
แต่ในปัจจุบันในไทยนั้น ซึ่งยานอนหลับที่กำลังเป็นที่นิยมมากคือ ยานอนหลับโดมิคุ่ม (Dormicum)
ประวัติของโคมิดุ่ม
โดมิคุ่ม เป็นชื่อทางการค้าของยานอนหลับชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า มิดาโซแลม(Midazolam) เป็นยานอนหลับในกลุ่ม Benzodiazepine ถูกดูดซึมได้ดีที่สุดจากทางเดินอาหารเมื่อเทียบกับยานอนหลับตัวอื่นๆ โดยให้รับประทานก่อนนอน มีประสิทธิผลในการรักษาอาการนอนไม่หลับ แต่ควรใช้ยาเพียงระยะเวลาสั้นๆ และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ยานอนหลับโดมิคุ่มชนิดรับประทานจะมีรูปแบบเป็นเม็ดสีฟ้า ด้านหนึ่งมีตัวอักษรคำว่า ROCHE 15 ส่วนอีกด้านหนึ่งจะมีขีดแบ่งครึ่งเม็ด มีทั้งอยู่ในรูปแบบเม็ดขนาด 15 มก. และในรูปยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ หรือเข้ากล้ามเนื้อ ขนาดความแรง 5 มก./มล./แอมพูล และขนาด 15 มก./3มล./แอมพูล
ฤทธิ์ในทางเสพติด :โดมิคุ่มออกฤทธิ์สงบประสาท ทำให้นอนหลับและฤทธิ์ทำให้สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ
อาการผู้เสพ :อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ง่วงซึม เดินเซ หากได้รับยาติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะพึ่งยาทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ และเมื่อหยุดยากระทันหันอาจก่อให้เกิดอาการถอนยาคือ อาการนอนไม่หลับ หากฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำอาจกดการหายใจ และทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
โทษที่ได้รับ :การได้รับยานอนหลับโดมิคุ่มเกินขนาด จะทำให้เกิดอาการซึมมาก หลับนานผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน การตอบสนองลดลง สับสน ไม่รู้สึกตัว
โทษทางกฎหมาย : ยานอนหลับโดมิคุ่ม จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2
พออ่านจบแล้ว หมูแดงคิดว่าการใช้ยานอนหลับมันไม่ผิด แต่การใช้ เราควรปรึกษาแพทย์สักก่อน เพื่อป้องกันเหตุร้ายตามมา
................................................................................................................................................................