ชื่อ มารี
คูรี ( Marie Curie ) เกิดเมื่อ 9
พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 สถานที่เกิด ประเทศโปแลนด์
ผลงาน
ค้นพบธาตุเรเดียม
ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
ปี 1911 ถึงแก่กรรม 4
กรกฎาคม ค.ศ. 1934
ประวัติโดยย่อ
มารี
คูรี เป็นบุตรีของศาสตราจารย์ วลาดิสลาฟ สโคลโดว์สกา
มารีได้ศึกษาร่ำเรียนวิชาวิทยาศาสตร์จากบิดาตั้งแต่เด็ก
ทำให้เธอสนใจวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก จึงเดินทางไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยซอร์บอน
ประเทศฝรั่งเศส เธอได้พบรักกับ ปีแอร์ คูรี่ นักเคมีและฟิสิกส์
ทั้งสองแต่งงานกันในปี 1895 มารีและปิแอร์ร่วมกันค้นคว้าเกี่ยวกับรังสียูเรเนียม
ทั้งสองพบแสงที่ปรากฏออกมาจากธาตุยูเรเดียม ทำให้ภาพถ่ายมีรอยเมื่อห่ออยู่ในกระดาษสีดำ
มารีจึงตัดสินใจค้นคว้าเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ในปีค.ศ.
1879 มาดามคูรีให้กำเนิดบุตรสาวชื่อไอรีน ซึ่งต่อมาไอรีนกลายเป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงได้รับรางวัลโนเบลไพร๊ซ์ในปีค.ศ.1935
ทั้งสองศึกษาและค้นคว้าอย่างจริงจังจนพบแร่ที่เรียกว่า
" พิทซ์เบลนด์ " มารีให้ชื่อแร่ที่พบว่าโปโลเนี่ยม
และเปลี่ยนมาเป็นเรเดียมซึ่งมีคุณสมบัติสูงกว่ายูเรเดียมถึง2ล้าน5แสนเท่า
ทั้งคู่พบรังสีเรเดียมที่ทำให้รู้สึกร้อนต่อผิวหนัง
คุณสมบัตินี้นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเนื้อร้ายได้ช่วยให้คนรอดชีวิตเป็นจำนวนมาก
ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีค.ศ.
1903 และด้รับเหรียญเดวีจากสมาคมวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ
ในปีค.ศ. 1906 ปีแอร์ประสบอุปัทวเหตุเสียชีวิต
มารีเสียใจมากจนเกือบจะทิ้งผลงานที่ค้างไว้
แต่หลังจากนั้นเธอก็หันกลับมาค้นคว้างานของเธอ
จนประสบความสำเร็จอีกครั้งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใปี1911
ภายหลังมารีได้ป่วยจากการอ่อนเพลีย หมดแรงอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากเธออยู่กับรังสีของแร่เรเดียมมากจนในค.ศ.1934เธอก็เสียชีวิตลง
|