|
........การสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในทวีปเอเชีย.........

ลังกามีที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตอนใต้ เป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดียอาณาจักร สุโขทัยกับลังกามีความสัมพันธ์กันทางด้าน พระพุทธศาสนาโดยสุโขทัยถ่ายทอด วัฒนธรรม การนับถือพระพุทธศาสนาให้กับสุโขทัย ในชั้นแรกผ่านมาทาง แคว้นนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมอญ ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ได้มีพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามณี พระภิกษุสงฆ์ที่มีเชื้อพระวงศ์กษัตริย ์สุุ์ุโขทัยได้ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกาโดยตรง นอกจากนั้นสมัย พระมหาธรรมราชาที่ ๑ แห่งอาณาจักรสุโขทัย ยังได้ส่งคณะทูตจากสุโขทัย ไปอาราธนามหาสามีสังฆราชจากเมืองพัน(เมืองเมาะตะมะ) ซึ่งมีวัตรปฏิบัติแบบ ลังกามายังสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยกับลังกาส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันทางด้านพระพุทธศาสนา
ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สุโขทัยได้รับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาจากเมืองนครศรีธรรมราช พระองค์ได้ทรงส่งราชทูตไปยังลังกาพร้อมกับราชทูตของเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อขอพระพุทธสิหิงค์มาไว้สักการบูชาที่อาณาจักรสุโขทัย ทำให้อาณาจักรสุโขทัย ได้แบบอย่างพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาถือปฏิบัติกันในอาณาจักรสุโขทัย อย่างจริงจัง
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เป็นสมัยที่ให้การยอมรับพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ โดยพระองค์ทรงนิมนต์พระสงฆ์มาจากเมืองนครศรีธรรมราช มาประจำอยู่ที่สุโขทัยและแสดงธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ) ที่กลางดงตาลให้กับประชาชนชาวสุโขทัย และช่วยส่งเสริมทางการศึกษา ทางศาสนาและการปฏิบัติทางวินัย นอกจากนั้นยังมีประเพณีในด้านศาสนาเกิดขึ้นแล้ว เช่น การทำบุญ การทอดกฐิน
ในสมัยพระเจ้าเลอไท พระสงฆ์บางรูป เช่น พระมหาเถรศรีศรัทธา ได้เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกในประเทศลังกา เมื่อเดินทางกลับได้นำพระศรีมหาโพธิ์ พระศีวาธาตุ (กระดูกส่วนบนร่างกาย เช่น กรามหรือไหปลาร้า) และพระทันตธาตุมาประดิษฐานไว้ที่กรุงสุโขทัย นอกจากนั้นพระองค์ยังนำพระวินัยที่เคร่งครัดของพระสงฆ์ในนิกายมหาวิหาร มาเผยแผ่ในกรุงสุโขทัย
ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) เป็นสมัยที่อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญด้านพระพุทธศาสนามากที่สุด โดยพระองค์ได้โปรดให้พิมพ์รอยพระพุทธบาท จากประเทศศรีลังกา มาจำหลักลงบนแผ่นหิน แล้วนำไปประดิษฐานยังยอดเขาสุมณกุฎ(ปัจจุบันคือ “เขาหลวง” อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัยเก่า) และเมื่อครั้งพระองค์ฯ เสด็จออกผนวชก็ได้โปรดให้เชิญพระอุทุมพรบุปผาสวามีชาวลังกา มาเป็นพระอุปัชฌาย์
|
ที่มาhttp://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0042/Introduce%20Kingdom%20of%20thai/webpage/webpage/21.html
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/malaiwan_c/historym1/unit03_05.html
สร้างโดย:
นางสาวอภัสรา มูลมณี นางมาลัยวรรณ จันทร