เปิดโลกหลักภาษา
สร้างโดย : นางอัญชลีพร ลาบุญ
สร้างเมื่อ จันทร์, 22/12/2008 – 22:11
มีผู้อ่าน 131,608 ครั้ง (08/01/2023)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/19074
คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ เป็นคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และบุคคลทั่วไป คำราชาศัพท์สำหรับคนทั่วไปเรียกว่า คำสุภาพ
คำนาม
เมื่อจะใช้เป็นคำราชาศัพท์ต้องเติมคำว่า “พระ” และ “พระราช”หน้าคำ เช่น พระชนมายุ พระราชดำริ พระราชทรัพย์ พระราชวัง ฯลฯ คำที่มีความสำคัญมากจะใช้คำ “พระบรม” “พระบรมราช” นำหน้าคำ เช่น พระบรมราชโองการ พระบรมราชชนก พระบรมราชจักรีวงศ์ ฯลฯ
- หมวดร่างกาย นำด้วย “พระ” มีดังนี้
- พระพักตร์ (ดวงหน้า) พระปราง (แก้ม) พระนาสิก (จมูก)
- พระหัตถ์ (มือ) พระเศียร (ศีรษะ) พระเนตร (ตา)
- พระกรรณ (หู) พระโอษฐ์ (ปาก) พระบาท (เท้า)
- พระกร (ปลายแขน) พระทนต์ (ฟัน) พระนขา (เล็บ) พระอุระ (อก) พระโสณี (ตะโพก) พระอุทร (ท้อง)
- หมวดเครื่องใช้ เครื่องประดับ มีดังนี้
- นำด้วย”ฉลอง”
- ฉลองพระเนตร (แว่นตา) ฉลองพระองค์ (เสื้อ)
- ฉลองพระบาท (รองเท้า) ฉลองพระหัตถ์ (ช้อน)
- นำด้วย “พระ”
- พระแทน (เตียง) พระแท่นบรรทม (เตียงนอน)
- พระที่ (ที่นอนของเจ้านาย) พระเขนย (หมอนหนุน)
- พระยี่ภู่ (ที่นอน) พระวิสูตร (มุ้ง)
- พระภูษา (ผ้านุ่ง) พระสนับเพลา (กางเกง)
- พระกลด (ร่ม) พระแกล (หน้าต่าง)
- พระมาลา (หมวก) พระกุณฑล (ตุ้มหู)
- นำด้วย”ฉลอง”
- หมวดหมู่ญาติ นำด้วย “พระ” มีดังนี้
- พระอัยกา (ปู่ ตา) พระอัยยิกา พระอัยกี (ย่า ยาย)
- พระปิตุลา (ลุง-พี่ชายของพ่อ) พระปิตุจฉา (ป้า-พี่สาวของพ่อ)
- พระชนก พระบิดา (พ่อ) พระชนนี พรมารดา (แม่)
- พระเชษฐา (พี่ชาย) พระภคินี (พี่สาว)
- พระอนุชา (น้องชาย) พระขนิษฐา (น้องสาว)
- พระโอรส (ลูกชาย) พระธิดา (ลูกหญิง)
- พระนัดดา (หลาน-ลูกของลูก) พระปนัดดา (เหลน-หลานของลูก)
- พระภาคิไน (หลาน-ลูกพี่หรือลูกน้อง)
คำว่า “ทรง” “ต้น” “หลวง” จะใช้เติมคำนามธรรมดา เช่น เครื่องทรง ผ้าทรง ม้าทรง ช้างทรง ม้าต้น กฐินต้น เรือหลวง วังหลวง
คำสรรพนาม
คำสรรพนามที่ต้องเปลี่ยนให้เป็นคำราชาศัพท์ หรือเป็นคำสุภาพ คือ บุรุษสรรพนาม
สรรพนามบุรุษที่ 1 เช่น ข้าพระพุทธเจ้า เกล้ากระหม่อม กระหม่อม หม่อมฉัน กระผม ดิฉัน ผม ฉัน ข้าพเจ้า
สรรพนามบุรุษที่ 2 เช่นใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท ใต้ฝ่าพระบาท ฝ่าพระบาท ฝ่าบาท ท่าน คุณ เธอ
สรรพนามบุราที่ 3 เช่น พระองค์ พระองค์ท่าน เธอ เขา หล่อน
คำขานรับ
พระพุทธเจ้าข้า | ใช้กับ | พระราชา พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ |
พ่ะย่ะค่ะ (ชาย) | ใช้กับ | เจ้านายชั้นสูง |
เพคะ (หญิง) | ใช้กับ | เจ้านายชั้นสูง |
ขอรับกระผม (ชาย) | ใช้กับ | ผู้ใหญ่หรือข้าราชการ |
ขอรับ ครับ (ชาย) | ใช้กับ | สุภาพชนทั่วไป |
เจ้าค่ะ เจ้าขา (หญิง) | ใช้กับ | ผู้ใหญ่หรือข้าราชการ |
คะ ค่ะ ขา (หญิง) | ใช้กับ | ผู้ใหญ่หรือสุภาพชนทั่วไป |
จะ จ้ะ จ๊ะ | ใช้กับ | ผู้ที่เสมอกัน ผู้น้อย |
คำกิริยา
คำกิริยาที่ต้องเปลี่ยนเป็นคำราชาศัพท์หรือให้เป็นคำสุภาพ อาจสังเกตได้จากการอ่านข่าว ทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือจากหนังสือพิมพ์ เอกสารของทางราชการ มีข้อสังเกตดังนี้
1) ใช้ “ทรง” นำหน้าคำนาม หรือคำกิริยาธรรมดา
คำนาม | คำกิริยา |
ทรงกีฬา (เล่นกีฬา) | ทรงเจิม (เจิม) |
ทรงงานศิลปะ (ทำงานศิลปะ) | ทรงปฏิบัติ (ปฏิบัติ) |
ทรงงานอดิเรก (ทำงานอดิเรก) | ทรงผนวช (บวช) |
ทรงช้าง (ขี่ช้าง) | ทรงพิจารณา (พิจารณา) |
ทรงธรรม (ฟังเทศน์) | ทรงรัก (รัก) |
ทรงบาตร (ตักบาตร) | ทรงเลือก (เลือก) |
ทรงดนตรี (เล่นดนตรี) | ทรงสนับสนุน (สนับสนุน) |
ทรงศีล (รับศีล) | ทรงสร้าง (สร้าง) |
2) ใช้ “ทรงพระ” นำหน้าคำนาม หรือคำกริยา เช่น
- ทรงพระกรุณา (กรุณา) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ (กรุณา)
- ทรงพระเมตตา (เมตตา) ทรงพระกันแสง (ร้องไห้)
- ทรงพระสุบิน (ฝัน) ทรงพระกาสะ (ไอ)
- ทรงพระอุตสาหะ (อุตสาหะ) ทรงพระพิโรธ (โกรธ)
- ทรงพระวิริยะ (เพียร) ทรงพระสรวล (หัวเราะ)
- ทรงพระอักษร (อ่าน-เขียนหนังสือ)
3) คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ใช้ “ทรง” นำหน้า เช่น
- ตรัส (พูด) ประสูติ (เกิด)
- บรรทม (นอน) เสด็จพระราชดำเนิน (ไป)
- ประทับ ( อยู่ นั่ง) เสด็จนิวัติ (กลับ)
- โปรด (ชอบ) สรงน้ำ (อาบน้ำ)
- เสด็จสวรรคต (ตาย) เสวย (กิน)
- เสด็จประพาส (ไปเที่ยว) สรงพระพักตร์ (ล้างหน้า)
ถ้อยคำที่ใช้สำหรับพระภิกษุ
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประชาชนไทย ในภาษาไทยจึงมีการกำหนดถ้อยคำไว้จำนวนหนึ่งสำหรับใช้กับภิกษุสามเณรโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพราะพระภิกษุอยู่ในฐานะที่เป็นผู้สืบศาสนาและเป็นผู้ทรงศีล สามารถเทศนาสั่งสอนประชาชนให้ประพฤติดีประพฤติชอบ จึงควรใช้ภาษาด้วยถ้อยคำที่สุภาพ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเคารพนับถือ
คำนาม
คำนามที่ใช้สำหรับพระ๓กษุ ส่วนมากใช้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่คำบางคำที่กำหนดไว้เฉพาะ เช่น
กาสาวพัสตร์ | ผู้ย้อมฝาด คือ ผ้าเหลืองพระ |
กลด | ร่มขนาดใหญ่ มีด้ามยาว สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ |
จีวร | ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณรคู่กับสบง |
สังฆาฏิ | ผ้าคลุมกันหนาวสำหรับพระใช้ทาบบนจีวร ใช้พันพาดบ่าซ้าย |
ตาลปัตร | พัดใบตาล มีด้ามยาว สำหรับพระใช้ในพิธีกรรม |
ไทยธรรม | ของถวายพระ |
ธรรมาสน์ | ที่สำหรับ๓กษุสามเณรนั่งแสดงธรรม |
บาตร | ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต |
บริขาร | เครื่องใช้สอยของพระภิกษุ มี 8 อย่าง รวมเรียกว่า “อัฐบริขาร”ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ |
ปัจจัย | เงินที่ถวายพระเพื่อเป็นค่าปัจจัยสี่ คือ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค |
ลิขิต | จดหมายของพระสงฆ์ |
จังหัน | อาหารเช้า |
หมวดสถานที่
กุฏิ | เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย |
เจดีย์ | สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลมบรรจุที่นับถือ เช่น ธาตุเจดีย์ |
หอไตร | หอสำหรับเก็บพระธรรม |
อุโบสถ | สถานที่สำหรับพระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรม เรียกสั้นๆ ว่า โบสถ |
คำสรรพนาม
- คำสรรพนามที่พระภิกษุใช้กับบุคคลระดับต่างๆ มีดังนี้
- สรรพนามบุรุษที่ 1
- อาตมา ใช้กับ บุคคลธรรมดาหรือผู้มีตำแหน่งสูง
- ผม กระผม ใช้กับ พระภิกษุด้วยกัน
- สรรพนามบุรุษที่ 2
- มหาบพิตร ใช้กับ พระเจ้าแผ่นดิน
- บพิตร ใช้กับ พระราชวงศ์
- คุณโยม ใช้กับ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่
- คุณ ใช้กับ พระภิกษุด้วยกันที่ฐานะเสมอกัน
- คุณ เธอ ใช้กับ บุคคลทั่วไป
- คำขานรับของพระภิกษุ
- ขอถวายพระพร ใช้กับ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์
- ครับ ขอรับ ใช้กับ พระภิกษุด้วยกัน
- เจริญพร ใช้กับ ฆราวาสทั่วไป
- สรรพนามบุรุษที่ 1
- คำสรรพนามที่บุคคลทั่วไปใช้กับพระภิกษุ มีดังนี้
- สรรพนามบุรุษที่ 1
- กระผม ผม (ชาย) ใช้กับ พระภิกษุที่นับถือ
- ดิฉัน (หญิง) ใช้กับ พระภิกษุที่นับถือ
- สรรพนาบุรุษที่ 2
- พระคุณเจ้า ใช้กับ พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์
- พระเดชพระคุณ ใช้กับ พระภิกษุที่นับถือ
- พระคุณท่าน ใช้กับ พระภิกษุทั่วไป
- สรรพนามบุรุษที่ 1
คำกิริยา
คำกิริยาที่ใช้สำหรับพระภิกษุ มีดังนี้
คำ | ความหมาย |
จังหวัด | นอนหลับ |
จำพรรษา | อยู่ประจำที่วัด 3 เดือนในฤดูฝน |
นมัสการ | การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้ |
บรรพชา | บวชเป็นสามเณร |
อุปสมบท | บวชเป็นพระภิกษุ |
ลาสิกขา | สึก ลาออกจากความเป็นภิกษุมาเป็นคนธรรมดา |
อาพาธ | เจ็บป่วย |
อาบัติ | โทษจากการล่วงละเมิดข้อห้ามสำหรับพระภิษุ เรียกว่า ต้องอาบัติ |
มรณภาพ | ตาย |
คำสุภาพที่ใช้กับบุคคลทั่วไป
ตัวอย่าง พระบรมราโชวาท
พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็กประจำปี 2522
“เด็กเป็นผู้ที่จะรับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ รวมทั้งการรับผิดชอบในการธำรงรักษาอิสรภาพและความสงบสุขของบ้านเมือง ดังนั้นเด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมและเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม ให้มีความสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งการฝึกหัดขัดเกลาความคิดจิตใจให้ประณีต ให้มีศรัทธามั่นคงในคุณความดี มีความประพฤติเรียบร้อยสุจริตและมีปัญญาฉลาดแจ่มใสในเหตุในผล หน้าที่นี้เป็นของทุกคนที่จะร่วมมือกันกระทำโดยพร้อมเพรียงสม่ำเสมอ ผู้ที่เกิดก่อน ผ่านชีวิตมาก่อนจะต้องสงเคราะห์อนุเคราะห์ผู้เกิดตามมาภายหลังด้วยการถ่ายทอดความรู้ ความดี และประสบการณ์อันมีค่าทั้งปวงให้ด้วยความเมตตาเอ็นดูและด้วยความบริสุทธิ์ใจให้เด็กไทยได้ทราบ เข้าใจ และสำคัญที่สุดให้รู้จักคิดด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง จนสามารถเห็นจริงด้วยตนเองได้ในความเจริญ และความเสื่อมทั้งปวง”
- ลักษณะของคำสุภาพ
- เป็นถ้อยคำที่ดีงาม ไม่เป็นคำที่เหยียดหยามผู้ใด
- เป็นถ้อยคำที่ใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ และบุคคล
- เป็นถ้อยคำที่บุคคลทุกระดับใช้สื่อความหมายกันได้โดยมีการคารวะและให้เกียรติกัน
- ไม่ใช้คำหยาบ คำกระด้างอันเป็นที่ระคายหูระคายใจของผู้อื่น
- ไม่ใช้คำผวน คำที่มีความหมายสองแง่เป็นไปในทางหยาบโลนและคำสแลง ซึ่งคำสแลง หรือคำคะนองนี้ เป็นคำที่นิยมใช้พูดกันเฉพาะกลุ่มเป็นครั้งคราวแล้วก็มีคำใหม่ขึ้นมาอีก
ตัวอย่าง เช่น คำสแลงในหมู่วัยรุ่น เช่น แซว ซ่าส์ ปิ๊ง แจ๋ว จ๊าบ กิ๊ก ฯลฯ
- คำสุภาพที่ใช้ในโอกาสต่าง ๆ
- ถ้อยคำขอความเห็นใจ จะใช้คำสุภาพจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความเมตตา
- ถ้อยคำเตือนใจให้แง่คิด
ภาษาน่าใช้
ภาษาของกลุ่มบุคคล บุคคลในวงการต่างๆ ในสังคมจะมีภาษาหรือถ้อยคำที่ใช้เฉพาะ เพื่อสื่อสารให้เข้าใจในกลุ่มของตนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ภาษาของกลุ่มบุคคล มีดังนี้
- ภาษาในวงการแพทย์
- รายนี้ต้องฉีค วัคซีน(เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ฉีคเข้าร่างกายเป็นภูมิค้มกัน)
- จำเป็นต้อง เอกซเรย์ ปอดหน่อยค่ะ (ฉายแสง)
- ภาษาในวงการศึกษา
- เรา ปฏิรูป การศึกษาแล้ว (เปลี่ยนแปลงและพัฒนา)
- นักเรียนต้อง ลงทะเบียน เรียนก่อน (ลงรายการวิชาที่เรียน
- ภาษาในวงการธุรกิจ
- เขารับ เช็ค แล้ว (หนังสือตราสารที่ผู้สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ)
- สภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้เกิด หนี้เสีย จำนวนมาก (หนี้ที่ไม่เกิดรายได้)
- ภาษาในวงการเทคโนโลยี
- คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ลองตรวจดูให้หน่อย (สมองกล)
- ช่วยส่ง อีเมล มาด่วนด้วย (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์)
- ภาษาในวงการเกษตรกร
- เกษตรกรนิยมใช้ ปุ๋ยชีวภาพ กันมาก (ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์)
- ปีนี้ฝนน้อยอากาศแห้งแล้งชาวนาควรงดทำ นาปรัง (ทำนาครั้งที่ 2 )
ระดับภาษา
ภาษาไทยที่มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ต้องเปลี่ยนระดับภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล เมื่อใช้ภาษาต่างเวลา ต่างสถานที่ และต่างฐานะบุคคลกันต้องเลือกสรรใช้ถ้อยคำต่างกัน ในการพูดหรือการเขียนทั่วๆ ไป ระดับภาษาในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
- ภาษาแบบแผน คือภาษาที่ยอมรับกันว่าเป็นภาษาที่ถูกต้อง ดีงามเป็นภาษาที่ใช้ในระดับพิธีการและระดับทางการใช้ในการเขียนตำราและการติดต่อราชการ
- ภาษากึ่งแบบแผน คือ ภาษาที่ใช้ในการสนทนาที่ต้องรักษามารยาท หรือสนทนาระหว่างผู้มีฐานะต่างกัน เป็นภาษาที่ใช้พูดหรือเขียนในที่ชุมชน เช่น การอภิปราย การพูดทางวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ การเขียนบทความทั่วๆ ไป
- ภาษาปาก คือ ภาษาที่เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน เป็นภาษาระดับกันเอง เช่น ภาษาที่ใช้พูดจา ติดต่อกันในชีวิตประจำวัน ภาษาที่ใช้กับเพื่อนสนิท ฯลฯ
ภาษาแบบแผน ข้าพเจ้า บิดา กรุงเทพมหานคร รับประทาน มาก | ภาษากึ่งแบบแผน ดิฉัน ผม หนู คุณพ่อ กรุงเทพฯ กิน มากมาย | ภาษาปาก ข้า พ่อ บางกอก ยัด เยอะแยะ ถมถืด |
เอกสารอ้างอิง : เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ป 6. กรุงเทพฯ. อักษรเจริญ อจก. 2544.