ดาวหาง
แหล่งกำเนิดของดาวหาง
เชื่อกันว่าเป็นวัตถุที่เหลือจากการสร้างระบบสุริยะ
เป็นคล้ายบริวารรอบนอกของระบบ ตามปกติจะมีดาวหางจำนวนหนึ่งโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ แล้วกลับคืนออกไปขอบนอกของระบบสุริยะ
แต่มีบางดวงที่โคจรอยู่ภายในระบบสุริยะ
ส่วนประกอบของดาวหาง
เมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากๆ จะมีลมสุริยะ
ทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นไออนถูกผลักดันไปในทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์
หางของมันจะมีความยาวมากเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และจะชี้ออกจากดวงอาทิตย์เสมอ

ส่วนหัวของดาวหางจะเป็นก้อนน้ำแข็ง
ก๊าซแข็งสกปรกและฝุ่นละออง
ส่วนหาง
มี 2 ประเภท คือ หางฝุ่นมักมีสีเหลืองสั้นและมักจะโค้ง
หางไอออนหรือหางพลาสมา มักมีสีน้ำเงินและเหยียดตรง
ดาวหางบางดวงมีหางอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
แต่บางดวงก็มีทั้ง 2 ประเภท
ดาวหางทุกดวงมีกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนห่อหุ้มอยู่
การโคจรของดาวหางและการค้นพบ
ส่วนมากโคจรเป็นรูปวงรี อาจตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกาก็ได้
ปีหนึ่งๆ จะมีดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์แล้วสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ประมาณ
6-7 ดวง
การเรียกชื่อดาวหาง
เรียกชื่อตามปีคริสตศักราชตามด้วยอักษรอังกฤษตัวเล็ก ตั้งชื่อตามผู้ต้นพบบางครั้งตั้งชื่อตามผู้ทำการคำนวณ
|