การสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศของไทยสมัยสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรอยุธยา มีความสัมพันธ์เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง) แห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงยกทัพมายึดเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็น เมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ทำให้สุโขทัยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ และส่งคณะทูต เพื่อเจรจาขอเมืองพิษณุโลกคืน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงพระราชทานเมืองพิษณุโลกคืนแก่อาณาจักรสุโขทัย
ต่อมาในสมัย พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ของอาณาจักรสุโขทัย ได้มีความ สัมพันธ์ระหว่างสุโขทัย กับอยุธยาในฐานะเป็นเมืองประเทศราช เนื่องจาก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพระงั่ว) ยกทัพมาตีเมืองชากังราว ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของสุโขทัย ขณะนั้นอาณาจักร สุโขทัยอ่อนแอ ทำให้สุโขทัย ต้องยอมอ่อนน้อมต่อแสนยานุภาพของอาณาจักรอยุธยา และในสมัยพระมหา ธรรมราชาที่ ๓ แห่งอาณาจักรสุโขทัย เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นภายในอาณาจักร ทำให้ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรอยุธยา และในปี พ.ศ. ๑๙๘๑ อาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา
แคว้นนครศรีธรรมราช เป็นแคว้นใหญ่ในภาคใต้ได้มีความสัมพันธ์กับอาณาจักร สุโขทัย อย่างใกล้ชิด ทางด้านวัฒนธรรม โดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงผูกมิตรไมตรีกับกษัตริย์ เมืองนครศรีธรรมราชาให้ช่วยติดต่อขอพระพุทธสิหิงค์ จากลังกากลับมา ประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย และสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงนิมนต์พระสงฆ์ ลัทธิลังกาวงศ์ มาจากเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นมาเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ที่กรุงสุโขทัยทุกๆวันธรรมสวนะ
ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับหัวเมืองมอญ เป็นความสัมพันธ์ทาง เครือญาติ โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงยกพระนางสุดาสร้อยดาว พระราชธิดาให้เป็นพระมเหสีของเจ้าฟ้ารั่ว(มะกะโท)กษัตริย์มอญ ทำให้อาณาจักร สุโขทัยได้รับประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ได้อาศัยเมืองท่าที่เมืองเมาะตะมะ แลก เปลี่ยนสินค้ากับอินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ
ที่มา