การเกิดช่องโหว่ของชั้นโอโซน และ ปรากฏการณ์เรือนกระจก

การเกิดช่องโหว่ของชั้นโอโซน
การที่ขนาดของรูโอโซนเริ่มปรากฏว่ามีความคงที่เป็นครั้งแรกก็แสดงให้เห็นว่า มาตรการลดการผลิต Chlorofluorocarbon(CFC) เริ่มปรากฏผลในทางที่ดีให้เห็นได้เป็นครั้งแรกเนื่องจาก CFC สามารถทนอยู่ในบรรยากาศได้เป็นเวลานานมากแม้เราตัดการผลิตทั้งหมดบนโลกอย่างปุบปับวันนี้ กว่าจะเห็นผลที่แท้จริงก็ต้องเป็นลาอย่างน้อยๆเป็นสิบปีขึ้นไป
หากเราสามารถรักษามาตรการลดการผลิต CFC ไปเรื่อยๆแล้วขนาดของรูโอโซนคงจะเริ่มหดตัวลงในไม่ช้านี้เป็นแน่หากไม่มีเหตุการณ์สุดวิสัยทางธรรมชาติ เช่นการระเบิดภูเขาไฟ ที่พ่นละอองของเหลวเล็กๆที่เรียกว่า aerosol ขึ้นไปในบรรยากาศเป็นจำนวนมากจนไปช่วยเพิ่มอัตราการทำงานโอโซนในธรรมชาติเราก็คงจะได้เห็นการฟื้นตัวของโอโซนอีกในไม่นานเกินรอ


การปล่อยก๊าซเรือนกระจก( GREENHOUSE EFFECT) เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือก่อมลพิษทางอากาศ ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนซึ่งปกป้องผิวโลกก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกสูงขึ้นและการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนนี่เองที่มีการตรวจพบล่าสุดว่าเกิดรูโหว่ของชั้นบรรยากาศโอโซน ที่เรียกว่า"รูโอโซน" ขยายตัวเป็นวงกว้างถึง27.4 ล้านตารางกิโลเมตรเปรียบเทียบให้ดูง่ายๆคือคงจะใหญ่กว่าประเทศไทยถึง60เท่า
ปรากฏการณ์เรือนกระจก คือกระบวนการที่เกิดจากการแผ่รังสีอินฟราเรดโดยบรรยากาศแล้วทำให้พื้นผิวโลกร้อนขึ้นชื่อดังกล่าวมาจากการอุปมาที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นการเปรียบเทียบอากาศที่อุ่นกว่าภายในเรือนกระจกกับอากาศที่เย็นกว่าภายนอก (ความจริงในอวกาศไม่มีอากาศ) โจเซฟ ฟูริเออร์เป็นผู้ค้นพบปรากฏการณ์เรือนกระจกเมื่อ พ.ศ. 2367และสวานเต อาร์เรเนียส (SvanteArrhenius) เป็นผู้ทดสอบหาปริมาณความร้อนเมื่อ พ.ศ. 2439
อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกซึ่งอยู่ที่