ชนิดของข้อต่อกับการเคลื่อนไหว
![]()
ข้อต่อ (Joint)
ข้อต่อ ( joint ) คือบริเวณที่กระดูก 2 ชิ้นมาเชื่อมต่อกัน เมื่อจำแนกข้อต่อตามลักษณะการเคลื่อนไหว สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ( fibrous joint ) ได้แก่ ข้อต่อของกระโหลกศีรษะ 2. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ( cartilagenous joint ) เป็นข้อต่อที่ประกอบด้วยกระดูกอ่อนอยู่ระหว่างปลาย กระดูกทั้งสองที่มาต่อกัน สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เรียกว่าข้อต่อกระดูกอ่อน ได้แก่ ข้อต่อกระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูก เชิงกราน 3. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก ( sylnovial joint ) เป็นข้อต่อที่มีช่องว่างอยู่ภายใน และภายในโพรงนี้จะมีเยื่อบุที่ทำ หน้าที่ขับของเหลวซึ่งมีลักษณะคล้ายไข่ขาว เรียกว่า น้ำไขข้อ ( sylnovial fluid ) ช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนที่ได้สะดวก ไม่เสียดสี กัน แบ่งออกเป็น 3.1 ข้อต่อแบบบานพับ ( hinge joint ) การเคลื่อนไหวจะจำกัดได้เพียงทิศทางเดียว ได้แก่ ข้อต่อบริเวณข้อศอก หัวเข่า นิ้วมือ นิ้วเท้า ( ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ ) 3.2 ข้อต่อแบบบอลล์ แอนด์ ซอกเคท ( ball and socket joint ) ข้อต่อแบบนี้เกิดจากหัวกระดูกชิ้นหนึ่งมีลักษณะเป็น ทรงกลม สวมเข้าไปในเบ้าซี่งมีลักษณะทรงกลมของกระดูกอีกชิ้นหนึ่ง ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้อิสระหลายทิศทาง ได้แก่ ข้อต่อหัวไหล่ ข้อต่อบริเวณกระดูกโคนขากับกระดูกเชิงกราน 3.3 ข้อต่อแบบอานม้า ( saddle joint ) คล้ายแบบบานพับ แต่สามารถเคลื่อนไหวได้ 2 แนว ได้แก่ ข้อต่อโคนนิ้ว หัวแม่มือ 3.4 ข้อต่อแบบเดือย ( pivot joint ) เป็นข้อต่อที่ทำให้กระดูกชิ้นหนึ่งเคลื่อนที่ไปรอบๆแกนของกระดูกอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่ ข้อต่อที่ต้นคอกับฐานของกะโหลกศีรษะ 3.5 ข้อต่อแบบไกลดิง ( gliding joint ) เป็นข้อต่อที่มีลักษณะแบนราบ ได้แก่ ข้อต่อของข้อมือ ข้อเท้า
![]()
ที่มาของภาพ http://www.thaigoodview.com/node/32910
ก. ข้อต่อแบบบานพับ พบได้ที่บริเวณข้อศอกเคลื่อนไหวได้แค่งอและเหยียดคล้ายกับบานพับประตู
ข. ข้อต่อแบบจุดหมุน ทำให้อวัยวะบางส่วนของร่างกายเคลื่อนไหวรอบจุดศูนย์กลางได้พบได้ที่บริเวณคอทำให้เราหัน
ศีรษะไปทางซ้ายหรือขวาได้
ค. ข้อต่อแบบเบ้าสวม หมุนได้เกือบทุกทิศทาง พบได้ที่บริเวณสะโพกและหัวไหล่
ง. ข้อต่อแบบอานม้า ปลายกระดูกที่มาประกอบเป็นข้อต่อแบบอานม้า จะเคลื่อนไปมาคล้าย ๆ กับการเคลื่อนไหวบนอานม้า
พบได้ที่บริเวณฐานนิ้วหัวแม่มือ
จ. ข้อต่อแบบเลื่อน จะมีผิวแบนเรียบ เลื่อนไปซ้อนกันได้เล็กน้อยในทุกทิศทาง พบได้ที่บริเวณระหว่างข้อกระดูกสันหลัง และที่บริเวณข้อมือ-ข้อเท้า แผ่นกระดูกอ่อน ที่ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เรียกว่า หมอนรองกระดูก ถ้าเสื่อมไปจะไม่สามารถเอี้ยวและบิดตัวได้
ธนาคารกระดูกและเนื้อเยื่อ ตั้งขึ้นเพื่อเก็บกระดูกจากคนหรือสัตว์ที่เสียชีวิตใหม่ๆ ภายใต้อุณหภูมิ – 70 องศาเซลเซียส บางกรณีอาจถึง – 196 องศาเซลเซียส เพื่อลดปฏิกิริยาของกระดูกที่จะกระตุ้นให้ร่างกายต่อต้าน เช่น ที่ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพ กรุงเทพฯ โรงพยาบาลศิริราช
|
- 1
- 2
- 3
- 4
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »