พบได้ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร คือ ตั้งแต่ละติจูดที่ 0 องศา ไปจนถึง 34 องศาเหนือและใต้ ถ้ามองจากนอกโลก บริเวณป่าเขตร้อนจะมีสีเขียวเข้มที่สุด
นักวิชาการหลานท่านจึงตั้งชื่อบริเวณนี้ว่า “เข็มขัดสีเขียว” หรือ “Green Belt” อันเป็นถิ่นที่สิ่งมีชีวิตมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ อาศัยอยู่ มีปริมาณฝนตกชุกที่สุด และมีความหลากหลายของพืชมากที่สุด และมีความหลากหลายของพืชมากที่สุด เช่นในป่าเขตร้อนของเกาะบอร์เนียว พื้นที่เพียง 1 ตารางกิโลเมตร อาจมีไม้ยืนต้นอยู่มากกว่า 1,000 ชนิด
ในขณะที่พื้นที่เท่ากันในประเทศแคนาดา อาจพบไม้ยืนต้นเจริญงอกงามอยู่ไม่เกิน 10 ชนิดเท่านั้น สำหรับไม้เด่นในสังคมป่าเขตร้อน ได้แก่ ไม้ยาง (วงศ์ Dipterocarpaceae) โดยทั่วโลกสำรวจพบไม้วงศ์นี้แล้วไม่น้อยกว่า 680 ชนิด
ป่าเขตร้อนสามารถแยกย่อยได้ 4 ประเภท ดังนี้
- ป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest)
- ป่าผลัดใบเขตร้อน (Tropical Moist Deciduous)
- ป่าทุ่งหญ้า (Tree Savanna)
- ป่าแล้ง (Dry Forest)

ที่มา : www4.msu.ac.th/.../g16-NatureExplorer/img34.jpg
โดยป่าเหล่านั้นกระจายอยู่ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ บริเวณลุ่มน้ำอะเมซอนในอเมริกาใต้ ลุ่มน้ำคองโกในแอฟริกากลาง หมู่เกาะในฟิลิปปินส์ ตอนเหนือของออศเตรีย หมู่เกาะอินดีสตะวันตก และเกาะมาดากัสการ์ รวมแล้วมีพื้นที่เท่ากับ7 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นดินทั้งหมดบนโลก
มองเผิน ๆ อาจไม่มากนัก แต่ความริงป่าประเภทนี้มีปริมาณพืชหนาแน่น และมีชนิดพันธุ์ไม้มากที่สุด จึงเป็นแหล่งผลิตไม้หลักหล่อเลี้ยงชาวโลก ป่าเขตร้อน คือ สังคมของสิ่งมีชีวิตของที่สลับซับซ้อน ซึ่งคาดว่ายังมีสิ่งมีชีวิตไม่ต่ำกว่า 2 ล้านชนิดในป่าเขตร้อนที่ยังไม่ได้รับการค้นพบ
ภายใต้ร่มเงาของป่าเขตร้อนเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันจนเกิดเป็นความสัมพัน์ลึกซึ้ง อาจกล่าวได้ว่าทุกตารางนิ้วของป่าเขตร้อยเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ต่างต้องพึ่งพากันเพื่อต่อเติมระบบนิเวศป่าเขตร้อนให้มั่งคั่ง หลากลีลาชีวิตในป่าเขตร้อนมีรูปแบบความสำคัญต่างกันไปตามครรลองของธรรมชาติ ทั้งในแบบพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธืแบบแก่งแย่งแข่งขัน หรือความสัมพันธ์ในลักษณะเบียดเบียน เช่น ดอกบัวผุด (Rafflesia) ที่ดำรงชีวิตด้วยการอาศัยรากพืชอิ่น แล้วขโมยดูดน้ำเลี้ยงจากพืชเจ้าบ้าน
|