วิวัฒนาการของมนุษย์

สร้างโดย : นายสมบูรณ์ กมลาสนางกูร
สร้างเมื่อ เสาร์, 22/11/2008 – 21:18
มีผู้อ่าน 170.958 ครั้ง (26/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/18277

วิวัฒนาการของมนุษย์

             วิวัฒนาการ ในความหมายทั่วไป หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง  ในลักษณะจองการค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขึ้นโดยอาศัยระยะเวลาอันยาวนาน  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจากสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมสืบต่อกันมาจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน  ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมอันเป็นผลจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม  ดอบซานสกี (Dobzhansky)  นักพันธุศาสตร์และวิวัฒนาการชาวรัสเซีย ได้กล่าวไว้ดังนี้  “วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  คือกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ส่วนประกอบของพันธุกรรมของประชากรที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน  โดยการเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดอันเป็นผล มาจากปฏิกิริยาที่สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม  กระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่มีกาย้อนกลับเป็นอย่างเดิมอีก”

วิวัฒนาการของมนุษย์(evolution)

             เมื่อประมาณ 20 ล้านปีที่ผ่านมา  เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  โดยมีทุ้งหญ้าขึ้นมาทดแทนป่าที่อุดมสมบูรณ์   ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิด  มีวิวัฒนาการมาดำรงชีวิตบนพื้นดินมากขึ้น  จากหลักการซากดึกดำบรรพ์และการเปรีบยเทียบลำดับเบสบน DNA ระหว่างมนุษย์และชิมแปนซี  พบว่ามนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7-5 ล้านปีที่ผ่านมา                                                                                                                              

ตามการจำแนกแบบอนุกรมวิธาน นักชีววิทยาได้จัดให้มนุษย์อยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้

 Kingdom         Animalia
 Phylum Chordata 
 Class Mammalia 
 Order Primate 
 Family Hominidae 
 Genus Homo 
 Spicies Homo  sapiens

            จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์  นักบรรพชีวินได้คาดคะเนลำดับขั้นตอนการสืบสายวิวัฒนาการของมนุษย์ได้  ดังนี้

           ออร์เดอร์ ไพรเมต (Primate)เป็นออร์เดอร์หนึ่งในจำนวนทั้งหมด 17 ออร์เดอร์ในคลาสแมมมาเลียการจำแนกสัตว์อยู่ในออร์เดอร์นี้ขึ้นอยู่กับลักษณะหลายๆลักษณะมารวมกันซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นผลมาจากวิวัฒนาการของสัตว์พวกนี้ในการอาศัยอยู่บนต้นไม้ ทำให้มีลักษณะมือขาและการใช้ประสาทรับความรู้สึกต่างๆให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสิ่งเเวดล้อมดังกล่าวแต่มีวิวัฒนาการของบางลักษณะที่เป็นผลจากวิวัฒนาการในช่วงหลังๆที่เป็นไปเพื่อการดำรงชีวิตอยูบนพื้นดิน  ลักษณะของออร์เดอร์ไพรเมต คือมีนิ้ว 5 นิ้ว ปลายนิ้วมีเล็บแบน นิ้วยาว นิ้วหัวแม่มือพับขวางกับนิ้วอื่นได้ดี สมองใหญ่ จมูกสั้น ตาชิดกัน (ทำให้สามารถมองภาพจากสองตามาซ้อนกันเกิดเป็นภาพสามมิติซึ่งดีต่อการดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้)ขากรรไกรห้อยต่ำในออร์เดอร์ไพรเมตมีสมาชิกทั้งหมด 180 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก ได้เเก่ มนุษย์ ลิงลม ลิงทาเซียร์ ลิงแสม ลิงมาโมเซต กอริลลา ชิมแพนซี และอุรังอุตัง

            ลักษณะสำคัญของแฟมิลีโฮมินิดี(Hominidae) คือมีเขี้ยวเล็กและอยู่ในระดับเดียวกับฟันอื่นๆ เดิน 2 ขา เนื่องจากเปลี่ยนวิถีชีวิตจากบนต้นไม้มาสู่พื้นดิน แต่ก่อนเคยคิดว่าประกอบด้วย  จีนัสคือ รามาพิเทคัส

             มนุษย์วานร มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก สูงประมาณ1 – 1.5 เมตร และหนักประมาณ 68 กิโลกรัม มีโครงกระดูกที่แข็งแรง และรูปแบบของฟันคล้ายมนุษย์ในปัจจุบัน บริเวณลำคัว อาจไมีมีขน ขณะวิ่งลำตัวจะตั้งตรง อยู่กันเป็นกลุ่ม20-30 คน สามารถใช้หินหรือ เครื่องมือง่ายๆ เช่น กระดูกบสัตว์ สำหรับล่าสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นอาหารได้ นักวิทยาศาสตร ์ได้ ้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ พวกนี้ที่บริเวณตอนใต้และตะวันออกของทวีปแอฟริกา จึงให้ชื่อว่า Australpithecus africanus ต่อมาจึงพบมนุษย์วานรพวกนี้อีก มีรูปร่างและขนาดใหญ่กว่าA.africanus จึงเรียกว่า A.robustus มนุษย์วานรชนิดนี้มีขากรรไกรขนาดใหญ่เทอะทะแสดงให้เห็นว่ากินพืชเป็นอาหาร จนกระทั่ง ค.ศ.1947Donald   Joanson ก็ได้ค้นพบมนุษย์วานรพวกนี้อีกชนิดหนึ่งบริเวณทางตินเหนือของประเทศเอธิโอเปีย
มีชื่อเรียกว่า A.afarensis ซึ่งถือว่ามี ความใกล้ชิดกับบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบันมาก  Genus Homoเป็นไพรเมตที่สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตได้แล้วถือว่าเป็นกลุ่มที่มีวิวัฒนาการสูงที่สุด ได้แก่ มนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งมีสายวิวัฒนาการมาจากวานร แล้วเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ ดังนี้

  1. Homo habilis เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของมุษย์ ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ชนิดนี้ที่บริเวณภาค ตะวันออกของแอฟริกา มีอายุประมาณ 2-4 ล้านปี มีขนาดสมองประมาร 800 ลูกบาศก์เซนตเมตร และมีฟันที่แสดงให้เห็นว่ากินเนื้อสัตว์ เป็นอาหารด้วย จึงจัดเป็นผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า มนุษย์ ชนิดนี้อาจจะยังมีขนแบบลิงอยู่แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ามนุษย์ชนิดนี้เป็นมนุษย์พวกแรกที่รู้จักการใช้หินมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือหรือเครืองใช้ในการดำรงชีวิตได้
  2. Homo  erectus เป็นมนุษย์ที่มีใบหน้าตั้งตรงเหมือนมนุษย์ยุคใหม่แล้ว มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรง โดยขากรรไกรจะเริ่มหดสั้นกว่า  Homo habilis ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับรูหู มีขนาดสมองประมา1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เชื่อกันว่ามนุษย์ชนิดนี้ไม่มีขนแบบลิงแล้ว และมีการกระจายตั้งแต่แอฟริกาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และยุโรป มนุษย์ยุคนี้เริ่มรู้จักการใช้ไฟ และประดิษฐ์ เครื่องมือต่างๆ จากก้อนหินได้ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงจัดให้เป็นมนุษย์แรกเริ่ม(Early  man) ที่รู้จักกันดีก็คือมนุษย์ชวา (Java ape man)และมนุษย์ปักกิ่ง(Peking man) สำหรับมนุษย์ปักกิ่งนั้นถูกค้นพบซากอยู่ที่ถ้ำ จูกูเทียน(Zhoukoudian)ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้ทราบว่ามนุษย์ยุคนี้รู้จักการใช้ไฟ มีการล่าสัตว์โดยใช้ขวานหิน และในบางครั้งมนุษย์ปักกิ่งเป็นพวกที่กินเนื้อมนุษย์พวกเดียวกันอีกด้วย
  3. Homo sapiens neanderthalensis  หรือ มนนุษย์ดีแอนเดอร์ทัล  เป็นมนุษย์ที่พบว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงทีน้ำส่วนใหญ่ของโลกกลายเป็นน้ำแข็งโดยซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีอายุประมาณ 1 แสน ถึง 1 ล้านปี มีขนาดสมองประมาณ 1450 ลูกบาศก์เซนติเมตร ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับเหนือรูหู มีขากรรไกรล่างสั้นลักษณะหน้าผากเป็นสันนูนและลาดกว่ามนุษย์ในปัจจุบันสามารถยืนโดยลำตัวตั้งตรงรู้จักการใช้ไฟ การล่าสัตว์ รูจักประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆโดยใช้หินคนที่ตายแล้วจะถูกนำไปฝังพร้อมกับช่อดอกไม้ อาหาร และอาวุธ มนุษย์พวกนี้รู้จักการหาที่อยู ่ อาศัยทั้งในถ้ำ หุบเขา หรือที่ราบ พบกระจายในบริเวณต่างๆกว้างขวางมากตั้งแต่ยุโรปตะวันออกกลาง แอฟริกา ไปจนถึงประเทศจีน
  4. Homo  sapiens  sapiens หรือ มนุษย์โครมายอง(Cro – Magnon man) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบัน กล่าวคือ มีกะโหลกศีรษะโค้งมน มากขึ้น ขากรรไกรหดสั้นลงกว่ามนุษย์นีแอนด์เดอร์ทัลมาก และแก้มนูนเด่นชัดขึ้น แม้ว่ามนุษย์ ชนิดนี้จะมีใบหน้าเล็กแต่ก็มีสมองขนาดใหญ่ประมาณ 1300-1500 ลูกบาศก์เซนติเมตรซึ ่งมีความเฉลียวฉลาดสามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆสำหรับดำรงชีพและรู้จักการเขียนภาพต่างๆด้วยจากการศึกษาพบว่ามนุษย์โครมายองมีชีวิตอยู่ใน ช่วงประมาณ 50000 ปีมาแล้ว

            จากการศึกษา การกระจายของมนุษย์ในอดีต พบว่ามนุษย์วานร พวก Australopihecus sp.อาศัยอยู่ในแถบเอธิโอเปีย ทนวาเนีย และเคนยา ซึ่งเป็นแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ส่วนพวกมนุษย์ที่แท้จริงพวกแรกๆ คือ Homo habilis และ Homo erectus พบว่ามีการกระจายเป็นบร ิเวณกว้างกว่า กล่าวคือ พบทั้งในแถบตะวันออกและทางใต้ของทวีปแอฟริกา ยุโรป จีน และอินดดนีเซีย สำหรับมนุษย์นีแอนด์เดอร์ทัลนั้นพบซากดึกดำบรรพ์ค่อนข้างมากในทวีปยุโรปเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกะโหลกของไพรเมตตั้งแต่ยุคแรกๆจนกระทั่งถึงมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณ ะต่างๆ หลายประการ เช่นรูปทรง ลักษณะขนาดและสัดส่วนต่างๆของกะโหลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยาว และขนาดของขากรรไกร ลักษณะของหน้าผาก และรูปแบบการ จัดเรียงตัวของฟัน เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สายวิวัฒนาการต่อเนื่องกันเป็นลำดับ

             การศึกษาเรื่องราววิวัฒนาการของมนุษย์เป็นเวลายาวนานทำให้มนุษย์วิทยาอธิบายถึงความเกี่ยวโยงกันของบรรพบุรุษมนุษย์ในอดีตเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบันได้ โดยเชื่อกันว่าในช่วงเวลาประมาณ 15 ล้านปีมาแล้วนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกจนเกิดเป็นRamapithecusซึ่งเป็นมนุษย์วานรยุคแรกๆที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างไพรเมตกับบรรพบุรุษของมนุษย์ในเวลาต่อมามนุษย์วานรพวกนี้อาศัยอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือตามชายป่า  กินพืช  ผัก  ผลไม้เป็นอาหารยังมีพฤติกรรมคล้ายลิงไม่มีหางอยู่มาก ต่อมาจึงวิวัฒนาการเป็นพวกAustralpithecus  ชนิดต่างๆซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงประามาณ 5 ล้านปีมาแล้วมนุษย์วานรพวกนี้เริ่มเดินด้วยลำตัวที่ตั้งตรงได้ดีขึ้นช่งวยให้มองเห็นผู้ล่าแ ละเหยื่อได้อย่างมีประสิธิภาพ แต่ยังมีลักษณะโบราณอยู่คือมีขากรรไกรขนาดใหญ่ หน้าผากลาดไปด้านหลัง ขนาดสมองยังเล็กเมื่อเทียบกับใบหน้าขนาดใหญ่ พวกเขาสามารถล่าสัตว์กินเป็นอาหาร ซึ่งนับเป็นจุดหักเหสำคั ที่มนุษย์วานรเปลี่ยนแปลงจากการกินพืชผักมาเป็นกินเนื้อสัตว์ด้วย ต่อมาประมาณ 2 ล้านปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของบรรพบุรุษของมนุษย์ คือ Homo habilsซึ่งรู้จักการตั้งถิ่นฐานมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่เพศชายออกล่าอาหารเพศหญิงก็ดูแลลูกอ่อน รักษาผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือออกหาผลไม้ มนุษย์ยุคนี้เริ่มมีความผูกพันธ์ต่อกันเป็นสังคม  เริ่มต้นที่มีการเลือกคู่ไม่สมสู่กันเหมือนไพรเมตชนิดอื่นๆ  เมื่อมาถึงยุคของ Homoerectus  ซึ่งถือว่าเป็นมนุษย์แรกเรื่มนั้น วิวัฒนาการขยองมนุษย์ก้าวไปมากขึ้น รู้จักการใช้ไฟ เพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในยุคนั้นรู้จักการใช้หอกไม้ในการล่าสัตว์ใหญ่ๆเช่น กวาง ม้า รู้จักการหุงต้มอาหารให้สุก รู้จักการใช้หนังสัตว์ เป็นเครื่องนุ่งห่ม จนกระทั่งเมื่อ 3 แสนปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของมนุษย์ยุคใหม่ คือ  Homo sapiens ซึ่งได้พัฒนารูปแบบสมองใหมีขนาดใหญ่ขึ้น แม้จะมีใบหน้าเล็กก็ตาม ส่วนของขากรรไกรสั้นลง หน้าผากเกือบตั้งตรง  ทำให้รูปโฉมใบหน้าเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากนี้ยังสามารถทรงตัว และเคลื่อนที่ด้วยขา 2 ขาในขณะที่ลำตัวตั้งตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            สำหรับมนุษย์ในปัจจุบันนั้น นักมนุษยวิทยาพบว่า มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากมนุษย์ในอดีตอยู่หลายประการ คือ

  1. ยืนตัวตรง เคลื่อนที่ด้วยขา 2 ขา ช่วงขายาวกว่าช่วงแขน
  2. หัวแม่มือสั้นและงอ พับเข้ามาที่อุ้งมือได้ สามารถงอนิ้วทั้ง 4 ได้ จึงใช้จับ ดึง ขว้าง ทุบ ฉีก แกะ และทำกิจกรรมต่างๆได้ รวมทั้งการออกแบประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ได้
  3. กระดูกคอต่อจากใต้ฐานหัวกะโหลก กระดูกสันหลังโค้งเล็กน้อย เป็นรูปตัว เอสและสมองมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับร่างกาย หน้าสั้นแบน หน้าผากค่อนข้างตั้งตรงขากรรไกรสั้น
  4. กระดูกสะโพกกว้าง ใหญ่และแบนให้กล้ามเนื้อเกาะเพื่อให้ลำตัวตั้งตรงเท้าแบนร่างกายไม่ค่อยมีขนแนวฟันโค้งเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม

              การศึกษาค้นคว้าเปรียบเทียบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในอดีต    นอกจากทำให้นักมนุษยวิทยาทราบความเป็นมา ของบรรพรุษมนุษย์ในอดีตแล้ว  ยังทำให้สามารถอธิบายถึงความเป็นอยู่ และการดำลงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุดได้อีกด้วย  คือ
      1.  การอยู่เยี่ยงเดรัจฉาน ( savagery ) เป็นยุดที่มนุษย์เพศชายยังทำหน้าที่ล่าสัตว์และแสวงหา พืช  ผัก ผลไม้เป็นอาหารตามธรรมชาติ  แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
           1.1  ระยะก่อนรู้จักใช้ไฟและภาษา  ตรงกับยุดหินเช่นเก่า  ( Eolithic )  พบในมนุษย์พวก Homo  habilis
           1.2  ระยะรู้จักใช้ไฟและภาษา   ตรงกับเก่าเช่นกัน  มนุษย์พวกนี้รู้จักใช้ถํ้าเป็นที่อยู่  อาศัย  ได้แก่  พวกมนุษย์  Homo   erectus  ซึ่งก็คือ มนุษย์ชวาและ
มนุษย์ปักกิ่ง นั้นเอง
           1.3  ระยะรู้จักประดิษฐ์ธนูและลูกศร  ตรงกับยุดหินกลาง มนุษย์พวกนี้รู้จักการใช้หนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่มได้แก่ มนุษย์Homo  sapiens
      2. การอยู่อย่างป่าเถื่อน(Babarism)เป็นบยุคที่มนุษย์รู้จักการใช้โลหะทำเครื่องมือ ทำการเกษตรกรรม  ทอผ้า  สังคมในยุคนี้มีระบบทาส  เพศชายมีภรรยาได้
หลายคน   และทำหน้าที่ปกครอง  ส่วนเพศหญิงทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
           2.1 ระยะแรกประมาณ 12000 ปีมาแล้ว ยุคนี้มนุษย์รู้จักการปลูกบ้านสร้างเรือนเพื่ออยู่อาศัย รู้จักใช้ขวานมีด้ามและใช้เครื่องปั้นดินเผา
           2.2 ระยะกลางประมาณ 10000 ปีมาแล้วมนุษย์ยุคนี้รู้จักการเลี้ยงสัตง์การเกษตรกรรมรู้จักใช้สัตว์ช่วยในการไถนาหรือบรรทุกสิ่งของ
           2.3 ระยะหลังประมาณ 7000ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักใช้โลหะทำอาวุธหรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
      3. การอยู่อย่างมีอารยธรรม(Civilization)เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อความหมาย สังคมเปลี่ยนจากเกษตรกรรม
เป็นอุตสาหกรรม

                ผลจากการวิวัฒนาการในยช่วงเวลายาวนาน ทำให้มนุษย์ในปัจจุบันมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไปหลายแบบ ทั้งในแง่ของเส้นผม รูปร่าง ใบหน้า ความสูง รูปทรงศีรษะ หรือแม้กระทั่งสีผิว ทั้งๆที่ต่างก็เป็นสปีชีส์เดียวกัน มานุษยวิทยามีความเชื่อว่าในอดีตนั้นมนุษย์มีผิวสีเข้มเพียงสีเดียวเนื่องจากไม่มีขนหนาๆปกคลุมร่างกายเหมือนไพรเมตอื่นๆ จึงต้องมีผิวสีเข้ม เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิคตย์ ต่อมาเมื่อมนุษย์มรการกระจายพันธ์ไปยังบริเวณต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะในบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นหรือเขตหนาวซึ่งได้รับแสงอาทิตย์น้อยกว่าเขตร้อนมากมนุษย์จึงมีการปรับตัวที่ละน้อยๆกลายเป็นมนุษย์ที่มีสีผิวแตกต่างกัน

  1. เผ่าคอเคซอยด์(Caucasoid)มีหนวดเคราและขนตามตัวดก จมูกโด่ง มีสีผิวอ่อน ได้แก่มนุษย์ที่อาศัยในแถบยุโรปและชาวอาหรับ
  2. เผ่ามองโกลอยด์(Mongoloid)มีหนวดเคราและขนตามตัวน้อย จมูกแฟบ โหนกแก้มสูง ตาชั้นเดียว มีผิวสีเห,ืองหรือสีน้ำตาล ได้แก่ มนุษย์แถบเอเชียและชาวเอสกิโม
  3. เผ่านีกรอยด์(Negroid)มีผมหยิก ผิวดำ จมูกแฟบ ริมฝีปากหนา ได้แก่พวกปิกมี ZPigme)หรือพวกที่อยู่ทางใต้ทะเลทรายซาฮารา
  4. เผ่าออสเตรลอยด์(Australoid)มีขนและเคราดำ ผมหยิก ผิวดำ ได้แก่ชนพื้นเมืองของออสเตรเลีย และหมู่เกาะฟิลิปปินส์          

              จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นไม่หยุดนิ่ง มนุษย์รู้จักใช้เหตุผลเพื่อปรับปรุงการดำรงชีพให้เหมาะสม สามารถสร้างเครื่องมือนานาชนิดในการดำรงชีพมนุษย์รู้จักคิดและใช้ปัญยาในการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์โดยอาศัยปัญหาในอดีตเป็นแนวทางเพื่ออนาคต   รู้จักริเริ่มการมีภาษาพูด   ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนาและจริยธรรมเมื่อรวมกลุ่มเป็นสังคมก็มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นวสืบทอด หลายบชั่วอายุตลอดมา    มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

              นักวิทยาศาสตร์ ชื่อ ทีดอบฮานสกี(T. Dobhansky)ได้ให้ความเห็นว่ามนุษย์ ยังมีวิวัฒนาการอยู่ แต่ในทางชีวภาพก็ยังไม่ทราบว่าจะเป็นวิวัฒนาการไปในทิศทางใด  นอกจากทางชีวภาพแล้ว มนุษย์ยังมีวิวัฒนาการในทาง วัฒนธรรมอีกด้วย นก ค้างคาว หรือแมลง กว่าจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่บินได้ต้องอาศัยเวลาปรับตัวทางยีนเป็นเวลานับล้านปี แต่มนุษย์ก็สามารถ บินได้เช่นกัน ดดยเครื่องบินชนิดต่างๆ โดยไม่ต้องสร้างยีนขึ้นมาใหม่ และยังมีความก้าวหน้าในการคิดค้นประดิษฐ์เคื่องมือเครื่องใช้มากมายหลายชนิด การวิวัฒนาการ ทางวัตถ ุต่างๆก็อาจมีผลทำให้เกิดวิวัฒนาการทางชีวภาพไปด้วย ผลของการวิวัฒนาการต่อไปในโอกาสข้างหน้าก็เป็นเรื่องที่อาจคาดคะเนได้แต่จะเป็นไปตามการคาดคะเน หรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามกันต่อไปค่ะ

                                      *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*

แหล่งอ้างอิง:

  • หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม  ชีววิทยา เล่ม 5
  • http://www3.pantown.com/data/21821/board4/7520070829130301.jpg
  • http://www.geocities.com/anek04/evolution/image/human1.jpg
  • http://www.baanjomyut.com/library/human_evolution/index.html
  • http://eco-town.dpim.go.th/webdatas/HighMoon/03garbagekind.jpg