การส่งเสริมการอ่านด้วย “วารสารนอกห้องเรียน” (อ.วิวัฒน์ ศรีเกิด)

โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1. ชื่อเรื่อง : โครงการส่งเสริมการอ่านด้วย “วารสารนอกห้องเรียน”
2. บทนำ
ผู้จัดทำผลงาน: นายวิวัฒน์ ศรีเกิด
ตำแหน่งปัจจุบัน: หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาไทย โรงเรียนดารุสสาลาม
ประวัติการศึกษา:
- จบการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา53 จังหวัดกระบี่
- จบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้นจากโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่
- จบการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย จากโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกนิเทศศาสตร์ จากสถาบันราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
- จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน จากมหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมมาธิราช กรุงเทพมหานคร
ความสำเร็จในอดีต:
- พ.ศ.2550 ได้รับรางวัล “ครูดีเด่น กลุ่มสาระภาษาไทย” จากโรงเรียนดารุสสาลาม
- พ.ศ.2550 ได้รับรางวัล “งานวิจัยในชั้นเรียนดีเด่น” จากโรงเรียนดารุสสาลาม
- พ.ศ.2550 ได้รับคัดเลือกเป็น หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาไทย โรงเรียนดารุสสาลาม
- พ.ศ.2552 ได้รับการคัดเลือก เข้ารอบ 26 ทีมสุดท้าย ในโครงการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
“คุณธรรมนำการคิด” จากบริษัทสำนักพิมพ์แม็ค
- พ.ศ.2552 ได้รับรางวัล “โครงการดีเด่น” จากโรงเรียนดารุสสาลาม
ข้อมูลโรงเรียน:
โรงเรียนดารุสสาลาม ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504 โดยนายหะยีดาโอ๊ะ บอตอ ตั้งอยู่ที่ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต3 เปิดสอนหลักสูตรวิชาสามัญ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายควบคู่การเปิดสอนหลักสูตรศาสนา ปัจจุบันมีนักเรียนจำนวน 4,784 คน
ปรัชญา : เรียนทางโลก ควบคู่ทางธรรม นำโลกสู่สันติ
คติพจน์ : เคร่งศาสนา วิชาการเด่น เน้นวินัย
วิสัยทัศน์ : โรงเรียนดารุสสาลามเป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ สู่ระดับสากล
ปัญหาการเรียนการสอนที่พบ:
ปัญหานักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก เป็นปัญหาการศึกษาอันดับต้นๆใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประการด้วยกัน แต่มีสาเหตุหนึ่งที่น่าสนใจและควรหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน นั้นก็คือ สาเหตุ“นักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ” และจากการสอบถามนักเรียน พบว่าสาเหตุที่นักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ เป็นเพราะหนังสือไม่มีเนื้อหาที่น่าสนใจ และไม่เห็นประโยชน์ของการอ่านอย่างเป็นรูปธรรม
การอ่านถือเป็นทักษะทางภาษาที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 จึงไม่เพียงระบุให้สถานศึกษาต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเท่านั้น หากยังต้องให้ผู้เรียนรักการอ่าน เพื่อให้เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
การอ่านเป็นการแสวงหาความรู้ที่ครอบคลุมกิจกรรมหลายด้าน เช่น การรับรู้ การตระหนัก การพัฒนา การสนองตอบ และการใช้จินตนาการ เป็นต้น การอ่านจึงสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง การตอบสนองทางร่างกาย และอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ บุคลิกภาพตลอดจนการประพฤติปฏิบัติของผู้อ่านเอง
ความต้องการที่จะปรับปรุงแก้ไข:
โครงการส่งเสริมการอ่านด้วย “วารสารนอกห้องเรียน” เป็นโครงการที่จัดทำขึ้น เพื่อต้องการแก้ปัญหาสาเหตุที่นักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ ให้นักเรียนหันมาสนใจการรักอ่านมากขึ้น และต้องการให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่านอย่างเป็นรูปธรรม
3.เนื้อเรื่อง
3.1 ได้ทำอะไรเพื่อปรับปรุง/พัฒนา
โครงการส่งเสริมการอ่านด้วย “วารสารนอกห้องเรียน” เป็นโครงการที่ส่งเสริมการอ่านด้วยการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์(วารสารรายเดือน)ที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนหันมาสนใจการอ่าน และในการจัดทำวารสารทุกฉบับจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านวิชาการให้นักเรียนได้ร่วมแสดงความสามารถด้วย โดยจะใช้ของรางวัลที่นักเรียนสนใจและอยากได้ มาเป็นแรงเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งถือเป็นการพัฒนาทักษะทางวิชาการควบคู่ไปด้วย
นอกจากนี้ในตอนสิ้นปีจะมีการจัดกิจกรรม “แฟนพันธุ์แท้วารสารนอกห้องเรียน”ขึ้น เพื่อต้องการให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของการอ่าน โดยการจัดแข่งขันทดสอบความรู้จากเนื้อหาในวารสารฯ และจะใช้ของรางวัลที่นักเรียนสนใจและอยากได้ มาเป็นแรงเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเช่นกัน
3.2 แนวความคิด หรือทฤษฎีที่ใช้
แรงจูงใจ (Motivation) คือ สิ่งซึ่งควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ อันเกิดจากความต้องการ (Needs) พลังกดดัน (Drives) หรือ ความปรารถนา (Desires) ที่จะพยายามดิ้นรนเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจจะเกิดมาตามธรรมชาติหรือจากการเรียนรู้ก็ได้ แรงจูงใจเกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลนั้น ๆ เอง ภายใน ได้แก่ ความรู้สึกต้องการ หรือขาดอะไรบางอย่าง จึงเป็นพลังชักจูง หรือกระตุ้นให้มนุษย์ประกอบกิจกรรมเพื่อทดแทนสิ่งที่ขาดหรือต้องการนั้น ส่วนภายนอกได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่มาเร่งเร้า นำช่องทาง และมาเสริมสร้างความปรารถนาในการประกอบกิจกรรมในตัวมนุษย์ ซึ่งแรงจูงใจนี้อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในหรือภายนอก แต่เพียงอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ อาจกล่าวได้ว่า แรงจูงใจทำให้เกิดพฤติกรรมซึ่งเกิดจากความต้องการของมนุษย์ ซึ่งความต้องการเป็นสิ่งเร้าภายในที่สำคัญกับการเกิดพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีสิ่งเร้าอื่น ๆ เช่น การยอมรับของสังคม สภาพบรรยากาศที่เป็นมิตร การบังคับขู่เข็ญ การให้รางวัลหรือกำลังใจหรือการทำให้เกิดความพอใจ ล้วนเป็นเหตุจูงใจให้เกิดแรงจูงใจได้
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral View of Motivation) ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในอดีต (Past Experience) ว่ามีผลต่อแรงจูงใจของบุคคลเป็นอย่างมาก ดังนั้นทุกพฤติกรรมของมนุษย์ถ้าวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่าได้รับอิทธิพลที่เป็นแรงจูงใจมาจากประสบการณ์ใน อดีตเป็นส่วนมาก โดยประสบการณ์ในด้านดีและกลายเป็นแรงจูงใจทางบวกที่ส่งผลเร้าให้มนุษย์มีความต้อง การแสดงพฤติกรรมในทิศทางนั้นมากยิ่งขึ้นทฤษฎีนี้เน้นความสำคัญของสิ่งเร้าภายนอก (Extrinsic Motivation)
3.3 การวางแผนการทำงาน
ในการวางแผนการจัดโครงการส่งเสริมการอ่านด้วย “วารสารนอกห้องเรียน”นั้น ผู้จัดทำได้ตั้งคำถามต่างๆขึ้น และตอบคำถามเหล่านั้นด้วยกิจกรรมต่างๆที่จะจัดขึ้นในโครงการนี้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1.จะแก้ปัญหานักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสืออย่างไร?
ตอบ แก้ปัญหาโดยการจัดทำหนังสือ หรือสื่อสิงพิมพ์ที่นักเรียนอยากอ่าน
2.จะทำหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดใด?
ตอบ วารสาร เพราะสามารถใส่เนื้อหาได้หลายประเภท และเข้าถึงนักเรียนได้ง่ายกว่า
3.จะทำสื่อสิ่งพิมพ์อะไร?
ตอบ วารสารรายเดือน เพราะจะได้สร้างความหลากหลายให้กับนักเรียน
4.จะใช้ชื่ออะไร?
ตอบ ใช้ชื่อวารสาร “นอกห้องเรียน” หมายถึง ความรู้ต่างๆที่อยู่นอกห้องเรียน
5. จะใส่เนื้อหาอะไรบ้าง?
ตอบ เนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิคการเรียนวิชาต่างๆ , เคล็ดลับการเพิ่มความจำ, การดูแลสมอง, การเพิ่มความฉลาด, บุคคลสำคัญ, บทสัมภาษณ์นักเรียนที่เรียนเก่ง, บทสัมภาษณ์ครูหรือผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการศึกษา, ความรู้เกี่ยวกับศาสนา, คุณธรรมนำความรู้, ความรู้จากทุกกลุ่มสาระ และกิจกรรมพิเศษ
6. จะทำให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของการอ่านอย่างไร?
ตอบ จัดทดสอบวัดความรู้จากวารสารฯ โดยใช้ของรางวัลที่นักเรียนอยากได้เป็นตัวดึงดูด
7. จะใช้รางวัลอะไรบ้าง?
ตอบ เสื้อยืดวารสารนอกห้องเรียน, กระเป๋าผ้าวาสารนอกห้องเรียน, ข้อสอบ O-NETของปีที่ผ่านมาทุกวิชา, แฮนดี้ไดร์ฟ และทุนการศึกษา
3.4 กระบวนการดำเนินงาน
1. รับสมัครทีมงาน (นักเรียน) ซึ่งนักเรียนที่เป็นทีมงานจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำวารสาร การย่อความสรุปความ และการสัมภาษณ์บุคคลด้วย
2. รับสมัครสมาชิก
3. จัดทำวารสาร
4. จัดกิจกรรมพิเศษของวารสารฯ
5. รับสมัครนักเรียนเพื่อทดสอบความรู้ในกิจกรรมกิจกรรม “แฟนพันธุ์แท้วารสารนอกห้องเรียน”
6. เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ปรับปรุงโครงการในปีต่อไป
7. สรุปผลการดำเนินงาน
4. บทสรุป
4.1 ผลที่เกิดขึ้น
โครงการส่งเสริมการอ่านด้วย “วารสารนอกห้องเรียน” เป็นโครงการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยที่ครูเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองจากการอ่าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไป สำหรับผลการจัดโครงการส่งเสริมการอ่านด้วย “วารสารนอกห้องเรียน” ปีการศึกษา 2551 ปรากฏดังนี้
1. หลังจากที่มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวารสารฯปรากฏ ว่ามีนักเรียนสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมากถึง 634 คน แสดงว่านักเรียนเริ่มมีความสนใจในตัววารสาร แม้ยังไม่ได้เห็นของจริง
2. หลังจากที่นักเรียนได้รับวารสารไปแล้วปรากฏว่า นักเรียนให้ความสนใจเกี่ยวกับเนื้อหาในวารสาร และมีนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการเป็นจำนวนมาก ซึ่งการแข่งขันทักษะทางวิชาการได้แก่ การประกวดภาพถ่ายกีฬาสีพร้อมคำขวัญ การแต่งกาพย์ยานี11 เป็นต้น
3. ในการจัดกิจกรรม “แฟนพันธุ์แท้วาสารนอกห้องเรียน” เพื่อทดสอบความรู้จากเนื้อหาในวารสารนอกห้องเรียน และเพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่าน ปรากฏว่ามีนักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากถึง 223 คน
ทั้งหมดคือผลที่เกิดขึ้นจริง จากการจัดทำโครงการส่งเสริมการอ่านด้วย “วารสารนอกห้องเรียน” และจากการใช้แบบสอบถาม สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับวารสารนอกห้องเรียน ปรากฏผลดังนี้
1. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขนาด รูปเล่ม ตัวอักษร และความสะดวกในการนำไปใช้ ระดับดีมากร้อยละ 66 ระดับดีร้อยละ 24 ระดับปานกลางร้อยละ6 และระดับน้อยร้อยละ4
2. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปภาพและเนื้อหาระดับดีมากร้อยละ 21 ระดับดีร้อยละ 30 ระดับปานกลางร้อยละ13 ระดับน้อยร้อยละ19 และระดับน้อยที่สุดร้อยละ17
3. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาและความน่าสนใจระดับดีมากร้อยละ 74 ระดับดีร้อยละ 18 และระดับปานกลางร้อยละ8
4. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหา และความสะดวกในการอ่าน ระดับดีมากร้อยละ 64 ระดับดีร้อยละ 22 ระดับปานกลางร้อยละ10 และระดับน้อยร้อยละ4
5. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน ระดับดีมากร้อยละ 70 ระดับดีร้อยละ 19 และระดับปานกลางร้อยละ11
6. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ. นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้กับตนเองระดับดีมากร้อยละ 34 ระดับดีร้อยละ 22 ระดับปานกลางร้อยละ16 ระดับน้อยร้อยละ 10 และระดับน้อยที่สุดร้อยละ 18
7. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของกิจกรรมต่างๆ ระดับดีมากร้อยละ 22 ระดับดีร้อยละ 30 ระดับปานกลางร้อยละ 18 ระดับน้อยร้อยละ 17 และระดับน้อยที่สุดร้อยละ 13
8. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของรางวัลต่างๆ ระดับดีมากร้อยละ 82 ระดับดีร้อยละ 15 และระดับปานกลางร้อยละ3
9. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของสถานที่จัดกิจกรรม ระดับดีมากร้อยละ 8ระดับดีร้อยละ 11 ระดับปานกลางร้อยละ49 ระดับน้อยร้อยละ24 และระดับน้อยที่สุดร้อยละ1
10. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสนใจในการสมัครเป็นสมาชิกวารสารนอกห้องเรียนในปีการศึกษาหน้า ระดับดีมากร้อยละ 100
รูปที่3 : ตัวอย่างแบบสอบถามที่ใช้ในการประเมินโครงการ
|
ข้อความ |
|
|
ระดับความคิดเห็น |
|
||||
|
|
|
|
|
5 |
4 |
3 |
2 |
1 |
|
1. ขนาด |
|
|
|
|
|
|||
|
2. รูปภาพเหมาะสมกับเนื้อหา |
|
|
|
|
|
|
||
|
3. เนื้อหาน่าสนใจ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
4. เนื้อหาไม่ยาก |
|
|
|
|
|
|
||
|
5. นักเรียนได้รับประโยชน์จากเรื่องที่อ่าน |
|
|
|
|
|
|
||
|
6. นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้กับตนเอง |
|
|
|
|
|
|
||
|
7. ความเหมาะสมของกิจกรรมต่างๆ |
|
|
|
|
|
|||
|
8. ความเหมาะสมของรางวัลต่างๆ |
|
|
|
|
|
|
||
|
9. ความเหมาะสมของสถานที่จัดกิจกรรม |
|
|
|
|
|
|
||
|
10.ปีการศึกษาหน้า |
|
|
|
|
|
4.2 สรุปผลการจัดโครงการ
1.นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับขนาด รูปเล่ม ตัวอักษร และความสะดวกในการนำไปใช้ อยู่ใน ระดับดีมาก
2.นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปภาพและเนื้อหา อยู่ในระดับดี
3.นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับเนื้อหาและความน่าสนใจ อยู่ในระดับดีมาก
4.นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับเนื้อหา และความสะดวกในการอ่าน อยู่ในระดับดีมาก
5.นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน อยู่ในระดับดีมาก
6.นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้กับตนเอง อยู่ในระดับดีมาก
7.นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับความเหมาะสมของกิจกรรมต่างๆ อยู่ในระดับดี
8.นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับความเหมาะสมของรางวัลต่างๆ อยู่ในระดับดีมาก
9.นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับความเหมาะสมของสถานที่จัดกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง
10.นักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจในตัววารสารนอกห้องเรียน และมีความสนใจจะสมัครเป็น สมาชิกวารสารนอกห้องเรียนอีกในปีการศึกษาหน้า
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
นักเรียน
1.นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือมากขึ้น
2.นักเรียนได้ความรู้เพิ่มเติมจากการอ่าน
3.นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
4.นักเรียนได้เห็นคุณค่าของการอ่าน
5.นักเรียนได้แสดงความสมารถของตนเอง จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้น
6.นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น
ครู
1.ครูมีความรู้รอบตัวมากขึ้น จากการที่ครูต้องจัดเตรียมเนื้อหาเพื่อใช้ในวารสารนอกห้องเรียน
2.ครูสามารถนำผลการจัดโครงการไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้
แนวทางการพัฒนาผู้เรียน
โครงการส่งเสริมการอ่านด้วย “วารสารนอกห้องเรียน” เป็นโครงการที่มุ่งหวังให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่าน และส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน เพราะการอ่านถือเป็นการแสวงหาความรู้ที่ครอบคลุมกิจกรรมหลายด้าน เช่น การรับรู้ การตระหนัก การพัฒนา การสนองตอบ และการใช้จินตนาการ เป็นต้น การอ่านจึงสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง การตอบสนองทางร่างกาย และอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ บุคลิกภาพตลอดจนการประพฤติปฏิบัติของผู้อ่านเอง
ซึ่งจากผลการจัดโครงการที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่านนั้นในระยะเริ่มแรก ครูต้องเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนหันมาสนใจการอ่าน ซึ่งครูแต่ละคนอาจมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ในโครงการนี้ส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่านโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ที่นักเรียนสนใจ และใช้ของรางวัลที่นักเรียนอยากได้มาเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วย
สรุป
ความสำเร็จของโครงการส่งเสริมการอ่านด้วย “วารสารนอกห้องเรียน” ในปีการศึกษา 2551 ส่งผลให้ผู้บริหารของโรงเรียนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการอ่าน โดยได้ยกย่องโครงการนี้ให้เป็น “โครงการดีเด่นของโรงเรียน” ประจำปีการศึกษา2551 และได้มอบหมายให้บรรจุโครงการนี้ไว้ในแผนปฏิบัติงานของกลุ่มสาระภาษาไทยในปีการศึกษา 2552 ด้วย
เพื่อนครูท่านใดที่มีความสนใจโครงการนี้สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่กลุ่มสาระภาษาไทย โรงเรียนดารุสสาลาม หรือที่เวปไซ์ www..Darussalam.co.th และ www. Kuringma.info