โครงสร้างของพืช

สร้างโดย : นายสมโภชน์ ผ่องใส และนายกิตติชา พลไพศาล
สร้างเมื่อ จันทร์, 23/11/2009 – 18:55
มีผู้อ่าน 604,589 ครั้ง (18/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/46098
รางวัลที่ 2 ประเภทสื่อออนไลน์
โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552
ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โครงสร้างของพืช

เนื้อหาประกอบด้วย

  1. ราก
    1. โครงสร้างของราก
    2. หน้าที่ของราก
    3. ชนิดของราก
  2. ลำต้น
    1. โครงสร้างของลำต้น
    2. หน้าที่ของลำค้น
    3. ชนิดของลำต้น
  3. ใบ
    1. โครงสร้างของใบ
    2. หน้าที่ของใบ
    3. ชนิดของใบ
  4. ดอก
    1. โครงสร้างของดอกไม้
    2. หน้าที่ของดอก
    3. ชนิดของดอก
  5. ผลและเมล็ด
    1. โครงสร้างของผล
    2. หน้าที่ของเมล็ด
    3. ชนิดของผล

แบบทดสอบ พร้อมเฉลย

อ่านเพิ่มเติม...

1. ราก

โครงสร้างของราก

โครงสร้างของราก :: แบ่งได้ 4 บริเวณ คือ
     1. บริเวณหมวกราก (Root cap) ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ผนังค่อนข้างบาง มีแวคิวโอลนาดใหญ่ สามารถผลิตเมือกได้ ทำให้หมวกรากชุ่มชื้ และอ่อนตัว สะดวกค่อการชอนไช และสามารถป้องกันอันตรายให้กับบริเวณที่อยู่เหนือขึ้นไปได้

   2. บริเวณเซลล์กำลังแบ่งตัว(Region of cell division)อยู่ถัดจากรากขึ้นมาประมาณ 1-2 mm เป็นบริเวณของเนื้อเยื่อเจริญ จึงมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส เพื่อเพิ่มจำนวน โดยส่วนหนึ่งเจริญเป็นหมวกราก อีกส่วนเจริญเป็นเนื้อเยื่อ ที่อยู่สูงถัดขึ้นไป

   3. บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (Region of cell elongation) อยู่ถัดจากบริเวณเซลล์มีการแบ่งตัว เป็นบริเวณที่เซลล์มีการยืดยาวขึ้น

  4. บริเวณเซลล์เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ (Region of cell differentiation and maturation) ประกอบด้วยเซลล์ถาวรต่างๆ ซึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญมีโครงสร้างเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ บริเวณนี้จะมีเซลล์ขนราก (Root hair cell)

ภาพ สไลด์โครงสร้างของรากพืชตามยาว
ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/35_03xRootTip.jpg

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ library-9401-003.jpg


ภาพ โครงสร้างตามยาวของราก
ที่มา http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/root.html

หน้าที่ของราก

ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/pic1.jpg

หน้าที่ของราก
ราก มีหน้าที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
     1. ดูดน้ำ และแร่ธาตุ จากพื้นดินส่งขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ซึ่งต้องนำไปผ่านกระบวนการปรุง หรือการสังเคราะห์ด้วยแสงก่อน ปัจจุบันได้มีการพัฒนาปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน แต่จะเอารากไปแช่ในน้ำซึ่งมีปุ๋ย หรือธาตุอาหารผสมอยู่ ดังนั้น การดูดน้ำหรือแร่ธาตุที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะไม่ใช่จากพื้นดินเสมอไป
     2. ยึดลำต้นให้ติดกับพื้นดิน พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่กับที่ มีลำต้นชี้ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ส่งกิ่งก้านที่มีใบติดอยู่ขึ้นรับแสงอาทิตย์ เพื่อปรุงอาหาร ถ้าพืชไม่มีรากลำต้นจะ
หน้าที่พิเศษของราก
พืชบางชนิด มีรากซึ่งทำหน้าที่พิเศษจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่
     1. รากค้ำจุน (prop root) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลำต้นเหนือดิน ช่วยพยุงลำต้นไม่ให้ล้มง่าย เช่น รากโกงกาง ข้าวโพด ลำเจียก ยางอินเดีย
     2. รากยึดเกาะ (climbing root) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลำต้นแล้วยึดเกาะกับเสาหรือไม้อื่นเพื่อไต่ขึ้นด้านบน เช่น รากพลู พลูด่าง พริกไทย
     3. รากหายใจ (aerating root) เป็นรากที่แตกแขนงจากรากใหญ่ แล้วแทงขึ้นด้านบนขึ้นมาเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ เช่น รากลำพู โกงกาง กล้วยไม้
     4. รากสังเคราะห์แสง (photosynthetic root) เป็นรากที่แตกแขนงออกจากลำต้น แล้วมักห้อยลงมาในอากาศ มักมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ เช่น รากไทร รากกล้วยไม้
     5. รากสะสมอาหาร (storage root) มีลักษณะอวบอ้วน เช่น หัวผักกาด แครอท มันเทศ มันแกว มันสำปะหลัง เป็นต้น
                       ที่มาของเนื้อหา http://school.obec.go.th/webkrusun/plant/title1/root.htm

ชนิดของราก

ชนิดของรากเมื่อแยกตามกำเนิด จำแนกออกเป็น 3 ชนิดคือ
1. Primary root หรือ รากแก้ว (tap root) มีลักษณะ ตอนโคนจะโตแล้วค่อยเรียวเล็กลงไปจนถึงปลาย จะยาวและใหญ่กว่ารากอื่นๆที่แยกออกไป ทำหน้าที่ เป็นหลักรับส่วนอื่นๆให้ทรงตัวอยู่ได้ รากชนิดนี้พบในพืชใบเลี้ยงคู่ที่งอกออกจากเมล็ดโดยปกติ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่งอกออกจากเมล็ดใหม่ๆก็มีรากระบบนี้เหมือนกันแต่มีอายุได้ไม่นานก็เน่าเปื่อยไปแล้วเกิดรากชนิดใหม่ขึ้นมาแทน(รากฝอย)

ภาพ รากแก้ว
ที่มาของภาพนี้  http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/root_Acer_taproot.jpg

2. Secondary root หรือรากแขนง(lateral root หรือ branch root) เป็นรากที่เจริญเติบโตออกมาจาก รากแก้ว มักงอกเอียงลงไปในดินจนเกือบขนานหรือขนานไปกับพื้นดิน รากชนิดนี้อาจแตกแขนงออกเป็นทอดๆ ได้อีกเรื่อยๆ ทั้งรากแขนงและแขนงต่างๆที่ยื่นออกไปเป็นทอดๆต่างกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อเพริไซเคิลในรากเดิมทั้งสิ้น

ภาพ รากแขนง
ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/RKN_10.jpg

3. Adventitious root หรือ รากวิสามัญ เป็นรากที่ไม่ได้กำเนิดมาจากรากแก้วหรือรากแขนง รากชนิดนี้อาจแตกออกจากโคนต้นของพืช ตามข้อของลำต้นหรือกิ่ง ตามใบหรือจากกิ่งตอนของไม้ผลทุกชนิด แยกเป็นชนิดย่อยได้ตามรูปร่างและหน้าที่ ได้ดังนี้
 – รากฝอย (fibrous root) เป็นรากเส้นเล็กๆมากมาย ขนาดโตสม่ำเสมอกันไม่ไม่เรียวลงที่ปลายอย่างรากแก้ว  งอกออกจากรอบโคนต้นแทนรากแก้วที่ฝ่อเสียไปหรือที่หยุดเตอบโต พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่

ภาพ รากฝอย
ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/fibrsrt.jpg

– รากค้ำจุ้น (Prop root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้น ที่อยู่ใต้ดิน และเหนือดินขึ้นมาเล็กน้อย และพุ่งแทงลงไปในดิน เพื่อพยุงลำต้นเอาไว้ไม่ให้ล้มง่าย เช่นรากค้ำจุนของต้นข้าวโพด ต้นลำเจียก ต้นโกงกาง

ภาพ รากค้ำจุน
ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/Prop_roots.jpg

 – รากเกาะ (Climbing root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นแล้วมาเกาะตามหลักหรือเสา  เพื่อพยุงลำต้นให้ติดแน่นและชูลำต้นขึ้นที่สูง เช่นรากของพลู พลูด่าง กล้วยไม้ 

ภาพ รากเกาะ
ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/root%20climbing.jpg

 – รากสังเคราะห์แสง (photosynthtic root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้น แล้วห้อยลงมาในอากาศ มีสีเขียวของคลอโรฟิล เป็นรากที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เช่น รากกล้วยไม้ที่มีสีเขียวเฉพาะรากอ่อน หรือปลายรากที่แก่เท่านั้น
      รากของไทร โกงกาง มีสีเขียวเฉพาะตรงที่ห้อยอยู่ในอากาศ ส่วนที่ไซลงไปในดินแล้วไม่มีสีเขียวเลย

ภาพ รากสังเคราะห์แสงของกล้วยไม
ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/7.jpg

– รากหายใจ (Respiratory root)รากพวกนี้เป็นแขนงงอกออกจากรากใหญ่ที่แทงลงไปในดินอีกทีหนึ่ง แต่แทนที่จะงอกลงไปในดิน กับชูปลายขึ้นมาเหนือดินหรือผิวน้ำ บางทีก็ลอยตามผิวน้ำ เช่นรากของแพงพวย

ภาพ รากต้นลำพูซึ่งเป็นรากหายใจ
ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/pneumat.jpg

– รากกาฝาก (Parasitic root) เป็นรากของพืชบางชนิดที่เป็นปรสิต เช่นรากของต้นกาฝาก และต้นฝอยทอง

ภาพ กาฝาก
ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/rtsuck2.jpg

  – รากสะสมอาหาร (storage root) เป็นรากที่ทำหน้าที่ในการสะสมอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล หรือ โปรตีนเอาไว้ ทำให้มีลักษณะอวบอ้วนเรามักเรียกว่า หัว เช่น หัวแครอต หัวผักกาด หัวมันเทศ หัวมันแกว มันสำปะหลัง กระชาย เป็นต้น

ภาพ รากสะสมอาหาร
ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/rootveg.jpg

ที่มาของเนื้อหา http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/root.html

การ์ตูนเรื่อง ท่องแดน ROOT TOWN
โรงเรียนแม่สรวยวิทยาคม อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

https://www.youtube.com/watch?v=saKQFxfRj8I&t=215s

2. ลำต้น

โครงสร้างของลำต้น

                ลำต้นเป็นโครงสร้างของพืชที่เจริญถัดขึ้นมาจากราก ลำต้นมีข้อปล้อง บริเวณข้อจะมีใบ ที่ซอกใบมีตา ลำต้นทำหน้าที่ชูกิ่ง ใบ ดอก ผล และทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ธาตุอาหาร และน้ำ

เนื้อเยื่อบริเวณปลายยอด
                เมื่อตัดตามยาวผ่านกลางส่วนปลายยอด แล้วนำไปศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อโดยใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่างๆ จะเห็นเซลล์มีลักษณะขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวเป็นบริเวณต่างๆ ดังนี้

ที่มาของภาพนี้  http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/apical_mer.jpg

  1. เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical meristem) เป็นบริเวณปลายสุดของลำต้น เซลล์บริเวณนี้จะแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา
  2. ใบเริ่มเกิด (leaf primordium) อยู่ตรงด้านข้างของปลายยอดส่วนที่เป็นขอบของความโค้ง ถ้าพืชตัวอย่างที่ศึกษามีใบแบบตรงข้ามกันจะเห็นใบเริ่มเกิดอยู่ 2 ข้าง ใบเริ่มเกิดนี้ต่อไปจะพัฒนาเป็นใบอ่อน ตรงโคนของใบเริ่มเกิดจะเห็นเซลล์ขนาดเล็กรูปร่างยาวเรียงตัวเป็นแนวยาวจากลำต้นขึ้นไปจนถึงใบอ่อน
  3. ใบอ่อน (young leaf) เป็นใบที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เซลล์ของใบยังมีการแบ่งเซลล์ และเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงเซลล์ต่อไปอีกจนในที่สุดจะได้เป็นใบที่เจริญเต็มที่
  4. ลำต้นอ่อน (young stem) อยู่ถัดจากตำแหน่งใบเริ่มเกิดลงมา ลำต้นส่วนใต้ใบอ่อนก็ยังเป็นลำต้นระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ กล่าวคือ เซลล์บางบริเวณอาจพัฒนาไปจนเจริญเต็มที่ในระดับหนึ่งแล้ว แต่บางบริเวณยังแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวน และขยายขนาดต่อไปได้อีก

โครงสร้างภายในของลำต้น

ที่มาของภาพนี้    http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/stem_d.jpg

ที่มาของภาพนี้   http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/stem_m.jpg

  1. เอพิเดอร์มิส อยู่นอกสุดประกอบด้วยเซลล์ผิวเรียงเป็นแถวเดียว  บางเซลล์อาจเปลี่ยนไปเป็นขน ผิวด้านนอกของเซลล์ในชั้นนี้จะมีสารคิวทีนเคลือบอยู่
  2. คอร์เทกซ์  เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเอพิเดอร์มิสเข้ามาประกอบด้วยเซลล์หรือเนื้อเยื่อหลายชนิด  ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาและมีคอลเลงคิมา (collenchyma) อยู่ใต้ผิวหรืออยู่ตามสันของลำต้น
  3. สตีล  สำหรับพืชใบเลี้ยงคู่จะกว้างมากและแยกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจน ประกอบด้วย
    1. มัดท่อลำเลียง  อยู่เป็นกลุ่มๆ  ด้านในเป็นไซเลม  ด้านนอกเป็นโฟลเอ็มเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกัน
    2. วาสคิวลาร์เรย์  เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิวมาที่อยู่ระหว่างมัดท่อลำเลียง  เชื่อมต่อระหว่างคอร์เทกซ์และพิธ
    3. พิธ อยู่ชั้นในสุดเป็นไส้ในของลำต้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิวมา  ทำหน้าที่สะมสแป้งหรือสารต่างๆ

                สำหรับลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆคล้ายกับในพืชใบเลี้ยงคู่  แต่แตกต่างกันตรงที่มัดท่อลำเลียงในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะกระจายอยู่ทั่วไป  ไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียมขั้นระหว่างไซเลมและโฟลเอ็ม  พืชบางชนิดพิธจะสลายไปกลายเป็นช่องกลวงอยู่ใจกลางลำต้น  เรียกว่า ช่องพิธ (pith cavity) พบมากในบริเวณปล้อง

                การเจริญเติบโตขั้นที่สองของลำต้นใบเลียงคู่  พืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเนื้อไม้เป็นการเจริญเติบโตเพื่อขยายขนาดทางด้านข้างจะมีวาสคิวลาร์แคมเบียมเกิดขึ้นตรงแนวระหว่างไซเลม  และโฟลเอ็มของการเจริญเติบโตขั้นแรก

                วาสคิวลาร์แคมเบียม  จะแบ่งเซลล์สร้างเนื้อเยื่อไซเลมขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านในและสร้างเนื้อเยื่อโฟลเอ็มขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านนอก  การแบ่งเซลล์ได้ไซเลมขั้นที่สองจะเกิดขึ้นเร็วกว่าการเกิดโฟลเอ็มขั้นที่สอง  ในพืชส่วนมากโฟลเอ็มขั้นแรกทางด้านนอกจะถูกโฟลเอ็มขั้นที่สองที่สร้างขึ้นใหม่เบียดจนสลายไปหมด

                ในรอบ 1 ปี วาสคิวลาร์แคมเบียมของพืชที่มีเนื้อไม้จะมีการแบ่งเซลล์สร้างไซเลมและโฟลเอ็มขั้นที่สองจำนวนมากน้อยต่างกันในแต่ละฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและแร่ธาตุอาหาร  ในฤดูที่สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ดี  เช่น  ฤดูฝน  เซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญเร็วมีขนาดใหญ่ทำให้ได้ชั้นไซเลมกว้าง  และมีสีจาง  ส่วนในฤดูแล้งเซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญช้ามีขนาดเล็กเบียดกันแน่นทำให้เห็นเป็นแถบแคบๆ  และมีสีเข้ม  ลักษณะดังกล่าวทำให้เนื้อไม้มีสีจางและมีสีเข้มสลับกันมองเห็นเป็นวงเรียกว่า  วงปี (annual  ring)

ที่มาของเนื้อหา  http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_02.html

หน้าที่ของลำต้น

                ลำต้นนอกจากจะทำหน้าที่สร้างใบและกิ่ง ยังช่วยพยุงกิ่งก้านสาขา ชูใบกางออกเพื่อรับแสง เพราะแสงแดดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างอาหารของใบและการสร้างดอก  ลำต้นยังมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ลำเลียงน้ำ ธาตุอาหารและสารต่างๆที่พืชสร้าง ส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆ  นอกจากนี้ลำต้นอาจมีหน้าที่พิเศษอื่นๆ อีก บางส่วนของลำต้นเปลี่ยนแปลงไป บางชนิดเปลี่ยนเป็นหนาม เช่น มะนาว  ส้ม  เฟื่องฟ้า  บางชนิดเปลี่ยนไปเป็นมือเกาะ เช่น พวงชมพู องุ่น 

ที่มาของภาพนี้ http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/mun.jpg

ที่มาของภาพนี้  http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/pink.jpg

            พืชที่เจริญในที่แห้งแล้งและอุณหภูมิสูง จะมีวิวัฒนาการของใบเปลี่ยนไปเป็นหนาม ลำต้นอวบน้ำ ที่ลำต้นมีคลอโรฟิลล์ใช้สังเคราะห์แสงแทนใบ เช่น กระบองเพชร  พญาไร้ใบ

ที่มาของภาพนี้  http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/tabong.jpg

             พืชบางชนิดลำต้นอยู่ใต้ดิน ทำให้เข้าใจผิดว่าลำต้นเป็นราก ลำต้นเหล่านี้มีรากเล็กๆ งอกออกมาคล้ายกับรากแขนงที่แตกออกมาจากรากแก้ว ลำต้นใต้ดินจะมีตา  ข้อปล้องและใบเกล็ดคลุมตา เช่น เผือก  มันฝรั่ง แห้ว  ขิง  ข่า

                           ที่มาของเนื้อหา  http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_05.html

ชนิดของลำต้น

        สามารถจำแนกลำต้นออกตามแหล่งที่อยู่ได้สองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ลำต้นเหนือดินและลำต้นใต้ดินลำต้นใต้ดิน ( Underground stem)

ลำต้นใต้ดิน ( Underground stem)

  1. เหง้า ( rhizome or root stock) เป็นลำต้นใต้ดินที่มักเจริญในแนวขนานกับผิวดิน อาจมีลักษณะกลมแตกติดต่อกันหรือกลมยาว มีข้อและปล้องสั้นๆ มีใบเกล็ดหุ้มตาไว้ ตาอาจแตกแขนงเป็นลำต้นใต้ดินหรือลำต้น และใบแทงขึ้นเหนือดินมีส่วนรากแทงลงดิน ได้แก่ ขมิ้น ขิง ข่า พุทธรักษา
  2. Tuber เป็นลำต้นใต้ดินสั้นๆ ประกอบด้วยข้อและปล้อง 3-4 ปล้องไม่มีใบลำต้นมีอาหารสะสม ทำให้อวบกลม มีตาอยู่โดยรอบเกล็ด บริเวณปล้องมีตาซึ่งตามักจะบุ๋มลงไป ตาเหล่านี้สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ ได้แก่ มันฝรั่ง มันหัวเสือ
  3. Bulbเป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงมีข้อปล้องสั้นมากตามปล้องมีใบเกล็ด(ScaleLeaf)ทำหน้าที่สะสมอาหารซ้อนห่อหุ้มลำต้นไว้หลายชั้นจนเห็นเป็นหัวลักษณะกลมใบชั้นนอกสุดจะลีบแบนไม่สะสมอาหาร ส่วนล่างของลำต้นมีรากเป็นกระจุก เช่น หอม กระเทียม พลับพลึง ว่านสี่ทิศหัวกลม
  4. Corm เป็นลำต้นใต้ดินที่มีลำต้นตั้งตรงลักษณะกลมยาวหรือกลมแบนมีข้อปล้องเห็นชัดตามข้อมีใบเกล็ดบางๆ หุ้ม ลำต้นสะสมอาหารทำให้อวบกลมมีตาตามข้อสามารถงอกเป็นใบโผล่ขึ้นเหนือดินหรืออาจแตกเป็นลำต้นใต้ดินต่อไปได้ด้านล่างของลำต้นมีรากฝอยเส้นเล็กจำนวนมาก ได้แก่ เผือก แห้ว บัวสวรรค์ ซ่อนกลิ่น

ลำต้นเหนือดิน ( Aerial  stem ) 

  1. ลำต้นเลื้อย(Creepin stem, Prostate  stem )   เป็นลำต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือผิวน้ำ ตามข้อมักมีรากงอกออกมาแล้วแทงลงในดินเพื่อช่วยยึดลำต้นนอกจากนี้บริเวณข้อจะมีตาเจริญไปเป็นแขนงยาวขนานไปกับพื้นดินหรือผิวน้ำซึ่งจะงอกรากและลำต้นขึ้นใหม่และจะแยกเช่นนี้เรื่อยๆไปเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชได้วิธีหนึ่งแขนงที่ขนานไปตามพื้นดินหรือผิวน้ำดังกล่าวนี้ เรียกว่า ไหล ( Stolon หรือ Runner ) เช่น  ต้นหญ้า  ผักบุ้ง  ผักกระเฉด  ผักตบชวา บัวบก  สตรอเบอรี่ เป็นต้น
  2. ลำต้นไต่ ( Climbing stem )   เป็นลำต้นที่เลื้อยหรือไต่ขึ้นที่สูง มักมีลำต้นอ่อนเป็นพวกไม้เลื้อย ได้แก่
    1. ทไวเนอร์ ( Twiner )   เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันกับหลักเป็นเกลียว เช่น  ต้นถั่ว  บอระเพ็ด  และเถาวัลย์ต่างๆ
    2. มือเกาะ ( Stem  tendril )   เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ ( tendril ) สำหรับพันหลักเพื่อไต่ขึ้นที่สูง ส่วนของtendril จะบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่นเช่นบวบแตงกวาฟักทองกะทกรก   พวงชมพู  เป็นต้น
    3. รูทไคลม์เบอร์ ( Root  climber )   เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูง โดยใช้รากซึ่งงอกออกมาตามข้อยึดกับหลักหรือต้นไม้ เช่นต้นพริกไทย  พลู   พลูด่าง
    4. หนาม ( Stem  spine or Stem  thorn )   เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นหนามรวมทั้งขอเกี่ยวสำหรับไต่ขึ้นที่สูง เช่นเฟื่องฟ้า  มะนาว   มะกรูด  พวกส้มต่างๆ  ไมยราบ
  3. แคลโดฟิลล์ ( Cladophyll )   เป็นลำต้นที่เปลี่ยนไปมีลักษณะคล้ายใบ ทำหน้าที่แทนใบโดยมีสีเขียวและสังเคราะห์แสงได้ เช่น  สนทะเล   พญาไร้ใบ  กระบองเพชร  โปร่งฟ้า
  4. บัลบิล ( Bulbil )   เป็นลำต้นเหนือดินสั้นๆ มีใบออกมาเป็นกระจุก เช่น  หอม  กระเทียม

          ที่มาของเนื้อหา  http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/67/2/html/Stem2.htm

3. ใบ

โครงสร้างของใบ

1. โครงสร้างภายนอกของใบ

                ใบของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนแบนๆ ที่แผ่ขยายออกไปเรียกว่า แผ่นใบ (blade) และมีก้านใบ(petiole) เชื่อมติดอยู่กับลำต้นหรือกิ่งทางด้านข้าง และอาจมีหูใบ (stipule) ที่โคนก้านใบ  การที่ใบพืชมีลักษณะแบนมีประโยชน์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับแสงเพื่อให้ได้พลังงานไปใช้ในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยในการระบายความร้อน  โดยทั่วๆไปใบของพืชมีสีเขียวเนื่องจากคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารรับสีที่รับพลังงานแสง แต่ใบบางชนิดมีสีแดงหรือม่วง เป็นเพราะภายในใบมีการสร้างสารสีอื่นๆ เช่น แอนโทไซยานิน (anthocyanin) แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งถ้ามีมากกว่าคลอโรฟิลล์จะทำให้ใบมีสีแดงหรือเหลือง

ที่มาของภาพนี้  http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/bai1.jpg

ที่มาของภาพนี้  http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/bai2.jpg

         ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเส้นใบ (vein) แตกแขนงออกมาจากเส้นกลางใบ (midrib) เพื่อให้การลำเลียงสารต่างๆ จากท่อลำเลียงไปสู่ทุกๆ เซลล์ของใบได้ทั่วถึง  ก้านใบของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอาจเป็นกาบที่มีเส้นใบขนาดใหญ่เรียงขนานกันจนถึงปลายใบ  พืชบางชนิดเส้นใบย่อยแตกแขนงตั้งฉากกับเส้นใบใหญ่ เช่น ใบกล้วย และเส้นใบย่อยก็ยังเรียงขนานกันเองอีกด้วย

2. โครงสร้างภายในของใบ

                ประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับลำต้น

ที่มาของภาพนี้ http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/leaf_xs.jpg

  1. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น ได้แก่ เซลล์ผิว  เซลล์ขน หรือเปลี่ยนไปเป็นเซลล์คุม (guard cell) ภายในเซลล์ผิวมักไม่ค่อยมีคลอโรพลาสต์หรือมีน้อยยกเว้นเซลล์คุม  เซลล์ผิวมีคิวทินเคลือบอยู่ที่ผนังเซลล์ด้านนอกเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากใบ  เซลล์คุมมีรูปร่างคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว 2 เซลล์ประกบกัน  พืชที่ใบลอยปริ่มน้ำ เช่น บัวสาย จะมีปากใบ (stoma) อยู่เฉพาะทางด้านบนของใบเท่านั้น ส่วนพืชที่จมอยู่ใต้ผิวน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอกจะไม่มีปากใบและไม่มีคิวทินฉาบผิว ใบพืชบางชนิดมีปากใบทั้งด้านบนและด้านล่าง เช่น ใบข้าวโพด
  2. มีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์จำนวนมาก โดยทั่วไปพาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเซลล์ 2 แบบ ทำให้โครงสร้างภายในแบ่งเป็น 2 ชั้นคือ
    1. แพลิเซดมีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) มักพบอยู่ใต้ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบคล้ายรั้วอาจมีแถวเดียวหรือหลายแถว ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์ค่อนข้างหนาแน่นมาก
    2. สปันจีมีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ กัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นแต่น้อยกว่าแพลิเซดมีโซฟิลล์
  3. มัดท่อลำเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอ็ม โดยไซเลมและโฟลเอ็มจะเรียงติดต่อถึงกันอยู่ในเส้นใบ พืชบางชนิดมัดท่อลำเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท (bundle sheath) เช่น ใบข้าวโพด  บันเดิลชีทในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อไฟเบอร์ช่วยทำให้มัดท่อลำเลียงแข็งแรงเร็วขึ้น ในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ซึ่งจะมีคลอโรพลาสต์หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช   มัดท่อลำเลียงส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นสปันจีมีโซฟิลล์

ที่มาของเนื้อหา http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_03.html

หน้าที่ของใบ

ที่มาของภาพนี้
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/wactharee_p/sience/picture/leaves_04.jpg

หน้าที่ของใบมีดังนี้

  1. ปรุงอาหาร หรือกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งจะเกิดเฉพาะ ในเวลากลางวัน และเกิดที่ใบเป็นส่วนใหญ่ ที่ลำต้น หรือส่วนประกอบอื่นที่มีสีเขียว ก็สามารถปรุงอาหารได้
  2. หายใจ พืชจำเป็นต้องมีการหายใจตลอดเวลาเช่นเดียวกับสัตว์ ในเวลากลางวัน พืชจะหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาเมื่อเราเข้าไปในป่า หรือนั่งใต้ต้นไม้ในเวลากลางวันจึงรู้สึกสดชื่น เนื่องจากได้รับอากาศ บริสุทธิ์จากต้นไม้ 
  3. คายน้ำ การคายน้ำเป็นการปรับอุณหภูมิภายในต้นพืชไม่ให้สูงมาก ในวันที่มีอากาศร้อนพืชจะคายน้ำมากกว่าวันที่อากาศปกติ

  ที่มาของเนื้อหา  http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/wactharee_p/sience/sec03p03.html

ชนิดของใบ

จำเเนกตามจำนวนของใบที่เเยกออกจากก้านใบ
1. ใบเดี่ยว (simple leaf)
       ใบที่มีตัวใบแผ่นเดียว เช่น ใบน้อยหน่า มะม่วง ชมพู่ พืชบางชนิดตัวใบเว้าโค้งไปมาจึงทำให้ดูคล้ายมีตัวใบหลายแผ่นแต่บางส่วนของตัวใบยังเชื่อมกันอยู่ถือว่าเป็นใบเดี่ยวเช่น ใบมะละกอ ใบฟักทอง ตัวใบมักติดกับก้านใบ ถ้าใบที่ไม่มีก้านใบเรียก sessile leaves เช่น บานชื่น 
 2. ใบประกอบ (compound leaf)
       ใบที่มีตัวใบหลายแผ่นติดอยู่กับก้านใบเดียว เช่น ขี้เหล็ก ใบจามจุรี ใบย่อย เรียกว่า leaflets        ใบประกอบจะมีตาที่ซอกใบที่ติดกับลำต้นเท่านั้น (แต่ส่วนที่เป็นก้านใบย่อยจะไม่พบตา) ใบประกอบยังสามารถแบ่งเป็นประเภทย่อยๆ ได้ 2 ประเภทดังนี้

  1. ใบประกอบแบบขนนก ( pinnately compound leaf )
             มีใบย่อยออก 2 ข้างของแเกนกลาง ( rachis) ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อกับก้านใบ ใบประกอบมีใบย่อยออกแกนกลาง 2 ครั้ง เรียกใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ( bipinnately compound leaf ) แกนของใบประกอบใบย่อยแยกออกจากแกนกลาง นี้เรียก rachilla พืชบางชนิดมีใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น (tripinnately compound leaf) คือมีการแตกแขนงของใบ ย่อยเช่นเดียวกับใบประกอบแบบขนนกสองชั้นแต่เพิ่มมาอีก หนึ่งชั้น
  2. ใบประกอบแบบรูปมือ ( palmately compound leaf )                     
              คือใบประกอบที่มีใบย่อยทุกใบออกมาจากตำเหน่งเดียวกันตรงปลายก้านใบ ใบประกอบแบบนี้ถ้ามี 3 ใบย่อยเรียก trifoliolate ถ้ามี 4 ใบเรียก quadrifoliolate และถ้ามีใบย่อยมากกว่านี้เรียก polyfoliolate trifoliolate อาจเป็นใบประกอบแบบขนนกถ้ามี rachis

ภาพใบประกอบ
ที่มาของภาพ http://www.212cafe.com/boardvip/user_board/ruamphorn/picture/00052_11.jpg

ภาพ ใบประกอบ
ที่มาของภาพ http://picdb.thaimisc.com/s/savebird/1283-11.jpg

ที่มาของเนื้อหา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/67/2/html/Leaf2.htm

4. ดอก

โครงสร้างของดอก

ที่มาของภาพนี้  
http://3.bp.blogspot.com/_pYUolWX0mEk/SqZUGHP6UQI/AAAAAAAAAFY/vN8I73niIXg/s400/08 flower1%5B1%5D.jpg

โครงสร้างของดอกไม้

ดอกไม้ทั่วไปประกอบด้วยระยางค์ต่างๆ 4 ส่วน แต่ละส่วนจะเรียงเป็นชั้นเป็นวง เรียงตามลำดับจากนอกสุดเข้าสู่ด้านในคือ

  1. กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่นอกสุด เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากใบ จึงมักมีสีเขียว ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่ส่วนในของดอก นอกจากนี้จะช่วยในการสังเคราะห์แสงได้ด้วย กลีบเลี้ยงของพืชอาจอยู่แยกกันเป็นกลีบๆ เรียกว่า อะโปเซพัลลัส (Asoposepalous) หรือพอลิเซพัลลัส (Polysepalous) ได้แก่ กลีบเลี้ยงของดอกบัวสาย และดอกพุทธรักษา แต่บางชนิดกลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกันเรียกว่า แกมโมเซพัลลัส (Gamosepalous) หรือ ซินเซพัลลัส (Synsepalous) ได้แก่ กลีบเลี้ยงของดอกชบา แตง บานบุรี และดอกแค เป็นต้น วงกลีบเลี้ยงทั้งหมดนี้เรียกว่า แคลิกซ์ (Calyx)
                     ในพืชบางชนิดกลีบเลี้ยงมีสีต่างๆ นอกจากสีเขียวเรียกว่า เพทัลลอยด์ (Petaloid) ทำหน้าที่ช่วยล่อแมลงในการผสมเกสร เช่นเดียวกับกลีบดอก นอกจากนี้ในดอกชบา และดอกพู่ระหงจะมี ริ้วประดับ (Epicalyx) เป็นกลีบเลี้ยงเล็กๆ ใกล้กลีบเลี้ยง
  2. กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไปข้างใน มักมีสีสันต่างๆ สวยงาม เนื่องจากมีรงควัตถุชนิดต่างๆ ได้แก่ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และแอนโทแซนทิน (Anthoxanthin) ละลายอยู่ในสารละลายแวคิวโอล ทำให้กลีบดอกเป็นสีต่างๆ เช่น สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน หรืออาจมีแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในพลาสติด ทำให้กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือแสด ส่วนดอกสีขาวและไม่มีสีเกิดจากไม่มีรงควัตถุอยู่ภายในเซลล์ของกลีบดอก นอกจากนี้กลีบดอกของพืชบางชนิด อาทิเช่น ดอกพุดตาลสามารถเปลี่ยนสีได้ ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นกรดและด่างภายในเซลล์ของกลีบดอกเปลี่ยนแปลงไป วงของกลีบดอกทั้งหมดเรียกว่า collora
                     ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกจัดเป็นส่วนประกอบรอง (Acessory part) ห่อหุ้มอยู่รอบนอกของดอก พืชบางชนิดกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน แยกกันไม่ออกเรียกชั้นนี้ว่า วงกลีบรวม (Perianth) กลีบแต่ละกลีบเรียกว่า ทีพัล (Tepal) ได้แก่ บัวหลวง จำปี และจำปา เป็นต้น
  3. เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นส่วนของดอกที่จำเป็นในการสืบพันธุ์ อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เกสรตัวผู้มักมีหลายอันเรียงเป็นชั้นหรือเป็นวงเรียกว่าแอนดรีเซียม (Andrecium) เกสรตัวผู้แต่ละอันอาจอยู่แยกกัน หรือเชื่อมติดกัน บางชนิดอาจติดกับส่วนอื่นของดอกก็ได้ เกสรตัวผู้แต่ละอันจะประกอบขึ้นด้วย ก้านเกสรตัวผู้ (Filament) และ อับเรณู (Anther) ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงมี 2 พู ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ ยาว 4 ถุงเรียกว่า ถุงเรณู (Pollen sac หรือ Microsporangium) จะบรรจุละอองเรณู (Pollen grain) จำนวนมาก ทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้ว ถุงเรณูจะแตกออก ละอองเรณูจะปลิวออกมา จำนวนเกสรตัวผู้ในแต่ละดอกจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช พืชโบราณมักมีเกสรตัวผู้จำนวนมากในขณะที่พืชซึ่งมีวิวัฒนาการสูงขึ้น จำนวนเกสรตัวผู้ในดอกจะลดน้อยลง อนึ่งเกสรตัวผู้ของพืชบางชนิดอาจเป็นหมัน จึงไม่สามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ หรือละอองเรณูได้เรียกว่า สตามิโนด (Staminode) ตัวอย่างเช่น เกสรบางอันของกล้วย และชงโค บางชนิดอาจมีสีสันสวยงามแผ่เป็นแผ่นแบน คล้ายกลีบดอกเรียกว่า เพทัลลอยด์สตามิโนด (Petaloid staminode) เช่น พุทธรักษา
  4. เกสรตัวเมีย (Pistil or carpel) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ในสุด และจำเป็นในการสืบพันธุ์ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เกสรตัวเมียในแต่ละดอกอาจมี 1 หรือหลายอันซึ่งแยกจากกันเป็นอิสระ หรือเชื่อมติดกัน ชั้นของเกสรตัวเมียเรียกว่า จินนีเซียม (Gymnoecium) เกสรตัวเมียแต่ละอันประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
    1. รังไข่ (Ovary) เป็นส่วนที่พองโตออกเป็นกระพุ้ง
    2. ก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) เป็นเส้นเรียวยาวเล็กๆ ทำหน้าที่ชูเกสรตัวเมีย และเป็นทางผ่านของหลอดละอองเรณู (Pollen tube)
    3. ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) อยู่ส่วนปลายของละอองเรณูซึ่งมักพองออกเป็นปมมีขนหรือน้ำเหนียวๆ สำหรับจับละอองเรณูที่ปลิวมา หรือพาหะพามา

                 ดอกบางชนิดไม่มีก้านเกสรตัวเมีย ยอดเกสรตัวเมียจะติดกับด้านบนของรังไข่โดยตรง เช่น ดอกมังคุด เป็นต้น

                 ภายในรังไข่แต่ละอันจะมีโอวุล (Ovule) 1 หรือหลายอัน แต่ละโอวุลจะมีไข่ (Egg) ซึ่งเมื่อผสมกับสเปิร์ม (Sperm) แล้วจะกลายเป็นไซโกต (Zygote) และมีการเจริญเติบโตพัฒนาต่อไปเป็นเอมบริโอ (Embryo) หรือต้นอ่อน ส่วนโอวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ดห่อหุ้มเอมบริโอไว้ โอวุลจะติดกับผนังรังไข่ด้วยก้านเล็กๆ เรียกว่า ฟันนิคูลัส (Funiculus) ผนังของรังไข่ตรงที่ฟันนิคูลัสมาเกาะมักพองโตเล็กน้อยเรียกว่า รก (Placenta)

                 ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก เปลี่ยนสภาพมาจากกิ่งเพื่อรองรับส่วนต่างๆ ของดอก มีรูปร่างแตกต่างกันไปหลายแบบ อาทิเช่น แผ่แบนคล้ายจาน เช่น ทานตะวันเว้าเป็นรูปถ้วย เช่น กุหลาบ นูนสูง เช่น สตรอเบอรี่ เป็นต้น

                 ริ้วประดับ (Bract) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ช่วยรองรับดอก หรือช่อดอก อยู่บริเวณโคนก้านดอก มักมีสีเขียว มีรูปร่างต่างๆ เช่น คล้ายใบที่ลดขนาดลง หรือเปลี่ยนมาเป็นริ้วเล็กๆ ในดอกชบา พู่ระหง ริ้วประดับมีสีเขียวคล้ายกลีบเลี้ยงเล็กๆ เรียกว่า เอพิแคลิกซ์ (Epicalyx) ริ้วประดับของดอกทานตะวันเป็นใบเล็กๆ ซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ บางครั้งริ้วประดับอาจมีสีฉูดฉาดสวยงามคล้ายกลีบดอก เช่น เฟื่องฟ้า คริสต์มาส ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดริ้วประดับแผ่เป็นแผ่นใหญ่แผ่นเดียว อาจมีสีสันสวยงาม เช่น ดอกหน้าวัว อุตพิต หรือกาบปลีกล้วย มะพร้าว และหมาก เป็นต้น

ที่มาของเนื้อหา  http://yaipu.blogspot.com/2009/08/blog-post_30.html

หน้าที่ของดอก

หน้าที่ของดอก

  1. ก้านดอก (Peduncle) ทำหน้าที่ชูดอก และทำให้ดอกติดกับกิ่งหรือลำต้น
  2. กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของดอกไม้ มีลักษณะเป็นกลีบเล็กๆ เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากใบ มักมีสีเขียวทำหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันอันตรายให้กับส่วนประกอบต่างๆ ของดอกที่ยังตูมอยู่ ป้องกันอันตรายจากแมลงหรือศัตรูพืช และช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ
  3. กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดกลีบเลี้ยงเข้ามา กลีบดอกส่วนใหญ่จะมีสีสันสวยงาม บางทีก็มีกลิ่นหรือต่อมน้ำหวานบริเวณโคนของกลีบดอก เพื่อใช้ในการล่อแมลงให้มาผสมเกสร
  4. เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ ประกอบด้วยก้านชูอับเรณู และอับเรณู ทำหน้าที่สร้างละอองเรณู (เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้) เพื่อใช้ในการผสมพันธุ์
  5. เกสรตัวเมีย (Pistil) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีน้ำหนักเหนียวเพื่อช่วยดักละอองเรณู และก้านชูเกสรตัวเมีย นอกจากนี้ยังมีรังไข่ ภายในรังไข่จะมี ออวุลรังไข่ทำหน้าที่สร้างไข่ (เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย)
  6. ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รองรับกลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย
    ที่มาชองเนื้อหา http://writer.dek-d.com/FullMoonParty/story/view.php?id=177701

ชนิดของดอก

            ถ้าพิจารณาส่วนประกอบของดอกไม้เป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 2 ชนิดคือ
1. ดอกครบส่วน คือดอกไม้ที่มีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ส่วน คือกลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ภายในดอกเดียวกันเช่น ดอกบานบุรี ชบา กุหลาบ ต้อยติ่ง ดอกบัวหลวง อัญชัญ ผักบุ้ง พริก มะเขือ

ภาพ ดอกชบา
ที่มาของภาพนี้ http://www.arowanacafe.com/webboard/pictures/1127650784.jpg

2. ดอกไม่ครบส่วน คือดอกไม้ที่ส่วนประกอบของดอกไม่ครบทั้ง 4 ส่วน ในดอกเดียวกัน เช่น ดอกมะละกอ ดอกตำลึง ฟักทอง แตงกวา บวบ เฟื่องฟ้า กล้วยไม้ บานเย็น หน้าวัว

ภาพ ดอกมะละกอ
ที่มาของภาพนี้  http://www.bloggang.com/data/farm33/picture/1210397992.jpg

            ถ้าพิจารณาโดยใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ในการแบ่งดอกไม้ ได้ 2 ประเภท

1. ดอกสมบูรณ์เพศ คือดอกไม้ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน เช่น ดอกชบา มะม่วง กุหลาบ ดอกบัว ต้อยติ่ง  ผักบุ้ง ถั่ว ดอกมะเขือ

ภาพ ดอกกุหลาบ
ที่มาของภาพนี้  http://www.bloggang.com/data/jaj2525/picture/1195461569.jpg

2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือดอกไม้ที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่คนละดอก เช่น ดอกตำลึง ฟักทอง มะละกอ ข้าวโพด มะยม 

ภาพ ดอกตำลึง
ที่มาของภาพนี้  http://www.bloggang.com/data/fantail/picture/1150900577.jpg

ที่มาของเนื้อหา http://www.sritani.ac.th/ebook/sci01/p2.htm

การ์ตูนเรื่อง ดินแดนดอกไม้มหัศจรรย์
โรงเรียนแม่สรวยวิทยาคม อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

https://www.youtube.com/watch?v=-2l_Jb3Hc78

5. ผลและเมล็ด

โครงสร้างของผล

1. โครงสร้างของผล
เมื่อรังไข่เปลี่ยนแปลงกลายเป็นผล ผนังรังไข่จะเปลี่ยนเป็นเพริคาร์ป (pericarp) ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ภายใน เพริคาร์ปของผลแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ เอกโซคาร์ป มีโซคาร์ปและเอนโดคาร์ป
            1.1 เอกโซคาร์ป (exocarp) เป็นชั้นนอกสุดของผลที่มักเรียกว่าเปลือก โดยทั่วไปประกอบด้วยเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสเพียงชั้นเดียว แต่ก็มีผลบางชนิดที่เอกโซคาร์ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชั้นและอาจมีปากใบด้วย เอกโซคาร์ปของพืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น เรียบเหนียว เป็นมัน ขรุขระ อาจมีหนาม มีขนหรือต่อมน้ำมัน
             1.2 มีโซคาร์ป (mesocarp) เป็นชั้นกลางถัดจากเอกโซคาร์ปเข้ามา ผลบางชนิดนั้นมีโซคาร์ปหนา บางชนิดบางมาก มีโซคาร์ปของผลบางชนิดเป็นเนื้ออ่อนนุ่มใช้รับประทานได้
             1.3 เอนโดคาร์ป (endocarp) เป็นชั้นในสุดของเพริคาร์ป ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่มีความหนาชั้นเดียวหรือหลายชั้นจนมีลักษณะหนามาก บางชนิดเป็นเนื้อนุ่มใช้รับประทานได้

            เพริคาร์ปของผลแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ผลบางชนิดมีเพริคาร์ปเชื่อมติดกันจนแยกไม่ออก เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง บางชนิดส่วนเอกโซคาร์ปและมีโซคาร์ปเชื่อมติดกันหรือแยกกันไม่เด่นชัด เช่น มะเขือเทศ มะละกอ ฟัก แต่เพริคาร์ปของพืชอีกหลายชนิดสามารถแยกเป็น 3 ชั้นชัดเจน เช่น มะม่วง พุทรา มะพร้าว มะปราง

            ผลที่กำเนิดมาจากรังไข่แบบอินฟีเรีย เช่น แตงกวา ฟักทอง ทับทิมและฝรั่ง มีเปลือกนอกเป็นผนังของฐานดอก ส่วนเพริคาร์ปจะอยู่พัดเข้าไปและมักเชื่อมรวมกันจนสังเกตยาก ผลบางชนิดมีส่วนเนื้อที่รับประทานได้เจริญมาจากฐานดอกซึ่งอวบเต่งเจริญเป็นเนื้อผล เช่น แอปเปิ้ล ส่วนที่เป็นเพริคาร์ปจริง ๆ จะอยู่ข้างใน เนื้อของผลชนิดนี้เรียกว่า ซูโดคาร์ป (seudocarp)
เมล็ดพืชบางชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ทานตะวัน ดาวเรือง ผักกาดหอม ส่วนที่เรียกว่า เมล็ดนั้นแท้จริงแล้วคือผล ซึ่งเป็นผลที่มีขนาดเล็ก มีเพริคาร์ปบางมากแนบสนิทกับเยื่อหุ้มเมล็ด ดังในกรณีของบัว ส่วนของแกลบก็คือเพริคาร์ป รำคือส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดและข้าวสารที่ใช้รับประทานคือ เอนโดสเปิร์ม

โครงสร้างภายในผลไม้ชนิดหนึ่ง
ที่มาของภาพนี้ http://www.dnp.go.th/botany/BFC/image/fruit_structure.gif

ที่มาของเนื้อหา  http://web.debsirin.ac.th/inkyman/plant/5-2.html

หน้าที่ของเมล็ด

            เมล็ดมีหน้าที่ในการแพร่พันธุ์  โดยวิธีการต่าง ๆ  ตามลักษณะเมล็ดพืช เช่น  อาศัยลม  น้ำ  คน สัตว์  การดีดกระเด็นของเมล็ดพืชเมื่อเมล็ดพืชแตก

            เมล็ดเมื่อได้รับความชื้น(น้ำ)  อากาศ  อุณหภูมิที่พอเหมาะ  เมล็ดจะงอกเป็นต้นใหม่  และเจริญเติบโตออกดอก  ผล  และเมล็ดวนเวียนเช่นนี้ ตลอดไป

ภาพ เมล็ดทานตะวัน
ที่มาของภาพนี้ 
http://km.sadet.ac.th/file/napat_d/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%
94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%
B8%991.jpg

ที่มาของเนื้อหา  http://student.nu.ac.th/duangjai/lesson7.htm

ชนิดของผล

ที่มาของภาพนี้  http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/374/25374/images/pic1.jpg

ชนิดของผล

            การจำแนกประเภทของผล สามารถกระทำได้โดยอาศัยลักษณะต่าง ๆ ของผลเป็นหลักในการจำแนก ได้แก่ โครงสร้างของดอกที่เจริญกลายเป็นผล จำนวนและชนิดของรังไข่ จำนวนคาร์เพลในรังไข่ ลักษระของเพริคาร์ปเมื่อผลแก่ ลักษณะการแตกหรือไม่แตกของเพริคาร์ปเมื่อแก่ ตลอดจนส่วนอื่น ๆ ของดอกที่เจริญเป็นส่วนประกอบของผล

            1 ผลเดี่ยว (simple fruit) คือผลที่เจริญมาจากรังไข่อันเดียวภายในดอกหนึ่ง ๆ รังไข่นี้อาจประกอบด้วยคาร์เพลเดียวหรือหลายคาร์เพลเชื่อมกัน ดอกเป็นชนิดดอกเดี่ยวหรือช่อดอกก็ได้ผลเดี่ยวยังสามารถจำแนกตามลักษณะของเพริคาร์ปได้เป็น ผลสดและผลแห้ง
                1.1 ผลสด (fleshy fruit) เป็นผลเดี่ยวที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมีเนื้อนุ่มและสดจำแนกได้ดังนี้
                        1) ดรูป (drupe) เป็นผลสดชนิดที่เพริคาร์ปแบ่งเป็น 3 ชั้น เอนโดคาร์ปแข็งมากอาจเรียกว่า สโตนฟรุต (stone fruit) เอนโดคาร์ปมักติดกับเปลือกหุ้มเมล็ดซึ่งมีอยู่เมล็ดเดียวมีโซคาร์ปเป็นเนื้อนุ่มหรือเป็นเส้นเหนียว ๆ ส่วนเอกโซคาร์ปเรียบเป็นมัน มีคาร์เพลเดียวหรือหลายเคร์เพล เช่น มะม่วงพุทรา มะปราง มะกอก มะพร้าว ตาล เชอรี่ ท้อ
                        2) เบอรี (berry) เป็นผลสดที่มีเพริคาร์ปอ่อนนุ่ม เอกโซคาร์ปเป็นผิวบาง ๆ มีโซคาร์ป และเอนโดคาร์ปรวมกันแยกได้ไม่ชัดเจน เช่น มะเขือ มะเขือเทศ พริก องุ่น กล้วย ฝรั่ง
                        3) เพโป (pepo) เป็นผลสดที่มีลักษณะคล้ายเบอรี แต่มีเปลือกนอกหนาเหนียวและแข็ง เจริญมาจากฐานดอกเชื่อมรวมกับเอกโซคาร์ป ชั้นมีโซคาร์ปและเอนโดคาร์ปเป็นเนื้อเยื่อนุ่ม ผลชนิดนี้มักเจริญมาจากดอกที่มีรังไข่แบบอินฟีเรีย เช่น ฟัก แฟง แตงกวา น้ำเต้า บวบ มะตูม
                        4) เฮสเพริเดียม (hesperidium) เป็นผลสดที่มีเอกโซคาร์ปค่อนข้างแข็งและเหนียว มีต่อมน้ำมันมาก เปลือกประกอบด้วยเอกโซคาร์ปและมีโซคาร์ปซึ่งติดกันและมองเกือบไม่เห็นรอยแยก แต่ชั้นมีโซคาร์ปจะมีสีขาวและไม่ค่อยมีต่อมน้ำมัน เอนโดคาร์ปเป็นเยื่อบาง ๆ หุ้มเนื้อ บางส่วนจะเปลี่ยนไปเป็นขนหรือถุงสำหรับเก็บน้ำ (juice sac) ซึ่งเป็นเนื้อที่ใช้รับประทาน เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด 
                        5) โพม (pome) เป็นผลสดที่เจริญมาจากดอกที่มีรังไข่แบบอินฟีเรีย มีหลายคาร์เพล เนื้อผลส่วนใหญ่มาจากฐานดอกหรือส่วนฐานของกลีบดอก กลีบเลี้ยงและก้านเกสรตัวผู้ซึ่งเชื่อมติดกัน โอบล้อมผนังรังไข่ เนื้อส่วนน้อยที่อยู่ด้านในเกิดจากเพริคาร์ป ส่วนเอนโดคาร์ปจะบางหรือมีลักษณะกรุบ ๆ คล้ายกระดูกอ่อน เช่น แอปเปิล สาลี่ ชมพู่
                        6) แอริล (arill) เป็นผลสดซึ่งเนื้อที่รับประทานได้เรียกว่าแอริล เจริญมาจากส่วนของเมล็ดซึ่งเจริญออกมาห่อหุ้มเมล็ด (outgrowth of seed) และมีเพริคาร์ปเป็นเปลือกห่อหุ้มอยู่ชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง เช่น เงาะ ลำไย
                1.2 ผลแห้ง (dry fruit) เป็นผลเดี่ยวที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วเพริคาร์ปจะแห้งจำแนกย่อยเป็นผลแห้งแตกเองได้และผลแห้งแล้วไม่แตก
                      1) ผลแห้งแตกเองได้ (dehiscent dry fruit) เป็นผลที่เมื่อแก่แล้วเพริคาร์ปจะแห้งและแตกได้ จำแนกย่อยได้ดังนี้
                                 – เลกูม (legume) เป็นผลที่เกิดจากดอกที่มีรังไข่คาร์เพลเดียว ภายในมีเมล็ดมากติดอยู่ด้านข้างผล เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามรอยตะเข็บ เช่น ถั่ว แค กระถิน ชงโค
                                 – ฟอลลิเคิล (follicle) เป็นผลที่เกิดจากดอกที่มีรังไข่คาร์เพลเดียว ภายในมีเมล็ดมาก เมื่อผลแก่จะแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว เช่น รัก ขจร ยี่หุบ ลั่นทม แพงพวย แมกคาเดเมีย
                                 – แคปซูล (capsule) เป็นผลที่เกิดจากดอกที่มีรังไข่หลายคาร์เพลมาเชื่อมกัน เมื่อผลแก่จะแตกตามรอยหรือมีช่องเปิดให้เมล็ดออก จำแนกตามการแตกของผลได้ดังนี้
                                 – โลคูลิซิดัลแคปซูล (loculicidal capsule) เป็นผลที่แตกออกตรงกลางพูหรือกึ่งกลางของคาร์เพล เช่น ทุเรียน ตะแบก อินทนิล ฝ้าย
                                 – เซปทิซิดัลแคปซูล (septicidal capsule) เป็นผลที่แตกตรงผนังกั้นพู (septum) หรือแนวเชื่อมระหว่างคาร์เพล เช่น กระเช้าสีดา
                                 – เซอร์คัมเซสไซล์แคปซูล (circumessile capsule) เป็นผลที่แตกเป็นวงรอบ ๆ ผลตามขวาง มีลักษณะคล้ายฝาเปิด เช่น หงอนไก่ แพรเซี่ยงไฮ้
                                 – ซิลิก (silique) เป็นผลที่เกิดจากรังไข่ที่มีสองคาร์เพลติดกัน เมื่อผลแก่เพริคาร์ปจะแตกตรงกลางตะเข็บโดยเริ่มจากก้านขึ้นไปสู่ปลายเป็นสองซีก เหลือผนังบาง ๆ (septum) ติดก้านอยู่ เช่น ผักกาด ผักเสี้ยน ต้อยติ่ง
                                 – ซิโซคาร์ป (schizocarp) เป็นผลที่เกิดจากรังไข่ที่มีหลายคาร์เพล เมื่อแก่จะแตกออกเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า เมริคาร์ป (mericarp) และมีเมล็ดอยู่ภายในซีกละเมล็ด เช่น ผักชี ยี่หรา ขึ้นฉ่าย แครอต
                      2) ผลแห้งแล้วไม่แตก (indehiscent dry fruit) เป็นผลที่เมื่อแก่แล้วจะไม่แตกออกเอง โดยปติมีเมล็ดน้อยเพียง 1 – 2 เมล็ดเท่านั้น จำแนกย่อยได้ดังนี้
                                 – เอคีน (achene) เป็นผลขนาดเล็ก มีเมล็ดเดียว เพริคาร์ปแข็ง ไม่เชื่อมรวมติดกับเปลือกหุ้มเมล็ด นอกจากตรงก้านฟันนิคิวลัสเท่านั้น เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง บางชื่น ดาวกระจาย
                                 – ซารามา (samara) เป็นผลที่มีส่วนของเพริคาร์ปแผ่ออกเป็นแกแบน ๆ บาง ๆ เพื่อให้ลอยไปกับลมได้ มี 1 – 2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมีเมล็ดเดียว เช่น ประดู่ ตะเคียน
                                 – คาริออปซิส (caryopsis) เป็นผลที่มีขนาดเล็ก มีเมล็ดเดียวคล้ายเอคีน แต่เพริคาร์ปเชื่อมรวมกันแน่นกับเปลือกหุ้มเมล็ดโดยตลาด เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี
                                 – โลเมนตัม (lomentum) เป็นผลที่มี่ลักษณะคล้ายเลกูม มีคาร์เพลเดียว หักเป็นข้อ ๆ ได้ตามขวาง แต่ละข้อมีเมล็ดเดียว ผลชนิดนี้มักเป็นฝักยาว เช่น จามจุรี คูน มะขาม

           2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) คือผลที่เจริญมาจากหลาย ๆ รังไข่ที่อยู่ในดอกเดียวกัน โดยอยู่บนรากฐานดอกเดียวกัน รังไข่แต่ละอันจะเจริญเป็นผลย่อยหลาย ๆ ผล บางชนิดผนังรังไข่แต่ละอันอยู่อัดกันแน่นจนผนังเชื่อมรวมกันทำให้ดูคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น น้อยหน่า สตรอเบอรี่ แต่บางชนิดแม้ผนังรังไข่จะอัดกันแน่นแต่จะไม่เชื่อมรวมกัน เช่น ลูกจาก นอกจากนี้ผลกลุ่มบางชนิดจะแยกเป็นผลเล็ก ๆ หลายผลอยู่บนฐานดอกเดียวกัน เช่น กระดังงา การะเวก นมแมว จำปี จำปา สำหรับสตรอเบอรีนั้นเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากฐานดอกซึ่งเชื่อมรวมกันแล้วมีผลย่อย ๆ ซึ่งเป็นผลเดียวชนิดเอคีนติดอยู่ผิวนอก

           3. ผลรวม (multiple fruit) คือผลที่เจริญมาจากกลุ่มรังไข่ของช่อดอกซึ่งเชื่อมรวมกันแน่นบนฐานดอกหรือก้านดอกรวมเดียวกัน รังไข่เหล่านี้จะกลายเป็นผลย่อย ๆ และเชื่อมกันแน่นจนเป็นผลรวมหนึ่งผล บางชนิดอาจมีส่วนอื่น ๆ ของดอก ได้แก่ ฐานดอก กลีบดอก กลีบเลี้ยงและยอดเกสรตัวเมียเจริญควบคู่มากับรังไข่แล้วกลายเป็นส่วนของผลด้วย เช่น สับปะรด ขนุน ยอ สาเก
                   สับปะรดเป็นผลรวมที่มีส่วนที่เป็นไส้กลางเจริญมาจากแกนกลางของช่อดอกชนิดสไปก์เนื้อที่รับประทานส่วนนอก ๆ เกิดจากรังไข่โดยมีส่วนโคนเชื่อมกันแน่น เนื้อส่วนในเกิดจากแกนของช่อดอก ส่วนที่เป็นแผ่นคลุมตาคือใบประดับ
                   ผลขนุน สาเกและยอ มีซังและเนื้อเป็นส่วนกลีบรวม (tepal) ยอดเกสรตัวเมียจะกลายเป็นแผ่นติดกันเป็นส่วนผิวและหนามที่หุ้มผลไว้

ที่มาของเนื้อหา http://web.debsirin.ac.th/inkyman/plant/5-3.html

การ์ตูนเรื่อง ซุปเปอร์หมูผจญภัยแดมเมล็ด
โรงเรียนแม่สรวยวิทยาคม อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

แบบทดสอบ

จงเลือกข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  พืชชนิดใดไม่มีปากใบ
 ก.  กระบองเพชร                ข.  บัว
 ค.  สาหร่ายหางกระรอก        ง.  โกงกาง

2.  ในคนมีปอด ในปูมีเหงือก  (นมปู) ในปลามีเหงือกสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊สในพืชใช้อวัยวะส่วนใดหรือเซลล์ใดแลกเปลี่ยนแก๊ส
 ก.  สปันจีเซลล์                  ข. แพลิเซดเซลล์
 ค.  เอพิเดอร์มิส                  ง.  เซลล์คุม


3.  เซลล์พืชใช้ออกซิเจนไปในกิจกรรมใด
 ก.  หายใจ                        ข. สังเคราะห์ด้วยแสง
 ค.  ลำเลียงอาหาร               ง.  ลำเลียงน้ำ

4.  ในใบโดยเฉพาะในชั้นมีโซฟิลล์  มีช่องอากาศอยู่ในช่วงสปันจีเซลล์  ในช่องว่างนี้มีทั้งแก๊สออกซิเจนซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสง  และมีทั้งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งเกิดจากการหายใจ จะเป็นอุปสรรคต่อการหายใจของพืชหรือไม่
 ก. เป็นอุปสรรคบ้าง เพราะแก๊สทั้งสองปนกันพืชจึงหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปบ้าง
 ข. เป็นอุปสรรคบ้าง  เพราะแก๊สทั้งสองปนกันพืชจึงอาจใช้แก๊สออกซิเจนในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้บ้าง
 ค. ไม่เป็นอุปสรรค  เพราะการแพร่ของแก๊สจะแพร่จากบริเวณที่มีความหนาแน่นมากไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า
 ง. ข้อ  ก  และ  ข  ถูก

5. ในแต่ละวันพืชจะใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการหายใจ  อย่างไหนจะมากกว่ากัน เพราะเหตุใด
 ก. คาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการหายใจมีมากกว่า  เพราะพืชหายใจตลอดเวลา แต่การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดเฉพาะเวลามีแสง
 ข. คาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการหายใจมีมากกว่า  เพราะพืชหายใจออกมาแล้วปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดนั้น  ออกมาโดย ไม่ได้นำไปใช้
 ค. คาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชนำไปใช้ในการสร้างอาหารมีมากกว่า เพราะการสร้างอาหารเป็นการสังเคราะห์ด้วยแสงในปฏิกิริยาที่ไม่ต้อง
     ใช้แสง
 ง. ข  และ  ค  ถูก

6.  เลนทิเซล  (Lenticel) คือ
 ก. เนื้อเยื่อเจริญที่เจริญเร็วจนเกิดการปริ
 ข. รอยแตกที่อยู่ตามเปลือกไม้
 ค. รอยแตกที่อยู่ตามลำต้นหรือกิ่งของพืชบางชนิด
 ง. ปากใบที่อยู่บริเวณลำต้น

7.  หากตัดกิ่งไม้มากองรวม  ๆ กันไว้  แล้ววัดอุณหภูมิภายในกองไม้นั้น  จะพบว่า
 ก. อุณหภูมิสูงขึ้น  เพราะเซลล์พืชมีการหายใจเนื่องจากเซลล์ยังไม่ตายทันที่ที่ถูกตัด
 ข. อุณหภูมิสูงขึ้น  เพราะมีดีคอมโพสเซอร์  เข้าไปย่อยสลาย
 ค. อุณหภูมิต่ำลง  เพราะทุกเซลล์ตายแล้วหลังจากถูกตัดออกจากต้น
 ง. อุณหภูมิปกติเท่ากับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม

8.  เมื่อซื้อส้มหรือเงาะมารับประทานแล้วเหลือผลส้มผลเงาะอยู่  ทิ้งไว้หลายวัน
 ก. มีการระเหยของน้ำที่สะสมอยู่ในผลไม้เหล่านั้นออกมาตลอดเวลา 
 ข. ผลไม่ที่เด็ดออกมาจากต้น  เซลล์ยังไม่ตาย  มีการหายใจอยู่ตลอดเวลา
 ค. ผลไม้ที่เด็ดออกมาจากต้น  เซลล์ตายหมดแล้ว  ทิ้งไว้จึงเหี่ยว
 ง. ก  และ  ค  ถูก

9.  อัตราการหายใจของผลผลิตจะวัดได้จาก
 ก. ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ไป
 ข. ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา
 ค. ปริมาณไอน้ำที่คายออกมา 
 ง. ก  และ  ข ถูก

10.  ข้อใดถูก
 ก. ผักผลไม้ที่มีอัตราการหายใจสูงจะมีอายุหลังเก็บเกี่ยวสั้น
 ข. ผักผลไม้ที่มีอัตราการหายใจต่ำจะมีอายุหลังเก็บเกี่ยวนานกว่า
 ค. ผักผลไม้ที่มีอัตราการหายใจสูงจะมีอายุหลังเห็บเกี่ยวนานกว่า
 ง. ก  และ  ข  ถูก

11.  กระบวนการใดที่รากไม่ได้ใช้สำหรับการลำเลียงน้ำผ่านทางราก
 ก. การแพร่                          ข.  ออสโมซิส
 ค. อิมบิบิชั่น                        ง.  แอกทีฟ ทรานสปอร์ต

12.  เซลล์รากที่มีอายุมากสามารถบอกได้ถึงความแตกต่าง จากเซลล์ขนรากที่มีอายุน้อยคือ
 ก.  ขนรากอายุยิ่งมาก  จำนวนแวคิวโอลยิ่งมากตามอายุ
 ข.  ขนรากอายุยิ่งมาก  จำนวนแวคิวโอลยิ่งลดลง แต่มีขนาดใหญ่ขึ้น
 ค.  ขนรากอายุยิ่งน้อย  จำนวนแวคิวโอลยิ่งน้อยตามอายุ
 ง.  ขนรากอายุมากหรืออายุน้อย  จำนวนแวคิวโอลไม่แตกต่างกัน

13.  ปกติแล้วสารละลายชนิดต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ รากจะต้องมีความเข้มข้นมากหรือน้อยกว่าสารละลายภายในราก
 ก.  เข้มข้นมากกว่าภายในราก  สารละลายจึงจะแพร่เข้าสู่รากได้
 ข.  เข้มข้นน้อยกว่าภายในราก  สารละลายจึงจะแพร่เข้าสู่รากได้
 ค.  เข้มข้นน้อยกว่าภายในราก  น้ำจึงจะออสโมซิสเข้าสู่รากได้
 ง.  เข้มข้นมากกว่าภายในราก  น้ำจึงจะออสโมซิสเข้าสู่รากได้

14.  การลำเลียงน้ำจากรากไปสู่ใบจะต้องผ่านเนื้อเยื่อดังต่อไปนี้
 ก.  เอพิเดอร์มิส  คอร์เทกซ์  ไซเลม
 ข.  เอพิเดอร์มิส  คอร์เทกซ์  โฟลเอ็ม  ไซเลม
 ค.  เอพิเดอร์มิส  โฟลเอ็ม  คอร์เทกซ์  ไซเลม
 ง.  เอพิเดอร์มิส  ไซเลม  คอร์เทกซ์  โฟลเอ็ม

15.  เมื่อนำต้นผักกะสังที่มีรากสมบูรณ์มาด้วย   4  เส้น
 ต้นแรก   ตัดเหนือราก  แล้วนำต้นไปไว้บนโต๊ะทิ้งไว้จนพืชเหี่ยวแล้วนำไปแช่ใน   น้ำสี
 ต้นที่สอง ทิ้งไว้จนต้นเหี่ยวแล้วตัดเหนือราก   นำไปแช่น้ำสี
 ต้นที่สาม นำไปตัดใต้น้ำโดยตัดเหนือราก  นำไปแช่น้ำสี
 ต้นที่สี่  ทิ้งไว้จนต้นเหี่ยวแล้วนำไปตัดเหนือรากโดยตัดใต้น้ำ  แล้วจึงนำไปแช่สี
เมื่อนำต้นผักกะสังทั้งสี่ต้นไปแช่น้ำสีแล้ว  ต้นใดจะฟื้นจากอาการเหี่ยวได้เร็วที่สุด
 ก.  ต้นแรก             ข.  ต้นที่สอง                 ค.  ต้นที่สาม               ง.  ต้นที่สี่

16.  การสูญเสียน้ำในรูปหยดน้ำทางใบ  เกิดได้ในสภาวะใด
 ก.  เฉพาะพืชใบเลี้ยงคู่
 ข.  ได้กับพืชทุกชนิด
 ค.  เมื่อสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยให้เกิดการคายน้ำได้ดี
 ง.  เมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการคายน้ำได้ดี

17.  อาหารที่สังเคราะห์ได้ที่ใบถูกส่งไปยังรากเพื่อใช้ทำอะไรบ้างในระบบราก
 ก.  เจริญเติบโต เก็บสะสมอาหาร และการหายใจ
 ข.  การเจริญเติบโตและสะสมอาหาร
 ค.  การเจริญเติบโตอย่างเดียว
 ง.  สะสมอาหารอย่างเดียว

18.  ส่วนใดที่ไม่พบใน Phloem
 ก.  Companion  cell                ข.  Sieve  tube
 ค.  Tracheid                          ง.  Fiber

19.  สารเคมีชนิดใดที่สามารถลำเลียงได้ง่ายในระบบลำเลียงของพืช
 ก.  เซลลูโลส                          ข.  ไขมัน
 ค.  กลูโคส                             ง.  แป้ง

20.  เมื่อสังเคราะห์อาหารด้วยแสงแล้วพืชจะส่งอาหารเหล่านั้นไปเก็บไว้ในเซลล์ชนิดใด
 ก.  Parenchyma                     ข.  Sclerenchyma
 ค.  Sieve  tube                      ง.  Tracheid

21.  พืชที่เป็นปรสิตของต้นไม้อื่นซึ่งพันกับต้นผู้ถูกอาศัย  (Host) ส่งท่อดูดเข้าไปสู่ส่วนใดของต้นผู้ถูกอาศัย
 ก.  ไซเลม             ข.  คอร์เทกซ์              ค.  แคมเบียม           ง.  โฟลเอ็ม

22.  กระบวนการใดที่รากไม่ได้ใช้สำหรับการลำเลียงน้ำผ่านทางราก
 ก. การแพร่                             ข.  ออสโมซิส
 ค. อิมบิบิชั่น                           ง.  แอกทีฟ ทรานสปอร์ต

23.  เซลล์รากที่มีอายุมากสามารถบอกได้ถึงความแตกต่าง จากเซลล์ขนรากที่มีอายุน้อยคือ
 ก.  ขนรากอายุยิ่งมาก  จำนวนแวคิวโอลยิ่งมากตามอายุ
 ข.  ขนรากอายุยิ่งมาก  จำนวนแวคิวโอลยิ่งลดลง แต่มีขนาดใหญ่ขึ้น
 ค.  ขนรากอายุยิ่งน้อย  จำนวนแวคิวโอลยิ่งน้อยตามอายุ
 ง.  ขนรากอายุมากหรืออายุน้อย  จำนวนแวคิวโอลไม่แตกต่างกัน

24.  ปกติแล้วสารละลายชนิดต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ รากจะต้องมีความเข้มข้นมากหรือน้อยกว่าสารละลายภายในราก
 ก.  เข้มข้นมากกว่าภายในราก  สารละลายจึงจะแพร่เข้าสู่รากได้
 ข.  เข้มข้นน้อยกว่าภายในราก  สารละลายจึงจะแพร่เข้าสู่รากได้
 ค.  เข้มข้นน้อยกว่าภายในราก  น้ำจึงจะออสโมซิสเข้าสู่รากได้
 ง.  เข้มข้นมากกว่าภายในราก  น้ำจึงจะออสโมซิสเข้าสู่รากได้

25.  การลำเลียงน้ำจากรากไปสู่ใบจะต้องผ่านเนื้อเยื่อดังต่อไปนี้
 ก.  เอพิเดอร์มิส  คอร์เทกซ์  ไซเลม
 ข.  เอพิเดอร์มิส  คอร์เทกซ์  โฟลเอ็ม  ไซเลม
 ค.  เอพิเดอร์มิส  โฟลเอ็ม  คอร์เทกซ์  ไซเลม
 ง.  เอพิเดอร์มิส  ไซเลม  คอร์เทกซ์  โฟลเอ็ม

26.  เมื่อนำต้นผักกะสังที่มีรากสมบูรณ์มาด้วย   4  เส้น
 ต้นแรก   ตัดเหนือราก  แล้วนำต้นไปไว้บนโต๊ะทิ้งไว้จนพืชเหี่ยวแล้วนำไปแช่ใน   น้ำสี
 ต้นที่สอง ทิ้งไว้จนต้นเหี่ยวแล้วตัดเหนือราก   นำไปแช่น้ำสี
 ต้นที่สาม นำไปตัดใต้น้ำโดยตัดเหนือราก  นำไปแช่น้ำสี
 ต้นที่สี่  ทิ้งไว้จนต้นเหี่ยวแล้วนำไปตัดเหนือรากโดยตัดใต้น้ำ  แล้วจึงนำไปแช่สี
เมื่อนำต้นผักกะสังทั้งสี่ต้นไปแช่น้ำสีแล้ว  ต้นใดจะฟื้นจากอาการเหี่ยวได้เร็วที่สุด
 ก.  ต้นแรก                ข.  ต้นที่สอง               ค.  ต้นที่สาม             ง.  ต้นที่สี่

27.  การสูญเสียน้ำในรูปหยดน้ำทางใบ  เกิดได้ในสภาวะใด
 ก.  เฉพาะพืชใบเลี้ยงคู่
 ข.  ได้กับพืชทุกชนิด
 ค.  เมื่อสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยให้เกิดการคายน้ำได้ดี
 ง.  เมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการคายน้ำได้ดี

28.  ส่วนใดที่ไม่พบใน Phloem
 ก.  Companion  cell                ข.  Sieve  tube
 ค.  Tracheid                          ง.  Fiber

29.  สารเคมีชนิดใดที่สามารถลำเลียงได้ง่ายในระบบลำเลียงของพืช
 ก.  เซลลูโลส                          ข.  ไขมัน
 ค.  กลูโคส                             ง.  แป้ง

30.  เมื่อสังเคราะห์อาหารด้วยแสงแล้วพืชจะส่งอาหารเหล่านั้นไปเก็บไว้ในเซลล์ชนิดใด
 ก.  Parenchyma                     ข.  Sclerenchyma
 ค.  Sieve  tube                      ง.  Tracheid

1.  เฉลยข้อ  ค
เหตุผล พืชนั้นจะไม่มีปากใบในที่นี้สาหร่ายหางกระรอกคือพืชชนิดนั้น  กระบองเพชรมีการเปลี่ยนใบให้เป็นหนาม ปากใบก็อยู่ตามลำต้น  เป็นปากใบชนิดที่อยู่ลึกกว่าชั้นเอพิเดอร์มิสเพื่อลดการคายน้ำ

2.  เฉลยข้อ  ก
เหตุผล พืชไม่มีอวัยวะที่ใช้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนแก๊สโดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนแก๊สของพืชส่วนใหญ่เกิดในชั้นมีโซฟิลล์ของใบ  โดยเฉพาะในชั้นสปันจีเซลล์ซึ่งมีเซลล์เกาะกันอยู่หลวม ๆ มีช่องว่างระหว่างเซลล์ นอกจากนั้นพื้นที่ผิวของสปันจีเซลล์ยังมีความชื้นและสัมผัสกับอากาศโดยตรง ทำให้เหมาะต่อการแลกเปลี่ยนแก๊ส

3.  เฉลยข้อ  ก
เหตุผล เซลล์พืชใช้ออกซิเจนในการหายใจ  เช่นเดียวกับเซลล์สัตว์เพราะเซลล์นำออกซิเจนไปสลายอาหาร  เพื่อให้ได้พลังงานสำหรับนำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ  ของเซลล์แล้ว  คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา

4.  เฉลยข้อ  ค
เหตุผล ถึงแม้ในสปันจีเซลล์จะมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน  แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการหายใจ  เพราะแก๊สทั้งสองต่างจะแพร่ไปสู่บริเวณที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า  ในเซลล์ใบเมื่อมีการหายใจปริมาณ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มสูงทำให้มีความหนาแน่นมากจึงแพร่ออกสู่บรรยากาศ  ในขณะที่ความหนาแน่นของแก๊สออกซิเจนในบรรยากาศสูงกว่าในใบ  แก๊สออกซิเจนจะแพร่ออกจากบรรยากาศผ่านปากใบเข้ามา เช่นเดียวกับที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านปากใบออกไป

5.  เฉลยข้อ ค
เหตุผล ในแต่ละวันพืชนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  ในช่วงไม่ต้องใช้แสงมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการหายใจ  เพราะปฏิกิริยาไม่ต้องใช้แสงนั้นเกิดได้ทุกเวลาไม่จำเป็นว่าจะต้องมีหรือไม่มีแสง

6.  เฉลยข้อ  ค
เหตุผล เลนทิเซล (Lenticel)  เป็นรอยแตกเล็กๆ บนลำต้นหรือกิ่งของพืชบางชนิด ทำให้อากาศสามารถผ่านเข้าออกได้

7.  เฉลยข้อ  ก
เหตุผล เนื่องจากการตัดต้นไม้หรือกิ่งไม้ออกจากต้นเดิม เซลล์ในส่วนนี้ยังไม่ตาย  จึงยังมีการหายใจและขบวนการเมแทบอลิซึมอยู่ เมื่อนำกิ่งไม้ที่ตัดออกจากต้นเหล่านั้นมากองรวม ๆ กัน  อุณหภูมิในกองนั้นจะสูงกว่าปกติ

8.  เฉลยข้อ  ข
เหตุผล เมื่อเราเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชออกมาจากต้นเดิมแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของพืช อาหารและน้ำในส่วนของผลผลิตนั้นจะสูญเสียไปเนื่องจากการหายใจโดยไม่มีการชดเชยจากแหล่งอื่น  ผลไม้หรือผลผลิตเหล่านั้นจึงเหี่ยวเฉา  หรือมีน้ำหนักลดลง

9.  เฉลยข้อ  ง   จากการศึกษาของนักวิชาการเกษตรพบว่า  อัตราการหายใจของผลผลิตทางการเกษตรสามารถวัดได้จากปริมาณออกซิเจนที่ใช้ไป  หรือปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาในระหว่างเซลล์มีการเจริญพัฒนาจนกระทั่งหมดอายุ

10.   เฉลยข้อ  ง
เหตุผล ผักผลไม้ที่มีอัตราการหายใจสูง  จะมีอายุหลังเก็บเกี่ยวสั้น  คือ  เด็ดออกมาจากต้นทิ้งไว้ไม่นานก็เหี่ยวเฉา  ส่วนผักผลไม้ที่มีอัตราการหายใจต่ำจะมีอายุหลังเก็บเกี่ยวนานกว่า  หมายถึง  เด็ดออกมาจากต้นแล้วทิ้งไว้ได้นานกว่าจะเหี่ยวเฉา

11.  เฉลยข้อ  ง
เหตุผล  น้ำผ่านทางรากไม่ต้องใช้พลังงาน  เพราะจะมีการแพร่การออสโมซิส  และอิมบิบิ  ชัน แต่ไม่มีแอกทีฟทราสปอร์ต เพราะแอกทีฟทรานสปอร์ตต้องใช้พลังงาน 

12.  เฉลยข้อ  ข
เหตุผล  ขนรากที่มีอายุน้อย ๆ จะมีแวคิวโอลหลายอัน  เมื่อเซลล์อายุมากขึ้นจะเก็บน้ำใน  เซลล์มากขึ้น  ทำให้แวคิวโอลมีขนาดใหญ่ขึ้น  แวคิวโอลขนาดเล็ก ๆ จะรวมกัน  จนอาจพบได้เพียงอันเดียว

13.  เฉลยข้อ  ค
เหตุผล  โดยปกติแล้วสารละลายที่อยู่รอบ ๆ รากจะมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลาย   ภายในราก  น้ำภายนอกจึงจะออสโมซิสเข้ารากได้  ในกรณีกลับกันเมื่อสารละลาย  ภายนอกรากมีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายในราก  จะทำให้น้ำจากราก   ออสโมซิสออก

14.  เฉลยข้อ  ก
เหตุผล  การลำเลียงน้ำจากรากขึ้นไปสู่ใบจะผ่านขั้นตอนดังต่อไปนี้
  เอพิเดอร์มิสซึ่งเป็นเซลล์เดียวกันกับขนรากผ่านคอร์เทกซ์เข้าไซเลม  ซึ่งต่อเนื่อง  ไปถึงเส้นใบ (Vein)

15.  เฉลยข้อ ค
เหตุผล  ต้นที่สามจะไม่เหี่ยวหรือเหี่ยวก็เหี่ยวน้อยที่สุด  เพราะไม่ได้ทิ้งให้ต้นไม้เหี่ยวก่อน  นำไปตัดใต้น้ำแล้วจึงแช่สี  ทำให้ไม่มีฟองอากาศในท่อลำเลียง  น้ำสีจะเข้าสู่ลำต้น  ได้เร็วที่สุด  ต้นจึงไม่เหี่ยว

16.  เฉลยข้อ  ง
เหตุผล  ภาวการณ์สูญเสียน้ำในรูปหยดน้ำ (Guttation) เกิดในสภาวะที่ความชื้นในอากาศ  สูง  พืชไม่สามารถคายน้ำทางปากใบได้  จึงเกิดการคายน้ำออกทางรู  Hydathode   การคายน้ำแบบนี้เรียกว่า Guttation 

17.  เฉลยข้อ  ก
เหตุผล  อาหารที่สร้างที่ใบด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น   เมื่อส่งไปยังรากจะถูก  ใช้ไปในกระบวนการหายใจระดับเซลล์  ทำให้ได้พลังงานและนำไปใช้ในการ  เจริญเติบโตในระบบราก ส่วนที่เหลือยังเก็บสะสมเอาไว้ในรากเช่น  รากกระชาย    ถั่วพู  หัวผักกาด  มันเทศ

18.  เฉลยข้อ  ค
เหตุผล  Tracheid  เป็นท่อของ ไซเลมไม่ใช่ของโฟลเอ็ม

19. เฉลยข้อ  ค
เหตุผล  สารเคมีที่พืชส่งไปลำเลียงได้ง่าย  คือ  สารละลายกลูโคส

20. เฉลยข้อ  ก
เหตุผล  เมือพืชสังเคราะห์อาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้ว พืชจะส่งอาหาร  ไปเก็บสะสมไว้ในเซลล์Parenchyma  ซึ่งเป็นเซลล์อ่อนนุ่ม  อมน้ำได้ดี

21. เฉลยข้อ ง
เหตุผล  ในท่อโฟลเอ็มมีการลำเลียงอาหารของต้นพืชที่เป็น  Host  ดังนั้น Rootless and    Parasitic  climbing  plant  จะส่ง Sucker  เข้าไปในส่วนโฟลเอ็ม

22.  เฉลยข้อ  ง
เหตุผล  น้ำผ่านทางรากไม่ต้องใช้พลังงาน  เพราะจะมีการแพร่การออสโมซิส  และอิมบิบิ  ชัน แต่ไม่มีแอกทีฟทราสปอร์ต เพราะแอกทีฟทรานสปอร์ตต้องใช้พลังงาน 

23.  เฉลยข้อ  ข
เหตุผล  ขนรากที่มีอายุน้อย ๆ จะมีแวคิวโอลหลายอัน  เมื่อเซลล์อายุมากขึ้นจะเก็บน้ำใน  เซลล์มากขึ้น  ทำให้แวคิวโอลมีขนาดใหญ่ขึ้น  แวคิวโอลขนาดเล็ก ๆ จะรวมกัน  จนอาจพบได้เพียงอันเดียว

24.  เฉลยข้อ  ค
เหตุผล  โดยปกติแล้วสารละลายที่อยู่รอบ ๆ รากจะมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลาย   ภายในราก  น้ำภายนอกจึงจะออสโมซิสเข้ารากได้  ในกรณีกลับกันเมื่อสารละลาย  ภายนอกรากมีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายในราก  จะทำให้น้ำจากราก   ออสโมซิสออก

25.  เฉลยข้อ  ก
เหตุผล  การลำเลียงน้ำจากรากขึ้นไปสู่ใบจะผ่านขั้นตอนดังต่อไปนี้
  เอพิเดอร์มิสซึ่งเป็นเซลล์เดียวกันกับขนรากผ่านคอร์เทกซ์เข้าไซเลม  ซึ่งต่อเนื่อง  ไปถึงเส้นใบ (Vein)

26.  เฉลยข้อ ค
เหตุผล  ต้นที่สามจะไม่เหี่ยวหรือเหี่ยวก็เหี่ยวน้อยที่สุด  เพราะไม่ได้ทิ้งให้ต้นไม้เหี่ยวก่อน  นำไปตัดใต้น้ำแล้วจึงแช่สี  ทำให้ไม่มีฟองอากาศในท่อลำเลียง  น้ำสีจะเข้าสู่ลำต้น  ได้เร็วที่สุด  ต้นจึงไม่เหี่ยว

27.  เฉลยข้อ  ง
เหตุผล  ภาวการณ์สูญเสียน้ำในรูปหยดน้ำ (Guttation) เกิดในสภาวะที่ความชื้นในอากาศ  สูง  พืชไม่สามารถคายน้ำทางปากใบได้  จึงเกิดการคายน้ำออกทางรู  Hydathode   การคายน้ำแบบนี้เรียกว่า Guttation 

28.  เฉลยข้อ  ค
เหตุผล  Tracheid  เป็นท่อของ ไซเลมไม่ใช่ของโฟลเอ็ม

29. เฉลยข้อ  ค
เหตุผล  สารเคมีที่พืชส่งไปลำเลียงได้ง่าย  คือ  สารละลายกลูโคส

30. เฉลยข้อ  ก
เหตุผล  เมือพืชสังเคราะห์อาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้ว พืชจะส่งอาหาร  ไปเก็บสะสมไว้ในเซลล์Parenchyma  ซึ่งเป็นเซลล์อ่อนนุ่ม  อมน้ำได้ดี

ย่อ