ศิลปะไทย

สร้างโดย : นางสาวธิติยา สุเมธเมธาชัย และนายสุทัศน์ ตั้งฮั่น
สร้างเมื่อ จันทร์, 27/12/2010 – 19:43
มีผู้อ่าน 1,819,662 ครั้ง (09/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/82061

ศิลปะไทย

ความหมาย

        ศิลปะไทย หมายถึง ผลงานศิลปะที่มีการคิดค้นและสร้างสรรค์ตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
ไทยซึ่งมีรูปแบบและวิธีการเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์โดยมีการประยุกต์สร้างสรรค์ และมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา

http://region6.prd.go.th

        ศิลปะไทยเป็นสิ่งที่ศิลปินครูช่างโบราณของไทยได้สร้างสรรค์ขึ้น เป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ โดยสร้างสรรค์จากอุดมคติของศิลปินมาสู่ความจริงตามธรรมชาติและได้มีการถ่ายทอดกันไปตามยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน   

        ศิลปะเกิดจากแรงผลักดันภายในของศิลปิน สะท้อนความคิด ความรู้สึก ร้อน เย็น ทุกข์ โศก ดีใจ เสียใจ เป็นการสื่อสาร และสื่อความหมาย จากความรู้สึกภายในของศิลปินแต่ละคน อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีความแตกต่างไปจากการใช้ภาษา พูด หรือเขียน ศิลปะไม่มีขีดจำกัดในการแสดงออก ด้วยรูปแบบวิธีการ เทคนิค เนื้อหาศิลปินเป็นส่วนหนึ่งของสังคมย่อมสะท้อน ความคิด ความรู้สึก ความเป็นไปในสังคมนั้นๆ ศิลปะไทย เป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ โดยสร้างสรรค์จากอุดมคติของศิลปิน มาสู่ความจริงตามธรรมชาติและได้มีการถ่ายทอดกันไปตามยุคสมัย จนถึงปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมา

        ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น  ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ และพืชผลการเกษตร มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสายสำคัญทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ลงอ่าวไทย เมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์เช่น พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสายนี้ รวมถึงสุโขทัยริมฝั่งแม่น้ำยม อันเป็นต้นน้ำแขนงหนึ่งที่ไหลบรรจบเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำจึงถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหล่อหลอมศิลปวัฒนธรรมไทย ศิลปะไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียโดยเฉพาะอินเดียตอนใต้ แต่ก็นำมาปรับเปลี่ยนให้ตรงกับรสนิยมของตนเอง ศิลปะเหล่านี้มาพร้อมกับการรับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนา ศิลปะไทยส่วนใหญ่จึงเกิดจากแรงผลักดันของศาสนาดังกล่าวเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม  ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะไทย ยังต้องเรียนรู้ศิลปะของอารยธรรมโบราณในประเทศไทย ซึ่งช่วยหล่อหลอมให้เกิดลักษณะเฉพาะของศิลปะไทยในภายหลัง อารยธรรมเหล่านี้ได้แก่ อารยธรรมทวารวดี อารยธรรมศรีวิชัย อารยธรรมขอม

http://203.172.204.162

        ศิลปะในประเทศไทยระยะแรกได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องดวงวิญญาณและอำนาจลี้ลับ ดังจะเห็นได้ว่า เครื่องประดับร่างกายหรือภาชนะดินเผาบ้านเชียง นอกจากทำขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันแล้ว ยังทำขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมฝังศพ ศิลปะต่อมาได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูจากอินเดีย ซึ่งเชื่อว่าเผยแพร่ครั้งแรกในภาคใต้บริเวณจังหวัด กระบี่ นครศรีธรรมราช เพราะพบเทวรูปเก่าแก่หลายชิ้นในแถบนี้ สำหรับพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน หรือเถรวาทเผยแพร่สู่ประเทศไทย ตั้งแต่ก่อนสมัยทวารวดี แต่หลักฐานทางศิลปะส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ดังพบพระพุทธรูปและสถูปมากมาย ซึ่งมีลักษณะคล้ายศิลปะอมราวดี คุปตะ และหลังคุปตะ ส่วนฝ่ายมหายานเข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย ระยะเดียวกับที่เผยแพร่สู่ชวาในประเทศอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายศิลปะคุปตะ  หลังคุปตะ และปาละ – เสนา ศาสนาตอนกลางของตะวันออกตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย โดยตั้งศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรี การเรียกศิลปะลพบุรีจึงหมายถึงศิลปะขอมในประเทศไทยนั่นเอง ระยะต่อมาศิลปะไทยได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาฝ่ายหินยานหรือเถรวาท ซึ่งเข้ามา 2 ทาง คือ จากพุกามของพม่าและลังกา โดยส่งผลตั้งแต่สมัยเชียงแสนตลอดจนถึงสมัยสุโขทัยเรื่อยมา พร้อมนำแบบอย่างศิลปะพุกามและลังกาเข้ามาด้วย แต่ศิลปะไทยยังมิอาจหลีกพ้นจากคติศาสนาพราหมณ์หรือมหายาน คติเหล่านี้ได้ผสมผสานแทรกซึมอยู่ในศิลปะไทยตลอด โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเทพและแผนภูมิจักรวาล นอกจากศาสนาแล้ว สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติก็มีอิทธิพลต่อศิลปะไทยเช่นกัน ความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าไม้ ดิน แร่ ทำให้สถาปัตยกรรมไทยส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ หรือ ก่ออิฐ ใช้ไม้แกะสลัก ดินเผา หรือ ปูนปั้นตกแต่งลวดลาย

http://images.palungjit.com
http://images.palungjit.com

        ศิลปะไทยในระยะหลังยังได้รับอิทธิพลจากศิลปะอื่นๆ ไม่ว่าจะ จีน อาหรับ หรือตะวันตกโดยเฉพาะศิลปะตะวันตกมีอิทธิพลอย่างยิ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา วัฒนธรรมของชาวตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทเกือบทุกด้าน อันเป็นเหตุให้ศิลปะไทยเสื่อมสลายลง และเกิดการสร้างสรรค์ รูปแบบใหม่ๆ นอกเหนือประเพณีเดิม ศิลปะไทยปรากฎทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และศิลปหัตถกรรม

อ่านเพิ่มเติม...

ประเภทของศิลปะ

จิตรกรรมไทย
        หมายถึง การเขียนภาพ และการระบายสี ตามรูปแบบไทยอันได้แก่ การเขียนลวดลายไทย การระบายสี และการปิดทองในภาพเขียนเกี่ยวกับวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และพุทธประวัติโดยสร้างสรรค์ลงในหอสมุดไทย ตกแต่งฉากไม้ ลับแล พนักพิงบานประตู หน้าต่าง และฝาผนังในพระอุโบสถ วิหาร หอไตร ซึ่งเรียกว่า..งานจิตรกรรมฝาผนัง..ตลอดจนการเขียนลวดลายรดน้ำปิดทองและลวดลายบนภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ

http://personal.swu.ac.th/students

ประติมากรรมไทย
        หมายถึง การปั้น การหล่อ การแกะ การสลัก อันเป็นลักษณะประจำชาติไทย ซึ่งเป็นงานที่มีลักษณะเป็น 3 มิติ ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปั้นและการหล่อพระพุทธรูป จึงเรียกงานศิลปะไทยประเภทนี้ว่า… ปฏิมากรรม ซึ่งหมายถึง..รูปแทนบุคคล เพื่อนำมาเคารพบูชา

http://www.sansai.ac.th

สถาปัตยกรรมไทย
        หมายถึง ศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยมสามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภทคือ สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนักวัง และพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก และ เรือนเครื่องสับ ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ได้แก่ โบสถ์, วิหาร, กุฎิ, หอไตร, หอระฆังและหอกลอง, สถูป, เจดีย์

http://www.prachuapkhirikhan.go.th

วรรณกรรมไทย
        เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร ได้แก่

  1. ภาษาพูด โดยการใช้เสียง
  2. ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
  3. ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น

        ชาติไทย เป็นชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ มีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน นอกจากนี้ ยังมีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษาได้อย่างไพเราะ ถือเป็นความงามของการใช้ภาษา จากการแต่งโคลง กลอน คำประพันธ์ ร้อยแก้วต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำ ราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรง และยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet) วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

  1. ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
  2. ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความ งามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย

ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย
        เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้เสียง การจัดจังหวะ และท่วงทำนองของเสียง ด้วยการเล่นดนตรี และการขับร้องเพลง ที่มีผลต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ รวมถึงการใช้ ท่าทางประกอบเสียง การเต้น ระบำ รำ ฟ้อน การแสดงละคร ฯลฯ ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวผู้สร้างสรรค์งาน เรียกว่า นักดนตรี (Musician) นักร้อง (Singer) หรือ นักแสดง (Actor / Actress)

http://cdare.bpi.ac.th/

ลักษณะ

        ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดปราณีต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา
        ภาพไทย หรือ จิตรกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ

  1. เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล
  2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ
  3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ
  4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่ว ภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง และเส้นสินเทาหรือ คชกริด เป็นต้น
  5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้น
http://screenceramic.co.th/
https://www.bloggang.com/data/nucho

เอกลักษณ์

        ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดปราณีต ซึ่งแสดงให้   เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา งานศิลปะไทย หรือจิตรกรรมไทยจัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติ ของกระบวนงานช่างไทย คือ

https://imageshack.com/

1. เอกลักษณ์ของจิตรกรรมไทย

  1. เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล
  2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ
  3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ
  4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่วภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง และเส้นสินเทาหรือคชกริด เป็นต้น
  5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้นภาพลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีธรรมชาติมาเป็นแรงดลบันดาลใจ โดยดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นลวดลายใหม่อย่างสวยงาม เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว ฯลฯ ลายไทยเดิมทีเดียวเรียกกันว่า “กระหนก”
http://th.88dbmedia2.jobsdb.com/

2.เอกลักษณ์ของประติมากรรมไทย

  1. ไม่แสดงความแตกต่างของพื้นผิว งานประติมากรรมไทย มีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดคือนิยมขัดแต่งผิว ให้เรียบเนียน เกลี้ยงเกลา ทำให้เกิดคุณค่าทางความงามจากความอ่อนช้อยคดโค้งของรูปและลวดลาย รวมทั้งการตัดกันระหว่างรูปกับพื้น(ช่องไฟ)
  2. ไม่นิยมปั้นหรือแกะสลักคนเหมือน คตินิยมของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ จะไม่มีการสร้างงานประติมากรรมเป็นรูปคนเหมือน ดังนั้นจึงไม่มีพระบรมรูปกษัตริย์ไทยที่เป็นงานประติมากรรมไทยแต่จะสร้างพระพุทธรูปและเทวรูป เป็นสื่อแทนให้เคารพสัการะ
  3. ไม่แสดงกล้ามเนื้อในรูปทรงของคนและสัตว์ งานประติมากรรมไทยมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ อีกอย่างหนึ่งคือ ไม่แสดงกล้ามเนื้อ กระดูก และเส้นเอ็น ให้เห็นในลักษณะที่เป็นธรรมชาติเหมือนจริง แต่จะแสดงความงามตามอุดมคติ คือความเกลี้ยงเกลา อ่อนช้อย
  4. แฝงอยู่ในลักษณะของเครื่องประดับและตกแต่ง งานประติมากรรมไทยนอกจากพระพุทธรูป และเทวรูปแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อการประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมไทย ให้มีคุณค่าทางความงามยิ่งขึ้น เช่นลวดลายประดับฐานบานประตู และผนังของสถูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
https://www.bangkoksculpturecenter.org/

3. เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทย

  1. นิยมสร้างเรือนชั้นเดียว การสร้างเรือนไทย หรือที่อยู่อาศัยของคนไทยนั้นนิยมสร้างเป็นเรือนชั้นเดียว โดยยกพื้นสูงพ้นระดับดิน เพื่อไม่ให้น้ำท่วมเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก และช่วยให้ปลอดภัยจากสัตว์ร้ายซึ่งในสมัยก่อนมีชุกชุม
  2. มีโครงสร้างง่ายๆและเปิดเผย งานสถาปัตยกรรมไทยนิยมสร้างด้วยไม้และออกแบบโครงสร้างง่ายๆไม่มีความซับซ้อน ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่มีความสมดุล ประสานกลมกลืนของชิ้นส่วนที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนสะดวกในการเรียนรู้และจดจำนำไปก่อสร้าง
  3. มีหลังคาทรงสูงและมีกันสาดยื่นออกมา การสร้างหลังคาของเรือนไทยนิยมสร้างเป็นทรงสูง “รูปทรงสามเหลี่ยม” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไทย ทั้งนี้เนื่องจากเมืองไทยมีอากาศร้อนอบอ้าว ฝนตกชุก การสร้างหลังคาทรงสูง จะช่วยระบายความร้อนได้ดี และยังให้การไหลเทของน้ำฝนได้ดี อีกด้วยถือเป็นภูมิปัญญาของช่างไทย
  4. สร้างหลังคาซ้อนกันหลายชั้น งานสถาปัตยกรรมไทยมีความงดงามอย่างเด่นชัดคือการสร้างหลังคาซ้อนกันหลายชั้น ซึ่งทำให้เกิดความงามในการจัดองค์ประกอบศิลป์ อย่างมีชั้นเชิง ซึ่งสอดคล้องกับคตินิยมที่ว่า การอาศัยอยู่ภายใต้หลังคาหรือร่มฉัตรที่ซ้อนกันหลายๆชั้นนั้น นับเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง
https://upload.wikimedia.org/wikipedia

ศิลปะแต่ละสมัย

        ผลงานด้านศิลปกรรมได้มีการพัฒนาการจากสู่รูปแบบที่หลากหลาย จึงมีการแบ่งแบบแผนหรือรูปแบบศิลปกรรมออกเป็นศิลปะทวารวดี ศิลปะศรวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะสุโขทัย ศิลปะล้านนา ศิลปะอยุธยา และศิลปะรัตนโกสินทร์

ศิลปะทวารวดี

        จากความเชื่อที่ว่ามีอาณาจักรหนึ่งรุ่งเรีองขึ้นใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 อาจจะมีราชธานีตั้งอยู่ใกล้กันกับเมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตราในปัจจุบัน นี้  บางครั้งอาณาจักรนี้อาจจะได้ครอบครองแหลมมลายูและดินแดนบางส่วนในภาคใต้ของ ประเทศไทยด้วย นักปราชญ์ทางโบราณคดีเรียกชื่ออาณาจักรนี้ว่า “ศรีวิชัย” ตามจารึกที่ค้นพบที่กล่าวมา ได้ส่งผลให้มีการเรียกชื่อศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยในช่วง ระยะเวลานั้นว่า “ศิลปะแบบศรีวิชัย”  ศิลปกรรมสกุลช่างนี้ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และมีรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ หลังคุปตะ ปาละ-เสนะ และศิลปะชวาภาคกลาง ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 12 หรือ 13-14 ขณะเดียวกัน ก็ยังได้พบงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจามและเขมรโบราณ รวมทั้งงานประติมากรรมและศิลาจารึกภาษาทมิฬ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโบราณในภาคใต้ของไทยกับ ชุมชนโบราณในประเทศอินเดียตอนใต้ด้วย

https://www.oknation.net/blog/home/

สถาปัตยกรรม
        ในปัจจุบันนี้ได้มีการค้นพบสถาปัตยกรรมที่เนื่องในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ที่ได้มีการสร้างสรรค์ขึ้นบนคาบสมุทรไทยสองประเภท คือ ประเภทแรก ได้แก่ สถูป (Stupa, or Tupa) และประเภทที่สอง ได้แก่ เจติยสถาน (Chaitya Hall)

1. สถูป (Stupa, or Tupa)
        สถูปในศิลปะแบบศรีวิชัยนั้น ถึงแม้ว่าจะปรากฏขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วทั้งคาบสมุทรไทยก็ตาม แต่ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม สถูปในศิลปะแบบนี้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบปาละที่เจริญรุ่งเรือง ขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกเแยงเหนือของประเทศอินเดีย  เป็นสถูปที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม  เหนือส่วนฐานขึ้นไปเป็นรูปจำลองของอาคารทรงมณฑปรูปสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้งสี่ด้าน เหนือส่วนอาคารขึ้นไปเป็นส่วนยอดของสถูป ซึ่งทำเป็นสถูปรูปทรงกลมที่มียอดแหลมขึ้นไป จากสถูปที่มีการค้นพบในขณะนี้ สามารถที่จะจัดแบ่งออกได้เป็นสองรูปแบบ โดยสถูปรูปแบบแรกมีการสร้างสรรค์ขึ้นในระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 เป็นสถูปที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบปาละของอินเดีย ส่วนสถูปในรูปแบบที่สองมีการสร้างสรรค์ขึ้นในระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 16-19 เป็นสถูปที่ได้วิวัฒนาการออกไปจากสถูปในรูปแบบแรกไปสู่รูปแบบทางศิลปะที่ เป็นของท้องถิ่น
        – สถูปรูปแบบแรก เป็นสถูปที่มีแผนผังเป็นรูปกากบาท ตั้งอยู่บนส่วนฐานที่อาจจะมีเพียงชั้นเดียวหรือซ้อนกันหลายชั้น เหนือส่วนฐานขึ้นไปเป็นส่วนองค์ของสถูปเป็นรูปมณฑปและมีซุ้มทั้งสี่ด้าน เหนือส่วนองค์ของสถูปนี้ขึ้นไปเป็นส่วนยอด ซึ่งทำเป็นสถูปทรงกลม สถูปที่สำคัญในรูปแบบนี้ยังคงปรากฏอยู่หลายแห่ง อาทิ

  • สถูปวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นสถูปที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ตรงบริเวณประตูทางเข้าของระเบียงของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถูปที่มีส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ฐานส่วนใหญ่ฝังอยู่ในพื้นดิน เหนือขึ้นมาเป็นส่วนมณฑปของสถูป มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน เหนือมุขขึ้นไปมีสถูปทรงกลมขนาดเล็กประดับอยู่มุขละองค์ ส่วนตรงกลางเป็นส่วนยอดที่สูงขึ้นไปเป็นสถูปทรงลังกาที่มีฐานเป็นรูปบัวหงาย สถูปองค์นี้มีรูปแบบทางศิลปะคล้ายคลึงกันกับจันทิกาละสัน (Kalasan) ในชวาภาคกลาง ประเทศอินโดนีเซีย ที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 14 และสถูปมิเซิน เอ 1 (Mi Son AI) ที่ดงเดือง ประเทศ   เวียดนาม ที่สร้างขึ้นเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 จึงสันนิษฐานว่าสถูปในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารองค์นี้ได้รับการสร้างสรรค์ ขึ้นในระหว่างราวพุทธศตวรรษที่14-15
  • สถูปวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถูปที่มักจะเรียกกันโดยทั่วไปว่า ” พระบรมธาตุไชยา” ในชั้นเดิมอาจจะมีการสร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกันกับสถูปในวัดแก้ว (หรือวัดรัตนาราม) ที่ตั้งอยู่ใกล้กันกับเมืองโบราณไชยา แต่ระยะหลังอาจจะมีการบูรณะหลายครั้ง จนรูปแบบได้เปลี่ยนแปลงไปมากก็เป็นได้ โดยทั่วไปรูปทรงของสถูปองค์นี้มีลักษณะใกล้เคียงกันกับสถาปัตยกรรมบางหลัง ที่ชวาภาคกลางที่มีรูปสลักไว้บนระเบียงที่สร้างขึ้นโดยรอบสถูปบุโรพุทโธ (Borobudur) ในชวาภาคกลาง ประเทศอินโดนีเซีย แต่จากการที่พระบรมธาตุไชยาได้รับการซ่อมแซมอย่างมากมาย ทำให้มีรายละเอียดเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถจะนำไปเปรียบเทียบกันได้กับ สถาปัตยกรรมที่ชวาภาคกลางและสถาปัตยกรรมของจามในประเทศเวียดนาม แต่อย่างไรก็ดี โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถานแห่งนี้มีรูปแบบอย่างเดียวกันกับศาสนา สถานของจาม จากรายงานในปี พ.ศ. 2439 ได้กล่าวว่าฐานเดิมของโบราณสถานแห่งนี้อยู่ลึกลงไปจากระดับผิวดิน 1.00 เมตร รวมทั้งจากปีดังกล่าวจนถึงปี พ.ศ. 2444 ได้มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ ในรายงานการซ่อมแซมของปี พ.ศ. 2439 ได้กล่าวว่า ได้ค้นพบหลักฐานของการซ่อมแซมโบราณสถานแห่งนี้หลายครั้งในอดีต
https://www.oknation.net/blog/home/
  • สถูปวัดแก้วหรือวัดรัตนาราม ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถูปที่อยู่ในสภาพชำรุดและได้รับการบูรณะแล้ว สถูปแห่งนี้สร้างด้วยอิฐ มีแผนผังเป็นรูปกากบาท ประกอบด้วยห้องโถงกลางและมีมุขอีก 4 ด้าน มุขด้านทิศตะวันออกเป็นทางนำไปสู่ห้องโถงกลาง เป็นสถูปที่ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยม มีบันไดทางขึ้นทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ผนังด้านนอกทำเป็นเสาติดกับผนัง และมีร่องตลอดความยาวของเสา ซุ้มประตูทางด้านทิศใต้ยังคงอยู่ในสภาพดี และยังคงมีซุ้มจำลอง มียอดเป็นวงโค้งเล็ก ๆ ประดับอยู่ สันนิษฐานว่าคงจะมีทั้งสี่ด้าน สถูปองค์นี้มีความคล้ายคลึงกันกับสถาปัตยกรรมในต่างแดนหลายแห่ง โดยลักษณะที่สำคัญของสถูปแห่งนี้ คือ แผนผังเป็นรูปกากบาท ประกอบด้วยห้องโถงกลางและมุขทั้งสี่ด้าน มีลักษณะเหมือนกันกับจันทิกาละสัน ในชวาภาคกลาง ที่มีอายุอยู่ในระหว่างราว พ.ศ. 1333-1343 แต่ลักษณะของการตกแต่งภายนอกมีความคล้ายคลึงกันกับศิลปะจามอย่างชัดเจน รูปแบบของเสาที่มุขทางด้านทิศใต้และลักษณะของลวดบัวเปรียบเทียบกันได้กับ ปราสาทองค์กลางที่โพไฮ (Pho Hai) ในประเทศเวียดนาม ที่มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 14 สำหรับที่ตั้งของซุ้มขนาดเล็กที่ต่อจากเสาที่มุขทางด้านทิศใต้และการตกแต่ง ผนังด้านนอกด้วยเสาจำลองนี้ มีลักษณะคล้ายกันกับปราสาทองค์รององค์หนึ่งที่มิเซิน เอ 1 ที่มีอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 15 ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าแผนผังของสถูปแห่งนี้จะมีลักษณะเหมือนกันกับสถาปัตยกรรมที่มีอายุ อยู่ในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 14 ในชวาภาคกลาง แต่ด้านนอกของสถาปัตยกรรมก็คล้ายคลึงกันกับศิลปะจามในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 15
http://sangtakieng.com/
  • สถูปวัดหลง (ร้าง) ตำบลตลาด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถูปที่อยู่ในสภาพชำรุดและได้รับการบูรณะแล้ว สถูปแห่งนี้สร้างด้วยอิฐ ส่วนฐานมีรูปแบบทางศิลปะเช่นเดียวกันกับสถูปวัดแก้วที่ได้กล่าวมา แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้งในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 สถูปองค์นี้สร้างโดยการก่ออิฐไม่สอปูน ขัดผิวหน้าจนเรียบ แผนผังส่วนฐานเป็นรูปกากบาท มีซุ้มยื่นออกมาตามแนวทิศทั้งสี่ทิศละซุ้ม มุมฐานระหว่างซุ้มเป็นฐานย่อไม้สิบสอง ทางทิศตะวันออกเป็นซุ้มใหญ่ มีบันไดทางขึ้นสู่ห้องกลาง ส่วนซุ้มอื่น ๆ ไม่มีทางเข้า
https://www.nectec.or.th/oncc/provi

        -สถูปแบบที่สอง เป็นสถูปที่ได้รับอิทธิพลจากสถูปแบบแรก ส่วนใหญ่เป็นสถูปที่ได้รับการซ่อมแซมมาหลายครั้งแล้วเช่นเดียวกัน ทำให้ทรวดทรงของสถูปเปลี่ยนแปลงไป และเป็นสถูปที่สะท้อนให้เห็นฝีมือช่างในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี สถูปในรูปแบบนี้ยังคงปรากฏอยู่หลายแห่งเช่นเดียวกัน อาทิ

  • สถูปวัดถ้ำสิงขร บ้านนอกหรือบ้านถ้ำ หมู่ที่ 3 ตำบลถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถูปที่มีส่วนฐานและส่วนมณฑปเตี้ย เมื่อเทียบกับส่วนยอดซึ่งสูงมาก ส่วนมณฑปสร้างเป็นมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน เหนือมณฑปขึ้นไปเป็นส่วนยอดที่สร้างแบบจำลองมณฑปซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นประดับด้วยสถูปทรงกลมที่ตั้งเรียงรายปะปนกันอยู่กับสถูปทรงเหลี่ยม ที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่น สถูปองค์นี้คงจะได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19
https://imageshack.com/
  • สถูปวัดใน (ร้าง) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดราษฎร์บูรณารามหรือวัดนอก ตำบลท่ามะพลา อำเภอ  หลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นสถูปที่อยู่ในสภาพชำรุด มีรูปแบบทางศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากสถูปแบบแรกที่ได้กล่าวมา และคงจะเป็นสถูปที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19
  • สถูปวัดนางตรา หมู่ที่ 3 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถูปองค์หนึ่งในบรรดาสถูปหลายองค์ที่ยังคงปรากฏอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ภายในวัดนี้ เป็นสถูปที่สร้างด้วยอิฐ มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของอุโบสถ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนฐานมีขนาด 8 x 8 เมตร สูงประมาณ 16 เมตร ส่วนยอดได้พังทลายไป คงเหลือแต่เฉพาะส่วนฐานและส่วนมณฑปคงจะได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในราวพุทธ ศตวรรษที่ 19
  • สถูปวัดเขาหลัก บ้านเขาหลัก ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถูปที่ได้มีการซ่อมแซมจนรูปแบบกลายเป็นศิลปะแบบพื้นเมืองไปมาก กล่าวคือ เป็นสถูปที่มีแผนผังเป็นรูปกากบาท ตรงกึ่งกลางของฐานทุกด้านได้มีการสร้างสถูปองค์หนึ่งยื่นออกมา เป็นสถูปที่มีซุ้มยื่นออกไปทั้ง 4 ด้าน ส่วนองค์ระฆังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นคอระฆัง บัลลังก์รูปสี่เหลี่ยม และส่วนยอดเป็นเหลี่ยมที่มีปลายแหลมสอบเข้าหากัน ถัดเข้าไปเป็นลานประทักษิณที่ตั้งอยู่บนฐานสูง ที่มุมทั้งสี่มีสถูปในรูปแบบคล้ายคลึงกันกับที่กล่าวมาทุกมุม ตรงกลางมีสถูปองค์ใหญ่ตั้งอยู่ มีมุขยื่นออกมาตรงกลางทุกด้านของมณฑป ถัดขึ้นไปเป็นสถูปที่ทำเป็นทรงเหลี่ยมเช่นเดียวกัน มีซุ้มยื่นออกมาตรงกลางของทุกด้าน และที่มุมทั้งสี่ทำเป็นสถูปจำลองมุมละองค์ ถัดจากคอระฆังเป็นบัลลังก์และส่วนยอดแหลมที่ทำเป็นเหลี่ยม ส่วนยอดสอบเข้าหากัน สันนิษฐานว่าเป็นสถูปที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19
  • สถูปวัดสีหยัง หมู่ที่ 3 ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นสถูปที่ก่อด้วยอิฐและปะการัง ไม่สอปูน แต่ใช้ยางไม้เป็นตัวประสาน เรียงอิฐแบบไม่มีระบบ อันเป็นเทคนิควิธีปฏิบัติในศิลปะแบบศรีวิชัย สภาพของสถูปชำรุดมาก คงเหลือเพียงส่วนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ ได้มีการค้นพบว่าส่วนต่อระหว่างฐานรากและองค์สถูปเป็นส่วนที่ก่อสร้างด้วย อิฐขนาดใหญ่เป็นแผ่นบาง ๆ และเป็นส่วนที่ต้องรองรับองค์สถูปที่ต่อขึ้นไป สถูปองค์นี้คงจะได้รับการสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19

2. เจติยสถาน (Chaitya Hall)

        ในสมัยมหายานของคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยในระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 13-19 วัฒนธรรมการใช้ถ้ำที่เกิดเองตามธรรมชาติในภูเขาหินปูนของคาบสมุทรภาคใต้ของ ประเทศไทยเป็นศาสนสถานที่เนื่องในพุทธศาสนาที่ได้ปรากฏขึ้นและมีการรักษาไว้ อย่างสืบเนื่องมาในระยะก่อนหน้านี้ ยังคงเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดและรักษาไว้สืบเนื่องต่อไป รวมทั้งยังปรากฏว่าเป็นวัฒนธรรมที่ได้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางยิ่ง กว่าในระยะที่ผ่านมาอีกด้วย

        จากร่องรอยทางโบราณคดีที่ยังคงเหลืออยู่ในขณะนี้ได้แสดงให้เห็นว่า เจติยสถานเหล่านั้นได้รับการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมสำหรับการเป็นศาสนสถาน ที่เนื่องในพุทธศาสนา โดยหากเจติยสถานแห่งใดมีเพียงคูหาเดียวก็มีการแบ่งสัดส่วนของเจติยสถานแห่ง นั้นออกเป็นบริเวณที่ชัดเจน โดยมีบริเวณที่สำคัญ 3 บริเวณ คือ บริเวณแรก เป็นบริเวณสำหรับการประดิษฐานรูปเคารพ บริเวณนี้มักจะจัดไว้ให้ใกล้ชิดกับผนังถ้ำ ตั้งแต่ผนังด้านในสุดออกมาจนถึงผนังของปากถ้า โดยที่ผนังส่วนปลายสุดของถ้ำมักจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ถัดออกมามักจะเป็นพระพุทธรูปปางอื่น ๆ และรูปเคารพอื่น ๆ ในพุทธศาสนา รูปเคารพเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำด้วยดินดิบ ไม้ และปูนปั้น บริเวณที่สอง เป็นบริเวณสำหรับการประดิษฐานพระพิมพ์และสถูปจำลองขนาดเล็ก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโบราณวัตถุที่ทำด้วยดินดิบ ซึ่งส่วนใหญ่ค้นพบในบริเวณซอกหลืบที่อยู่ริมผนังหรือด้านหลังหรือใกล้ ๆ กันกับรูปเคารพที่กล่าวมาหรือบริเวณโดยรอบรูปเคารพเหล่านั้น และบริเวณที่สาม เป็นบริเวณที่โล่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณตรงกลางของเจติยสถาน บริเวณนี้คงจะเป็นห้องโถงสำหรับพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนใช้สำหรับการประกอบ พิธีกรรมทั้งมวล ส่วนในกรณีที่เจติยสถานแห่งใดประกอบด้วยคูหาที่ต่อเนื่องกันหลายคูหา อาจจะมีการแบ่งคูหาเหล่านั้นออกตามประโยชน์ใช้สอยอย่างจำเพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ก็เป็นได้ เช่น ใช้คูหาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่มีความศักดิ์สิทธิ์ รองลงมา บางคูหาอาจจะใช้ประดิษฐานพระพิมพ์ดินดิบและสถูปจำลองดินดิบ และบางคูหาอาจจะใช้เป็นกุฏิของพระสงฆ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่าบางคูหาได้มีการประดับตกแต่งผนังถ้ำด้วยจิตรกรรมฝาผนัง อีกด้วย

        จากการสำรวจทางโบราณคดีในขณะนี้ ได้มีการค้นพบเจติยสถานในคาบสมุทรแห่งนี้เป็นจำนวนมาก เจติยสถานเหล่านี้ชาวบ้านโดยทั่วไปมักจะเรียกว่า “ถ้ำ” หรือ “วัดถ้ำ” นำหน้าแล้วตามด้วยชื่อของถ้ำ เจติยสถานเหล่านี้ตั้งกระจายอยู่ทั่วทั้งคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย อาทิ

  1. ถ้ำเขาขนาบน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
  2. วัดถ้ำสิงขร บ้านนอกหรือบ้านถ้ำ หมู่ที่ 3 ตำบลถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  3. ถ้ำศิลป์ บ้านบันนังลูวา หมู่ที่ 2 ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
  4. ถ้ำพระ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
  5. ถ้ำเขาสาย ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
  6. ถ้ำวัดหานหรือถ้ำวัดคีรีวิหาร หมู่ที่ 2 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
  7. ถ้ำเขาขาว ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
  8. ถ้ำเขาชุมทอง ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  9. ถ้ำเขาอกทะลุหรือถ้ำพิมพ์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
  10. ถ้ำวัดคูหาภิมุข บ้านหน้าถ้ำ หมู่ที่ 1 ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
  11. ถ้ำเขาขรมหรือถ้ำขรมหรือถ้ำพระ บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 1 ตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัด      สุราษฎร์ธานี
  12. ถ้ำเขาแดง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประติมากรรม

        ในปัจจุบันนี้ได้มีการค้นพบประติมากรรมที่เนื่องในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ในแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ที่กระจายกันอยู่ทั่วทั้งคาบสมุทรไทย ประติมากรรมดังกล่าวสามารถที่จะจำแนกออกได้เป็นห้าประเภท คือ

  • ประเภทแรก ได้แก่ ประติมากรรมลอยตัว
  • ประเภทที่สอง ได้แก่ สถูปจำลอง
  • ประเภทที่สาม ได้แก่ พระพิมพ์
  • ประเภทที่สี่ ได้แก่ จารึกหลักธรรม
  • ประเภทที่ห้า ได้แก่ แม่พิมพ์

        ประติมากรรมลอยตัว
        ในศิลปะแบบศรีวิชัยของคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยได้มีการค้นพบประติมากรรม แบบลอยตัวของรูปเคารพในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน เป็นจำนวนมาก รูปเคารพที่สำคัญเป็นรูปเคารพของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์ อาทิ
        – พระพุทธเจ้าอักโษภยะ ซึ่งประดิษฐานไว้ที่ซุ้มทางทิศตะวันออกของสถูปวัดแก้ว อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำด้วยศิลา มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง กลางพุทธศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันย้ายไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสาถนแห่งชาติ ไชยา พระพุทธเจ้าพระองค์นี้พระนามของพระองค์มีความหมายว่าพระผู้ไม่ทรงหวั่นไหว ทรงเป็นพระธยานิพุทธเจ้า (หมายถึงพระพุทธเจ้าแห่งจักรวาลหรือพระพุทธเจ้าองค์แรก อันเป็นพระพุทธเจ้าองค์สูงสุดในลัทธิมหายาน นิกายวัชรยาน ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดโลกและพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ ) องค์หนึ่งในจำนวนห้าองค์ของนิกายวัชรยาน ทรงเป็นพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ทางทิศตะวันออก ประทับนั่งปางมารวิชัยอยู่เหนืออาสนะรูปสิงห์หรือสิงหาสน์ โดยมีรูปสิงห์สลักอยู่ที่ด้านข้างของฐานข้างละตัว เบื้องหน้าของฐานมีวัชระประดับอยู่
        –  พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนา ลัทธิมหายานองค์นี้ เกิดจากพระพุทธเจ้าในลัทธิมหายานที่ทรงพระนามว่า พระพุทธเจ้าอมิตาภะ จึงมักจะปรากฏภาพของพระพุทธเจ้าองค์นี้ประทับนั่งอยู่เหนือศิราภรณ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงได้รับการเคารพนับถือมาก เพราะว่าทรงเป็นผู้คุ้มครองผู้ที่นับถือลัทธิมหายานในยุคปัจจุบัน พระองค์ทรงมีหลายรูปแบบและหลายพระนาม การนับถือพระองค์ได้แพร่ไปยังดินแดนทั้งมวลที่ลัทธิมหายานได้แพร่ไปถึง เมื่อมีสองกรพระหัตถ์ขวามักจะแสดงปางประทานพร พระหัตถ์ซ้ายทรงถือบัวชมพู (ปัทมะ) ถ้ามีสี่กรมักจะทรงถือลูกประคำ หนังสือ ดอกบัว และหม้อน้ำมนต์ ตามลำดับ ชายาของพระองค์ คือ พระนางตารา

https://www.oknation.net/blog/home/

        – พระโพธิสัตว์เมตไตรยหรือพระโพธิสัตว์ไมเตรญะ พระโพธิสัตว์องค์นี้ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ที่สำคัญองค์หนึ่งของพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ที่จะทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้าหรือพระ อนาคตพุทธเจ้า ในปัจจุบันพระองค์ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต และทรงรอคอยเวลาที่จะเสด็จลงมาจุติในมนุษย์โลก
        ในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยได้มีการค้นพบประติมากรรมที่เก่าแก่ที่สุดของ พระโพธิสัตว์องค์นี้ชิ้นหนึ่ง เป็นประติมากรรมที่ทำด้วยสำริด ค้นพบที่บ้านลานควาย อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นประติมากรรมที่ประทับยืนในท่าตริภังค์ มุ่นพระเกศาเป็นรูปชฎามงกุฎ มีรูปสถูปซึ่งเป็นเครื่องหมายของพระโพธิสัตว์เมตไตรยประดับอยู่ทางด้านหน้า ของชฎามงกุฎ เครื่องตกแต่งมีเพียงศิราภรณ์หรือเครื่องประดับศีรษะที่มีลายดอกไม้ประดับ อยู่ 3 ดอกเท่านั้น ทรงมีสายยัชโญปวีตเป็นผ้าสะพายเฉียงคลุมพระอังสาซ้าย ที่ขอบของผ้านุ่งด้านบนคาดทับไว้ด้วยเชือกที่ทำด้วยผ้า ในชวาภาคกลางได้มีการค้นพบประติมากรรมสำริดของพระโพธิสัตว์เมตไตรยที่คล้าย คลึงกันนี้ที่สุรการ์ตา (Surakarta) ประติมากรรมดังกล่าวนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 14

        -พระโพธิสัตว์วัชระหรือพระวัชรโพธิสัตว์ ในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีการค้นพบพระวัชรโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ซึ่งสันนิษฐานว่าประติมากรรมชิ้นนี้คงจะเป็นส่วนหนึ่งของ “มัณฑละ” ที่สร้างขึ้นในรูปแบบของประติมากรรมที่เรียกว่า “วัชรธาตุมณฑล” โดยค้นพบที่ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นประติมากรรมที่ทำด้วยสำริด มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
        ประติมากรรมชิ้นนี้คงจะเป็นรูปของพระวัชรโพธิสัตว์องค์หนึ่งในจำนวน 16 องค์ ซึ่งห้อมล้อมอยู่โดยรอบพระธยานิพุทธเจ้า 4 องค์ โดยพระธยานิพุทธเจ้า 1 องค์ จะมีพระวัชรโพธิสัตว์ล้อมอยู่ 4 องค์ ตามแบบแผนของวัชรธาตุมณฑลในคติของพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน นิกายวัชรยาน โดยในมัณฑละแบบที่กล่าวนี้นอกจากจะปรากฏประติมากรรมของพระวัชรโพธิสัตว์และ พระธยานิพุทธเจ้า 4 องค์แล้ว ภาพวัชรธาตุมณฑลยังประกอบด้วยรูปพระพุทธเจ้ามหาไวโรจนะ พระมหาโพธิสัตว์ 16 องค์ พระโพธิสัตว์ บรรดานางตารา และเหล่าเทพอื่น ๆ ในนิกายวัชรยานรวมทั้งสิ้นราว 1,061 องค์ โดยเคยมีการค้นพบกลุ่มประติมากรรมสำริด ในรูปแบบของมัณฑละดังกล่าวที่เมืองงันชุก (Nganjuk) ในภาคตะวันออกของเกาะชวาจำนวน 90 ชิ้น

        สถูปจำลองทำด้วยสำริด
        ในสมัยมหายานของคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีการค้นพบโบราณวัตถุที่ได้มีการสร้างขึ้นเพื่อการอุทิศถวายเนื่องในพุทธ ศาสนาเป็นจำนวนมาก โดยโบราณวัตถุดังกล่าวที่ค้นพบบนคาบสมุทรแห่งนี้ในสมัยมหายานมีความคล้าย คลึงกันเป็นอย่างยิ่งกับรรดาโบราณวัตถุที่ได้มีการสร้างขึ้นด้วยวัตถุ ประสงค์อย่างเดียวกันที่ได้มีการค้นพบที่แหล่งโบราณคดีพุทธคยาหรือโพธิคยา (Bodhgaya) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองคยา (Gaya) ในแคว้นพิหาร (Bihar) ประเทศอินเดีย สำหรับพุทธศาสนิกชนแล้ว โพธิคยาไม่ได้เป็นแต่เพียงแค่สถานที่สำหรับการจาริกแสวงบุญเพียงเท่านั้น แต่ได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ มากที่สุด บรรดาผู้เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาจึงได้หลั่งไหลมาจากแหล่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะถวายความเคารพสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าศากยมุนี
        ในบรรดาโบราณวัตถุที่ได้มีการจัดทำขึ้นเพื่อการอุทิศถวายเนื่องในพุทธศาสนา หลายรูปแบบนั้น รูปแบบที่นับว่ามีความโดดเด่นมากที่สุด คือ สถูปจำลอง ซึ่งมีการสร้างสรรค์ขึ้นในศิลปะแบบปาละ มีหลายรูปแบบ แต่ทุกแบบมีพื้นฐานเหมือนกัน คือ ประกอบด้วยส่วนสำคัญสามส่วน ได้แก่ ส่วนแรก เป็นส่วนฐานที่ทำขึ้นในรูปของสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงจุดกึ่งกลางของแต่ละด้านมีส่วนที่ยื่นออกมา ส่วนที่สอง เป็นส่วนกลางที่ตั้งอยู่เหนือส่วนฐาน มักจะเรียกว่าองค์ระฆัง มีการตกแต่งเป็นซุ้มสี่ซุ้มที่ด้านข้างของสถูป ภายในซุ้มมีรูปเคารพประดิษฐานอยู่ และส่วนที่สาม เป็นส่วนบนสุด มักจะมีการดัดแปลงจากรูปแบบของฉัตร สถูปเหล่านี้มีทั้งที่ทำขึ้นมาจากการสลักด้วยหินและสร้างสรรค์ด้วยวัสดุอื่น ๆ รวมทั้งที่ทำด้วยดินเหนียว บางส่วนมีการบรรจุแผ่นดินเหนียวขนาดเล็กที่มีการกดประทับหลักธรรมหรือจารึก หลักธรรมไว้ภายใน

        ในสมัยมหายานของคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีการค้นพบสถูปขนาดเล็กที่มักจะเรียกกันโดยทั่วไปว่า “สถูปจำลอง” เป็นจำนวนมาก สถูปเหล่านี้อาจจะแบ่งออกได้อย่างกว้าง ๆ เป็นสองรูปแบบ คือ สถูปจำลองทำด้วยสำริด และสถูปจำลองทำด้วยดินดิบหรือดินเผา

        – สถูปจำลองทำด้วยสำริด ในแหล่งโบราณคดีหรือเจติยสถานถ้ำคูหาภิมุข ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้มีการค้นพบสถูปจำลองทำด้วยสำริดองค์หนึ่ง เป็นสถูปที่มีอายุอยู่ในระหว่างราวกลางพุทธศตวรรษที่ 14 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันอยู่ในครอบครองของวัดถ้ำคูหาภิมุข ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยสถูปองค์นี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกันกับสถูปสำริดเป็นจำนวนมากที่ได้มีการค้น พบที่โพธิคยาที่กล่าวมาและมหาวิทยาลัยนาลันทา ในเมืองนาลันทา ประเทศอินเดีย สถูปองค์นี้มีรูปแบบที่สำคัญ คือ องค์สถูปตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยม มีบันไดทางขึ้นตรงกึ่งกลางของส่วนฐานทั้งสี่ด้าน เหนือฐานขึ้นไปรองรับด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายและมีบัวลายลูกประคำคั่นระหว่าง ฐานและอัณฑะ (องค์ระฆัง) เหนืออัณฑะขึ้นไปมีบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยม ย่อมุม อันเป็นลักษณะเฉพาะของบัลลังก์ในศิลปะอินเดียแบบปาละ ซึ่งรองรับเสาฉัตร ส่วนฉัตรหรือปล้องไฉน  หักหายไป ตามทิศทั้งสี่ตรงกับบันไดมีซุ้มโค้งประดิษฐานประติมากรรมของพระตถาคตสี่องค์ คือ พระอักโษภยะ ประจำทิศตะวันออก พระรัตนสัมภาวะ ประจำทิศใต้ พระอมิตาภะ ประจำทิศตะวันตก และพระอโมฆสิทธิ ประจำทิศเหนือ เนื่องจากสถูปองค์นี้เป็นสัญลักษณ์ของจักรวาลในพุทธศาสนา พระตถาคตหรือพระธยานิพุทธเจ้าทั้งสี่องค์จึงทรงหันพระพักตร์ไปยังทิศทั้งสี่ องค์ละทิศ โดยพระธยานิพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์นี้ประทับอยู่บนสถูปและหันพระพักตร์ไปสู่ ทิศที่พระองค์ประจำอยู่ สำหรับพระธยานิพุทธเจ้าองค์ที่ห้า คือ พระพุทธเจ้าไวโรจนะนั้นทรงแสดงปางปฐมเทศนา และประจำอยู่ ณ ทิศเบื้องบน แต่ไม่ได้มีการแสดงไว้เพราะเชื่อว่าพระองค์สถิตอยู่ในสถูปแล้ว โดยนิกายวัชรยานได้สร้างพระพุทธเจ้าขึ้นมาห้าพระองค์ ซึ่งในคัมภีร์เรียกว่า “พระตถาคตทั้งห้า” หรือ “พระ ธยานิพุทธเจ้าทั้งห้า” และมีปางหรือมุทราเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ คือ พระพุทธเจ้ามหาไวโรจนะ (ผู้ให้แสงสว่าง) ปางปฐมเทศนา พระพุทธเจ้าอักโษภยะ (ผู้หนักแน่น) ปางมารวิชัย พระพุทธเจ้ารัตนสัมภวะ (ผู้เกิดจากมณี) ปางประทานพร พระพุทธเจ้าอมิตาภะ (ผู้มีแสงสว่างเป็นนิรันดร) ปางสมาธิ และพระพุทธเจ้าอโมฆสิทธิ (ผู้สมหวังตลอดกาล) ปางประทานอภัย พระตถาคตทั้งห้าองค์นี้เป็นสัญลักษณ์ของสกัณธะ (ขันธะ) ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของทิศทั้งห้าอันเป็นตัวแทนของจักรวาล พระตถาคตแต่ละองค์สามารถที่จะปรากฏพระองค์เป็นเทวโพธิสัตว์ พระมนุษยพุทธเจ้า และเทพีหรือนางปรัชญาหรือส่วนที่เป็นสตรีของพุทธะและโพธิสัตว์ พร้อมกับยังดูแลสกุลของพระองค์เอง อันประกอบด้วยเทพต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่กับพระองค์ แม้ว่ารูปแบบพื้นฐานของสถูปองค์นี้จะเหมือนกันกับสถูปสำริดหลายองค์ที่ค้นพบ ที่แหล่งโบราณคดี อชุตรัชปุระ (Achutrajpur) ในรัฐโอริสสา แต่สถูปเหล่านั้นก็ไม่มีองค์ใดที่มีบันไดในแต่ละด้าน โดยลักษณะเช่นนี้ได้ปรากฏอยู่ในสถูปสำริดที่มีการค้นพบที่นาลันทา ซึ่งเป็นสถูปที่มีองค์ระฆังประดับด้วยภาพเหตุการณ์ที่สำคัญในพุทธประวัติของ พระพุทธเจ้าศากยมุนีทั้ง 8 ตอนหรือมหาปาฏิหาริย์แปดปาง และมีรูปของพระโพธิสัตว์ประทับนั่งขนาบข้างบันไดแต่ละข้าง ในขณะที่สถูปองค์ที่พบจากถ้ำคูหาภิมุของค์นี้ที่ข้างบันไดแต่ละด้านมีภาพ สิงโตหมอบอยู่ที่ฐาน จากการที่สถูปที่ค้นพบที่ถ้ำคูหาภิมุของค์นี้มีรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน อย่างใกล้ชิดกับสถูปจำลองในศิลปะแบบปาละ จึงอาจจะกำหนดให้สถูปจำลองที่ค้นพบในถ้ำคูหาภิมุของค์นี้มีอายุอยู่ในราว พุทธศตวรรษที่ 14 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 15

        – สถูปจำลองทำด้วยดินดิบหรือดินเผา ในเจติยสถานหรือถ้ำที่เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาในสมัยมหายานของคาบสมุทรภาค ใต้ของประเทศไทยหลายแห่ง ได้มีการค้นพบสถูปจำลองที่ทำด้วยดินดิบหรือดินเผาเป็นจำนวนมาก โดยสถูปเหล่านี้มักจะค้นพบร่วมกันกับพระพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ สถูปจำลองเหล่านี้มักจะเป็นสถูปที่มีขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 5.00-6.00 เซนติเมตร สูงราว 6.00 เซนติเมตร เป็นสถูปที่มีส่วนฐานเป็นรูปวงกลม เหนือส่วนฐานขึ้นไปเป็นองค์สถูปหรืออัณฑะทรงกลมหรือทรงระฆังคว่ำ คล้ายคลึงกันกับสถูปจำลองที่ค้นพบจากโพธิคยา ที่มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ทำด้วยดินเผา มีขนาดสูง 8.00 เซนติเมตร ปัจจุบันจัดแสดง ณ บริติชมิวเซียม (British Museum) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าสถูปจำลองที่มีการค้นพบในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย บางองค์ที่บริเวณขอบระฆังมีสถูปเล็ก ๆ ประดับไปโดยรอบ และสถูปบางองค์ภายใต้ส่วนฐานของสถูปมีการกดประทับไว้ด้วยคาถาที่มีข้อความ อย่างเดียวกันกับที่ปรากฏในจารึกคาถาหรือจารึกหลักธรรมที่ค้นพบในสถูปจำลอง ที่มีการค้นพบที่โพธิคยา โดยจารึกดังกล่าวนี้มักจะเรียกกันโดยทั่วไปในประเทศไทยว่าคาถา “เย ธรมาฯ” โดยคาถาดังกล่าวที่ค้นพบบนสถูปที่ค้นพบในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยที่ กล่าวมาสลักไว้ด้วยอักษรเทวนาครี (Deva Nagri) ภาษาสันสกฤต มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 เจติยสถานที่สำคัญที่มีการค้นพบสถูปจำลองประเภทนี้มีอยู่หลายแห่ง อาทิ ถ้ำคูหาภิมุข ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และถ้ำเขาขรม ตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น

จิตรกรรม     

        ในสมัยมหายานของคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ได้ปรากฏจิตรกรรมฝาผนังที่เนื่องในพุทธศาสนาที่เจติยสถานหรือถ้ำที่มีการใช้ สอยเนื่องในพุทธศาสนาแห่งหนึ่ง คือ แหล่งโบราณคดีถ้ำศิลป์ บ้านบันนังลูวา หมู่ที่ 2 ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นถ้ำในภูเขาหินปูนในเทือกเขาถ้ำพระนอน บริเวณใกล้เคียงมีลำน้ำไหลผ่าน เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่ ปากถ้ำอยู่สูงกว่าระดับพื้นราบในบริเวณใกล้เคียง 28 เมตร ทางเข้ากว้าง 2 เมตร สูง 1.50 เมตร ถ้ำมีขนาดยาว 32 เมตร สูง 7 เมตร ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในถ้ำแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งหลักฐานทางโบราณคดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์
        ในสมัยประวัติศาสตร์ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เนื่องในพุทธศาสนา เป็นจำนวนมาก รวมทั้งภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เนื่องในพุทธศาสนา ซึ่งเขียนไว้ที่ผนังถ้ำด้านทิศตะวันตกภายในเจติยสถานแห่งนี้ และเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ได้มีการค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2478 โดยภาพจิตรกรรมดังกล่าวอาจจะแบ่งออกได้เป็นสี่ลักษณะ คือ

  1. ภาพพระพุทธเจ้า ประทับนั่ง จำนวน 3 องค์ มีสาวกประนมมือถวายความเคารพอยู่ข้าง ๆ เป็นแบบอย่างของศิลปะแบบศรีวิชัย เพราะมีเส้นรอบนอก ความอ่อนช้อยของพระพาหาข้างขวากับส่วนบนของพระเศียรที่ราบแบน พระเกศามีขนาดย่อม พระรัศมีเป็นรูปวงกลม อันเป็นรูปแบบของศิลปะแบบศรีวิชัย
  2. ภาพพระพุทธเจ้า ทรงแสดงปางลีลา จำนวน 3 องค์ เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบสุโขทัย แต่ลักษณะที่ทรงแสดงอยู่ในท่าตรงและเป็นจริงตามธรรมชาติมากกว่าของศิลปะแบบ สุโขทัย ท่าการวางพระบาทเป็นอย่างคนจริง ๆ ริ้วจีวรมีลีลาของเส้นซ้ำ ๆ กัน แบบพระพุทธรูปสลักหินของศิลปะแบบชวาภาคกลางที่สลักไว้ที่สถูปบุโรพุทโธตอน สรงสนานพระโพธิสัตว์ จึงแสดงว่าพระพุทธรูปลีลาในเจติยสถานแห่งนี้กับสุโขทัยได้แบบโดยตรงมาจากแบบ พระพุทธรูปของอินเดีย
  3. ภาพผู้หญิงยืนเป็นหมู่ จำนวน 3 คน ภาพของธิดาทั้งสามของพระยามาร คือ นางตัณหา นางราคะ และนางอรดี ภาพนี้อาจจะมีการซ่อมในยุคต่อมา
https://www.navy.mi.th/misc/budham/

       4. ภาพผู้ชายนั่งราบกับพื้น เป็นภาพที่น่าจะมีการซ่อมในสมัยหลังเช่นเดียวกัน

ศิลปะศรีวิชัย

        “ศิลปะทวารวดี” จัดเป็นศิลปกรรมต้นอารยธรรมสมัยประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ณ บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 บรรดาโบราณวัตถุ และโบราณสถาน ส่วนใหญ่ล้วนสร้างขึ้นเนื่องในพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน หากแต่ยังปรากฏหลักฐานการนับถือศาสนาพุทธลัทธิมหายานและฮินดูรวมอยู่ด้วย อิทธิพลของศิลปวัฒนธรรมทวารวดีได้แพร่ขยายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จึงอาจกล่าวได้ว่าศิลปะทวารวดี คือ “ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในสยามประเทศ”

        แต่เดิมนั้นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของศิลปะทวารวดีมักให้ความ สำคัญต่อกลุ่มพระพุทธรูปเป็นหลัก เนื่องจากมีการค้นพบเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังบ่งบอกถึงการรับนับถือพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในวัฒนธรรมทวารวดีได้ เป็นอย่างดี แม้จะมีการค้นพบหลักฐานที่เป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และศาสนาฮินดูปะปนอยู่บ้างแต่มีจำนวนไม่มากนัก โดยทั่วไปมักจะแบ่งกลุ่ม และยุคสมัย พระพุทธรูปศิลปะทวารวดีออกเป็น 3 รุ่นคือ

  • รุ่น ที่ 1 (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 13) จัดเป็นพระพุทธรูประยะแรกของทวารวดีและพุทธศิลปะที่ปรากฏบนแผ่นดินไทย ซึ่งยังคงลักษณะต้นแบบของพระพุทธรูปของศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คุปตะ – หลังคุปตะ
  • รุ่นที่ 2 (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15) พระพุทธรูปมีลักษณะแบบพื้นเมือง เป็นแบบที่พบมากที่สุด
  • รุ่นที่ 3 อิทธิพลของศิลปะเขมร (พุทธศตวรรษที่ 16 – 17) จัดเป็นรุ่นสุดท้ายของศิลปะทวารวดี มีอิทธิพลของศิลปะเขมรสมัยบาปวนหรือ สมัยลพบุรีตอนต้นเข้ามาปะปน

ประติมากรรม
        พระพุทธรูป

  1. ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือมีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดีอยู่ ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมีจีวรเรียบเหมือนจีวรเปียก ถ้าเป็นพระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดีมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12
  2. พัฒนาขึ้นจากแบบแรก โดยมีอิทธิพลพื้นเมืองผสมมากขึ้นพระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลา เป็นต่อมนูนใหญ่บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระเนตรโปน พระหนุ (คาง ) ป้าน พระนลาฏ(หน้าผาก)แคบพระนาสิกป้านใหญ่แบน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆแบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15
  3. พระพุทธรูปในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร เนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนครประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปกรรมแบบทวารวดี ในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมร แบบบาปวนหรือ อิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปนเช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม นั่งขัดสมาธิราบ เป็นต้นนอกจากพระพุทธรูปแล้วยังพบสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าซึ่งแสดงการสืบทอด แนวคิดทางศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้าที่จะทำรูปเคารพเป็นรูปมนุษย์ภายใต้ อิทธิพลศิลปะกรีก
http://www.suphanburi.thai-culture/

        ประติมากรรมกลุ่มเทวรูปรุ่นเก่า
        เป็นประติมากรรมศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูอยู่ร่วมสมัยกับทวารวดีตอนต้น และตอนปลาย ที่เมืองศรีมโหสถและเมืองศรีเทพและพบอยู่ร่วมกับศรีวิชัยและทวารวดีที่ภาค ใต้ของประเทศไทยมักจะทำเป็นรูปพระนารายณ์ ลักษณะพระพักตร์จะไม่เหมือนพระพุทธรูปแบบทวารวดีเลยจะมีลักษณะคล้ายกับ อินเดีย ตัวอย่างเช่นพระนารายณ์ที่ไชยาแสดงลักษณะอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบมทุรา และอมราวดี(พุทธศตวรรษที่6-9) รวมทั้งที่พบที่นครศรีธรรมราช ซึ่งถือสังข์ ด้วยพระหัตถ์ซ้ายด้านล่างผ้านุ่งและผ้าคาดที่พบที่ภาคใต้และที่เมืองศรี มโหสถจะมีผ้าคาดเฉียงเหมือนศิลปะอินเดียหลังคุปตะ (ปัลลวะ) ในราวพุทธศตวรรษที่ 12ส่วนเทวรูปรุ่นเก่าที่ศรีเทพจะมีอายุใกล้เคียงกันและที่ศรีเทพนอกเหนือจาก ที่จะพบรูปพระนารายณ์แล้วยังพบรูปพระกฤษณะและพระนารายณ์ด้วยลักษณะ ของเทวรูปกลุ่มนี้ไม่เหมือนกับที่พบในเขมรเนื่องจากกล้าที่จะทำลอยตัวอย่าง แท้จริงไม่ทำแผ่นหินมารับกับพระหัตถ์คู่บนแต่ยังไม่มีการนำเอากลุ่มเทวรูป นี้เข้าไปไว้ในศิลปะทวารวดีจึงเพียงมีแต่สมมุติฐานว่าเทวรูปกลุ่มนี้น่าจะ เป็นทวารวดีที่เป็นพราหมณ์การเข้ามาของเทวรูปนี่มีข้อคิดเห็นแตกไปเป็น 2 ทางคือ เป็นศิลปะอินเดียที่นำเข้าที่พร้อมกับการติดต่อค้าขาย หรือเป็นศิลปะแบบอินเดียที่ทำขึ้นในท้องถิ่นและมีการพัฒนาการภายใต้อิทธิพล ศิลปะพื้นเมืองแบบทวารวดีและศรีวิชัย

https://www.vacationzone.co.th/data

สถาปัตยกรรม

        สถาปัตยกรรม แบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่นวัดพระเมรุและเจดีย์จุลปะโทน จังหวัดนครปฐม บางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง เช่นก่อสร้างบริเวณฐานสถูปการก่อสร้างเจดีย์ในสมัยทวารวดีที่พบทั้งเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังคว่ำมียอดแหลมอยู่ด้านบน
        ผลงานทางศิลปะที่สำคัญ เช่น ภาพปูนปั้นสตรีเล่นดนตรี พบที่คูบัว อำเภอเมืองฯจังหวัดราชบุรี ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย หลังจากความเสื่อมของศิลปะทวารวดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 แล้วศิลปะลพบุรีซึ่งได้อิทธิพลจากศิลปะเขมรก็ได้เจริญขึ้นมาแทนที่  

http://61.19.236.136/tourist2009/i

ศิลปะลพบุรี

        ศิลปะแบบลพบุรีหรือละโว้เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่16-19 มีอาณาเขตครอบคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา รูปแบบ สัมพันธ์กับสกุลช่างศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชา ศิลปะดังกล่าวเรียกชื่อต่างกันตามทัศนะของนักวิชาการแต่ละคนเช่น ศิลปะลพบุรี ศิลปะเขมร ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย เป็นต้น กล่าวคือปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ นักวิชาการชาวฝรั่งเศสแห่งสำนักฝรั่งเศสปลายบูรพาทิศได้เรียกชื่อสกุลช่าง ศิลปะนี้ว่า”ศิลปะ เขมร” ด้วยมีรูปแบบที่คล้ายกับโบราณสถานในประเทศกัมพูชาต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกำหนดชื่อเรียกใหม่ว่า  “ศิลปะลพบุรี” เพื่อแยกให้เห็นถึงความแตกต่างจากกลุ่มสกุลช่างศิลปะเขมร

https://www.prc.ac.th/newart/web_pi

        เมื่อครั้งขอมมีอำนาจปกครองอยู่ในสุวรรณภูมิมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดลพบุรี  และบางส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบบแผนของศิลปะแบบลพบุรีนั้นได้รับอิทธิพลจากเขมร  เป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาฮินดู ผสมผสานกับพระพุทธศาสนานิกายมหายาน  ลักษณะงานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ใช้วัสดุจำพวกหิน ทราย อิฐ และศิลาแลงในการก่อสร้างในรูปของปรางค์และปราสาท  เช่น พระปรางค์ 3 ยอด จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น  ส่วนงานด้านประติมากรรมนิยมสร้างภาพสลัก พระพุทธรูป ซึ่งลักษณะเด่นของงานประติมากรรมแบบลพบุรี คือ ไม่ว่าจะเป็นรูปคนหรือรูปเคารพต่างๆ จะมีหน้าผากกว้าง ปากแบะหนา คางเหลี่ยม และรูปร่างล่ำเตี้ย
 
 

http://unseentourthailand.com/
http://i.kapook.com/kongpob/0110/2
http://www.rd1677.com/backoffice/P

แหล่งที่มาของโบราณวัตถุหิน ศิลปะสมัยลพบุรี
        โบราณ วัตถุหิน ศิลปะสมัยลพบุรี มีที่มาจากกลุ่มโบราณสถานที่ใช้อิฐและหินชนิดต่างๆเป็นวัสดุในการก่อสร้าง ซึ่งเป็นหลักฐานทางมรดกศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มคนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนกลางของประเทศไทยที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในราว พ.ศ. 1100-1800 และมีสายสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับอาณาจักรเขมรโบราณในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันอันมีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ชาติพันธุ์วิทยา และความงามในเชิงศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะกลุ่ม
        บริเวณภาคกลางของประเทศไทยเป็นบริเวณที่มีการผสมผสานทางอารยธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งดังจะเห็นได้จากศิลปะอู่ทอง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18เป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20ศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวารวดีและศิลปะลพบุรีมาผสมผสานกัน

ศิลปะสุโขทัย

        ศิลปะแบบสุโขทัยเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18-19 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แถบจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ พิษณุโลก และบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ทางตอนใต้ของจังหวัดกำแพงเพชร เป็นศิลปะที่เกิดจากความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ผลงานสร้างสรรค์แบบสุโขทัยปรากฎในงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม

สถาปัตยกรรม
        มีความงามและมีลักษณะเด่นเฉพาะ แม้จะได้รับอิทธพลมาจากที่อื่นบ้าง แต่ก็มีการพัฒนาจนมีลักษณะเฉพาะของตนเอง สร้างขึ้นเนื่องในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะสถูป โดยสามารถแบ่งตามที่มาของอิทธิพลได้ 3 แบบ คือ

        – เจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นเจดีย์ทรงสุโขทัยแท้

http://1.bp.blogspot.com/_HKlXzuEr

         – เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา พร้อมกับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ นอกจากนี้ยังมี เจดีย์แบบศรีวิชัยที่มีฐานและองค์ระฆังสูงทำเป็นสี่เหลี่ยม

http://61.19.236.136/tourist2009/i

        – เจดีย์แบบศรีวิชัย หรือพระปรางค์ เลียนแบบศิลปะลพบุรีเป็นปรางค์แบบเขมรซึ่งมีอยู่เดิม แต่ถูกดัด แปลงเป็นปรางค์แบบไทย คือทรงสูงชะลูดขึ้นกว่าเดิม มียอดเรียวแหลมเพิ่มลวดลายตกแต่งแบบสุโขทัย

https://pirun.ku.ac.th/~b5001063/im

ประติมากรรม 

        พระพุทธรูปสุโขทัยจัดเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามที่สุดในบรรดาศิลปกรรมไทยนิยม สร้าง 4 อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน เดิน หรือที่เรียกกันว่า ปางลีลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะของสุโขทัยที่งดงามที่สุดส่วน ประติมากรรมที่งดงามอีกประเภทหนึ่ง คือลวดลายปูนปั้นประดับตกแต่งอาคารและเทวรูปหล่อสำริดที่มีความงดงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น คือ พระเกศมีรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็กน้อย พระพักตร์รูปไข่ พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์ยิ้มเล็กน้อย พระอังสะใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่อเฉียงชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาคีคล้ายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ สร้างเป็นปางต่างๆ เช่น ปางมารวิชัยประทับขัดสมาธิราบ ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง เป็นต้น  ในลัทธิพราหมณ์สมัยสุโขทัยยังมีการทำเครื่องเคลือบดินเผาที่เรียกว่าเครื่องสังคโลกอาจนำแบบ อย่างมาจากจีนหรือช่างไทยเป็นผู้ค้นคิดและพัฒนาขึ้นเองส่วนมากเป็นเครื่อง ถ้วยชาม เป็นเครื่องเคลือบเซลาดอนสีเขียวไข่กาผลิตเพื่อใช้ในราชอาณาจักรและส่งเป็นสินค้าออก นอกจากนี้ยังทำเป็นตุ๊กตาส่วนประกอบตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพระพุทธศาสนาด้วย

https://www.thairath.co.th/media/co

จิตรกรรม

        ส่วนใหญ่ชำรุดเสียหายไปหมดมีแต่ภาพลายเส้นที่หลงเหลือ คือ ภาพแกะสลักลายเส้นบนเพดานในอุโมงค์มณฑปวัดศรีชุมนอกเมืองสุโขทัย แกะสลักเป็นเรื่องราวชาดกต่างๆ โดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกา

ศิลปะล้านนา

        ศิลปะแบบล้านนาเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-21 บริเวณลุ่มแม่น้ำปิงทางภาคเหนือโดยแต่ก่อนเรียกว่า ศิลปะเชียงแสน ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งในด้านความหมายของพื้นที่และผลงานศิลปกรรม ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้ใช้คำว่า “ศิลปะล้านนา” อันหมายถึงรูปแบบศิลปะที่กระจายอยู่ในภาคเหนือตอนบนตั้งแต่จังหวัดตาก  แพร่ น่าน ขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อให้ได้ความหมายครอบคลุมศิลปกรรมทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในดินแดน ล้านนาทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถแยกเรียกเป็นสกุลช่างตามรายละเอียดที่แตกต่างกันไปเช่น ศิลปะล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่ สกุลช่างน่าน หรือ สกุลช่างพะเยา เป็นต้น และเฉพาะพระพุทธรูปเท่านั้นที่ยังคงนิยมเรียกว่า “แบบเชียงแสน”ตามเดิม

สถาปัตยกรรม
        – สถูปเจดีย์ทรงมณฑป หรือทรงปราสาท เจดีย์ทรงนี้ระยะแรกแสดงรูปแบบอิทธิพลหริภุญไชย (ด้วยดินแดนล้านนาแต่เดิม เคยอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง ศาสนาและวัฒนธรรมจากหริภุญไชยมาก่อน ดังนั้นศิลปกรรมหริภุญไชยจึงมีอิทธิพลต่อศาสนสถานล้านนาในระยะแรกๆ) ลักษณะสำคัญคือ เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมตั้งซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นชั้น แต่ละชั้นแต่ละด้านมีจระนำสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดเป็นทรงระฆังหลายลูกซ้อนต่อเนื่องกันเป็นชุด เจดีย์กลุ่มนี้ที่สำคัญ เช่น เจดีย์กู่คำที่วัดเจดีย์สี่เหลี่ยม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ต่อมาทรงเจดีย์มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มยกเก็จที่เรือนธาตุ และเปลี่ยนเรือนธาตุชั้นลดเป็นหลังคาลาด เหนือชั้นหลังคาลาดเป็นองค์ระฆัง ปล้องไฉน และปลียอด และพัฒนาการสุดท้ายเป็นการผสมระหว่างทรงเจดีย์ที่กล่าวมากับเจดีย์แบบจีนที่ เรียกว่า “ถะ” เกิดแบบพิเศษ เช่นเจดีย์วัดตะโปทาราม และเจดีย์กู่เต้า เป็นต้น  เจดีย์กู่คำ วัดเจดีย์สี่เหลี่ยม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพญามังราย ตั้งอยู่ภายในบริเวณเมืองเก่าเวียงกุมกามก่อน ที่พระองค์จะเสด็จไปสร้างเมืองเชียงใหม่ รูปทรงเจดีย์คงถ่ายแบบมาจากเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมห้าชั้นซ้อนลดหลั่นในลักษณะเรียวสอบขึ้นไป แต่ละชั้นมีซุ้มจรนัมด้านละสามซุ้ม ภายในแต่ละซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน รวมทั้งสิ้น ๖๐ องค์ ต่อมาราวพ.ศ. ๒๔๔๙ คหบดีชาวพม่าชื่อหลวงโยทการพิจิตร มีศรัทธาปฏิสังขรณ์โดยเพิ่มซุ้มพระอีกด้านละหนึ่งซุ้ม รวมทั้งดัดแปลงลวดลายปูนปั้นกลายเป็นแบบพม่าไป

http://banthi-std.lamphunict.com/P

        – เจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกาหรือทรงระฆัง เจดีย์ทรงนี้มีวิวัฒนาการมาตลอดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ (แต่แรกสร้างเมือง) มาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และได้กลายเป็นแบบแผนของเจดีย์ล้านนาโดยเฉพาะ ระยะแรกลักษณะเจดีย์ปรับปรุงมาจากเจดีย์แบบหนึ่งในศิลปะพุกาม มีลักษณะคือ ฐานบัวในผังกลมสามฐานซ้อนลดหลั่นกันรองรับองค์ระฆังใหญ่ ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์สี่เหลี่ยม และส่วนยอดคือปล้องไฉนและปลี เจดีย์ในระยะนี้เช่น เจดีย์ที่วัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ เมืองเชียงใหม่ ต่อมามีพัฒนาการคือ มีฐานเก็จเพิ่มรองรับฐานบัวสามชั้นที่ยืดสูงขึ้น และองค์ระฆังเล็กลง ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะคงอยู่ตลอดไปในศิลปะล้านนา เจดีย์ที่สำคัญในระยะนี้เช่น เจดีย์วัดพระบวช เมืองเชียงแสน เจดีย์ทรงระฆังปรับรูปแบบถึงจุดสูงสุดในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช มีด้วยกัน ๒ แบบคือ เจดีย์ทรงระฆังที่มีชุดฐานบัวรองรับแบบเดิมแต่ความสูงของทรงเจดีย์จะมีมาก ขึ้น เช่นเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย เมืองลำพูน เจดีย์ร้างข้างหอประชุมติโลกราช เมืองเชียงใหม่ เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เมืองน่าน และแบบที่สองคือ เจดีย์ทรงระฆังที่ทรงไม่เพรียวสูง มีฐานบัวถลามารับองค์ระฆังแทนฐานบัว องค์ระฆังป้อม ปากระฆังผายกว้าง เช่นเจดีย์พระธาตุลำปางหลวง เจดีย์วัดพระแก้วดอนเต้า เมืองลำปาง เจดีย์ทั้งสองแบบซึ่งเดิมเป็นเจดีย์ในผังกลม ในที่สุดก็เปลี่ยนมานิยมผังแปดเหลี่ยม หรือสิบสองเหลี่ยม ซึ่งองค์ระฆังกลมก็ปรับเปลี่ยนเป็นทรงเหลี่ยมตามไปด้วย เช่นเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ เจดีย์วัดชมพู วัดหมื่นคำดวง วัดดวงดี วัดเชษฐา เมืองเชียงใหม่ เป็นต้น กำหนดอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หลังยุคทองล้านนา รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังที่สร้างใหม่ ได้รับอิทธิพลเจดีย์แบบพม่า เช่น เจดีย์วัดบุปผาราม เมืองเชียงใหม่ และเจดีย์พระธาตุแช่แห้งน้อย เมืองน่าน เป็นต้น

http://www.dhammajak.net/board/fil

        – เจดีย์แบบเบ็ดเตล็ด มีลักษณะแตกต่างจาก 2 แบบแรก เช่น มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายวิหาร

ประติมากรรม
        ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน ประติมากรรม ไทยสมัยเชียงแสนเป็นประติมากรรมในดินแดนสุวรรณภูมิที่นับว่าสร้างขึ้นโดย ฝีมือช่างไทยเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-21 มี ปรากฏแพร่หลายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือของไทย แหล่งสำคัญอยู่ที่เมืองเชียงแสนวัสดุที่นำมาสร้างงานประติมากรรมที่ทั้งปูน ปั้นและโลหะต่างๆที่มีค่าจนถึงทองคำบริสุทธิ์ประติมากรรมเชียงแสนแบ่งได้ เป็น2 ยุค คือ เชียงแสนยุคแรก มีทั้งการสร้างพระพุทธรูปและภาพพระโพธิสัตว์หรือเทวดาประดับศิลปสถาน พระพุทธรูปโดยส่วนรวมมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปอินเดียสมัยราชวงปาละ มีพระวรกายอวบอ้วนพระพักตร์กลมคล้ายผลมะตูม พระขนงโก่ง พระนาสิกโค้งงุ้ม พระโอษฐ์แคบเล็ก พระห นุเป็นปมพระรัศมีเหนือเกตุมาลาเป็นต่อมกลม ไม่นิยมทำไรพระสก เส้นพระสกขมวดเกษาใหญ่พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น ตรงปลายมีลักษณะเป็นชายธงม้วนเข้าหากัน เรียกว่า เขี้ยวตะขาบส่วนใหญ่นั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยฐานที่รององค์ พระทำเป็นกลีบบัวประดับ มี ทั้งบัวคว่ำบัวหงาย และทำเป็นฐานเป็นเขียงไม่มีบัวรองรับ ส่วนงานปั้นพระโพธิสัตว์ประดับเจดีย์วัดกู่เต้าและภาพเทวดาประดับหอไตรวัด พระสิงห์ เชียงใหม่ มีสัดส่วนของร่างกาย สะโอดสะองใบหน้ายาวรูปไข่ทรงเครื่องอาภรณ์เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ในศิลปะ แบบปาละเสนะของอินเดียหรือแบบ ศรีวิชัย

https://imageshack.com/
http://www.9bbank.com/wp-content/u

        เชียงแสนยุคหลัง มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีแบบของลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยเข้ามาปะปนรูป ลักษณะโดยส่วนรวมสะโอดสะ องขึ้น ไม่อวบอ้วนบึกบึน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่มากขึ้นพระรัศมีทำเป็นรูปเปลว พระศกทำเป็นเส้นละเอียดและมีไรพระศกเป็น เส้นบาง ๆชายสังฆาฏิ ยาวลงมาจรดพระนาภี พระพุทธรูปโดยส่วนรวมนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดและถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวย ที่สุดถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดพระพุทธสิหิงค์ในพระ ที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯพระพุทธรูปเชียงแสนนี้มักหล่อด้วยโลหะทองคำ และสำริด

ศิลปะอยุธยา

        ศิลปะสมัยอยุธยา ในยุคนี้มีการรับเอา ศิลปะสมัยอู่ทอง มาเป็นแม่แบบผสมผสานกับ ศิลปะสมัยสุโขทัย จึงกลายเป็น ศิลปะสกุลช่างอยุธยา-อู่ทอง ซึ่งก็คือ ศิลปะสมัยอยุธยายุคต้น เพราะเป็นการนำเอาศิลปะที่ทรงอำนาจของ อู่ทอง ที่แฝงไว้ด้วยความอ่อนหวานของ สุโขทัย และความอุดมสมบูรณ์ของ เชียงแสน แต่เนื่องจากอิทธิพลของ ศิลปะอู่ทอง ยังคงมีอยู่มากพระพุทธรูปจึงแสดงออกทาง พระพักตร์ (ใบหน้า) ซึ่งก็คือการแสดงถึงพลังอำนาจออกมาชัดเจนโดยมีความอ่อนโยนแฝงไว้คือการ แย้มพระสรวล (ยิ้ม) ส่วน พระวรกาย (ร่างกาย) ค่อนข้างล่ำสันอันเป็นสัญลักษณ์ของ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ซึ่งมีรายละเอียดของพระพุทธลักษณะโดยสรุปดังนี้

  1. พระพักตร์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม ริมพระโอษฐ์ (ริมฝีปาก) ค่อนข้างกว้างและ  แบะออกแบบศิลปะลพบุรี
  2. พระขนง (คิ้ว) โก่งและจดกันเป็นรูปปีกกา
  3. พระเนตร (ดวงตา) เหลือบต่ำลักษณะยาวรีและ เปลือก  พระเนตร (เปลือกตา) หนา
  4. ไรพระศก (ไรผม) เป็นเม็ดเล็กปลายเป็นเกลียวแหลมในลักษณะของหอยเจดีย์
  5. พระนาสิก (จมูก) ใหญ่
  6. ขอบพระกรรณ (ขอบหู) ส่วนบนจะโค้งมนคล้ายกับใบหูมนุษย์ ติ่งพระกรรณ  (ติ่งหู) ยาวเป็นปลายแหลมจดถึงพระพาหา (หัวไหล่)
  7. กรอบพระพักตร์ มีทั้งแถบใหญ่และเส้นขนาดเล็กเป็นเส้นขนานกัน ๒ เส้นหรือ ๒ ชั้น
  8. ครองจีวรห่มเฉวียงบ่า มีสายรัดประคดทั้งด้านหน้าและด้านหลังชายสังฆาฏิด้านหน้ายาวจด พระนาภี (หน้าท้อง) ปลายสังฆาฏิตัดตรง
  9. ส่วนมากเป็นปางสมาธิราบ ปางมารวิชัยก็มีแต่น้อยมากจึงสรุปได้ว่า ศิลปะสมัยอยุธยายุคต้น ซึ่งก็คือ ศิลปะอยุธยาสกุลช่างอยุธยา-อู่ทองระยะแรก ที่ยังมีอิทธิพล ของ ศิลปะอู่ทอง เนื่องจากยังไม่มีการคลายตัวลง นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลของ ศิลปะสุโขทัย และ ศิลปะเชียงแสน เข้ามาผสมานเพียงเล็กน้อย
https://www.oknation.net/blog/home/

        ศิลปะอยุธยายุคต้นสกุลช่าง อยุธยา-อู่ทองระยะปลาย มีอายุอยู่ในราว พ.ศ. ๑๙๕๒-๑๙๙๑ ตั้งแต่รัชสมัยของ สมเด็จพระนครินทราธิราช (สมเด็จพระเจ้านครอินทร์) ถึงรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (สมเด็จเจ้าสามพระยา) จึงเป็น ศิลปะอยุธยายุคต้นสกุลช่างอยุธยา-อู่ทองระยะปลาย เนื่องจากอิทธิพลของ ศิลปะอู่ทอง คลายตัวลง ศิลปะสุโขทัย จึงเข้ามาผสมผสานมากขึ้นส่วนเหตุที่ ศิลปะสุโขทัย เข้ามาผสมผสานแทนที่ ศิลปะอู่ทอง ก็มิใช่เรื่องแปลกใหม่แต่ประการใดเพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ บ่งบอกได้เป็นอย่างดีในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง กรุงศรีอยุธยา และ กรุงสุโขทัย คือระยะนั้นนอกจาก กรุงศรีอยุธยาจะมีอำนาจเหนือกรุงสุโขทัยแล้วความสัมพันธ์ทางด้านเครือญาติซึ่งก็คือการอภิเษกสมรสระหว่าง พระมหากษัตริย์อยุธยา กับ พระราชเทวี พระมเหสีที่มีเชื้อสายของ กษัตริย์สุโขทัย มีมาทุกสมัยนับตั้งแต่รัชสมัยของ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงมีพระมเหสีเป็น เจ้าหญิงแห่งราชวงศ์สุโขทัย (ราชวงศ์พระร่วง) คือทรงเป็น พระขนิษฐา (น้องสาว) ของ พระมหาธรรมราชาลิไท และในรัชสมัยของ สมเด็จพระนครินทราธิราช (สมเด็จพระเจ้านครอินทร์) ก็ทรงมีพระมเหสีเป็น เจ้าหญิงราชวงศ์สุโขทัย และทรงมีพระโอรส ๓ พระองค์คือ เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา และ เจ้าสามพระยา ที่ถือเป็นรัชทายาทโดยชอบธรรม ดังนั้นเมื่อ พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (พระบรมปาล) เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๑๙๘๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (สมเด็จพระเจ้าสามพระยา)  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระโอรส สมเด็จพระราเมศวร (ต่อมาคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) เสด็จฯ ไปปกครองเมืองพิษณุโลกเป็นการผนวกเอา กรุงสุโขทัยขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยาโดยสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการสิ้นสุดความเป็นอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้น มา

        ที่กล่าวมาก็คือความเป็นมาของการนำอิทธิพล ศิลปะสุโขทัย เข้ามาผสมผสานใน ศิลปะอยุธยา แทนที่ ศิลปะอู่ทอง ที่เริ่มคลายตัวลงแล้วก่อกำเนิดเกิดเป็น ศิลปะอยุธยายุคต้นสกุลช่างอยุธยา-อู่ทองระยะปลาย ที่สามารถจำแนกออกเป็น ๒ สายสกุลช่างคือ สกุลช่างสุโขทัย และ สกุลช่างอยุธยา อีกทอดหนึ่งโดย ศิลปะสกุลช่างสุโขทัย นั้นเป็นผลให้ ศิลปะอยุธยายุคต้น มีพระพุทธลักษณะคล้าย พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยยุคปลาย    คือพระพักตร์เป็นวงรีคล้ายรูปไข่ที่เรียกว่า  พระพุทธรูปหน้านาง เพราะมีพระรัศมีเป็นเปลวเพลิงทรงสูงพลิ้วอ่อนไหว และมีเพียงครึ่งซีกไรพระศกเป็นแบบเม็ดไข่ปลาผ่า ซีกและหนามขนุน พระเกตุมาลาเป็น ต่อมเตี้ยกว่าสกุลช่าง อยุธยากรอบพระพักตร์เป็นแถบใหญ่ พระขนงโก่งจดกันแบบสุโขทัย พระเนตรยาวเรียวคล้ายตาหงส์แบบสุโขทัย พระโอษฐ์ เรียวเล็ก พระนาสิกโด่งไม่งองุ้ม ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย

สถาปัตยกรรม แบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ

        ศิลปะอยุธยาตอนต้น สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึงสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถใน พ.ศ.2031 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมร กับศิลปะอู่ทองนิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด โดยมีลักษณะปรางค์เลียนแบบเขมรแต่สูงชะลูดกว่าเช่น ปรางค์ประธานวัดพุทไธสวรรย์ ปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ

        ศิลปะอยุธยาตอนกลางสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลกในพ. ศ. 2006 จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในพ.ศ. 2172 สถาปัตยกรรมได้รับอิทธิผลมาจากศิลปะสุโขทัยนิยมเจดีย์ทรงลังกาแบบสุโขทัยแทน ปรางค์แบบเขมร เช่น พระมหาสถูปสามองค์วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

        ศิลปะอยุธยาตอนปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2172 จนสิ้นสมัยอยุธยาใน พ.ศ. 2310เป็นช่วงเวลาที่ศิลปะเขมรเข้ามามีอิทธิพลอีกครั้ง เช่น ปรางค์ประธานวัดไชยวัฒนารามปราสาทพระนครหลวง นอกจากนี้ยังนิยมสร้างพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมอยุธยา

        สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275-2301) เป็นช่วงการบูรณปฏิสังขรณ์  และนิยมสร้างพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองเช่นการบูรณปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์วัดภูเขาทอง
        สถาปัตยกรรมแบบอื่นๆ คือ โบสถ์ วิหารสมัยอยุธยาตอนต้นนิยมทำขนาดใหญ่มากเป็นโถงสี่เหลี่ยม ก่อด้วยอิฐผนังอาคารเจาะเป็นช่องแคบๆเรียกว่า ลูกฟัก เพื่อระบายลมและมีแสงส่องผ่าน ยังไม่มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพอถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง อาคารมีขนาดเล็กลง ก่อผนังทึบ
        อาคาร สมัยอยุธยาตอนปลายฐานอาคารนิยมทำเป็นรูปโค้งคล้ายท้องเรือ มีการเจาะหน้าต่างที่ผนังตกแต่งซุ้มประตูหน้าต่างประณีต ใช้กระเบื้องเคลือบมุงหลังคามีการนำเอาศิลปะการก่อสร้างอาคารของยุโรปเข้ามา ผสม  เกิดการสร้างอาคาร 2 ชั้น โบสถ์ วิหาร เช่นตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วิหารวัดตึก  วิหารวัดเจ้าย่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระราชวังและพระตำหนักต่างๆของอยุธยาถูกทำลายไปมากจนยากที่จะหารูปแบบที่แท้จริงได้  มีเพียงรากฐานเท่านั้นที่พอมีเค้าโครงให้เห็นอยู่บ้าง เป็นพระที่นั่งอยู่นอกกรุงศรีอยุธยาเช่นพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ตำหนักพระนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำหนักธารเกษม จังหวัดสระบุรี
        สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง มีป้อมปราการและกำแพงเมืองต่อมามีประตูเมืองพัฒนาขึ้นภายหลังมีการติดต่อค้า ขายกับชาวตะวันตก
        นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของประชาชน เรียกว่า เรือนไทยนิยมสร้างเป็นเรือนชั้นเดียว ยกพื้นสูงใต้ถุนโปร่งมี 2 ลักษณะ คือ เรือนเครื่องผูกปลูกด้วยไม้ไผ่ ใช้เส้นหวายและตอกเป็นเครื่องผูกรัด เป็นที่อยู่ของชาวบ้านทั่วไป   และเรือนเครื่องสับ ปลูกด้วยไม้อาศัยวิธีเข้าปากไม้โดยบากเป็นร่องในตัวไม้แต่ละตัว แล้วนำมาสับประกบกันเป็นที่อยู่ของผู้มีฐานะดี

https://singburi.cad.go.th/images/t

ประติมากรรม  
        ส่วนมากสร้างเนื่องในพระพุทธศาสนาพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด อาจทำด้วยวัสดุอื่น
เช่นสกัดจากศิลา ทำด้วยไม้ ปูนปั้น ดินเผาและทองคำพระประธานในโบสถ์วิหารเป็นพระปูนปั้นหรือสำริดขนาดใหญ่โตคับ โบสถ์สมัยอยุธยาตอนปลายนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องกันมาก
        นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระพิมพ์ทำเป็นพระพุทธรูปองค์เล็กๆบนแผ่นเดียวกันเรียกว่า พระแผง หรือพระกำแพงห้าร้อย  มักนิยมทำพระพิมพ์เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับอยู่ภายในเรือนแก้ว

http://www.dvthai2.com/paput2.jpg

จิตรกรรม 
        อยุธยา เหลืออยู่น้อยมากส่วนใหญ่เป็นเรื่องพระพุทธศาสนา ตอนต้นนิยมเขียนลงบนผนังคูหาปรางค์และคูหาเจดีย์ไม่มีการเขียนบนผนังโบสถ์ วิหาร วิธีเขียนเป็นการเขียนบนปูนเปียก
        ปลายพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมามีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังบนผนังโบสถ์และวิหารเรื่องราวที่เขียน มักเป็นภาพพุทธประวัติ ชาดกเครื่องประดับของภาพจะเขียนอย่างวิจิตรบรรจงมาก เช่นฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณารามวัดแก้วเก้าสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี วัดใหม่ประชุมพล ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

https://www.000webhost.com/migrate?static=true

ประณีตศิลป์ 
        ในสมัยอยุธยามีหลายประเภทที่เหลืออยู่เป็นพวกเครื่องไม้จำหลัก การเขียนลายรดน้ำ เครื่องเงิน เครื่องทองเครื่องถมและการประดับมุก ส่วนใหญ่สร้างขึ้นปลายสมัยอยุธยาเช่นเครื่องใช้เครื่องประดับ และวัตถุทางศาสนาทำด้วยทองเป็นผลงายสมัยอยุธยาตอนต้นพบในกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ และประตูจำหลักไม้ วัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นผลงานสมัยอยุธยาตอนกลาง
        สมัยปลายอยุธยา งานประณีตศิลป์รุ่งเรืองมาก เช่น การทำลายรดน้ำตกแต่งบานประตู ตู้พระธรรมหีบหนังสือ ลายรดน้ำบนตู้พระธรรม วัดเชิงหวายมีชื่อเสียงและสวยงามที่สุด 

http://www.royal-swan.com/shop/r/r

นาฏศิลป์ 
        มีการแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หนังใหญ่ โขนละครชาตรี ละครนอก ละครใน และการเชิดหุ่นใช้ในงานพระราชพีธีและงานสำคัญของบ้านเมือง สามัญชนทั่วไปนิยมการเล่นละครชาตรีมีการประสมวง 3 ลักษณะ ได้แก่ วงมโหรี วงปี่พาทย์ และวงเครื่องสาย

วรรณกรรม 
        ลักษณะวรรณกรรมค่อนข้างหลากหลายในเนื้อหามีลักษณะสำคัญร่วมกันประการหนึ่ง คือ ผู้แต่งวรรณกรรมเป็นชนชั้นสูงและมีความสัมพันธ์กับราชสำนัก
        สมัยอยุธยาตอนต้น วรรณกรรมสำคัญคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ แต่งขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพีธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมี มหาชาติคำหลวง แต่งขึ้นเพื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ลิลิตยวนพ่ายเพื่อสดุดีและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในการทำ สงครามชนะล้านนาลิลิตพระลอ เป็นวรรณกรรมเพื่อความบันเทิงและความงามในวรรณศิลป์โคลงกำสรวลและโคลงทวาทศมาศ เป็นวรรณกรรมประเภทนิราศ
        สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมุทรโฆษคำฉันท์แต่งขึ้นเพื่อใช้เล่นหนังในงานฉลองพระชนมายุครบ 25 พรรษาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้รับยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณกรรมประเภท ฉันท์  นอกจากนี้ยังมีจินดามณีเป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรกที่ พระโหราธิบดีแต่งขึ้นในพ.ศ. 2215และพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ รวบรวมขึ้นใน พ.ศ. 2223
        สมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)วรรณคดีส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อยกรอง ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
        สมัยธนบุรี (พ.ศ. 2310-2325) เป็นช่วงเวลาสั้นเพียง 15 ปีเท่านั้นศิลปกรรมที่สร้างขึ้นคงเป็นไปตามแบบอย่างของอยุธยา จึงผนวกรวมเข้าไว้ในศิลปะอยุธยา

ศิลปะรัตนโกสินทร์

        สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรงศรีอยุธยาแห่งที่สอง กล่าวคือได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญ โดยเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยารวมไปถึงสถาปัตยกรรมประเภท บ้านพักอาศัย เรือนไทยบางเรือนที่ยังคงเหลือจากการทำศึกสงครามกับพม่าก็ถูกถอดจากกรุงศรีอยุธยามาประกอบที่กรุงเทพมหานคร

        กรุงเทพมหานครกลายเป็นมหานครศูนย์กลางแห่งหนึ่งที่รวบรวมเอาผู้คนหลายหลายชาติวัฒนธรรมเข้ามารวมอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น แขก (อินเดีย) ฝรั่ง (ชาติตะวันตก) และ จีน ที่มีการซึมซับวัฒนธรรมอื่นมาทีละน้อย หลักฐานในยุคนั้นไม่ปรากฏเท่าไร เนื่องจากผุพังไปตามสภาพกาลเวลา แต่จะเห็นได้จากภาพตามจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น รวมถึงรูปแบบบ้านพักอาศัยซึ่งมีตึกปูนแบบจีนอยู่ค่อนข้างมาก
        ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม

        สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้นดังเช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะแบบโกธิค

        ต่อมาในยุคที่มีการล่าอาณานิคม ศิลปะไทยอยู่ในช่วงการปรับตัวระหว่างรูปแบบตามประเพณีนิยมกับศิลปะทางตะวันตกของยุโรป มีการสร้างศิลปะตามแบบประเพณีนิยมอยู่บ้าง  แต่ไม่มากเท่าตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ศิลปะแบบตะวัน ตกเริ่มฝังรากลึกลงในสังคมและวัฒนธรรมไทยผลักดันให้เกิดการพัฒนาแนวความคิดและวิธีการแสดงรูปแบบทางศิลปกรรมทุกด้าน พระมหากษัตริย์ของเราก็ทรงพระปรีชาสามารถเลือกหนทาง การประนีประนอม ไม่ให้เสียเอกราชไปโดยที่เราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเป็นอยู่ของตัวเอง สถาปัตยกรรมไทยในสมัยนั้นจึงมีหน้าตาเป็นแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก บ้านเรือนเปลี่ยนรูปแบบเป็นตึกก่ออิฐถือปูน มีการวางผังแบบสากลและตายตัว ไม่ใช้ Open Plan แบบเก่า มีการกั้นห้องเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับแขก รับประทานอาหาร นั่งเล่น เป็นต้น

        สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้แบ่งประเภท ของบ้านเรือนในกรุงเทพตามแบบวัฒนธรรมออกเป็น 3 แบบ คือ

  1. แบบเดิม คือ แบบเรือนของผู้มีฐานะ (ระดับ)เดียวกัน เคยทำมาอย่างไรก็ทำมาอย่างนั้น มิได้คิดเปลี่ยนแปลงยกตัวอย่างเช่น วังเจ้าบ้านนายขุน
  2. แบบผสม คือ เอาตึกฝรั่งหรือเก๋งจีนมาสร้างแทรกเข้าบ้าง เข้าใจว่าเกิดขึ้นในรัชการที่ 4 และต่อมาจนต้นรัชกาลที่ 5 ดังตัวอย่างที่มีเก๋ง และ การ     แก้ไขตำหนักที่วังท่าพระ เป็นต้น
  3. เปลี่ยนเป็นอย่างใหม่ คือ เลิกสร้างเรือนแบบไทยเดิม และตึกฝรั่ง เก๋งจีน คิดทำเป็นตึกฝรั่งทีเดียว เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5
http://images.picstation.multiply/

สถาปัตยกรรม  
        เปลี่ยนแปลงไปมากในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มด้วยราช  สำนัก หันความนิยมไปสู่รูปแบบศิลปะฝ่ายตะวันตกแทนรูปแบบศิลปะของจีนกระบวนการช่าง ศิลปะอย่างยุโรปได้แพร่หลายออกไปสู่วัด และวังเจ้านายใน  ท้องที่ต่างๆรอบกรุง ตลอดจนต่างจังหวัด เช่นการสร้างพระราชวังสราญรมย์ เป็นตึกแบบตะวันตก พระนครคีรี จ.เพชรบุรี เป็นการเอาแบบอย่างการสร้าง  บ้านบนเขาในต่างประเทศ
        หลังฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี พ.ศ.2425 การบริหารประเทศส่วนใหญ่ก้าวเข้าสู่ภาวะของการรับอารยธรรมตะวันตกอย่างเต็มที่ รัชกาลที่5 และ 6 ทรง พัฒนาประเทศด้านสาธารณประโยชน์ของสังคมทางวัตถุเป็นหลักใหญ่เพื่อให้ประเทศ เจริญก้าวหน้าทันอารยประเทศ สถาปัตยกรรมที่สำคัญจึงได้แก่  พระราชวังบางปะอินซึ่งสร้างเลียนแบบพระราชวังแวร์ซายส์ พระราชวังสวนดุสิต พระที่นั่งอนันตสมาคม วัดนิเวศธรรมประวัติเป็นศิลปะกอทิกของยุโรป พระราชวังพญาไท และพระราชวังสนามจันทร์ เป็นคฤหาสน์งดงามเหมือนบ้านคหบดีหรือขุนนางในอังกฤษ ค่านิยมตะวันตกมีมากขึ้น การแสวงหาเอกลักษณ์ใหม่ด้านสถาปัตยกรรมไทยก็เกิดขึ้น เช่น การสร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม  ภาย ในโบสถ์เป็นศิลปะโกธิกของยุโรปวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ออกแบบขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ ศิลปะไทย แต่ใช้วัสดุต่างประเทศคือ หินอ่อนจากประเทศอิตาลี รวมทั้งพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งองค์พระที่นั่ง  เป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแต่หลังคาสร้างเป็นยอดปราสาทแบบไทย
        อย่างไรก็ตาม ยังมีสถาปัตยกรรมที่เป็นศิลปะแบบไทยแท้ คือพระที่นั่ง  ไอสวรรย์ทิพยอาสน์ กลางสระน้ำที่พระราชวังบางปะอินและหอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย มีรูปทรงคล้ายกับวัด หลังคาหน้าจั่ว ช่อฟ้า ล้วนสร้างตามแบบศิลปะไทยเพียงแต่ดัดแปลงสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น

https://imageshack.com/
http://www.marinerthai.com/sara/pi

ประติมากรรม
        มีการปั้นพระพุทธรูปให้เหมือนมนุษย์ยิ่งขึ้น คือ พระศรีศากยะทศพลญาณเป็นพระพุทธรูปปางลีลาแบบสุโขทัย ส่วนงานประติมากรรมอื่นๆ มักเป็นงานจำหลักหินอ่อนหรือหล่อสำริดส่งมาจากยุโรป ถือเป็นการเริ่มรับแบบอย่างการปั้นภาพเหมือนและอนุสาวรีย์จากตะวันตกเช่น พระบรมรูปทรงม้า รูปปั้นสนัขย่าเหล นอกจากนี้ยังมีงานประติมากรรมภาพปั้นนูนสูงประดับสะพานข้ามคลอง ประติกรรมภาพเหมือนที่ใช้ตกแต่งอาคารสถานที่

https://www.oknation.net/blog/home/
 http://syongkrich.212cafe.com/user

 จิตรกรรม
        นำวิทยาการสมัยใหม่ของตะวันตกในการสร้างภาพมนุษย์ที่เน้นความเหมือนจริงมาผนวก กับวิทยาการของไทยที่เขียนภาพแบบอุดมคติซึ่งให้เห็นในจิตรกรรมฝาผนังของ ขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ 4ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เริ่มต้นงานจิตรกรรมไทยสมัยใหม่  

http://www.sansai.ac.th/2551/ratti
http://www.alepaint.com/webboard/u

นาฏศิลป์และริยางคศิลป์
        กลุ่มชาวไทยมุสลิมที่ถูกกวาดต้อนมาจากภาคใต้ ได้นำธรรมเนียมการสวดขับบูชาพระผู้เป็นเจ้า มีกลองรำมะนาตีเป็นจังหวะประกอบต่อมาการสวดเปลี่ยนวัตถุประสงค์ไปเป็นเพื่อ ความบันเทิงผู้ชายมักนั่งล้อมวงกันตีกลอง รำมะนาประกอบการสวดขับเพลงมลายูประชันกันครึกครื้นเรียกว่า ดจิเก ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีคำร้องเป็นภาษาไทยจึงมีการพลิกแพลงและพัฒนามาเป็น ลิเก
        แนวคิดและ วิถีชีวิตคนตะวันตกได้แพร่หลายเข้ามาในไทยมากขึ้นจึงมีการเปลี่ยนแปลง ตัดทอน นาฏศิลป์และดนตรีไทยให้กระชับขึ้นในชั้นแรกเป็นไปเพื่อต้อนรับอาคันตุกะ ต่อมาการดัดแปลงที่นิยมอยู่มากในขณะนั้น เช่นการแสดงดนตรีแบบคอนเสิร์ต ละครพันทาง หรือละครนอกที่เอาศิลปะทางการขับร้องดนตรีและฟ้อนรำมาผสมกันตัวละครนุ่งผ้า โจงกระเบนมีหน้าพาทย์อย่างละครรำ  ละครดึกดำบรรพ์คล้ายละครโอเปรา  จัดแสดงเพื่อต้อนรับแขกเมืองต้องปรับดนตรีปี่พาทย์ขึ้นมาใช้เป็นพิเศษ  ละครร้องแต่งกายธรรมดา ไม่มีการร่ายรำมีแต่การร้องและออกท่าทางตามบท และละครพูดเป็นชายล้วนเล่นกันไม่มีบทผู้แสดงเจรจากันเองตามท้องเรื่อง
        ละครดังกล่าวล้วนเป็นละครร่วมสมัย และได้รับความนิยมจนทำให้นาฏศิลป์เก่าละครใน ละครนอก ละครชาตรี เสื่อมความนิยมลงไปมากในสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6จึงทรงตั้งกรมมหรสพขึ้นมาเพื่อฟื้นฟูนาฏศิลป์ไทยอีกทั้งยังทรงพระราชนิพนธ์ บทละครหลายเรื่องและทรงร่วมแสดงด้วยทำให้การละครของไทยรุ่งเรืองมาก แต่เมื่อรัชกาลที่ 6 สวรรคตแล้วทั้งนาฏศิลป์และดนตรีไทยก็กลับซบเซาลงอีก รัฐบาลจึงตั้งโรงเรียนนาฏศิลป์ขึ้นซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัย

วรรณกรรม
        สมัยรัชกาลที่4หมอบรัดเลย์ผู้เริ่มธุรกิจการพิมพ์ในเมืองไทยได้ซื้อหนังสือเรื่องนิราศลอนดอน ของหม่อนราโชทัยเพื่อไปพิมพ์จำหน่ายนับเป็นการซื้อลิขสิทธิ์วรรณกรรมครั้ง แรกของไทย
        สมัยรัชกาลที่ 5 เกิดนักวิชาการทางวรรณกรรมมีการใช้นามปากกาในการเขียนวรรณกรรมที่ได้รับความ นิยมมาก คือ บทละครพูดและบทละครร้อง ผู้เด่นที่สุดในการประพันธ์บทละคร คือ ประเสริฐอักษร(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์) นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมภาษาสันสกฤตเกิดขึ้นอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ 5และ 6 ทั้งประเภทร้อยแก้ว ร้อยกรองเช่นเรื่องศกุนตลา เรื่องหิโตปเทศ
        วรรณกรรมประเภทนวนิยายที่เขียนเป็นร้อยแก้วของไทย โดย การรับเอารูปแบบนวนิยายและเรื่องสั้นเข้ามาเริ่มแรกแปลจากนวนิยายภาษาอังกฤษ เป็นส่วนใหญ่งานแปลที่จำกันได้มากและนิยมว่าเป็นหนังสือแปลดีคือ เรื่องความพยาบาทขอแม่วันซึ่งแปลจาก เวนเดตตา (Vendetta)ถือกันว่าเป็นนวนิยายไทยเล่มแรก แม้ว่าจะเป็นหนังสือแปลก็ตาม
งาน ร้อยแก้วที่ได้รับความสนใจมาก ได้แก่ สารคดี คือ เรื่องไกลบ้านเป็นสารคดีเที่ยวที่แต่งดีอย่างยิ่งเล่มหนึ่ง พระราชพิธีสิบสองเดือนมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เมื่อการเขียนการอ่านเพิ่มขึ้น จึงมีคนยึดอาชีพขายหนังสือ ตีพิมพ์งานเขียนออกสู่ตลาดเพื่อสนองความต้องการของผู้อ่านอย่างมากมาย รัชกาลที่ 6 ทรงมีบทบาทมากในการส่งเสริมวรรณกรรมไทยทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีจำนวนมากทั้งที่ เป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง และบทละคร และในช่วงกลางสมัยรัชกาลที่6 นักเขียนนวนิยายไทยแต่งเรื่องเองมากขึ้น นวนิยายไทยจึงค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้นและเจริญในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อการศึกษาเริ่มขยายไปสู่คนทุกชนชั้น
        นวนิยาย และเรื่องสั้นที่ได้รับความมากก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 มีนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องแรกเรื่องแรกของไทยเรื่องดาบศักดิ์เหล็กน้ำพี้ นวนิยายสะท้อนภาพชีวิตชนชั้นสูง เรื่องความผิดครั้งแรกนวนิยายเชิงชีวประวัติ   เรื่องละครแห่งชีวิต มีความสำคัญในประวัติการประพันธ์ของไทยเป็นครั้งแรกที่มีนักประพันธ์ใช้ตัว ละครเป็นสมาชิกในราชสกุลเขียนเรื่องเป็นชีวิตของคนไทยในประเทศในประเทศใน ประเทศตะวันตกและเสนอความคิดวิพากษ์วิจารณ์สังคมชั้นสูงค่อนข้างรุนแรง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่วรรณกรรมไทยสะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงจากระบบ สังคมแบบเก่าไปสู่ระบบสังคมแบบใหม่ เช่นข้างหลังเป็นรักสะเทือนอารมณ์ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นความแตกสลายของชน ชั้นสูงที่ปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ไม่ได้  เรื่องผู้ดีสะท้อนภาพชนชั้นหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ส่วนนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่  ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือเรื่องผู้ชนะสิบทิศ
        ช่วงที่จอมพล ป. พิบูล สงคราม เป็นนายกฯได้ดำเนินนโยบายรัฐนิยม มีลักษณะส่งเสริมคิดชาตินิยม ความรักชาติ โดยเฉพาะงานเขียนประวัติศาสตร์นิยายหรือบทละครอิงประวัติศาสตร์มักจะเขียนใน ลักษณะยกย่องความยิ่งใหญ่ ความรุ่งเรืองของชาติในอดีตเช่น บทละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องเลือดสุพรรณ เจ้าหญิงแสนหวี พ่อขุนผาเมืองเพลงปลุกใจให้รักชาติที่แต่งประกอบในบทละครเช่นเพลงเลือด สุพรรณ เพลงต้นตระกูลไทย
        หลังสงครามมหาเอเชียบูรพาวรรณกรรมเป็นแนวเริงรมย์แนวพาฝันได้รับความนิยมสูงสุด เพราะช่วยให้ผู้อ่านลืมสภาพทุกข์ยากในชีวิตจริงไปอยู่ในโลกจินตนาการขณะ เดียวกันนักเขียนเสรีภาพมากขึ้นจึงเกิดวรรณกรรมแบบก้าวหน้าหรือวรรณกรรมแนว สังคมการเมืองขึ้นมากมายยุคเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์นักเขียนถูกปิด กั้นเสรีภาพทางความคิดวรรณกรรมก้าวหน้าหยุดเผยแพร่จนถึงสมัยของจอมพลถนอม กิตติขจร หลังเหตุการณ์14 ตุลาคม2516 งานของคนรุ่นใหม่ที่มุ่งสะท้อนถึงความทุกข์ยากลำเค็ญของชาวไร่ชาว นาและกรรมกรซึ่งเรียกว่าวรรณกรรมเพื่อชีวิตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อเกิดเหตุการณ์นองเลือด 6ตุลาคม 2519 รัฐบาลกวดขันเข้มงวดหนังสือที่อยู่ในข่ายสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์สำนัก พิมพ์จึงไม่กล้าจัดพิมพ์วรรณกรรมเพื่อชีวิตประกอบกับวรรณกรรมแนวนี้เริ่มเสื่อมลงวรรณกรรมไทยระยะต่อมาจึงเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมอย่างกว้างขวางมากขึ้นปัจจุบันวรรณกรรมมีการนำเสนอรูปแบบใหม่ทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาที่ หลากหลายเน้นการแสดงออกทางความคิดในแง่มุมต่างๆและสะท้อนให้เห็นภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจวิถีการดำเนินชีวิตของคนในยุคสมัยปัจจุบันวรรณกรรมบางประเภทก็มี จำนวนผู้อ่านขยายตัวมากขึ้นเช่นวรรณกรรมประเภทหนังสือพิมพ์และสารคดีซึ่ง เป็นไปตามสังคมที่มีการขยายตัวทางด้านการ   ศึกษาและชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

แหล่งที่มา

http://thaiartonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=70…      
http://www.kaminbk.org/modules.php?name=Tutorials&t_op=showtutorial&pid=…
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=warramutra&month=07-2008&date=1…
http://www.sansai.ac.th/2551/rattima/art%20thai/thai%201.htm     
http://siamclassview.edu.chula.ac.th/lookmoo/view.php?Page=1259242103971…  
http://www.kaminbk.org/modules.php?name=Tutorials&t_op=showtutorial&pid=2
http://www.kaminbk.org/modules.php?name=Tutorials&t_op=viewtutorial&tc_id=5
http://srivijaya.exteen.com/20060416/entry-3
http://www.philo.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=72&…
http://www.niyay.com/webboard/detail/58402.html
http://nutcoco.exteen.com/20090113/entry-26
หนังสือเรียน ศิลปะ ม.6
http://nutcoco.exteen.com/20090113/entry-25
http://nutcoco.exteen.com/20090113/entry-21
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0…
http://nutcoco.exteen.com/20090113/entry-22
http://nutcoco.exteen.com/20090113/entry-20
http://easyblog.ezyjob.com/?p=4616
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/art04/07/thai@hous…
http://nutcoco.exteen.com/20090113/entry-18

ผู้จัดทำ

นายสุทัศน์ ตั้งฮั่น

นางสาวธิติยา สุเมธเมธาชัย

ย่อ