ฉะเชิงเทรา (Chachoengsao) Ep.01 : วัดโสธรวรารามวรวิหาร

สร้างโดย : นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
สร้างเมื่อ : 08 ธันวาคม 2565

ฉะเชิงเทรา (Chachoengsao) Ep.01

วัดโสธรวรารามวรวิหาร

    วัดโสธรวรารามวรวิหาร คือวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพุทธโสธร” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันภายในพระอุโบสถจะอบร่ำไปด้วยควันจากธูปเทียน อันเป็นเสมือนตัวแทนแห่งศรัทธาของผู้คนจากทุกสารทิศที่เดินทางมาสักการะและขอพรจากหลวงพ่อพุทธโสธรกันอย่างเนืองแน่น โดยเชื่อกันว่าพระพุทธรูปรูปองค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ดลบันดาลให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยหลวงพ่อพุทธโสธรนั้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48 เมตร สร้างขึ้นตามแบบศิลปะล้านช้าง กล่าวกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาและมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดโสธรวรารามวรวิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2313 ซึ่งพระพุทธรูปของจริงนั้นหล่อด้วยสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้างศอกเศษ มีพุทธศิลป์งดงามมาก แต่ทางวัดเกรงว่าจะมีผู้คนมาลักขโมยไปจึงได้นำปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมี ลักษณะที่เห็นในปัจจุบันและได้ประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถหลังใหม่ที่สร้างขึ้นตามแบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์ ขณะเดียวกันภายในบริเวณวัดยังมีวิหารจำลอง อันเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโสธรองค์จำลองซึ่งเปิดให้ประชาชนได้กราบสักการะด้วยเช่นกัน

ประวัติหลวงพ่อพุทธโสธร

    พระพุทธโสธร หรือเรียกกันสามัญทั่วไปว่า”หลวงพ่อโสธร”เป็นพระทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์เป็นมิ่งขวัญของชาวแปดริ้วและเป็นที่รู้จัก เคารพบููา ของ ประชาชนทั่วประเทศ หลวงพ่อโสธร เป็นพระรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปพอกปูนลง รักปิดทองพระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง หรือเรียกกันสามัญว่า พระลาว พระพุทธรูปแบบนนิยมสร้างกันมากที่เมือง หลวงพระบาง อินโดจีนและภาคอิสาน ของประเทศไทย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธร อำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทราตำนานหรือประวัติของ หลวงพ่อโสธรนี้หาหลักฐาน ยืนยันแน่นอนไม่ได้เป็นเพียงคำบอกเล่าสืบๆกันมา ประวัติที่เกี่ยวกับวัดโสธรเท่านั้น หลวงพ่อโสธรมา ประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรนานเท่าใด พอจะมีคำบอกเล่าอันเกี่ยวโยง ถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติ หลวงพ่อพ่อวัดบ้านแหลมกับหลวงพ่อวัดโสธรลอยน้ำมาด้วยกัน และเป็นพี่น้องกันและชาวบ้านแหลม ได้อัญเชิญหลวงพ่อวัดบ้านแหลม ขึ้นจากน้ำ เมื่อ พ.ศ. 2313 จึงคาดคะเนว่าหลวงพ่อก็มาประดิษฐานอยู่ที่ วัดโสธร ราว พ.ศ.2313 หรือก่อนนั้นก็ไม่นานนัก

    ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธร นี้มีผู้เล่าสืบๆ กันมาหลายกระแสว่า หลวงพ่อโสธรลอยน้ำมามีคำปรารถว่า ล่วงกาลนานมาแล้วยัง มีพระพี่น้องชายสามองค์อยู่ทางเมืองเหนือ มีอิทธิปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้ ได้อภินิหารล่องลอยตามแม่น้ำมาจากทิศเหนือเพื่อให้คน ทางทิศใต้ได้เห็น ในที่สุดมาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางปะกงที่ตำบลสัมปทวนและแสดงปาฏิหารย์ลอยน้ำและ ทวนน้ำได้ทั้งสามองค์ ประชาชน ชาวสัมปทวนได้พบเห็นจึงช่วยกันเอาเชือกรวน มนิลาลงไปผูกมัดที่องค์พระพุทธรูปทั้งสามองค์นั้น แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้นฝั่ง ด้วยจำนวนผู้คนประมาณ 500 คน ก็ฉุดขึ้นไม่ได้เชือกขาด ไม่สำเร็จตามความประสงค์ พากันเลิกไป ครั้นแล้วพระพุทธรูปหล่อทั้ง สามองค์ก็จมน้ำ หายไป สถานที่พระสามองค์ลอยน้ำและทวนน้ำได้นี้เลยให้ชื่อว่า”สามพระทวน” ต่อมา เรียกว่า “สัมปทวน” ได้แก่ แม่น้ำหน้าวัดสัมปทวนอ.เมืองแปดริ้ว ต่อจากนั้นพระทั้งสามองค์ก็ลอยตามแม่น้ำบางปะกง เลยผ่านหน้าวัดโสธรไปถึงคุ้งน้ำ ใต้วัดโสธร แสดงฤทธิ์ผุดขึ้นให้ชาวบ้านบางนั้นเห็น ชาวบ้านได้ช่วยกันฉุดขึ้นฝั่งทำนองเดียวกับ ชาวสัมปทวนแต่ก็ไม่สำเร็จ จึงเรียกหมู่บ้าน และคลองนั้นว่า ” บางพระ ” มาจนทุกวันนี้

    จากนั้นพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้แผลงฤทธิ์ ลอยทวนน้ำวนอยู่ที่หัวเลี้ยวตรง กองพันทหารช่างที่ 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา และแสดง ปาฏิหาริย์จะเข้าไปในคลองเล็กๆ ตรงข้ามกองพันทหารช่างนั้นสถานที่พระลอยวนอยู่นั้นเรียกกันว่า ” แหลมหัววน” และคลองนั้น ก็ได้นามว่า คลองสองพี่น้อง (สองพี่สองน้อง) หลังจากนั้นองค์พี่ใหญ่ได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ไปลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชน ประมาณสามแสนคนช่วยกันฉุดอาราธนาขั้นฝั่งก็ไม่สำเร็จแล้วล่องเลยไปผุดขึ้นที่ลำน้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ประชาชนชาวประมง อาราธนา ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดบ้านแหลม ทุกวันนี้เป็นที่บูชานับถือกันว่าเป็นพระศักดิสิทธิ์เท่าๆ กับหลวงพ่อโสธร ส่วนองค์สุดท้อง ล่องลอยไปผุดขึ้นที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการและชาวบางพลีได้อัญเชิญประดิษฐานอยู่ที วัดบางพลีใหญ่ในอำเภอบางพลี ก็ปรากฏว่ามีผู้คนเคารพนับถือมาก พระพุทธรูปหล่อองค์กลาง นั้นคือ หลวงพ่อโสธร เมื่อลอยตามน้ำมาจากหัววน ดังกล่าวแล้วมาผุด ขึ้นที่ท่าหน้าวัดโสธร กล่าวกันว่า ประชาชนจำนวน มากทำการบวงสรวงแล้วเอาด้ายสายสิญน์คล้อง กับพระหัตถ์หลวงพ่อโสธร อัญเชิญขึ้นมาบนฝั่งนำ ไปประดิษฐาน ในวิหารสำเร็จตามความประสงค์ แล้วก็จัดให้มีการฉลองสมโภชและให้นามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อโสธร

ประวัติวัดโสธรวรารามวรวิหาร
    วัดโสธร อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 ก.ม อยู่ริมแม่น้ำบางประกง และติดกับค่ายศรีโสธร ซึ่งเป็นที่ตั้งกองพันทหารช่างที่ 2 (ช.พัน2) ตามหนังสือประวัติพระพุทธโสธร รวบรวมโดย พระมหาก่อเขมทสสี ขณะเมื่อยังเป็นเจ้าคุณพระเขมารามมุนีได้กล่าวว่า เดิมวักโสธรนี้ มีชื่อว่า ” วัดหงส์” เพราะที่วัดมีเสาใหญ่มีรูปหงส์เป็นเครื่องหมายติดอยุ่บนยอดเสา วัดนี้สร้างในสมัยไม่ปรากฏ แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าเป้นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หรือต้นสมัยกรุงธนบุรี ราวปี พ.ศ 2307 มูลเหตุที่วัดนี้ที่ได้ชื่อว่าโสธร มีผู้เฒ่าเล่าสืบกันมาว่าหงส์ซึ่งอยู่บนยอดเสาใหญ่ถูกลมพายุพัดลงมา ครั้นหงส์ตกลงมาแล้วก็เหลือแต่เสาใหญ่จึงมีบุคคลเอาธงขึ้นแขวนแทน เลยเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดเสาธง” ต่อมาเกิดลมพายุกล้าพัดเสาธงหักโค่นลงมาเป้นสองท่อน ประชาชนที่ถือเอาเครื่องหมายเสาธงหักเป็นท่อนนั้น ตั้งชื่อว่า “วัดเสาทอน” ครั้นต่อมาค่อย ๆ เพี้ยนแล้วห้วนเข้าเลยเรียกกันว่า”วัดโสธร” จนกระทั่งปัจจุบันนี้
    นามวัดโสธรนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เคยทรงรับสั่งว่าเป็นนามที่ไพเราะและแปลก ทั้งแปลได้ความดีมาก และทรงสันนิษฐานว่า ผู้ที่ให้ชื่อวัดไว้คงไม่ใช่คนที่ไม่รู้เรื่อง
    ชื่อวัดโสธร หรือวัดโสทร ปรากฏในเรื่องนำเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทราของนายตรี อำมาตยกุล พิมพ์ลงในวารสารปีที่ 6 เล่ม 7 มีข้อความเกี่ยวกับชื่อวีดโสธรนี้ว่า”เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เสด็จประพาสวัดนี้เมื่อพ.ศ 2451 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเหล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฏราชกุมาร ยังทรงเขียนชื่อวัดนี้ว่า “วัดโสทร” ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวัดโสธรเห็นจะเป็นในราวรัชกาลที่ 6 นี้เอง แต่ยังหาหลักฐานวันเดือนปีที่เริ่มใหม่ไม่ได้” อย่างไรก็ตาม ปรากฏในแถลงการณ์คณะสงฆ์เล่ม 6 หน้า 105 พ.ศ 2461 ลงเรื่องระยะทางสมเด็จพระมหาสมณะ เสด็จตรวจคณะสงฆ์ในมณฑลปราจีนบุรี พ.ศ2459 ชื่อวัดโสธรได้เขียนไว้อย่างนี้แล้ว พอจะอนุมานได้ว่าได้เปลี่ยนชื่อวัดโสทรเป็นวัดโสธร ในราวต้นรัชกาลที่6 ฉะนั้นผู้ที่เขียนชื่อวัดโสธร เป็นวัดโสทร ภายหลังปี พ.ศ 2459 แล้ว น่าจะเกิดจากการสะกดผิดมากกว่าที่จะมีเจตนาเขียนเช่นนั้น
    เมื่อคราวพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมณฑลปราจีน ร.ศ127 ได้มีพระราชหัตถเลขาถึงมกุฏราชกุมาร ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับชื่อวัดโสธรว่า “กลับมาแวะวัดโสทรซึ่งกรมดำรงฯ คิดจะแปลว่า ยโสธร จะให้เกี่ยวข้องแก่กาลที่ได้สร้างเมื่อเสด็จกลับจากไปตีเมืองเขมร แผ่นดินพระบรมไตรโลกานาถ หรือเมื่อใดราวนั้น แต่เป็นที่น่าสงสัยเห็นด้วยใหม่นัก…” พระราชปรารถตอนนี้ทำให้เกิดความคิดว่าชื่อวัดโสธรนี้จะเป็นการถูกต้องแล้ว หรือโดยได้ทรงระลึกถึงพระที่นั่ง” ยโสธรมหาพิมานบรรยงค์” ในรัชกาลแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง ได้ยกทัพไปตีเมืองเขมร ได้ชัยชนะ ทรงพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติด้วยถ่ายแบบประสาทกับพระที่นั่งในเมืองยโสธร นครธมมาแล้วในกรุงศรีอยุธยา ทำให้สงสัยว่าจะตกตัว”ย” ไปเสียหรืออย่างไร คงเหลือแต่ ” โสธร ” เท่านั้น แต่ในที่สุดพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงปลงพระทัยจะเชื่อนักเพราะทรงเห็นว่าวัดโสธรนี้ยังใหม่ ดังปรากฏตามพระราชปรารถดังกล่าวข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า ” โสธร ” กับ “ยโสธรมหาพิมานบรรยงค์” มิใช่เป็นสถานที่แห่งเดียวกัน มีที่มาและความหมายต่างกัน
    อนึ่ง อำเภอโสธรที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดโสธรนี้ เมื่อชื่อจะคล้ายคลึงกันก็ตาม คำว่า “ยโสธร” แปลว่าทรงยศ เดิมอำเภอยโสธรเรียกว่า อำเภอยศ เพราะเป็นเมืองชื่อว่ายศสุนทร ตั้งขึ้นในราว พ.ศ 2280 ภายหลังเปลี่ยนเป็นเมืองยโสธรแล้วยุบเป็นอำเภอ เมื่อราว พ.ศ2454
    วัดโสธรเป็นวัดราษฏรมาแต่ดั้งเดิม พึ่งได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า ” วัดโสธรวรารามวรวิหาร” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2501
    ข้อความจากหนังสืองานประจำปีหลวงพ่อโสธร ปี พ.ศ2505

ข้อควรรู้ :

  • การเข้านมัสการหลวงพ่อโสธรที่โบสถ์ใหม่นั้น ขอความกรุณาแต่งกายสุภาพ กางเกงหรือกระโปรงควรมีความยาวเลยเข่า, เสื้อไม่บาง, เอวไม่ลอย, งดเสื้อสายเดี่ยวแขนกุดทุกชนิด
  • เรื่องที่ห้ามบนบานกับหลวงพ่อโสธรคือ เรื่องขอไม่ให้เป็นทหาร กับเรื่องขอบุตร ทั้งนี้ เพราะหลวงพ่อท่านชอบให้คนเป็นทหาร เพื่อจะได้ปกปักรักษาบ้านเมือง ส่วนคนที่มาขอบุตรก็มักจะได้บุตรที่มีอาการไม่ครบ 32 เนื่องจากว่าท่านได้ส่งลูกหลานซึ่งเป็นทหารที่บาดเจ็บล้มตายมาให้นั่นเอง
  • ที่ตั้ง : ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา
  • เปิดเข้าชม : ทุกวัน 07:00 – 16:15 น.

แหล่งข้อมูล :

  • https://thai.tourismthailand.org/Attraction/วัดโสธรวรารามวรวิหาร
  • www.sotorn.net

ภาพโดย : www.thaigoodview.com