ทุนและอุปกรณ์

ทุนและอุปกรณ์
ทุนไม่ได้หมายถึงเงินเท่านั้น เพราะมันมีคำกล่าวหนึ่งที่ว่า เงินไม่สามารถใช้แก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่งบยังรวมสามารถหมายถึงอุปกรณ์ได้ด้วย อย่างคุณไม่มีกล้องวีดีโอเป็นของตัวเอง ก็ต้องไปขอยืมเพื่อนมาถ่าย อันนี้ก็นับได้ว่าเป็นทุนของเพื่อนที่มาร่วมด้วย หรืออย่างใช้บ้านของพ่อแม่เป็นสถนที่ถ่ายทำ ก็ถือว่าพ่อแม่ช่วยเรื่องทุนในแง่ของสถานที่ไป
ตำแหน่งต่างๆ ที่กองถ่ายหนังสั้นควรมี มีดังต่อไปนี้
1.ตากล้อง ผู้กำกับไม่ควรถ่ายภาพเองเพราะอาจจะทำให้ไม่มีสมาธิต่อการกำกับการแสดง แต่ถ้าหากจำเป็นจริงๆ แบบหาคนมาถ่ายให้ไม่ได้เลย จะถ่ายเองก็ได้ แต่ถ้ามันไม่จำเป็นขนาดนั้นก็ควรให้คนอื่นถ่าย
2.ผู้ช่วยผู้กำกับ เป็นคนที่จะมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงานของผู้กำกับ โดยการช่วยคอยดูนักแสดง คอยดูว่าถ่ายฉากนี้เสร็จ ต่อไปจะต้องถ่ายอะไรต่อ และควรวางแผนการถ่ายทำอย่างไร
3.ผู้จัดการกองถ่าย มาคอยดูแลเรื่องการเงิน การใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่มีอยู่
4.คนบันทึกเสียง ตำแหน่งนี้ก็จำเป็น แต่ก็ขึ้นอยู่ว่าคุณมีอุปกรณ์บันทึกเสียง พวกไมค์ไว้ต่อกับกล้องหรือเปล่า หรือคุณซีเรียสกับเรื่องเสียงแค่ไหน ถ้าคุณซีเรียสคุณก็ต้องมีคนบันทึกเสียง
ตำแหน่งอื่นๆ รองลงมาก็ ฝ่ายศิลป์ มาดูแลเรื่องฉากและของประกอบฉาก,ฝ่ายเสื้อผ้า และฝ่ายอื่นๆ ตามแต่จะจัดหาตำแหน่งออกมาได้ ช่วยเรื่องโปรดิวเซอร์ หรือผู้อำนวยการสร้าง หรือจะเรียกว่าดูแลการผลิตก็ได้ ส่วนมากหนังสั้นเรื่องแรกผู้กำกับมักเหมาเป็นเองซะเลยเพราะไม่รู้จะให้ใครทำ ตรงนี้ดี
คนที่ทำงานในแต่ล่ะตำแหน่งควรจะรู้หน้าที่ของตัวเอง เช่น ฝ่ายศิลป์ ก็รู้ดีว่าของประกอบฉากที่ผู้กำกับต้องการให้อยู่ในฉากนั้นๆ มีอะไรบ้าง หรือว่าฝ่ายเสื้อผ้าก็ต้องรู้ว่าในฉากเปิดเรื่อง ผู้กำกับอยากให้พระเอกใส่เสื้อสีอะไร หรือคนบันทึกเสียงก็ควรจะรู้ว่า ฉากนี้มีนักแสดงคนไหนพูดอะไรบ้าง ทุกคนควรรู้หน้าที่ของตัวเองและตั้งใจทำงานครับ ควรมีความเชื่อร่วมกันว่าหนังที่กำลังทำด้วยกันอยู่นี้เป็นหนังของทุกคน ไม่ได้เป็นแค่หนังของผู้กำกับคนเดียวเท่านั้น ผลงานที่เสร็จออกมาจะมีชื่อคุณทุกคน และหากมีข้อผิดพลาดใดๆ ก็ตามในหนังที่เกิดขึ้นเพราะคุณมีส่วน มันก็จะฟ้องออกมาว่าคุณไม่ตั้งใจทำหนัง แต่นั้นยังไม่เท่ากับการที่ผลงานที่ควรจะได้รับการชื่นชมยกย่องมากกว่านี้ กลับก้าวไปไม่ถึงไหน และความฝันของคนตัวเล็กๆ คนหนึ่งก็อาจจะสลายไป