พืชสมุนไพร 2
ตำรับยาไทยส่วนใหญ่กล่าวถึงวิการปรุงยาไว้ 24 วิธี แต่บางตำราเพิ่มวิธีที่ 25 คือวิธีกวนยา ทำเป็นขี้ผึ้งปิดแผลไว้ด้วย ในจำนวนวิธีการปรุงยาเหล่านี้มี ผู้อภิปรายรายละเอียดวิธีปรุงที่ใช่บ่อยๆดังนี้คือ
1. ยาต้ม การเตรียม ปริมาณที่ใช้โดยทั้วไปคือ 1 กำมือ เอาสมุนไพรมาขดมัดรวมกันเป็นท่อกลมยาวขนาด 1 ฝ่ามือ กว้างขนาดใช้มือกำได้โดยรวบพอดีถ้าสมุนไพรนั้นแข็ง นำมาขดมันไม่ได้ ให้หั่นเป็นท่อยาว 5-6 นิ้วฟุต กว้าง 1/2 นิ้วฟุต แล้วเอามมารวมกันให้ได้ขนาด 1 กำมือ
การต้ม เทน้ำลงไปพอให้น้ำท่วมยา (ประมาณ 3/4 แก้ว) ถ้าปริมาณยาที่ระบุไว้น้อยมาก เช่น ใช้เพียง 1 หยิบมือ ให้เทน้ำลงไป 1 แก้ว (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) ต้มให้เดือดนาน 10-30 นาที แล้วแต่ว่าต้องการให้น้ำยาเข้มข้น หรือเจือจาง ยาต้มนี้ต้องกินขณะยังอุ่นๆ

2. ยาชง การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งชง โดยหั่นต้อนสมุนไพรสดให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้ง ถ้าต้องการให้ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวให้เอาไปขั่วเสียก่อนจนมีกลิ่นหอม
การชง ใช้สมุนไร 1 ส่วน เติมน้ำเดือดลงไป 10 ส่วน ปิดฝาตั้งทิ้งไว้ 15-20 นาที

3. ยาดอง การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งดอง โดยบดต้นไม้ยาให้แหลกพอหยาบๆ ห่อด้วยผ้าขาวบางหลวมๆ เผื่อยาพองตัวเวลาอมน้ำ
การดอง เติมเหล้าโรงให้ท่วมห่อยา ตั้งทิ้งไว้ 7 วัน

http://i69.photobucket.com/albums/i62/nagini_8013/my%20life/my%20Pharm/P1040197.jpg
4.ยาปั้นลูกกลอน การเตรียม หั้นสมุนไพรสดให้เป็นแว่นบางๆ ฝึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงในขระที่ยายังร้อนแดดอยู่ เพราะยาจะกรอบบดได้ง่าย
การปั้นยา ใช้ผงยาสมุนไพร 2 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม 1 ส่วน ตั้งทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ยาปั้นได้ง่ายไม่ติดมือ ปั้น ยาเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เสร็จแล้วผึ่งแดดจนแห้ง จากนั้นอีก2 สัปดาห์ ให้นำมาผึ่งแดดซ้ำอีกทีเพื่อป้องกันเชื้อราไม่ให้ขึ้นยา

5. ยาตำคั้นเอาน้ำกิน การเตรียม นำสมุนไพรสดๆ มาตำให้ละเอียดหรือจนกระทั้งเหลว ถ้าตัวยาแห้งไปให้เติมน้ำลงไปจนเหลว
การคั้น คั้นเอาน้ำยาจากสมุนไพรที่ตำเอาไว้นั้นมารับประทาน สมุนไพรบางอย่างเช่น กระทือกระชายให้นำไปเผาไฟก่อนแล้วค่อยตำ