supatkul Avatar

สร้างโดย : สุพัฒน์กุล ภัคโชค
สร้างเมื่อ ศุกร์, 27/06/2551 – 21:42

ปฏิทินสุริยคติไทย

     ปฏิทินสุริยคติไทย คือปฏิทินอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นระบบปฏิทินสุริยคติอ้างวันเดือนปีตรงตามปฏิทินเกรกอเรียนที่มีจำนวนวัน 365 หรือ 366 วันในแต่ละปี โดยปรับเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติไทยเดิมเมื่อ พ.ศ. 2431 (จุลศักราช 1240) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้งสิบสองในปฏิทินตั้งชื่อโดยกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ
     ในปฏิทินไทยจะมีการแสดงปีปฏิทินสุริยคติไทยเป็นหลักแสดงในรูปแบบปีพุทธศักราช และในหลายปฏิทินมักจะมีการแสดงวันพระ วันข้างขึ้น ข้างแรม ปีจีน และคริสต์ศักราชควบคู่กันไป ในปฏิทินปัจจุบัน ระยะห่างระหว่างปีคริสต์ศักราชกับปีพุทธศักราชจะต่างกัน 543 ปี (ซึ่งปี พ.ศ. 2543 จะตรงกับปี ค.ศ. 2000 พอดี)
     ในปฏิทินสุรยคติไทยใช้จำนวนเดือน 12 เดือน ตามปฏิทินเกรกอเรียน โดยจำนวนวันในแต่ละเดือนได้อ้างอิงตามเช่นเดียวกันโดยในแต่ละเดือนจะมีจำนวนวันตั้งแต่ปี 28-31 วัน ชื่อเดือนทรงตั้งโดยกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โดยทรงใช้ตำราจักรราศี ซึ่งแสดงการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปีตามวิชาโหราศาสตร์ โดยทรงนำคำสองคำมาสมาสกัน คำต้นเป็นชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นรวมกับคำว่า “อาคม” หรือ “อายน” ที่หมายถึง “การมาถึง” โดยได้ระบุวันอย่างชัดเจนโดยคำว่า “คม” สำหรับเดือนที่มี 31 วัน และคำว่า “ยน” สำหรับเดือนที่มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 28 หรือ 29 วัน ถ้าเป็นปีอธิกสุรทิน

ชื่อไทย (อักษรย่อ)คำอ่านรากศัพท์ความหมาย
มกราคม (ม.ค.)มะ-กะ-รา-คม หรือ มก-กะ-รา-คมมกร + อาคมการมาถึงของราศีมังกร
กุมภาพันธ์ (ก.พ.)กุม-พา-พันกุมภ + อาพันธ์การมาถึงของราศีกุมภ์
มีนาคม (มี.ค.)มี-นา-คมมีน + อาคมการมาถึงของราศีมีน
เมษายน (เม.ย.)เม-สา-ยนมษ + อายนการมาถึงของราศีเมษ
พฤษภาคม (พ.ค.)พรึด-สะ-พา-คมพฤษภ + อาคมการมาถึงของราศีพฤษภ
มิถุนายน (มิ.ย.)มิ-ถุ-นา-ยนมิถุน + อายนการมาถึงของราศีมิถุน
กรกฎาคม (ก.ค.)กะ-ระ-กะ-ดา-คมกรกฎ + อาคมการมาถึงของราศีกรกฎ
สิงหาคม (ส.ค.)สิง-หา-คมสิงห + อาคมการมาถึงของราศีสิงห์
กันยายน (ก.ย.)กัน-ยา-ยนกันย + อาคมการมาถึงของราศีกันย์
ตุลาคม (ต.ค.)ตุ-ลา-คมตุล + อาคมการมาถึงของราศีตุล
พฤศจิกายน (พ.ย.)พรึด-สะ-จิ-กา-ยนพฤศจิก + อายนการมาถึงของราศีพิจิก
ธันวาคม (ธ.ค.)ทัน-วา-คมธนู + อาคมการมาถึงของราศีธนู

วันสำคัญเดือนมกราคม

เดือนมกราคม (January) มีที่มาจากชื่อเทพโรมัน เจนัส (Janus) เทพแห่งการเริ่มต้นและผู้ปกป้องประตู เจนัสเป็นเทพที่มีสองหน้า เชื่อกันว่าใบหน้าหนึ่งของเขามองไปยังอดีต ส่วนอีกหน้ามองไปสู่อนาคต นอกจากนี้ในยุคโรมันโบราณ ประตูของวิหารเทพเจนัสจะเปิดเวลาที่มีสงครามและจะปิดเวลาที่บ้านเมืองสงบสุขด้วย

วันสำคัญเดือนกุมภาพันธ์

เดือนกุมภาพันธ์ (Febuary) มีที่มาจากคำศัพท์ละตินคือ Februa แปลว่า ชำระล้าง และชื่อเดือน  Februarius ของปฏิทินโรมันโบราณยังตั้งชื่อตามเทศกาล Februalia ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งการชำระล้างด้วย (เทศกาลชำระล้างคือเทศกาลที่ชาวโรมันจะถวายของเซ่นไหว้และของบูชายันแก่เทพแห่งความตาย และเปลี่ยนช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านก่อนเริ่มนับเดือนแรกซึ่งก็คือเดือนมีนาคมตามปฏิทินของโรมิวลุส อ้างอิงจาก learnreligions.com)

วันสำคัญเดือนมีนาคม

เดือนมีนาคม (March) เป็นหนึ่งในชื่อเดือน 12 เดือนที่ตั้งตามชื่อเทพโดยนำมาจากชื่อของเทพแห่งสงครามอย่าง Mars นั่นเอง เพราะในอดีตเดือนมีนาคมคือเดือนแรกที่กองทัพจะเริ่มกลับมาทำการฝึกซ้อมและทำหน้าที่อีกครั้ง นอกจากนี้เดือนมีนาคมซึ่งถือเป็นเดือนที่หนึ่งตามปฏิทินโรมันโบราณยังเป็นช่วงของเทศกาลอีกหลายเทศกาลด้วย

เกร็ดน่ารู้
         วันในสัปดาห์ ของแต่ละวันในเดือนมีนาคม ตรงกับวันในสัปดาห์ของเดือนพฤศจิกายนเสมอ และจะตรงกับวันในสัปดาห์ของเดือนกุมภาพันธ์ในบางปี
         ดอกไม้ประจำเดือนมีนาคม คือ ดอกไวโอเลต 
         อัญมณีประจำเดือนเกิดของเดือนมีนาคม คือ อะความารีน (พลอยสีน้ำทะเลอ่อน)

วันสำคัญเดือนเมษายน

เดือนเมษายนมาจากรากศัพท์ละตินคำว่า Aperio แปลว่า เปิด เพราะเป็นเดือนที่เริ่มหว่านพืชผลและเป็นเดือนแรกเริ่มของฤดูใบไม้ผลิด้วย

วันสำคัญเดือนพฤษภาคม

May หรือ พฤษภาคม มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งการเจริญเติบโต ที่มีชื่อว่า Maia เพราะพวกโรมันเชื่อว่า Maia จะช่วยคุ้มครองพืชพันธุ์ ให้เติบโตอุดมสมบูรณ์ดี

วันสำคัญเดือนมิถุนายน

เดือนมิถุนายน (June) ตั้งมาจากชื่อของเทพีโรมันอย่าง Juno ผู้เป็นเทพีแห่งการแต่งงานและความเป็นอยู่ของผู้หญิง ทำให้ปัจจุบันเราเรียกเจ้าสาวที่แต่งงานในเดือนนี้ว่า June Bride ยังไงหล่ะ นอกจากนี้ยังมาจากรากศัพท์ละตินว่า Juvenis ซึ่งหมายความว่า เยาวชนหรือผู้เยาว์วัยด้วยนะ

วันสำคัญเดือนกรกฎาคม

เดือนกรกฎาคม (July) เป็นเดือนที่ตั้งชื่อมาจาก Julius Caesar ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วง 100 – 44 ปีก่อนคริสตกาลนั่นเอง โดยชื่อของเดือนนี้ตั้งตามชื่อของเขาหลังจากที่เขาเสียชีวิตในช่วง 46 ปีก่อนคริสตกาล เพราะจูเลียส ซีซาร์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการปรับปรุงปฏิทินโรมันซึ่งมีอิทธิพลต่อปฏิทินเกรกอเรียนที่เราใช้งานในปัจจุบัน

วันสำคัญเดือนสิงหาคม

เดือนสิงหาคม (August) ตั้งชื่อตามจักรพรรดิโรมันพระองค์แรกผู้เป็นหลานชายของจูเลียส ซีซาร์ นั่นก็คือ ออกุสตุส ซีซาร์ นั่นเอง นอกจากนี้ยังมาจากรากศัพท์ละตินคำว่า Augustus ที่แปลว่าน่าเคารพ สูงส่ง และสง่างาม

วันสำคัญเดือนกันยายน

เดือนกันยายน (September) มีที่มาจากรากศัพท์ละตินว่า Septem หมายความว่า เจ็ด เพราะนี่คือเดือนที่เจ็ดตามปฏิทินโรมัน ใครสงสัยว่าทำไมนับเป็นเดือนที่เจ็ด ก็ตามที่เรากล่าวไว้ข้างต้นเลยค่ะว่าในอดีตชาวโรมันเริ่มนับเดือนมีนาคมเป็นเดือนหนึ่ง ไล่ไปจนถึงเดือนธันวาคมเป็นเดือนสิบ ก่อนจะมีการตั้งชื่อของเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์รวมถึงการย้ายทั้งสองเดือนไปอยู่ช่วงต้นปีในตอนหลังด้วย ทำให้ชื่อของเดือนกันยายนเป็นชื่อที่มีความหมายว่าเดือนเจ็ดนั่นเอง

วันสำคัญเดือนตุลาคม

เดือนตุลาคม (October) เป็นเดือนที่แปด มาจากรากศัพท์ละตินคำว่า Octo ที่แปลว่าแปด แต่เดือนตุลาคมก็มีเรื่องเล่าน่าสนใจนะคะ กล่าวคือเมื่อโรมันเปลี่ยนมาใช้ระบบปฏิทินสิบสองเดือน พวกเขาพยายามเปลี่ยนชื่อของเดือนนี้ตามกษัตริย์โรมันหลายพระองค์แต่ก็ไม่ลงตัวสักที! สุดท้ายก็ต้องกลับมาใช้ชื่อ October เหมือนเดิม นอกจากนี้ในอังกฤษโบราณพวกเขายังเรียกชื่อของเดือนนี้ว่า Winmonath ซึ่งแปลว่าเดือนแห่งไวน์ รวมถึงเรียกว่า Winterfylleth หรือจันทร์เต็มดวงฤดูหนาวเพราะพวกเขามองว่าจันทร์เต็มดวงคือสัญลักษณ์การเริ่มต้นของฤดูหนาวเนื่องจากเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่เริ่มมีหิมะและลมพัดแรงนั่นเอง

วันสำคัญเดือนพฤศจิกายน

เดือนพฤศจิกายน (November) มาจากรากศัพท์ละตินคำว่า Novem แปลว่า เก้า เพราะเดือนนี้คือเดือนที่เก้าตามปฏิทินโรมันโบราณ 

วันสำคัญเดือนธันวาคม

เดือนธันวาคม (December) มาจากรากศัพท์ละตินคำว่า Decem แปลว่าสิบ เพราะนี่คือเดือนที่สิบซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายตามปฏิทินโรมันโบราณค่ะ