สร้างโดย : นางสาวธัญญาภรณ์ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย
สร้างเมื่อ อังคาร, 06/03/2012 – 12:21
มีผู้อ่าน 18,746 ครั้ง (23/07/2023)
ที่มา : http://old.thaigoodview.com/node/130885

           เครื่องรับวิทยุ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเดียวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รับและเลือกคลื่นวิทยุจากสายอากาศ แล้วนำไปสู่ภาคขยายต่อไป โดยมีช่วงความถี่ของคลื่นที่กว้างแล้วแต่ประเภทของการใช้งาน โดยทั่วไป คำว่า “เครื่องวิทยุ” มักจะใช้เรียกเครื่องรับสัญญาณความถี่กระจายเสียง เพื่อส่งข่าวสาร และความบันเทิง โดยมีย่านความถี่หลักๆ คือ คลื่นสั้น คลื่นกลาง และคลื่นยาว

กำเนิดวิทยุ

           เครื่องรับวิทยุเกิดขึ้นในราว พ.ศ. 2439 ในงานจัดแสดงของรัสเซีย โดย Bunta Takumi ในประเทศไทยยุคแรกประมาณปี พ.ศ. 2470 ได้ติดตั้งเครื่องส่งวิทยุระบบAM ขนาด200วัตต์ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โดยการควบคุมของช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลข นับเป็นครั้งแรกที่มีเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงออกอากาศ  เครื่องรับวิทยุในยุคแรกนั้นเป็นชนิดแร่ มีเสียงเบามากและต้องใช้หูฟัง ต่อมาเปลี่ยนเป็นเครื่องรับชนิดหลอดสุญญากาศ มีความดังมากขึ้น เช่น เครื่องรับชนิด 4 หลอด ถึง 8 หลอด ประมาณปี พ.ศ. 2500 เป็นยุคเครื่องรับวิทยุทรานโฟมเมอร์ แต่ระยะแรกๆ ยังมีขนาดใหญ่มากและต่อมามีการพัฒนาอุปกรณ์ และวงจรให้มีขนาดเล็กลงตามลำดับ จนสามารถนำไปในสถานที่ต่างๆได้ ทำให้กิจการวิทยุเป็นที่ยอมรับของประชาชน และมีสถานีส่งเกิดขึ้นมากมาย และมีการส่งทั้งระบบ AM และFM เช่นในปัจจุบัน

คุณลักษณะทั่วไปของวิทยุ

  1. สามารถส่งคลื่นกระจายเสียงไปได้ไกลทุกหนทุกแห่ง ผู้รับจึงสะดวกสามารถจะเปิดเครื่องรับฟังได้ทุกสถานี คลื่นวิทยุที่ใช้สำหรับส่งวิทยุกระจายเสียงมีหลายขนาดคลื่น เช่น LW SW MW หรือ AM FM ซึ่งคลื่นแต่ละอย่างมีคุณสมบัติต่างกัน สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับระยะทางหรือพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น คลื่นสั้น (SW) สามารถส่งไปได้ไกลมากเป็นพิเศษแม้จะอยู่คนละซีกโลกก็สามารถรับได้ ไม่จำกัดทั้งระยะทางและสิ่งกีดขวาง ผลดีในแง่การสื่อสารก็คือ ทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ข่าวสารไปสู่ผู้รับได้พร้อมกันจำนวนมหาศาล
  2. ส่งข่าวสารได้รวดเร็วกว่าสื่ออื่นทุกประเภท เนื่องจากงานจัดรายการวิทยุสามารถทำได้โดยง่าย ใช้คนเพียงคนเดียวก็สามารถพูดหรือเปิดเทปออกอากาศได้ทันที ซึ่งสถานีวิทยุต่างๆ มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา วิทยุจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเสนอรายการประเภทข่าว ซึ่งต้องการความรวดเร็วในการนำเสนอ
  3. มีกำลังชักชวนจูงใจสูง แม้ว่าวิทยุเป็นสื่อที่มีเพียงเสียงอย่างเดียวแต่ด้วยอำนาจของเสียง คำพูด เทคนิคของวิทยุ และความสามารถของผู้จัดรายการ ซึ่งส่วนใหญ่มีทักษะในการพูดเป็นอย่างดี สามารถพูดให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน พูดให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนได้เห็นภาพ และคำพูดมีอิทธิพลในการชักจูงใจสูง เป็นสื่อที่ใช้ได้ดีกับรายการหลายประเภท เช่น ข่าว ละคร การพูดบรรยาย ดนตรี เพลง การโฆษณาสินค้า ฯลฯ 
  4. ความสะดวกและง่ายต่อการรับ อาจใช้เครื่องรับวิทยุขนาดเล็ก รับสัญญาณวิทยุในสถานที่ใดๆ ก็ได้ เช่น ในบ้าน รถยนต์ สำนักงาน รับฟังได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องมีความตั้งใจเป็นพิเศษ อาจฟังวิทยุไปพร้อมกับการทำงานอื่นๆ วิทยุจึงเป็นสิ่งที่ใช้ได้ทุกเวลาทุกโอกาส
  5. เป็นสื่อมวลชนที่ผู้รับเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ไม่ว่าจะใช้วิทยุเพื่อรับรู้ข่าวสารหรือเพื่อความบันเทิงก็ตาม ผู้รับลงทุนครั้งแรกสำหรับเครื่องรับวิทยุเพียงครั้งเดียว ก็สามารถรับฟังสิ่งต่างๆ ได้ตลอดไป มีรายการของสถานีวิทยุต่างๆให้รับฟังเป็นจำนวนมาก ผู้นิยมฟังเพลงทางวิทยุ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อเทปหรือแผ่นเสียงต่างๆ เพราะวิทยุกระจายเสียงมีรายการประเภทนี้มากเป็นพิเศษแทบทุกสถานี
  6. ปริมาณและคุณภาพของวิทยุกระจายเสียง ด้านปริมาณมีสถานีวิทยุต่างๆ ออกอากาศอยู่เป็นจำนวนมาก เฉพาะสถานีวิทยุในประเทศไ ทย รวมทุกภูมิภาคแล้วมีจำนวนหลายร้อยสถานี แต่ละภูมิภาคก็สามารถรับได้หลายสิบสถานี จึงเปิดโอกาสให้เลือกรับฟังได้อย่างกว้างขวาง ด้านคุณภาพปัจจุบันมีการส่งกระจายเสียงวิทยุในระบบ สเตอริโอ คุณภาพเสียงชัดเจนเป็นพิเศษ จึงมีผู้นิยมฟังรายการประเภทเพลง หรือดนตรีทางวิทยุกันมาก

วิวัฒนาการของวิทยุในกรุงสยาม

           ในประเทศไทย รับเอาเทคโนโลยีวิทยุมาเมื่อไร อย่างไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร ในการจะทำความเข้าใจวิวัฒนาการของกิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยนั้น ควรเข้าใจถึง“บทบาท” ของวิทยุ และการใช้กิจการวิทยุในเรื่องที่แตกต่างกันในแต่ละยุค ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ยุค คือ

  1. ยุควิทยุโทรเลข (พ.ศ. 2447-2469)
  2. ยุคทดลองส่งกระจายเสียง (พ.ศ. 2470-2474)
  3. ยุควิทยุกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง(พ.ศ. 2475-2480)
  4. ยุควิทยุกับการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลทหาร(พ.ศ. 2483-2515)
  5. ยุควิทยุกับการเรียกร้องประชาธิปไตย (พ.ศ. 2516-2525)
  6. ยุคขยายตัวทางธุรกิจและเสรีภาพวิทยุ (พ.ศ. 2525-ปัจจุบัน)

1. ยุควิทยุโทรเลข (พ.ศ. 2447-2469)

           ประเทศไทยเริ่มรับเทคโนโลยี “โทรเลข” เข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
พ.ศ. 2447
           บริษัทเทเลฟุงเก็น ขออนุญาตทดลองจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขชั่วคราว ที่บริเวณภูเขาทอง และเกาะสีชัง แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร
พ.ศ.2450
           จอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต นำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีของอังกฤษมาใช้กรมทหารเรือ
พ.ศ. 2456
           รัชกาลที่ 6 ให้กระทรวงทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวร ที่ศาลาแดง กรุงเทพฯ และที่ จ.สงขลา
พ.ศ. 2457
           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงบัญญัติศัพท์คำว่า วิทยุ เพื่อใช้แทนคำว่า ราดิโอ ซึ่งใช้ทับศัพท์กันมาตลอด พร้อมทั้งประกาศใช้ พระราชบัญญัติวิทยุโทรเลขเป็นกฎหมายฉบับแรกเกี่ยวกับกิจการวิทยุกระจายเสียง โดยมีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้กำกับดูแลการนำเข้าเครื่องส่งและการใช้วิทยุโทรเลขในประเทศไทย
พ.ศ.2469S
           กรมไปรษณีย์โทรเลข เข้ามาโอนกิจการสถานีวิทยุโทรเลขที่ศาลาแดงและสงขลามาจากกองทัพเรือรวมไปถึงการโอนพนักงานวิทยุของทหารเรือเข้ามาเป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกรม ไปรษณีย์โทรเลขด้วยและยังมีการขยายงานวิทยุโทรเลขออกไปยังจังหวัดต่างๆ รวม50 สถานี แต่ในขณะนั้นวิทยุโทรเลขยังไม่เป็นที่นิยมของประชาชนมากนักเพราะประชาชนยัง ไม่เชื่อว่าการติดต่อทางวิทยุโทรเลขนั้นจะเป็นไปได้จริง

2. ยุคทดลองส่งกระจายเสียง (พ.ศ. 2470-2474)

           เมื่อมีกิจการโทรเลขแล้ว ประกอบกับความก้าวหน้าของวิทยุในต่างประเทศ ทำให้มีเจ้าฟ้าพระองค์หนึ่งมีความสนพระทัยในการส่งกระจายเสียงวิทยุเป็นอย่างมาก นั่นคือ พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งเรายกย่องให้พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินทรงเป็น“บิดาแห่งวงการวิทยุกระเสียงไทย” 

           พระองค์เริ่มทดลองวิทยุในวังก่อน จนกระทั่งวันที่ 31 พฤษภาคม 2471 จึงเริ่มทดลองส่งกระจายเสียงวิทยุเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า สถานี 4 PJ (PJ เป็นพระนามย่อของพระองค์) โดยทรงทำการทดลองการส่งกระจายเสียง ณ อาคาร “ไปราณียาคาร” ซึ่งใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์ แห่งแรก ตั้งอยู่บริเวณปากคลองโอ่งอ่าง นับเป็นการเริ่มกระจายเสียงวิทยุเป็นครั้งแรกในการกระจายเสียงครั้งนั้น ทรงสั่งเครื่องวิทยุกระจายเสียงที่มีขนาดกำลังส่ง 200 วัตต์ ขนาดความยาวคลื่น 36.42 เมตร ซึ่งเป็นคลื่นสั้นเข้ามา 1 เครื่อง ซึ่งการทดลองกระจายเสียงก็ได้รับความสนใจจากประชาชนมาก

           กองช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลขได้ย้ายสถานีจากปากคลองโอ่งอ่างไปตั้งที่ศาลาแดงโดยสัญญาณที่เรียกว่า “2 พีเจ” แต่การกระจายเสียงโดยคลื่นสั้นยังไม่ได้ผลที่ดีมากนัก เนื่องจากมีการจางหายของคลื่นไปมาก เจ้าหน้าที่วิทยุที่ศาลาแดงจึงได้ประกอบเครื่องส่งขึ้นเองอีกเครื่องหนึ่ง มีกำลังส่งออกอากาศสูงขึ้นเป็น 1 กิโลวัตต์ ขนาดคลื่น 320 เมตร ส่งกระจายเสียงโดยสัญญาณที่เรียกว่า “11 พีเจ ” (อ่าน หนึ่ง -หนึ่ง – พีเจ)

           เมื่อประชาชนให้ความสนใจและนิยมซื้อเครื่องรับวิทยุที่เรียกว่าเครื่องแร่ในสมัยนั้นกันมากขึ้น สมเด็จกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน จึงได้ทรงสั่งเครื่องส่งที่มีกำลังสูง 2.5 กิโลวัตต์จากบริษัทฟิลลิปราดิโอ ประเทศฮอลันดา เข้ามาอีกเครื่องหนึ่ง โดยใช้ขนาดคลื่น 363 เมตติดตั้งสถานีส่งกระจายเสียงที่วังพญาไทและจัดตั้งเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น ชื่อว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” 

3. ยุควิทยุกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ.2475-2480 )

           ในปี 2475 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยคณะราษฎ์ซึ่งนำโดยพันเอกพหลพลพยุหเสนา ในยุคนั้น คณะราษฎ์ได้ใช้วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย  สภาพของวิทยุกระจายเสียงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 ทาง ราชการต้องการสถานที่วังพญาไท เพื่อจัดสร้างเป็นโรงพยาบาล (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน) สถานีวิทยุพญาไทจึงย้ายไปอยู่ร่วมกับสถานีวิทยุที่ศาลาแดง ทำการส่งกระจายเสียงโดยใช้ชื่อสถานีใหม่ว่า “ สถานีวิทยุกรุงเทพฯที่ศาลาแดง 7 พีเจ ” ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2479

           วันที่ 1 เมษายน 2482 รัฐบาลจัดตั้งกรมโฆษณาการขึ้นในสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี โอนวิทยุจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาสังกัดไว้ที่นี้ และกรมโฆษณาการทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่กิจกรรมของรัฐบาลและเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน ต่อมา สถานีวิทยุกรุงเทพที่ศาลาแดง 7 พีเจ เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

4. ยุควิทยุกับการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลทหาร (พ.ศ. 2483-2515)

           การโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลเห็นได้ชัดในยุคของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีมีนโนบายเรื่องชาตินิยม รัฐนิยม และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมให้มีลักษณะสากลนิยม โดยใช้วิทยุเป็นสื่อในการปลุกเร้าความรู้สึก ความคิด และความเชื่อของประชาชนให้เป็นไปตามนโยบายของตัวเอง ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีรายการสนทนารายการหนึ่งชื่อว่า “รายการสนทนาของนายมั่น นายคง” ที่เริ่มกระจายเสียงตั้งแต่ปี 2482 เป็นรายการสนทนาด้วยภาษาง่ายๆ สลับด้วยเพลงปลุกใจ ความยาวประมาณ 30 นาที ออกกระจายเสียงเวลา 19.00 น.โดยจะคุยเรื่องราวที่เป็นหัวข้อกำหนดมาโดยจอมพล ป. เช่น จะให้ทุกบ้านติดธงชาติ ก็จะมีการนำมาพูดในรายการ  นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่นโยบายที่รณงรงค์ให้ประชาชน สวมหมวก เลิกกินหมาก และแต่งกายแบบสากล เพื่อส่งเสริมศิลปะแบบใหม่แทนแบบจารีตของเจ้านายและขุนนางยุคเก่า เพลงรำวงได้รับความนิยมมาก และมีการนำเพลงปลุกใจมาทำเป็นเพลงรำวง สร้างความสนุกสนาน และปลุกเร้าความรู้สึกรักชาติ และความสามัคคีไปพร้อมกัน

           ในปี 2488 คำ สั่งให้ทุกจังหวัดต้องมีวิทยุกระจายเสียงเปิดให้ประชาชนฟัง รัฐบาลพยายามชักชวนให้ประชาชนฟังวิทยุ ซึ่งเป็นปากเสียงสำคัญของรัฐบาล
           ระหว่าง พ.ศ.2463 –2468 เป็นระยะเวลาที่ไทยต่อสู่กรณีเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส สมัยนั้นรัฐบาลจอมพล ป. (หลวงพิบูลสงครามในสมัยนั้น) ตั้งสถานีวิทยุเคลื่อนที่ 12 สถานีตามแนวชายแดน เพื่อให้ประชาชนร่วมเรียกร้องดินแดนคืน ในสมัยนั้น วิทยุสามารถสร้างกระแสชาตินิยมให้เกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ โดย เฉพาะ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ เป็น ยุวชนและ เป็นยุวชนทหาร ข้าราชการ มีการแต่งเพลงกราว เพลงปลุกใจจำนวนมาก เช่น เพลงตื่นเถิดชาวไทย ของหลวงวิจิตรวาทการ ในสมัยนั้น วิทยุสามารถสร้างกระแสชาตินิยมให้เกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ โดย เฉพาะ นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่เป็นยุวชนและเป็นยุวชนทหาร ข้าราชการ มีการแต่งเพลงกราว เพลงปลุกใจจำนวนมาก เช่น เพลงตื่นเถิดชาวไทย ของหลวงวิจิตรวาทการ 

           2484-2488 มีสงครามโลกครั้งที่ 2 วิทยุกระจายเสียงมีบทบาทในการโฆษณาชวนเชื่อลิทธิการเมืองของประเทศสองฝ่ายที่ทำสงครามกันช่วงสงคราม กิจการวิทยุกระจายเสียงประสบวิกฤตอย่างหนัก

  • หาอุปกรณ์ ชิ้นส่วน อะไหล่ของเครื่องส่งวิทยุยาก
  • สถานีวิทยุต้องย้ายไปต่างจังหวัดเพื่อหนีภัยสงคราม 

การออกอากาศชะงักลงบ้าง

           เมื่อประเทศไทยถูกโจมตีจากฝ่ายพันธมิตร โรงไฟฟ้าถูกทิ้งระเบิดเสียหาย ส่งผลให้การการส่งวิทยุกระจายเสียงหยุดชะงัก ประชาชนต้องอาศัยข่าวจากหนังสือพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงได้สั่งให้กรมไปรษณีย์โทรเลขเตรียมรอง เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงไว้ จนในที่สุดได้พัฒนาจนสามารถอกอากาศส่งกระจายเสียงเป็นประจำได้ โดยใช้ชื่อ สถานีว่า  “สถานีวิทยุ 1 ปณ.”
           จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก่อตั้งสถานีวิทยุ ท.ท.ท. บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด ตั้งที่สี่แยกคอกวัว วิทยุท.ท.ท. จดทะเบียนเป็นบริษัทเป็นสถานีวิทยุในรูปแบบบริษัทแห่งแรก เริ่มออกอากาศด้วย AM แต่ต่อมาพัฒนาเป็นออกอากาศด้วย FM แห่งแรกของประเทศ
พ.ศ.2495 เปลี่ยนชื่อกรมโฆษณาการ เป็นกรมประชาสัมพันธ์
พ.ศ. 2493 รัฐบาลประกาศ พระราชบัญญัติการโฆษณากระจายเสียง ซึ่งมีผล

  • ยกเลิกการจดทะเบียนเครื่องรับ ทำให้คนมีวิทยุได้ไม่ต้องขออนุญาต
  • หน่วยงานอื่นตั้งสถานีวิทยุขึ้นได้ ทำให้เกิดสถานีวิทยุเพิ่มขึ้นหลายแห่ง

5. ยุควิทยุกับการเรียกร้องประชาธิปไตย (พ.ศ. 2516-2525)

           ในช่วงประมาณปี 2516 -2526 เป็นช่วงที่เหตุการณ์ในประเทศไทยไม่สงบ มีการปฏิวัติรัฐประหารและการเดินขบวนเรียกร้องของนักศึกษาและประชาชนอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 วิทยุถูกใช้เพื่อเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลในการโฆษณาชวนเชื่อและบิดเบือนข่าวสารเกี่ยวกับการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษา รัฐบาลมีการประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2518 และจัดตั้งหน่วยงานชื่อ กบว. (คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์) เพื่อคอยตรวจสอบและดูแลการนำเสนอรายการ รัฐบาลใช้มาตรการ “ขวาพิฆาตซ้าย” โดยใช้วิทยุปลุกกระแสต่อต้านนักศึกษา โดยขวา เท่ากับ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ส่วนซ้าย เท่ากับ คอมมิวนิสต์ ปลุกระดมมวลชนจนคนให้เชื่อว่านักศึกษาจะต่อสู้กับรัฐเป็นฝ่ายซ้ายหรือคอมมิวนิสต์ รัฐบาลบังคับให้ทุกสถานีวิทยุถ่ายทอดรายการข่าว และรายการ “เพื่อแผ่นดินไทย” เพื่อเสนอข่าวสารของรัฐบาล ช่วงนี้เป็นจุดที่วิทยุถูกใช้เป็นกระบอกเสียงทางการเมืองอย่างชัดเจนมาก ภายหลังรัฐบาลสลายกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อครั้งเหตุการณ์ 6 ตุลา นักศึกษาจำนวนหนึ่งหนีเข้าป่า และใช้สื่อวิทยุ “เสียงประชาชนแห่งประเทศไทย” ตอบโต้รัฐบาล โดยส่งสัญญาณผ่านวิทยุคลื่นสั้น จากสถานีที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน รายงานข่าว วิเคราะห์วิจารณ์การเมืองและสังคม สมัยนี้มีเพลงเพื่อชีวิต เพลงวีรชนต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่น บทเพลงของคาราวาน การส่งสัญญาณของสถานีเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย ได้ยุติลงในปี พ.ศ. 2526

6. ยุคขยายตัวทางธุรกิจและเสรีภาพวิทยุ (พ.ศ. 2525-ปัจจุบัน)

           ความคิดของวิทยุในไทยเปลี่ยนไปสู่เรื่องของการค้า และ เครื่องมือในการทำกำไรทางธุรกิจ แต่จะว่าไปแล้ว การที่เมืองไทยมีโฆษณาระหว่างรายการในวิทยุนั้นก็มีมาตั้งนานแล้ว โดยเริ่มจากการขยายตัวของคลื่นวิทยุ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินเพียงรายเดียว จึงเกิดการเปิดช่องทางให้เอกชน บริษัท ห้างร้านมีการโฆษณาได้เพื่อสนับสนุนรายการ
           ปลายปี พ.ศ.2482 การดำเนินงานเริ่มเปลี่ยนไปในแบบที่สอดแทรกโฆษณาเข้ามาในลักษณะของการให้ความร่วมมือของบริษัทห้างร้านต่างๆที่จัดหาแผ่นเสียงมาให้ออกอากาศ หรือจัดทำรายการมาให้สถานี แล้วทางสถานีก็ตอบแทนบริษัทห้างร้านนั้น ด้วยการโฆษณากิจการให้ในตอนหัวหรือตอนท้ายของรายการ บางครั้งก็โฆษณาให้ทั้งหัวและท้ายรายการ ต่อมามีหน่วยงานของราชการก่อตั้งสถานีวิทยุทดลองเพิ่มขึ้น การโฆษณาก็เปลี่ยนรูปมาในแบบบริษัทห้างร้าน จัดหาการแสดงมาออกอากาศเพื่อแลกเปลี่ยนกับโฆษณากิจการของตน เมื่อการโฆษณาทางวิทยุให้ผลกับบริษัทห้างร้าน ก็เกิดมีการจัดทำสปอตโฆษณาเพื่อว่าจ้างให้สถานีนำออกอากาศ ในระยะนั้นประเทศไทยยังไม่มีสถานีวิทยุที่ดำเนินงานเพื่อการค้าโดยตรง แต่ก็มีสินค้าโฆษณาออกอากาศอย่างแพร่หลายจนทำให้มีกลุ่มบุคคลคิดก่อตั้ง สถานีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าขึ้น
           อย่างไรก็ตามในช่วยการขยายตัวทางธุรกิจของวิทยุตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมานั้น บทบาทของวิทยุเพิ่มเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ศิลปินและเพลงของค่ายเพลงต่างๆ สถานีวิทยุเพิ่มอย่างรวดเร็วเป็นเท่าตัว ในช่วงปี 2525-2535 โดยส่วนมากเป็นสถานีวิทยุ FM เพื่อตอบสนองการเป็นเครื่องมือส่งเสริมการขายของค่ายเพลง โดยสถานีวิทยุที่เกิดขึ้นนั้น ดำเนินกิจการโดยรัฐเก็บค่าสัมปทาน และ ค่าเช่าเวลา …. ในยุคนี้การแข่งขันระหว่างสถานีต่างๆ มีความรุนแรงมากเพื่อนำมาซึ่งกำไรจากผลประกอบการ
           หลังเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ สมัยนายกอานันท์ ปันยารชุน เริ่มมีความคิดของ “การเปิดเสรีสื่อ” เพื่อเป็นช่องทางให้สื่อสามารถนำเสนอข่าวสารในยามวิกฤตได้อย่างเต็มที่ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล จึงมีการออกระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2543 กำหนดให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช. ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย จัดทำแผนแม่บทกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สาระสำคัญคือ ให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ให้แก่ภาคประชาชน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 

วิทยุชุมชน

           กำเนิดวิทยุชุมชน ช่วงพ.ศ. 2551 “วิทยุชุมชน” มีการผลักดันจนกฎหมายรองรับสิทธิของประชาชนในการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะ จึงมีกลุ่มคนทำวิทยุชุมชน

วิทยุชุมชนต้อง

  • ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตชัดเจน
  • ไม่แสวงหาผลกำไร
  • นโยบายและผลการดำเนินงานกำหนดโดยชุมชน ยังไม่มี กสช. กรมประชาสัมพันธ์กำกับดูแลไปก่อน

วิทยุชุมชนมี 2 ลักษณะ

  • ตั้งโดยประชาชน ไม่หากำไร ทำเพื่อคนในชุมชน à สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ
  • ตั้งโดยผู้ประกอบการวิทยุท้องถิ่น เน้นเพลงและโฆษณา à ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย (วทท.)

           นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมี วิทยุผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือ เว็บเรดิโอ จำนวนมาก ทำให้มีช่องทางในการรับฟังวิทยุมากขึ้น กิจการวิทยุก็มีแข่งขันกันสูงด้วย