ประวัติคณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติคณะกายภาพบำบัด
ด้วยในปี 2529 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายขยายการจัดการเรียน
การสอนด้านวิทยาศาสตร์จากท่าพระจันทร์มาศูนย์รังสิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะ
ที่จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาสาธารณสุข
ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของประเทศไทยจึงจัดตั้งคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์
สุขภาพขึ้นโดยเริ่มตั้งคณะแพทยศาสตร์ในปี 2533 ต่อมาในแผนพัฒนาการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคณะใหม่เพิ่มอีก 3 คณะ ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์
ดังนั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีคำสั่งที่ 30/2537 ลงวันที่ 11 มกราคม
2537 ให้แต่งตั้ง ”คณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์” เพื่อจัดทำ
หลักสูตรตลอดจนวางแผนเรื่องอัตรากำลังให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน
ต่อมาคณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมและมีมติให้เปลี่ยนชื่อคณะจากเดิม
“คณะเทคนิคการแพทย์” เป็น “คณะสหเวชศาสตร์” เนื่องจากพิจารณาว่าต้องรองรับ
การจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆ ที่จะเปิดในอนาคตนอกเหนือจากสาขาเทคนิค
การแพทย์ด้วย เช่น สาขากายภาพบำบัด เป็นต้น
ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2539
โดย มหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ ดร. วิฑูรย์ ไวยนันท์ ดำรงตำแหน่งคณบดี
คณะสหเวชศาสตร์และเป็นคณบดีคนแรก ซึ่งดำรงตำแหน่ง 2 วาระต่อเนื่องกัน
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ ได้แบ่งส่วนราชการเป็น 5 หน่วยงาน ดังนี้
1. ภาควิชาเทคนิคการแพทย์
2. ภาควิชากายภาพบำบัด
3. ภาควิชารังสีเทคนิค (ยังไม่เปิดดำเนินการ)
4. ภาควิชาอาชีวบำบัด (ยังไม่เปิดดำเนินการ)
5. สำนักงานเลขานุการ
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาด้านการวิจัย จึงได้เปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาชีวเวชศาสตร์ (Biomedical Sciences)
หลักสูตรนานาชาติขึ้น ในปีการศึกษา 2544 ต่อมาได้เปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษาระดับ
ปริญญาโทเพิ่มอีกขึ้นอีกหนึ่งหลักสูตร คือ หลักสูตรเทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต
โดยเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2551