15 ปัญหาวัยรุ่น
สร้างโดย : นางสาวศศนันท์ กฤษณะวนิชและนางสาวสโรชา ขวัญพรหม
สร้างเมื่อ พุธ, 11/11/2009 – 19:11
15 ปัญหาวัยรุ่น
1. การใช้ความรุนแรง
ความหมายของคำว่า Violence หรือ ความรุนแรง หมายถึง การกระทำที่มีหรือส่อว่ามีเจตนาที่จะกระทำให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ การบาดเจ็บนี้อาจเนื่องมาจากการทำร้ายร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทบาทของเด็กวัยรุ่นนั้นในความรุนแรงนั้น อาจจะเป็นทั้งผู้กระทำและถูกกระทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสปัจจัยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ จากการศึกษาพบว่าเด็กวัยรุ่นจะตกเป็นผู้ถูกกระทำ(ถูกทำร้าย)เป็น 2 เท่าของผู้ใหญ่และในปัจจุบันพบว่าเด็กที่ถูกทำร้ายและทำร้ายผู้อื่นจะมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ และผู้ชายโดยทั่วไปแล้วจะเป็นทั้งผู้ทำร้าย และผู้ถูกทำร้ายสูงกว่าเด็กผู้หญิง ยกเว้นบางกรณีเรื่องทางเพศ กลุ่มเด็กผู้หญิงจะเป็นผู้ถูกกระทำสูงกว่าเพศชายและที่น่าสนใจก็คือ เด็กที่ถูกทำร้ายคนที่เป็นผู้กระทำมักจะเป็นคนใกล้ชิดและมักจะเป็นคนในครอบครัวและสาเหตุการตายความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นมักจะเป็นสาเหตุจากการใช้อาวุธปืน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง
ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังเราจะเห็นเป็นข่าวที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป เช่น เด็กนักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน เด็กวัยรุ่นใช้ปืนยิงคู่อริ และยิงตัวตาย กลุ่มเด็กวัยรุ่นรุมข่มขืนเด็กผู้หญิง ฯลฯ มีการใช้อาวุธที่รุนแรงและอันตราย เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นนำไปสู่สาเหตุการตายในเด็กวัยรุ่นมีจำนวนมากขึ้น นอกจากสาเหตุจากอุบัติเหตุจากยานยนต์ที่เคยเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง เด็กวัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ การปรับตัวเข้าอยู่ในสังคม ที่สำคัญโดยธรรมชาติของเด็กวัยรุ่น เป็นช่วงระยะเวลาแห่งการเรียนรู้หาประสบการณ์ อยากลองสิ่งแปลกใหม่และทำในสิ่งที่ท้าทาย โดยมีความรู้สึกว่าตนเองแน่ เก่ง ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดกับคนอื่นจะไม่เกิดกับตนเองและไม่คำนึงผลที่จะเกิดตามมาในอนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ในวัยรุ่นมากมาย
เด็กวัยรุ่นเรียนรู้ชีวิตจากชีวิตจริงที่เขาดำเนินอยู่ ขณะเดียวกันเขาก็เรียนรู้หรือซึมซับความรุนแรงจากชีวิตจริงที่เขาได้เห็นได้สัมผัสจากคนใกล้ชิด , ครอบครัว , ชุมชน , สังคม , โรงเรียน , สิ่งแวดล้อม ตลอดจนจากสื่อต่างๆ ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเด็กเล็กๆ และเด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบัน
ความรุนแรงต่อร่างกาย เป็นความรุนแรงที่ใช้กำลัง หรืออุปกรณ์ใด ๆ เป็นอาวุธ แล้วมีผลทำให้ผู้ถูกกระทำบาดเจ็บต่อร่างกาย เช่น การตบ ผลัก หยิก กัด ขว้าง ปา ทุบ ตี เตะ ต่อย และร้ายแรงถึงขั้นใช้อาวุธจนนำไปสู่การฆาตกรรม
ซึ่งระดับความรุนแรงจะแตกต่างกันออกไป ทำให้ผู้เป็นเหยื่อเกิดอาการฟกช้ำดำเขียว บวมช้ำ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กระดูกหักและเสียชีวิตได้ที่รุนแรงที่สุดคือความรุนแรงทางเพศ หมายถึง การกระทำในในลักษณะข่มขืน ลวนลามทางเพศ บังคับให้ร่วมหลับนอนและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอมพร้อมใจ การละเมิดสิทธิทางเพศต่าง ๆ รวมตั้งแต่การอวดอวัยวะเพศ การจับต้อง ลูบคลำ ทั้งการทำกับเด็ก หรือว่าให้เด็กจับอวัยวะเพศของตน ให้เด็กดูสื่อลามก ถ่ายรูปโป๊เด็ก การสำเร็จความใคร่กับเด็ก หรือกระทำต่อหน้าเด็ก การใช้ปากกับอวัยวะเพศเด็กหรือให้เด็กใช้กับตน ถือว่าเป็นการลวนลามทางเพศทั้งสิ้น
ส่วนความรุนแรงต่อจิตใจ คือ การกระทำหรือละเว้นไม่กระทำ ทอดทิ้ง เพิกเฉย ไม่ดูแลไม่ใส่ใจ ไม่ให้เกียรติ การทำร้ายจิตใจมีผลทำให้ผู้ถูกกระทำได้รับความเสียใจ เสียสิทธิและเสรีภาพ เช่น การพูดจาดูถูก ด่าทอ เหยียดหยาม การก้าวร้าวทางวาจา การรบกวนรังควาน ปล่อยปละทอดทิ้ง ปฏิเสธสิทธิที่พึงมีพึงได้ การแสดงความเป็นเจ้าของที่มากเกินควร การริดรอนสิทธิด้านทรัพย์สินเงินทอง และทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น
ใครควรจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเยียวยาแก้ไขได้บ้าง?
บุคคลกลุ่มแรกที่จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบน่าจะ เป็นครอบครัว เชื่อว่าเด็กที่ถูกอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี มีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตาต่อผู้อื่น ย่อมไม่น่าจะมีนิสัยก้าวร้าวนิยมการใช้ความรุนแรง การที่เด็กจะมีนิสัยอ่อนโยน หรือมีพฤติกรรมที่จัดว่าเป็นคนดีได้ น่าจะเกิดจากการให้ความรักของพ่อแม่ในทางที่ถูกที่ควร และรู้จักอบรมให้ลูกสามารถแยกแยะผิดถูก ชั่วดีได้ ซึ่งจะพบว่าพ่อแม่จำนวนไม่น้อยไม่มีเวลาให้กับลูก เพราะต้องทำมาหากินตามภาวะเศรษฐกิจ ไม่มีเวลาใกล้ชิดลูกเพียงพอ เมื่อมีวิกฤตใดๆ เกิดขึ้นกับลูก พ่อแม่บางส่วนมักมีโอกาสแสดงความรักต่อลูก ด้วยการออกมาปกป้อง ทั้งที่ลูกของตนเองเป็นฝ่ายผิดก็ตาม แม้ว่าการปกป้องลูกเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ แต่หากปกป้องในทางที่ผิด ก็เหมือนซ้ำเติมลูกเข้าไปอีก การปกป้องลูกของพ่อแม่ในทางที่ผิด บางครั้งที่ไม่เป็นข่าว มักพบเห็นตามโรงเรียน เวลานักเรียนทะเลาะวิวาทตบตีกัน พ่อแม่บางคนเข้าข้างลูกของตนเอง โดยมิได้สนใจสาเหตุ หากครูดำเนินการใดๆ แค่การว่ากล่าวตักเตือน ก็อาจกลับมาเล่นงานครูอีก โดยที่ไม่ได้พิจารณาพฤติกรรมของลูก การกระทำแบบนี้ของพ่อแม่ เข้าข่ายพฤติกรรมที่เรียกว่า พ่อแม่รังแกฉัน ในส่วนนี้จะเรียกร้องอย่างไร ให้พ่อแม่รักลูกให้ถูกทาง และรู้จักการแสดงความรักต่อลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม หรือจะเรียกร้องให้ใช้มาตรการทางกฎหมาย เพื่อให้พ่อแม่คอยสอดส่องพฤติกรรมและดูแลลูกอย่างใกล้ชิดมากกว่านี้?
บุคคลกลุ่มที่ 2 คงหนีไม่พ้น ครู อาจารย์ ในโรงเรียนต้อง คอยสอดส่องดูแลพฤติกรรมนักเรียนของตนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพฤติกรรมในโรงเรียน แต่ปัญหาที่ทำให้ครูยังทำได้ไม่เต็มที่ เกิดจากเหตุผลสัก 2-3 ข้อ เป็นปัญหาที่ครูพากันปวดหัว นอกจากต้องสอนมาก มีการบ้านตรวจมากแล้ว การปฏิรูปการศึกษาที่ทำให้ครูมีงานสุมหัวมากมาย ทั้งการประชุมเพื่อติดตามเรื่องนั้นเรื่องนี้ จากฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ การเก็บข้อมูล การกรอกเอกสารที่ไม่มีวันจะเสร็จสิ้น การที่ภารกิจของครูที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับการสอนโดยตรงมีมากเกินไป ได้แย่งเวลาที่ครูที่ปรึกษาควรจะใช้สอดส่องพฤติกรรมของเด็ก อีกทั้งระเบียบของกระทรวงศึกษาว่าด้วยการลงโทษนักเรียนที่ห้ามลงโทษด้วยการตี แล้วให้ว่ากล่าวตักเตือนไปจนถึงลงโทษให้ประกอบกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ทำทัณฑ์บน สั่งพักการเรียน แต่ไม่มีสิทธิไล่ออก อย่างมากก็เชิญออกจากสถาบันการศึกษานี้ แล้วหาที่เรียนให้ในสถาบันการศึกษาใหม่ ซึ่งจะพบว่าไม่ใช่การแก้ปัญหาพฤติกรรมของเด็ก เพียงแต่เปลี่ยนสถานที่ที่เกิดปัญหาจากโรงเรียนหนึ่งไปอีกโรงเรียนหนึ่งเท่านั้น มาตรการห้ามลงโทษด้วยการตี เป็นมาตรการที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนของเด็กอย่างมาก มากเสียจนแทบจะพบอยู่บ่อยๆ ว่าเด็กมีสิทธิมนุษยชนเหนือกว่าพ่อแม่ ด้วยการไม่ฟังแล้วยังแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เมื่อได้รับการอบรมสั่งสอนตักเตือนของพ่อแม่ แม้แต่ต่อหน้าครู อาจารย์ในโรงเรียนก็ตาม เมื่อไม่ให้ครูใช้ไม้เรียว จึงต้องใช้มาตรการอบรมสั่งสอน ซึ่งผู้ออกกฎระเบียบเรื่องนี้ลืมไปว่า พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบคนเป็นบัว 4 เหล่า มีทั้งที่พ้นน้ำแล้ว และที่ยังอยู่ในโคลนตม เมื่อเป็นดังนี้ การใช้มาตรการว่ากล่าวตักเตือน หากเป็นเด็กที่เป็นบัวพ้นน้ำแล้วไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือน แต่มองด้วยสายตาตำหนิ เด็กเหล่านี้ก็ไม่กล้าทำผิด แต่หากเป็นเด็กที่เป็นประเภทบัวที่อยู่ในโคลนตม การว่ากล่าวตักเตือนนอกจากไม่เกิดผลใดๆ แล้วยังทำให้ครูเกิดความเบื่อหน่ายท้อถอย เพราะนอกจากวิธีนี้จะใช้ไม่ได้ผลแล้ว การที่ครูทำอะไรไม่ได้มาก ยังทำให้พฤติกรรมของเด็กที่ก้าวร้าวเกเรมีจำนวนขึ้นกว่าเดิม หากกระทรวงศึกษาธิการไม่รื้อฟื้นการใช้ไม้เรียว เพียงเพราะเห็นว่าได้ผ่านช่วงเวลาในอดีตมาแล้ว เพราะเปรียบ ไม้เรียว เหมือนสัญลักษณ์ของความล้าหลัง ต้องหามาตรการให้ครูใช้กับเด็กเกเรได้มากกว่าการอบรมสั่งสอน
2. หนีออกจากบ้าน
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้วัยโจ๋ตัดสินใจหนีออกจากบ้านด้วยความสมัครใจนั้น
หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหายบอกว่าเด็กไทยในปัจจุบันอารมณ์ค่อนข้างเปราะบาง ส่วนสำคัญมาจากพ่อแม่ ผู้ปกครองเลี้ยงลูกแบบประคบประหงม ไม่กล้าดุว่ากลัวลูกโกรธ แต่เมื่อโดนดุและตำหนิ เด็กจะรับไม่ได้ว่าทำไมต้องโดนดุด่าทั้งที่เป็นเรื่องเล็กน้อย เด็กจึงน้อยใจและไม่อยากอยู่บ้าน ที่น่าเป็นห่วงคือ การหายตัวออกจากบ้านด้วยความสมัครใจของเด็กไทยจะกลายเป็นแฟชั่นที่เด็กไทยแนะนำเพื่อนให้เลียนแบบเพื่อใช้เป็นวิธีการต่อรองสิ่งที่ต้องการกับพ่อแม่ อย่างเด็กบางคนเห็นเพื่อนใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ก็อยากได้บ้าง เมื่อพ่อแม่ไม่ให้ก็รู้สึกผิดหวังและคิดหนีออกจากบ้านเพื่อประชดพ่อแม่ ปัญหาที่เกิดกับเด็กที่หนีออกจากบ้าน นอกจากความไม่ปลอดภัยในชีวิตแล้ว ยังมีปัญหาที่น่าห่วงอีกมากมายตามมา
3. สารเสพติด
ปัญหาวัยรุ่นกับยาเสพติดเป็นเรื่องใหญ่มากในขณะนี้ หลายท่านอาจจะสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมในปัจจุบันวัยรุ่นถึงหันเข้าไปหายาเสพติดกันมากอย่างนี้
เท่าที่ได้มีการสำรวจมา สาเหตุใหญ่ของการเริ่มเข้าไปใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นยังเป็นเรื่องของความ ”อยากลอง”
ความเป็นวัยรุ่นของเขาทำให้เขาอยากลองในสิ่งแปลกใหม่ ร่วมกับอีกปัญหาหนึ่งคือการ “ตามเพื่อน” ความจริงแล้วเป็นเรื่องปกติของวัยรุ่น ไม่ว่าจะในยุคใดสมัยใด ที่จะสนใจเพื่อน อยากจะลอง อยากจะเป็นอย่างคนนั้นคนนี้ หรืออยากจะทำอย่างที่เพื่อนทำ จนกระทั่งกลายมาเป็นแฟชั่น ปัจจุบันมีเด็กบางคนหันเข้าไปหายาเสพติดเพียงเพราะรู้สึกว่า “ใครๆ เขาก็ทำกัน” เป็นเรื่องธรรมดา ไม่เห็นจะแปลกอะไร ถ้าถามว่ารู้โทษของยาเสพติดไหม เด็กๆ ก็รู้ แต่เพียงเพราะอยากที่จะตามเพื่อนๆ ไป ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด กลายไปเป็นเหยื่อของสารเสพติด
นอกจากนี้สภาพแวดล้อม ก็มีส่วนเอื้อให้มีปัญหายาเสพติดขึ้น เดิมทียาเสพติดเป็นสิ่งที่จะมีในสถานที่หรือแหล่งที่มีลักษณะจำเพาะในการระบาดของยาเสพติดเท่านั้น แต่ปัจจุบันยาเสพติดได้แพร่ระบาดมาถึงในโรงเรียนแล้ว เด็กๆ สามารถหายาเสพติดได้ในโรงเรียนและแม้แต่รอบรั้วโรงเรียนเองก็กลายเป็นที่ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กของเราไปเสียแล้ว
ปัญหาอีกประการหนึ่งที่ทำให้เด็กบางคนเข้าไปสู่การใช้ยาเสพติด ก็คือปัญหาเรื่องของการต่อต้านผู้ใหญ่ อันนี้เป็นเรื่องตามวัยของเขาด้วย ด้วยความที่เขาอยากเป็นตัวของเขาเองทำให้เด็กบางทีรู้สึกไม่อยากเชื่อฟังสิ่งที่ผู้ใหญ่พูด บางทีก็แสดงความก้าวร้าวออกมา ถ้าคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูไม่เข้าใจ ก็จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่รุนแรงกับหรือพยายามเข้าไปควบคุมหรือจัดการกับเขา เด็กก็จะยิ่งต่อต้านมากขึ้น อะไรที่เรารู้สึกว่าไม่ดี อะไรที่เราห้ามเขาอะไรที่เราบอกว่าอย่าทำ เด็กก็จะยิ่งอยากทำ เหมือนจะประชดผู้ใหญ่ไปทางหนึ่งด้วย แต่ด้วยประสบการณ์ที่ยังอ่อนอยู่ ทำให้ไม่ทราบว่าการประชดด้วยการใช้ยาเสพติดนั้นเป็นสิ่งที่มีอันตรายต่อตัวเองเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนปัจจัยต่อไปที่จะทำให้เด็กบางคนที่เมื่อหันเข้าไปลองแล้ว เกิดการติดยาเสพติดค่อนข้างจริงจัง คือปัญหาในเรื่องของภาวะทางอารมณ์ เด็กๆ หลายคนไม่มีความสุข เขารู้สึกเศร้าใจ รู้สึกทุกข์ใจ มีปัญหาต่างๆ รอบตัวโดยเฉพาะเรื่องในครอบครัว ความไม่ลงรอยกันในครอบครัว ความขัดแย้งกันของคุณพ่อคุณแม่ การทะเลาะเบาะแว้งกันที่บางทีถึงขนาดทำร้ายร่างกายกัน ทำให้เด็กรู้สึกไม่มีความสุข ความกลัดกลุ้มใจ ทุกข์ใจเช่นนี้แหละที่ทำให้เขาจมอยู่กับยาเสพติด บางคนอาจลองด้วยความตั้งใจ เพราะรู้สึกว่าในขณะที่ชีวิตไม่มีความสุขนั้น มีบางสิ่งบางอย่างที่ให้ความสุขกับเขาได้ ทำให้เขาลืมความทุกข์ต่างๆ เหล่านี้ไปได้ หากครอบครัวมีความสุข เด็กจะไม่คิดสนใจพึ่งยาเสพติดเช่นนี้
ปัจจุบันยาเสพติดได้เปลี่ยนรูปแบบของการระบาดไปมาก จากเดิมเคยพบเป็นเฮโรอีน ก็กลายเป็นยาบ้า ตัวยานี้ออกฤทธิ์ต่อสมองโดยเข้าไปปรับหรือเปลี่ยนแปลงสารเคมีบางตัวทำให้มีฤทธิ์ที่ทำให้ผู้เสพรู้สึกคึกคัก มีพลัง หรือเพลิดเพลินค่อนข้างมาก เราจึงได้ยินข่าวบ่อยๆ ว่า วัยรุ่นไปจัดปาร์ตี้กันเพื่อความสนุก แล้วมียาเสพติดเข้ามามีส่วนประกอบ เด็กหลายคนชอบใจติดใจความสนุกสนานที่ได้รับจากฤทธิ์ของยาที่ตัวเองใช้กับเพื่อน ก็มาเล่าให้เพื่อนฟัง ชักจูงกันว่าสนุกสนานดีกว่าที่ไปปาร์ตี้กันเฉยๆ หรือในหลายครั้งก็มีลักษณะของการมอมเมา คือมีการแอบปนยาเสพติดในงานที่จัด หรือเพื่อนบางคนอาจจะไม่รู้แต่พอได้รับผลที่เกิดความสนุกขึ้นมา ก็เกิดความติดใจแล้วอยากจะใช้อีก จึงทำให้เกิดยาแพร่ระบาดไปได้เร็ว
การป้องกัน
ทำอย่างไรเด็กของเราจึงจะไม่หันมาใช้ยาเสพติดอย่างนี้
ความใกล้ชิดในครอบครัวนี่แหละคือภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดในเรื่องปัญหายาเสพติด ความเอาใจใส่กับลูกไม่ได้เริ่มที่วัยรุ่น จริงๆ แล้ว เราเอาใจใส่รักใคร่กับเขามาโดยตลอด ความผูกพันอย่างนี้ ทำให้เด็กรับรู้และเข้าใจตระหนักดีว่า การหันเข้าไปหายาเสพติดทำให้ครอบครัวของเขาเกิดปัญหาขึ้น เขาจึงมีแรงยึดเหนี่ยวจากความรักความเอาใจใส่จากครอบครัว ทำให้ไม่หันเข้าไปหายาเสพติด
การพูดคุยกับลูกวัยรุ่นก็เป็นเรื่องจำเป็น แต่ว่าจะพูดอย่างไรจึงจะพอเหมาะ ด้วยความกังวลใจ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเข้าไปวุ่นวายกับชีวิตเขามากขึ้น เข้าไปควบคุมเขา เข้าไปกำกับดูแล เข้าไปดูว่าเขาคุยโทรศัพท์กับใคร ในกระเป๋าเขามีอะไรบ้าง เข้าไปค้นในห้องนอนของเขา ลักษณะเช่นนี้ต้องระวังในเด็กวัยรุ่น เขาไม่ชอบให้เราเข้าไปวุ่นวายกับชีวิตของเขา การใช้วิธีพูดคุยกันในทำนองของการไถ่ถามถึงเรื่องราวทั่วๆ ไป เปิดโอกาสให้เขาปรึกษาหารือ พร้อมที่จะรับฟังเขา จะทำให้ความรู้สึกต่อต้านของเด็กลดลง เมื่อเขาเห็นว่าเราวางใจเขา ก็จะยินดีให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาว่าเวลานี้ เขาคิดอย่างไร เขารู้สึกอย่างไร คุณพ่อคุณแม่อาจลองถามไถ่ต่อไปว่า มีบ้างไหม เขาบังเอิญเข้าไปใกล้ชิดกับปัญหาเรื่องยาเสพติด เขาคิดว่าเขาจะป้องกันตัวเองอย่างไร ถ้าเราพูดกับลูกอย่างนี้ เราจะได้แนวคิดว่าจริงๆ แล้วลูกเรามีความพร้อมในเรื่องการดูแลตัวเองจากยาเสพติดไหม ถ้าเขามีแนวคิดที่ดีอยู่แล้ว เขาป้องกันตัวเองอยู่แล้ว เราก็ให้เพียงแค่การสนับสนุน ชื่นชมเขา หรืออาจเสนอข้อมูลที่เราได้รับรู้มาใหม่ๆ เพื่อเขาจะได้ระมัดระวังตัวเขาเองมากขึ้น
อีกประการหนึ่ง คือเรื่องการสังเกตพฤติกรรม โดยเมื่อเริ่มมีปัญหาแล้วเรารีบเข้าไปแก้ปัญหาโดยเร็ว ก็ย่อมจะดีกว่าปล่อยให้เขาติดยาเสพติดจนเรื้อรังจนแก้ไขได้ยาก การสังเกตพฤติกรรมช่วงแรกๆ จะพบว่าเด็กเริ่มมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอารมณ์หงุดหงิดและก้าวร้าว เด็กบางคนอาจเก็บตัวมากขึ้น หรือมีพฤติกรรมที่แอบซ่อน เพราะว่าเขาคงไม่อยากเปิดเผยถึงการใช้ยาของเขาให้เราทราบ ถ้าเขามีปัญหาของการแอบซ่อนอย่าใช้วิธีค้นอย่างที่ว่า เพราะยิ่งหาเด็กก็ยิ่งพยายามซ่อน ระยะนี้อาจเพียงแต่เฝ้ามองพฤติกรรมอยู่ห่างๆ ดูว่าลูกเริ่มโกหก ลูกเริ่มแสดงพฤติกรรมหลอกลวงหรือเปล่า แล้วก็ดูด้านอื่นร่วมกันด้วย เช่น เรื่องการเรียน คุณพ่อคุณแม่อาจจะประสานกับคุณครูที่ดูแลลูก ว่าขณะนี้ลูกมีปัญหาในชั้นเรียนอย่างไรไหม มีผลการเรียนตกลงไหมเพราะอะไร
กลุ่มเพื่อนของลูกก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเรายอมรับเพื่อนของลูก เราก็สามารถติดตามได้ว่าเขาไปทำอะไรกันที่ไหนบ้าง แต่ถ้าเราปฏิเสธไม่ยอมรับเพื่อน ลูกก็จะเริ่มไม่บอกกับเราอย่างตรงไปตรงมา อาจยังแอบคบหาสมาคมกันโดยที่เราไม่รู้ ซึ่งข้อนี้จะเป็นอันตรายมากกว่า เพราะเราไม่มีทางทราบว่าเขาไปทำอะไร ที่ไหน เมื่อไรบ้าง แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เปิดใจรับให้เพื่อนของลูกเข้ามาในบ้าน เข้ามาพูดคุยกัน ทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันที่บ้าน ซึ่งดูแล้วอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม เช่น เขาอาจจะอยากขอมาเล่นดนตรีด้วยกันที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรอนุญาตหรือยอมให้เขาทำอะไรบางอย่างร่วมกันบ้าง คุณจะได้เห็นลูกกับเพื่อนในสายตาอยู่เกือบตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยได้มากทีเดียวว่า ขณะนี้เขาไปทำอะไรที่ไหนบ้าง และการที่เราเปิดเผยกับลูก ยอมรับลูกในเรื่องต่างๆ เช่นนี้ จะทำให้ลูกเองก็พร้อมที่จะเปิดเผยกับเราด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นเรามาร่วมมือกันอย่างนี้ก็คงช่วยกันไม่ให้ลูกเราหันเข้าไปหายาเสพติดกันได้
รู้ได้อย่างไรว่าลูกติดยา..
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ซูบซีด น้ำหนักตัวลด มีกลิ่นตัว ไม่ใส่ใจทำความสะอาดร่างกาย หรือไม่ดูแลตนเอง อาจมีร่องรอยหรืออุปกรณ์การเสพยาเสพติด
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์และพฤติกรรม ขาดเรียน หรือขาดงาน ความรับผิดชอบลดลง กลับบ้านผิดเวลา แยกตัวเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการหมกมุ่นกับการเสพติด คิดช้า สติปัญญาเสื่อม ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง อารมณ์เปลี่ยนแปลง หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น ขาดเหตุผล อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล ใช้เงินเปลืองผิดปกติ รวมถึงการมีปัญหาลักขโมย ในบางรายอาจมีอาการคลุ้มคลั่ง เสียสติ พูดคนเดียว หูแว่ว มีภาพหลอน หวาดระแวง
อาการของการเลิกใช้ยาหรือขาดยา
โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เลิกใช้ยาบ้าจะมีอาการทางร่างกายเพียงเล็กน้อย เช่น มือสั่น เหงื่อออกมาก ปวดตามกล้ามเนื้อ ง่วงนอนจัด ปวดบิดในท้อง หิวจัด วิงเวียน อ่อนเพลีย อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากขาดยาไปเพียง 2-3 วัน
สาเหตุของการติดยา
- เพื่อหนีความทุกข์ใจ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นที่มีปัญหาครอบครัวนั้นจะขาดความรัก ความอบอุ่น ครอบครัวแตกแยก
- ความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง บางคนลองเสพตามเพื่อนเพราะกลัวเพื่อนไม่ให้เข้ากลุ่มด้วย
- อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคนติดยา หรือเป็นแหล่งที่มีการขายยาเสพติด
- ถูกหลอกลวงให้ติดยาเสพติด
เมื่อท่านทราบแล้วว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่มีส่วนผลักดันให้ลูกหลานวัยรุ่นติดยาเสพติดได้ ท่านและสมาชิกในครอบครัวจึงควรร่วมมือป้องกันไม่ให้ลูกหลานติดยา โดยการให้ความรัก ความอบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับบุตรหลาน เพื่อเขาจะได้กล้าเข้ามาขอคำปรึกษายามที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่แก้ไม่ตก ตลอดจนทำความรู้จักกับกลุ่มเพื่อนของเขาด้วย เพื่อท่านจะได้ทราบว่าเพื่อนๆ ของเขาเป็นคนอย่างไร มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติดหรือไม่ เพราะเด็กที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นมักจะติดเพื่อน และชอบทำอะไรเลียนแบบเพื่อน
แม้อาการทางกายจะมีเพียงเล็กน้อยดังกล่าว แต่ผู้ใช้จะมีความรู้สึกทุกข์ทรมานมาก จากความอ่อนเปลี้ยเพลียแรง จนอาจไม่มีแรงแม้จะรับประทานอาหารได้ รู้สึกกระวนกระวาย กระสับกระส่าย ความคิดสับสน เช่น ไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร อยู่ที่ไหน ปวดศีรษะ มีความรู้สึกร้อนสลับกับหนาวจัด และผู้ใช้ยาอาจทุรนทุราย จนเอะอะอาละวาดทำร้ายผู้อยู่ใกล้เคียงได้ ปัญหาที่สำคัญคือ อาจพยามฆ่าตัวตายได้ เพราะภาวะซึมเศร้าจากการขาดยา ความรู้สึกเหล่านี้มักคงอยู่เป็นสับดาห์ ทำให้ผู้เสพติดพ่ายแพ้จนกระทั่งนำไปสู่การแสวงหายานี้มาใช้อีก เพื่อบำบัดตนเองให้พ้นความทรมาน กลายเป็นวัฏจักรที่ไม่สิ้นสุดของการเสพติด อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่มุ่งมั่นและมีความพร้อมต่อการเลิกยา ถ้าพยายามผ่านพ้นอาการทุกข์ทรมานต่างๆข้างต้นได้ จะสามารถนำไปสู่การเลิกใช้ยาได้ในที่สุด
4. ขโมยของ
การลักขโมยของวัยรุ่นมักมีสาเหตุสำคัญ ๆ อย่างน้อย 3 อย่างคือ
- เพราะขาดการอบรมบ่มนิสัยหรือจริยธรรม
- เพราะขาดแคลนในสิ่งที่ต้องการปรารถนา
- เพราะต้องการแก้แค้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู-อาจารย์ หรือองค์กร ที่ตนสังกัด
วิธีแก้ไขช่วยเหลือ ก็แก้ไขไปตามเหตุ ทั้งนี้จะต้องไม่ด่วนตำหนิลงโทษใด ๆ จนกว่าจะได้พิจารณา ทบทวนดีแล้ว การแก้ไขช่วยเหลือตามเหตุ มีวิธีโดยสรุปดังนี้
- ชี้ให้เห็นหรือบอกถึงผลของการลักขโมยว่าเป็นโทษร้ายแรง ผิดทั้งทาง ศีลธรรม จริยธรรม ในครอบครัว สังคมไทย และสังคมโลก
- เมื่อต้องการสิ่งใดต้องบอกพ่อแม่ให้ทราบ จะจัดหาให้ตามสมควร ถ้ายังไม่ได้ในทันทีต้องรู้จักรอ รู้จักอดทน หากได้ทำผิดไปแล้วจะต้อง ไม่ตำหนิรุนแรง เพราะเป็นเพียงความอยากได้เพราะขาดแคลนมิใช่สันดานโจร-ชั่วช้า
- วัยรุ่นต้องการขโมยให้ถูกจับได้ พ่อแม่ผู้ใหญ่จะได้เสียชื่อ จงพยายามหาเหตุของความขัดแย้ง ความต้องการแก้แค้นนั้น และหาทางคลี่คลาย
- พวกขโมยทุกอย่างที่ขวางหน้า ทั้ง ๆ ที่ไม่ขาดแคลนหรือมีความแค้น มักมีความผิดปกติทางจิตรุนแรง ที่เรียกว่า เครพโตมาเนีย ต้องปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญผู้ใหญ่ต้องไม่ขโมยเสียเอง หรือชื่นชม การขโมยอันเป็นตัวอย่างไม่ดีกับวัยรุ่น ไม่ว่าจะขโมยสิ่งของหรือเวลาทำงาน
คุณเจอปัญหาลูกวัยรุ่นขโมยของบ้างหรือเปล่าคะ ถ้ามีคุณควรหาสาเหตุว่า ลูกทำด้วย เจตนาอะไร เช่น บางคนถือวิสาสะความเป็นลูก หยิบเงินจากกระเป๋า ของคุณไปโดยไม่ขออนุญาต ในกรณีนี้คุณควรบอกให้ลูกรู้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ บางคนไปชอบขโมยของผู้อื่นแม้จะเป็นคนในบ้านเดียวกันก็ตาม แต่คุณก็ต้องเคารพ ในสิทธิของเขาด้วยเช่นกัน หรือบางคนชอบหยิบของ ของคนอื่น โดยพลการ เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือมีอะไรบางอย่าง คับแค้นอยู่ในใจ เลยใช้วิธี ขโมย เพื่อให้พ่อแม่เสียชื่อและรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งเป็นวิธี การแก้แค้น แบบหนึ่ง ในกรณีนี้ คุณควรให้เวลา ให้ความใส่ใจ และให้ความ อบอุ่นแก่เขามากขึ้น แต่ถ้าเขาขโมย ของทุกอย่าง ที่ขวางหน้าทั้งๆที่คุณก็ได้ตามใจ และให้เงินใช้ ไม่ขาดมือ ในกรณีนี้ คงต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชแล้ว
ข้อสำคัญ อย่าลืมชี้ให้เขามองเห็น ผลเสียของการลักขโมยว่าเป็นการ กระทำ ที่ผิด ทั้งทาง ศีลธรรม ทางกฎหมาย และทางสังคม ไม่มีใครอยาก คบหาหรือยอมรับ คนที่ชอบลักขโมย แถมยังเป็นโทษร้ายแรงทางกฎหมายด้วย
5. ติดการพนัน
การพนัน หมายถึง การเล่นชนิดหนึ่ง โดยใช้เงินหรือสิ่งอื่นใด ด้วยการเสี่ยงโชค
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือระบุเอาไว้ว่า ประมาณปี พ.ศ.1450 มีการเล่นการพนันที่เรียกว่า ‘กำถั่ว’ และประมาณ พ.ศ.2100 ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมัยอยุธยามีการเล่นการพนันที่เรียกว่า ‘โป’ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จะค่อนข้างเลือนลาง แต่ก็เป็นที่รับรู้กันว่า คนไทยนั้นนิยมเล่นการพนันเป็นอย่างมาก ดังปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรจากบันทึกของ ‘มองสิเออร์ เดอ ลาลูแบร์’ เอกอัครราชทูตพิเศษฝรั่งเศส ซึ่งพระเจ้า หลุยส์ที่ 14 ส่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ในปี พ.ศ.2230 “ชาวสยามอยู่ข้างค่อนรักเล่นการพนันเสียเหลือเกิน จนถึงจะยอมผลาญตัวเองให้ฉิบหายได้ ทั้งเสียอิสรภาพความชอบธรรมของตัวหรือลูกเต้าของตัวด้วย ในเมืองนี้ใครไม่มีเงินพอจะใช้เจ้าหนี้ได้ ก็ต้องขายลูกเต้าของตัวเองลงใช้หนี้สิน และถ้าแม้ถึงเช่นนี้แล้วก็ยังมิพอเพียง ตัวของตัวเองก็ต้องกลายตกเป็นทาส การละเล่นพนันที่ไทยรักเป็นที่สุดนั้นก็คือ ติกแตก ชาวสยามเรียกว่า สะกา…”
สำหรับรูปแบบการเล่นการพนันซึ่งเป็นนิยมกันนั้น โดยมากมักใช้ ‘สัตว์’ ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น จิ้งหรีดและปลากัด
ไปจนถึงสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น วัว ควาย หรือช้าง ทั้งนี้ สัตว์ที่มาแรงที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้น ‘ไก่ชน’ โดยที่เจ้าของบ่อนจะหักเงินค่าบำรุงบ่อนอย่างน้อยร้อยละ 10 จากจำนวนเงินเดิมพัน
ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป และประเทศไทยเริ่มติดต่อทำมาค้าขายกับชาวต่างชาติ มากขึ้น การพนันรูปแบบใหม่ๆ ก็ได้หลั่งไหลเข้ามาเพิ่มเป็นลำดับ และหนึ่งใน การพนันที่ปรากฏขึ้นและได้รับความ นิยมคือ การเล่นถั่วโปซึ่งมีข้อสันนิษฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่า เข้ามาเป็นครั้งแรก ในสมัยอยุธยาตอนปลายระหว่างปี พ.ศ.2231- พ.ศ.2275 อาจเป็นสมัย พระเพทราชา พระเจ้าเสือหรือพระเจ้าท้ายสระ องค์ใดองค์หนึ่งโดยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลและรัฐก็เก็บภาษีจากการเล่นนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการพนันในปัจจุบัน นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ สร้างความเสียหายให้แก่สังคมไทยเป็นอย่างมาก
ด้วยผลตอบแทนที่น่าสนใจ อีกทั้งยังไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถใดๆ ซึ่งทำให้ใครๆก็สามารถเล่นได้จึงยากแก่การขจัดให้สิ้นจากประเทศ
การเล่นการพนันก่อให้เกิดปัญหา
- การพนันมีผลกระทบต่อสังคม
- ประชาชนมีความหมกมุ่น
- ไม่ยอมทำมาหากิน
- เล่นการพนันจนสิ้นเนื้อประดาตัว
- เกิดหนี้สินมากมาย
- อาชญากรรมมีมากขึ้น
คนที่ติดการพนัน จนระบุได้ว่าป่วย จนควรต้องพบแพทย์นั้น มีข้อสังเกตอยู่ 10 ข้อ คือ
- หมกมุ่นอยู่กับการพนัน
- ต้องเพิ่มเงินในการเล่นพนันเพื่อให้รู้สึกตื่นเต้นมากขึ้นเรื่อยๆ
- ไม่สามารถหยุดเล่นพนันได้
- มีอาการกระวนกระวายเวลาที่หยุดเล่นพนัน
- ใช้การพนันเพื่อหลบเลี่ยงปัญหาทางจิตใจต่างๆ
- พอเสียเงินจากการพนันก็จะรีบหาเงินกลับมาเล่นใหม่
- เริ่มพูดปดกับครอบครัวเพราะการพนัน
- เริ่มทำผิดกฎหมายเพราะติดการพนัน
- สูญเสียความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดเพราะการพนัน และข้อสุดท้ายคือจุดจบ
- เกิดความหายนะกับชีวิต เพราะโรคติดพนัน
6. คบเพื่อนต่างเพศ
การสนใจเพศตรงข้ามเป็นธรรมชาติของวัยรุ่น
การที่วัยรุ่นจะคบเพื่อนต่างเพศไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดในสังคมปัจจุบัน แต่วัยรุ่นที่คิดจะมีคู่ครองต้องระวังตนเอง ให้คบกันในขอบเขตที่เหมาะสม
ลักษณะการคบเพื่อนต่างเพศ
– คบแบบเพื่อน
– คบแบบคู่ควงหรือคู่รัก
อายุระหว่าง 14-16 ปี เด็กชายจะเริ่มสนใจผู้หญิง บางคนเริ่มจับคู่กัน วัยรุ่นชายและหญิงต้องการการตอบสนองทางเพศแตกต่างกัน การคบกันแบบคู่ควงหรือคู่รักความรักระหว่างหญิงชาย มักเริ่มต้นจากความรู้สึกชอบพอกัน อารมณ์รักที่เกิดขึ้นจะทำให้ทั้งคู่รู้สึกคิดถึงกัน อยากเห็นหน้าและต้องการพูดคุยใกล้ชิดกันตลอดเวลา ความรักทำให้คนมีพลัง ชีวิตที่มีความรักจะเต็มไปด้วยความสดใส กระชุ่มกระชวย แต่อารมณ์รักของหญิงและชายก็มีการแสดงออกที่แตกต่างกันอยู่ไม่น้อย เพราะธรรมชาติสร้างผู้ชายและผู้หญิงให้มีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกายและจิตใจ และนั่นเป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความรักเป็นเหตุให้ชายและหญิงต้องการอยู่ใกล้ชิดกัน ได้นั่งพูดคุย หยอกล้อ อยากสัมผัสมือกัน จูงมือเดินคุยกันกระหนุงกระหนิง เมื่อสัมพันธภาพแน่นแฟ้นมากขึ้น ก็เปลี่ยนจากการจับมือเป็นโอบไหล่ กอดคอ ในช่วงแรกๆ การพบกันทุกครั้งยังอยู่ในที่เปิดเผย เพราะฝ่ายหญิงอาจจะยังไม่แน่ใจในฝ่ายชายมากนัก แต่เมื่อความรักดำเนินการไปถึงขั้นไว้วางใจ ทั้งคู่จะเริ่มรู้สึกว่าต้องการมีเวลาอยู่กันตามลำพังโดยไม่มีเพื่อนๆ คอยขัดคอหรือถูกแซวเวลาจีบกัน การนัดพบเป็นกลุ่มจึงเปลี่ยนเป็นการนัดพบกันตามลำพังสองต่อสองในที่ลับตาคนมากขึ้น เพราะทั้งคู่เริ่มต้องการความเป็นส่วนตัวที่จะสามารถจู๋จี๋กันได้อย่างสนิทใจ แบบไม่มี ก-ข-ค
โดยไม่ได้เฉลียวใจแม้แต่น้อยว่าความใกล้ชิดประกอบกับความพึงพอใจ และความแตกต่างระหว่างชายหญิงจะเป็นบันไดที่นำไปสู่ความรักซึ่งเป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้น
ผู้ชายเขาคิดต่างกับเรา
– วัยรุ่นหญิงต้องการเพียง ” ความรัก ” ความรู้สึกอบอุ่นใจ มีคนปกป้อง ห่วงใยต้องการความโรแมนติกเท่านั้น
– วัยรุ่นชายเริ่มต้องการ ” ความใคร่ ” ฝ่ายหญิงอาจเพลี่ยงพล้ำ ถ้าปล่อยตัวปล่อยใจให้เคลิบเคลิ้มไปกับอารมณ์โรแมนติกโดยไม่รู้ตัว ผลของการเผลอใจ อาจทำให้วัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนถึงเวลาอันควร ควรลองถามตัวเองดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าตั้งครรภ์ในขณะที่เรียน
– พ่อแม่จะว่าอย่างไร
– การเรียนที่โรงเรียนจะเป็นอย่างไร
– เพื่อนบ้านเขาจะพูดว่าอย่างไร
– พ่อของลูกจะรับผิดชอบหรือไม่
– จะเลี้ยงลูกอย่างไร
– จะผิดศีลธรรมและเป็นตราบาปหรือไม่
ถ้าคิดจะไว้วางใจคนที่เรารักก็อาจจะต้องระมัดระวังใจของเราเองด้วย หากคิดว่าไม่ต้องการเสียสาวก่อนวัยอันสมควรและคิดว่าเรายังไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ ทางเลือกที่ดีก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ด้วยกันสองต่อสองกับคนที่เรารักในที่ลับตาคนเสียนะคะ อย่าคิดผยองใจว่า ฉันเป็นคนใจแข็งคงเอาตัวรอดได้น่ะ เพราะเจอมานักต่อนักแล้วที่คนเหล่านั้นต้องน้ำตาเช็ดหัวเข่า เนื่องจากความรักและความใคร่มักเกิดขึ้นพร้อมๆกันเสมอ
วัยรุ่นกับการอกหัก
มีวัยรุ่นหลายคนที่เคยพบกับปัญหาถูกแฟนหรือคนรักตีจาก ต้องพกพาความเศร้าเสียใจ ความชอกช้ำระกำใจ ร้องไห้ฟูมฟายว่าตนเองกลายเป็นคนอกหัก ถูกแฟนหรือคนรักหมดรัก ทอดทิ้ง และกล่าวโทษตนเองว่าไม่ดีพอ ไม่สวย ไม่น่ารัก จึงไม่สามารถพิชิตใจคนรักไว้ได้ กล่าวโทษคนรักว่าเขาไม่ดี หลายใจ มากรัก ไม่ซื่อสัตย์ ทั้ง ๆที่ตนเองเป็นคนดี ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจให้เขาทั้งหมด หากใครที่กำลังประสบกับปัญหาอกหักอยู่ มาพิจารณากันดีกว่าว่าเมื่ออกหักแล้วจะทำอย่างไร ลองถามตัวเองว่าอกหักแล้วเราเสียอะไรไปมากมายแค่ไหน แน่นอนเราต้องเสียใจ แต่จะเสียใจมากน้อยแค่ไหนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการทุ่มเทของเรา ถ้าทุ่มเททุกอย่างทั้งกายและใจ ก็ย่อมทำให้เราเสียใจมากกับการทุ่มเท เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าตัวเรา ทรัพย์สิน ของมีค่าต่าง ๆ ที่เราเสียไปดูจะมากมายเหลือเกิน ถ้าจะให้ทำใจได้ก็อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง เพื่อคิดทบทวนเรียกศักดิ์ศรีตนเองให้กลับคืนมา ลองคิดต่อสักนิดว่า เราเสียหมดตัวแล้วหรือ หรือจริง ๆ แล้วเราเสียหน้ามากกว่า และลองคิดต่อไปว่า คนหักอกเราเขาจะภูมิใจแค่ไหนที่หลอกเราได้สำเร็จ เขาร่าเริงแต่เราเสียใจ คนอย่างนี้ยังมีคุณค่าแก่เราอีกหรือ ทำไมให้เขาชนะเราง่าย ๆ ทำไมเราไม่เข้มแข็งเอาชนะเขาให้ได้บ้าง ให้ลองมาพิจารณาว่าการอกหักครั้งนี้ เรายังมีสิ่งอื่น ๆ ที่ยังเหลืออยู่อีก นั่นคือเรายังมีศักดิ์ศรี ยังมีคุณค่า ยังมีอนาคตที่ยาวไกล ยังมีพ่อแม่พี่น้องเพื่อนฝูงที่เข้าอกเข้าใจ รักและต้องการเราอยู่ ฉะนั้น เราต้องดำเนินชีวิตอยู่เพื่อค้นพบในสิ่งที่ดีกว่าเดิม ไม่จมกับอดีตนานเกินไป เมื่อเราค้นพบความสำเร็จ ความลงตัวในชีวิตที่แท้จริง เราจะรู้ว่าประสบการณ์ครั้งเก่าก่อนสอนให้เราต่อสู้ชีวิต สิ่งที่เราเคยคิดว่าเราสูญเสียไปกับความรักที่ทำให้เราอกหักแท้จริงไม่ได้มากอย่างที่เราคิดเลย
วัยรุ่นกับปัญหาความรักข้ามรุ่น
คุณกำลังตกหลุมรักใครบางคนที่มีอายุมากกว่าคุณหลาย ๆ ปี อยู่หรือเปล่าไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรเลย ความรักเป็นสิ่งที่ดี ช่วยชุบชูชีวิตให้แจ่มใส เบิกบาน มีความสุข การที่คุณแอบไปรักไปชื่นชมใครบางคนที่มีอายุมากกว่าคุณ เช่น รุ่นพี่ ครูอาจารย์ คงเป็นเพราะใครคนนั้นมีบุคลิกที่น่าประทับใจ มีอัธยาศัยไมตรีที่ดี มีความเป็นสุภาพบุรุษสมชายหรือไม่ก็สวยน่ารัก ทำให้คุณอดที่จะรักไม่ได้ แต่ความจริงแล้ว ความรู้สึกของคุณนั้นไม่ใช่ความรัก เป็นแค่ความหลงไหลชั่วคราวเท่านั้นเอง เหมือนหลงรักเจ้าชายเจ้าหญิงในฝัน ไม่ช้าเมื่อคุณพบคนใหม่ที่เหมาะสม และอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงที่สังคมยอมรับ คุณก็จะลืมคนเก่าไปเองโดยอัตโนมัติ เก็บความประทับใจของคุณเอาไว้เป็นความทรงจำที่ดีต่อไปเถอะนะ การแอบรักไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ถ้าคุณเผลอแสดงออกอย่างโจ่งแจ้งนี่สิคะ เป็นเกิดเรื่องแน่ เพราะย่อมทำให้ต่างฝ่ายต่างเข้าหน้ากันไม่ติด หรือถ้าคุณโชคร้ายไปเจอคนไม่ดี เขาอาจฉวยโอกาสที่คุณหลงรักเขา ตักตวงเอาผลประโยชน์จากคุณ ทำให้คุณต้องเสียใจในภายหลังก็ได้ ตอนนี้คุณยังอยู่ในวัยเรียน ควรจะตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด เรื่องรักรอเอาไว้ก่อน คุณยังมีโอกาสพบคนอีกมากมายในชีวิต ถ้าคุณไม่ใจร้อน คุณจะได้เลือกคนที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
7. ความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง
สภาพอารมณ์ของเด็กช่วงนี้ จะเปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว หงุดหงิด วู่วาม แปรปรวน โดยเฉพาะในผู้หญิง มีอารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าวได้ในเด็กชาย นอกจากจะมีสาเหตุการเปลี่ยนแปลง ของร่างกายและฮอร์โมนเพศแล้ว เด็กยังกังวลและกลัวต่อการ ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบมากขึ้นและเป็นอิสระ แต่ความรู้สึกนี้จะผันผวนทั้งอยากเป็นและไม่อยากเป็น ทำให้เป็นต้นเหตุอย่างหนึ่งของความไม่สงบทางอารมณ์ได้
เมื่อเข้าวัยรุ่น เด็กเริ่มแยกตัว ไม่ชอบไปไหนกับพ่อแม่ ชอบที่จะทำอะไรเอง ไม่ให้ใครเข้าไปยุ่งเกี่ยว บางครั้ง อยู่บ้านก็แยกตัวอยู่ลำพัง ในขณะที่เด็กต้องการอิสระและความเป็นส่วนตัว เด็กจะต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบควบคู่ไปด้วยเสมอ เด็กที่ต้องการอิสระแต่ไม่รู้จักรับผิดชอบ และยังไม่สามารถควบคุมตนเองได้ดีพอ จะเป็นปัญหาได้อย่างมาก ทำให้เป็นผลเสียต่อการเรียนและความประพฤติ อาจถูกชักนำไปในทางที่ผิดได้ง่าย และเป็นเหตุทำให้เกิด ความขัดแย้งกับพ่อแม่และผู้ปกครองหรือครูได้บ่อย
ความสัมพันธ์กับบิดามารดา
แม้ว่าวัยรุ่นต้องการเป็นตัวของเขาเองและเอนเอียงไปทางเพื่อนมากกว่าก็ตาม เขาก็ยังต้องการพึ่งพ่อแม่อยู่ ฉะนั้น วัยรุ่นตอนต้นจึงเป็นวัยที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ควรจะควบคุมให้มากกว่าวัยรุ่นตอนปลาย ทั้งนี้เพื่อให้เขา ได้ปรับตนเองและสามารถควบคุมตนเองและดำเนินชีวิตได้ถูกต้องต่อไป เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นกว้างขวางขึ้น รับรู้และรู้จักความเป็นไปในชีวิตมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นข้อขัดแย้งกับพ่อแม่ได้บ่อย ถ้าความผูกพันและการเลี้ยงดูในวัยเด็กเรื่อยมาจนโตเป็นไปต่อกันด้วยดี และวัยรุ่นมีความเคารพรักพ่อแม่เป็นพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว แม้จะมีความขัดแย้งกันบ้างก็จะไม่รุนแรง เด็กวัยนี้จะขอสิทธิของตนหลายอย่าง และจะทดสอบผู้ใหญ่ ฉะนั้นผู้ใหญ่จึงต้องหนักแน่นในการพิจารณาด้วยหลักการและเหตุผล ที่จะปฏิบัติกับวัยรุ่น มีหลายครั้งที่เขาทำไปเพื่อดูปฏิกิริยาของผู้ใหญ่มากกว่า จึงเป็นวัยที่ผู้ใหญ่ควรสนทนาปรึกษาปัญหาร่วมกันกับวัยรุ่น วัยนี้จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ง่าย เช่น การที่รับปากแล้วไม่ทำ ไม่ขยันเรียนเท่าเดิม ช่างฝัน
8. การเล่นอินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน
ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ไทยประสบกับปัญหาและความกังวลที่ว่า เราจะด้อยพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่าประเทศอื่นๆ เพราะอย่างที่รู้กันว่าเอเชียไม่ใช่ต้นกำเนิดของเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่ไม่กี่ปีให้หลังกลับกลายเป็นว่า ไทยต้องประสบกับปัญหาการใช้เทคโนโลยีที่ว่าอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสื่อลามก การแสดงภาพหรือข้อมูลที่ไม่เหมาะสมทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงการเล่นเกมออนไลน์ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในเด็กและเยาวชนจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
หลังจากพยายามแก้ไขปัญหานี้มาหลายปี ด้วยหลายวิธีและแนวทาง ในที่สุดเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2547 ที่ผ่านมา น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีขณะนั้นก็สามารถผลักดันจนเป็นรูปธรรมได้ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 4 มาตรการควบคุมเกมออนไลน์และอินเทอร์เน็ต อันได้แก่
- การจำกัดชั่วโมงการเล่นเกมของเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ให้ไม่เกินวันละ 3 ชั่วโมง
- ห้ามการเล่นพนัน ชิงโชค หรือซื้อขายอุปกรณ์
- ออกระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนร้านอินเทอร์เน็ต เพื่อกำกับดูแลการให้บริการ
- รณรงค์ให้เยาวชน รวมทั้งผู้ปกครองทราบถึงโทษของการเล่นเกมติดต่อกันเป็นเวลานาน
อย่างไรก็ตาม มาตรการที่ออกมายังคงเป็นที่สนใจและกล่าวถึงของคนในสังคม เพราะทราบกันดีว่า ขณะนี้บริการร้านอินเทอร์เน็ตได้ขยายและกระจายตัวไปตามพื้นที่ต่างๆของเมือง โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เล่นเกมเกินวันละ 3 ชั่วโมง
เด็กติดอินเทอร์เน็ต – เกมนำไปสู่ปัญหาสังคม
ต้องยอมรับว่าระบบเทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวล้ำกันจนปรับตัวตามกันไม่ทัน อุปกรณ์ต่างๆ ก็หาซื้อได้ง่ายขึ้นมาก จึงไม่แปลกที่ปัจจุบันทุกบ้านจะมีคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การขยายตัวของกิจการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้มากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมีมากมาย เช่น ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลก การหาข้อมูลความรู้ข่าวสารต่างๆ แต่หากเราใช้ในทางที่ผิด เช่น ใช้เพื่อเข้าสังคมออนไลน์หรือเล่นเกมออนไลน์โดยไม่แบ่งเวลาให้เหมาะสม ก็จะทำให้กลายเป็นปัญหาติดอินเทอร์เน็ตและเกมซึ่งในปัจจุบันพบมากในเด็กและเยาวชน
จากข่าวล่าสุดเมื่อวันที่ 7 กันยายน เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเด็กวัยรุ่น 2 คน ในขณะที่กำลังเล่นเกมออนไลน์อยู่ในร้านอินเทอร์เน็ตในข้อหาลักทรัพย์ เด็กทั้ง 2 สารภาพว่าติดเกมมากจึงต้องวิ่งราวชาวต่างชาติเพื่อนำเงินที่ได้ไปเล่นเกมออนไลน์ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะเด็กไม่มีผู้ปกครองอบรมดูแลเอาใจใส่ ทำให้เด็กทำผิดดังกล่าว หรือจากกรณีที่เด็กที่ติดเกม Audition ซึ่งได้คุยกับเพื่อนออนไลน์ และถูกหลอกไปทำงานที่ผิดกฎหมาย และพบว่ามีเด็กมากมายที่ถูกหลอกมาเช่นเดียวกัน
ปัญหาเด็กติดอินเทอร์เน็ต-เกมส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม เด็กติดเกมจะเล่นเกมอย่างเดียวโดยไม่สนใจทำอย่างอื่น ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ขาดการพัฒนาการที่ดี ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แสดงอาการก้าวร้าวกับผู้ปกครองและพี่น้อง มักมีผลการเรียนตกต่ำ สูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนเพราะขาดการเข้าสังคม ทานข้าวไม่เป็นเวลา นอนดึกหรือไม่นอนเลย โดยไม่นานมานี้ก็มีข่าวเด็กอายุ 14 ปีที่เสียชีวิตในร้านเกมย่านบางกะปิ เพราะระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเนื่องจากนั่งเล่นเกมเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมงและทานข้าวไปด้วย
ไม่ใช่แต่ประเทศไทยเท่านั้น ทั่วโลกก็มีปัญหาเด็กติดอินเทอร์เน็ต-เกมเช่นเดียวกัน อย่างในประเทศจีน มีการจัดทำค่ายบำบัดเด็กติดเน็ต โดยมีหลักสูตรบำบัดนาน 1 – 3 เดือน วิธีการบำบัดมีทั้งการเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย ควบคู่กับการใช้ยา การให้คำปรึกษา และอยู่ภายใต้การดำเนินการของโรงพยาบาล หรืออย่างที่เกาหลีใต้ ประชากรร้อยละ 70 ของ 48 ล้านคน สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น และจำนวน 11 ล้านคนใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในโลก และมีอัตราเด็กติดเกมที่ค่อนข้างสูง เคยมีข่าวเด็กอายุ 12 ปีขโมยเงินพ่อแม่กว่า 6 แสนวอนเพื่อนำไปซื้อไอเทมในเกม จึงเห็นได้ว่าปัญหาเด็กติดเน็ต-เกมเริ่มกลายเป็นปัญหาสังคมที่ทั่วโลกกำลังพยายามแก้ปัญหา ซึ่งประเทศไทยอาจจะต้องมีการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเช่นเดียวกัน
คำแนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้บุตรหลานติดอินเทอร์เน็ต-เกมมากเกินไป ผู้ปกครองควรพูดคุยกับเด็กเรื่องจำกัดเวลาเล่นเกม (ควรจำกัดไม่เกินวันละ 3 ชั่วโมง) แต่อย่าสั่งห้ามให้เด็กหยุดเล่นเกมทันที ควรชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการเล่นเกม ไม่ซื้อเครื่องเล่นเกมหรือสื่อเกมให้บ่อยๆ แต่ควรสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวโดยการทำกิจกรรมร่วมกันหรือจัดสรรกิจกรรมอื่นๆ ให้เด็ก สอดส่องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และต้องบอกให้เด็กรู้ถึงกฎการออนไลน์อย่างปลอดภัย
เช่น การไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับเพื่อนออนไลน์ ไม่นัดพบกับเพื่อนออนไลน์ ไม่ใช้เครือข่ายเพื่อกระทำผิดกฎหมาย เป็นต้น
THAIHOTLINE สนับสนุนการเสริมสร้างสถาบันครอบครัวเพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย มีเรื่องน่ารู้ และข้อมูลดีๆ สำหรับผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานเพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย รวมถึงอัพเดทข่าวสารและความรู้เรื่องภัยออนไลน์เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ หากพบสื่อเกมที่มีความรุนแรง ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก รวมถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม คลิกแจ้งได้ที่ www.thaihotline.org
9. การใช้โทรศัพท์เป็นเวลานาน
ปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก และดูเหมือนว่า “โทรศัพท์มือถือ” จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของยุคโลกาภิวัฒน์ที่จะขาดเสียมิได้ เนื่องจากสามารถสื่อสารถึงกันและกันได้ตลอดเวลา และแทบทุกสถานที่ที่สัญญาณไปถึง ทำให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มของวัยรุ่นจะมีโทรศัพท์มือถือไว้ใช้เกือบทุกคน
สถานการณ์การใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่นไทย (เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี) โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครัวเรือนในช่วงปี 2546 – 2549 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า การใช้โทรศัพท์มือถือของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ระหว่างปี 2546 – 2549 โดยในปี 2549 จำนวนคนไทยใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น จากปี 2546 เกือบเท่าตัว คือจากประชากร 100 คน มีโทรศัพท์มือถือใช้ 23 คน ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 42 คน ในปี 2549 โดยกลุ่มวัยรุ่น (เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี) มีสัดส่วนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นมากกว่าทุกลุ่มอายุ โดยเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัว จากร้อยละ 25.3 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 52.1 ในปี 2549 โดยผู้ใช้โทรศัพท์มือถือวัยรุ่นแต่ละคนเฉลี่ยมีโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง และส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.0
เห็นได้ว่าโทรศัพท์มือถือเข้ามามีอิทธิพลและเป็นปัจจัยที่ห้าของชีวิตของวัยรุ่นวัยเรียนไปแล้ว โดยไม่ว่าจะไปที่ไหนก็จะมีโทรศัพท์มือถือเครื่องน้อยเป็นเพื่อนติดตัวไปทุกหนทุกแห่ง และวัตถุประสงค์ของการใช้โทรศัพท์มือถือของกลุ่มวัยรุ่นในปัจจุบันไม่ใช่แค่เพียงเครื่องมือสื่อสารอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งนอกจากใช้โทร.ออก หรือรับสายแล้ว ยังใช้โทรศัพท์มือถือทำอย่างอื่นอีก เช่น ฟังเพลง, ถ่ายภาพ, ถ่ายวิดีโอ, เล่นเกม รวมถึงการรับส่งอีเมล์หรือการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยใช้ส่งข้อความและรูปภาพ ร้อยละ 50.0 โหลดเพลง ร้อยละ 46.4 และเล่มเกม ร้อยละ 14.8 แต่ทุกวันนี้จะมีกลุ่มวัยรุ่นนำโทรศัพท์มือถือไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนัดหมายออกเที่ยวเตร่ การโหลดคลิปลามกอนาจาร การเล่นเกมที่รุนแรง ฯลฯ ซึ่งกำลังระบาดมากในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม การใช้โทรศัพท์มือถือแนบหูครั้งละนาน ๆ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ โดยจากการวิจัยของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เตือนว่า ผู้ที่ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคได้หลายชนิด อาทิปวดศีรษะ, มะเร็งสมอง, หูอักเสบ, มะเร็งเม็ดเลือดขาว และความจำเสื่อม ฯลฯ ดังนั้น เราควรตระหนักและรู้จักฉลาดใช้ “โทรศัพท์มือถือ” ให้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อตัวเราทั้งด้านส่วนตัว การเรียน และหน้าที่การงาน ให้สมกับที่เป็นคนยุคใหม่
10. ติดเพื่อน
การคบเพื่อน ในวัยรุ่นเพื่อนมีอิทธิพลมาก เพราะวัยรุ่นต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน จึงมักเอาอย่างและทำตามค่านิยมของเพื่อน เวลามีปัญหาอะไรวัยรุ่นมักจะปรึกษากันเองค่อนข้างมาก ถ้าคบเพื่อนดีมีกิจกรรมที่เหมาะสมก็จะเป็นผลดีต่อตัววัยรุ่นและสังคม ถ้าคบเพื่อนที่เกเรมีความประพฤติไม่เหมาะสมก็อาจพาไปให้เสียได้ ฉะนั้น เขาควรจะเป็นคนที่สามารถแยกแยะได้ว่าควรคบคนแบบใดเป็นเพื่อน
วัยรุ่นแทบทุกคนจะให้ความสำคัญแก่เพื่อนฝูงมาก โดยลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นในการคบเพื่อน คือ การเลือกเพื่อนที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน มีลักษณะบางอย่างเหมือนกับตนเอง หรือสามารถสนองความพึงพอใจอย่างของตัววัยรุ่น และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เขาไปมาหาสู่กันได้ง่าย สิ่งเหล่านี้ทำให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกใกล้ชิดไว้วางใจ ยอมรับกันและกัน ตลอดจนสามารถเปิดเผย ความรู้สึกเร้นลับบางอย่างต่อกันได้
การติดเพื่อนมักเกิดควบคู่กับการเริ่มเป็นอิสระจากพ่อแม่ อยากคิดเองทำอะไรด้วยตัวเอง จนทำให้พ่อแม่หลายท่านอดรู้สึกน้อยใจไม่ได้ นอกจากนี้ หากพ่อแม่ไม่พยายามยอมรับการเติบโตทางจิตใจของลูก ไม่ไว้ใจ หรือให้โอกาสในการคิดการตัดสินใจ อาจทำให้เกิดความห่วงใยที่เกินพอดี ความรู้สึกเหล่านี้ มักกลับกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกวัยรุ่นวิ่งหนีออกจากพ่อแม่ยิ่งขึ้น การกีดกันหรือห้ามลูกคบเพื่อนคนนั้น คนนี้ด้วยท่าทีสื่อสารแบบแข็งกร้าว มักจบลงด้วยการที่พ่อแม่และลูกมีความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า พ่อแม่จำต้องปล่อยให้ลูกคบเพื่อนฝูง เรื่อยเปื่อย โดยที่เราแก้ไขทำอะไรไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม พ่อแม่มีหน้าที่ช่วยให้ลูกวัยรุ่นรู้จักการคบเพื่อน นับตั้งแต่การเลือก การทำความเข้าใจ การรู้จักวิเคราะห์เพื่อเลือกแนวทางการปฏิบัติต่อเพื่อนอย่างเหมาะสม อย่ารีบด่วนวิพากษ์วิจารณ์หรือถากถางเพื่อนของลูก เมื่อพบเห็นลักษณะขัดหูขัดตา พ่อแม่ควรพยายามเปิดใจให้กว้างไว้ และทำความรู้จักเพื่อนของลูกให้มากที่สุด
หากคุณไม่พร้อมสำหรับเพื่อนกลุ่มโต ก็สามารถหาโอกาสให้ลูกชวนเพื่อนที่สนิท มามีกิจกรรมร่วมกันได้ โดยอาจเป็นที่บ้านหรือสถานที่อื่นๆ เช่น ชวนเพื่อนๆ ของลูกมาดูฟุตบอลทีมโปรดทางโทรทัศน์ที่บ้าน ชวนรับประทานอาหารฉลองสอบเสร็จ หรือพาไปดูหนังเลี้ยงวันเกิด การได้ปะปนอยู่ในกลุ่มของลูกและเพื่อนๆ จะทำให้พ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของกลุ่มนี้ว่า ทิศทางอย่างไรเสี่ยงต่อการเกิดปัญหามากน้อยแค่ไหน และบางครั้งยังได้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกเพิ่มเติม จากเพื่อนฝูงของเขาด้วยซ้ำไป การพบปะสังสรรค์นี้ หากครอบคลุมไปถึงการทำความรู้จักครอบครัวของเพื่อนลูก ก็จะยิ่งมีประโยชน์มากขึ้น เพราะทำให้พ่อแม่ประเมินสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้นจากการรับรู้ภูมิหลัง ของเพื่อนที่ลูกสนิทสนมด้วย และยังอาจมีเครือข่ายการดูแลลูกร่วมกันของกลุ่มพ่อแม่เป็นผลพลอยได้ที่ดี อีกประการหนึ่งเกิดขึ้นตามก็ได้ ท่าทีที่เป็นกลางของพ่อแม่ซึ่งสื่อถึงความปรารถนาดีต่อเพื่อนที่ลูกรัก เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ทั้งนี้ต้องเป็นการสื่อสารในช่วงที่บรรยากาศเหมาะสมด้วย เช่น คุณพ่ออาจถามลูกชาย ขณะนั่งรถไปโรงเรียนด้วยกันว่า ” ดูเพื่อนของลูกคนนี้ เศร้าๆ นะ บางทีก็ดูหงุดหงิดง่าย มีอะไรให้พ่อช่วยก็บอกได้นะ พ่อเป็นห่วงเค้าจัง ” ประโยคง่ายๆ เหล่านี้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกคิดและแสดงความเห็นของตนออกมา และพ่อแม่ก็มีหน้าที่ช่วยออกความเห็นในแบบที่ให้เกียรติความเห็นของลูกด้วย วิธีการเช่นนี้ นอกจากจะไม่ทำให้ขัดแย้งกับลูกวัยรุ่นแล้วยังเป็นตัวอย่างความมีน้ำใจและเป็นการทำให้สายสัมพันธ์ ในครอบครัวแนบแน่นยิ่งขึ้นกว่าเดิม
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านกลัวที่สุด เมื่อสัมผัสใกล้ชิดกับเพื่อนๆ ของลูกก็คือ การค้นพบว่ากลุ่มนี้ กำลังทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมเช่น การใช้ยาเสพติด การสนใจในเรื่องเพศด้วยวิธีการไม่เหมาะสม ในกรณีเช่นนี้การพูดคุยกับลูกเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำโดยเร็ว แต่ต้องเป็นไปด้วยท่าทีที่เป็นกลาง หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ พยายามสื่อถึงความรัก มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ให้โอกาสลูก ในการแก้ไขปรับปรุงตนเอง พ่อแม่ควรแสดงความพร้อมที่จะคอยเคียงข้างเพื่อช่วยเหลือลูกเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการปรึกษาหารือ การแสวงหาความช่วยเหลือจากจิตแพทย์นักจิตวิทยา หากปัญหานั้นรุนแรงเกินกำลังที่ครอบครัว จะแก้ไขกันเองได้ การสร้างและรักษาความรู้สึกที่ดีภายในครอบครัว พร้อมกับความเข้าใจ ในการพัฒนาการของวัยรุ่น รู้ว่าวัยนี้ต้องการอิสระ รู้จักลดความคาดหวังต่อการให้อยู่ติดบ้านตลอดเวลา หรือความคาดหวังอื่นๆ มีความยืดหยุ่น ผ่อนปรน ซึ่งเกิดจากรากฐานจากความรักความผูกผันของพ่อแม่ จะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกผ่านพ้นช่วงวัยของความเสี่ยงนี้ไปได้ด้วยดี รวมทั้งยังเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง ให้ลูกคิดถึงบ้าน อยู่ติดบ้านมากขึ้น
11. ไม่ตั้งใจเรียน
สาเหตุที่วัยรุ่นหนีเรียนมีได้หลายอย่างด้วยกัน เช่น ทำรายงานไม่เสร็จ จึงไม่กล้าเข้าเรียน เพราะกลัวครูลงโทษ หรือเบื่อหน่ายวิชาบางวิชาจึงหนีเรียนไปดูหนังกับเพื่อน ๆ แทน หรือถูกเพื่อนรักชวนให้ไปมั่วสุมเสพยาเสพย์ติด ซึ่งเมื่อลองเข้าครั้งสองครั้งก็ติดจนเลิกไม่ได้ จึงต้องเลิกเรียนไปโดยปริยาย
การแก้ปัญหาลูกหนีโรงเรียนต้องแก้ตามสาเหตุ
- ถ้าลูกทำรายงานไม่ได้หรือเบื่อหน่ายวิชาบ้างวิชา พ่อแม่ต้องเป็นที่ปรึกษาช่วยหาครูพิเศษมาสอนเพิ่มเติม เพื่อลูกจะได้เข้าใจวิชานั้น ๆ มากขึ้น และพ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักอดทน อย่าแก้ปัญหาโดยวิธีหนีปัญหา เพราะมันจะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น
- ถ้าลูกโดดเรียนเพราะนึกสนุกเป็นครั้งคราว พ่อแม่ก็ไม่ควรลงโทษอย่างรุนแรง เอาแค่ตักเตือนหรือตัดค่าขนมก็พอ และต้องให้ลูกสัญญาด้วยว่าจะไม่ทำผิดซ้ำอีก ไม่เช่นนั้นโทษจะเพิ่มขึ้นและในขณะเดียวกันพ่อแม่ต้องยกตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นว่าการเรียนนั้นสำคัญ เป็นการสร้างอนาคตเป็นผลดีกับลูกเอง และถ้าเรียนดีพ่อแม่จะมีรางวัลให้ด้วยลูกก็จะเกิดกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
- ถ้าลูกชอบหนีเรียนไปมั่วสุมกับเพื่อน พ่อแม่ต้องดูแลลูกให้ใกล้ชิดมากขึ้นกว่าเดิม มีเวลาเอาใจใส่ลูกให้มากขึ้น ที่สำคัญต้องไม่ดุด่า เฆี่ยนตีลูก เพราะจะยิ่งผลักไสลูกให้ห่างไกลพ่อแม่มากขึ้น ถ้าลูกติดยาต้องพาไปรักษา ต้องให้โอกาสลูกกลับตัวใหม่ อาจย้ายที่เรียนเพื่อให้ไกลจากเพื่อน ๆ กลุ่มเดิม
- ถ้าพ่อแม่เอาใจใส่ใกล้ชิด และให้ความรักความอบอุ่นกับลูกอย่างสม่ำเสมอ เป็นที่ปรึกษาให้กับลูกได้ทุกเรื่อง รับรองว่าปัญหาลูกหนีโรงเรียนจะแก้ได้ไม่ยาก
12. อยากเป็นที่ยอมรับของสังคม
เด็กวัยรุ่นกำลังเรียนรู้ที่จะเติบโตเป็นสมาชิกของสังคม เขาจึงต้องการการยอมรับอย่างมาก หลายครั้ง พวกเขาจึงอาจทำอะไรแผลงๆ เพราะอยากเด่น อยากดัง อยากเป็นที่ยอมรับของคนอื่น ผู้ใหญ่ควรจะแสดงออกให้เขารู้ว่าตนรัก นับถือและให้เกียรติในความคิดความอ่านและความเป็นตัวตนของเขา แม้ว่าบางครั้ง ความเห็นจะไม่ตรงกันก็ตาม
ความสนใจในตัวเอง วัยรุ่นจะสนใจตัวเองมาก รักสวยรักงาม การแต่งกายก็ต้องพิถีพิถันหรือให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนฝูง หรือสะดุดตา โดยเฉพาะให้เพศตรงข้ามสนใจ จะสนใจแฟชั่นมาก ใช้เวลาแต่งตัวค่อนข้างนาน
ความยอมรับนับถือผู้ใหญ่ วัยรุ่นจะให้ความสำคัญต่อผู้ใหญ่น้อยลง มักมีความคิดว่าผู้ใหญ่มีความคิดที่ล้าหลังไม่ทันสมัย และอื่นๆ และเห็นว่าความคิดของตนถูกต้องกว่า ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจถึงธรรมชาตินี้ของวัยรุ่นก็อาจโกรธ เช่น หาว่าดูถูกพ่อแม่ ครู อาจารย์ แล้วอาจดุว่ารุนแรง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงตามมาได้
ความอยากเป็นตัวของตัวเอง และอยากมีอิสระ วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการเป็นตัวของตัวเองมาก และมีความต้องการรับผิดชอบตัวเอง ผู้ใหญ่ควรค่อย ๆ ปล่อยให้วัยรุ่นมีอิสระมากขึ้นอย่างเหมาะสม ไม่บังคับหรือมีกฎระเบียบมากเกินไป ควรให้วัยรุ่นสามารถหัดตัดสินใจในขอบเขตที่เหมาะสม วัยรุ่นต้องการความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองอย่างมาก บางครั้งจะแยกตัวไปจากบิดามารดาเพื่อไปสู่ความเป็นตัวของตัวเอง เช่น ขอไปอยู่หอพักแทนการอยู่บ้าน บางครั้งความต้องการมีมาก จนเกิดการต่อต้าน
การค้นหาตัวเอง เนื่องจากต้องเตรียมตัวเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า วัยรุ่นจะมองว่าตัวเองต้องการเป็นคนอย่างไรในอนาคต จะมีอาชีพอะไร บทบาทของตัวเองต้องการเป็นคนอย่างไรในอนาคต จะมีอาชีพอะไร บทบาทของตัวเองในฐานะผู้ใหญ่จะเป็นอย่างไร ความรู้สึกมั่นใจในตนเอง จะเกิดขึ้นได้เมื่อวัยรุ่นรู้สึกว่า ตัวเองมีความสามารถในงานที่ได้รับมอบหมาย หรือรับผิดชอบ คือ ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องการทำ ฉะนั้น วัยรุ่นไม่ควรได้รับมอบหมายงานที่ยากเกินความสามารถ เพราะเมื่อทำไม่สำเร็จแล้ว อาจจะเกิดความรู้สึกว่าตนเป็นคนไม่มีความสามารถได้ ซึ่งอาจเป็นปมด้อยติดตัวไป ถ้าต้องประสบความล้มเหลวบ่อย ๆ จนทำให้เขากลายเป็นคนขาดความมั่นใจในตัวเองได้
13. ขี้หงุดหงิด อารมณ์ขึ้นๆลงๆ
อารมณ์ของเด็กวัยรุ่นหลายคนแปรปรวนยิ่งกว่าพายุ วันนี้อารมณ์ดี พรุ่งนี้ซึมเศร้า อีกวันหงุดหงิด ใจร้อน เพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายของพวกเขากำลังแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ บวกเข้ากับแรงกดดันต่างๆ ที่วัยรุ่นต้องเผชิญ ทำให้พวกเขายิ่งสับสน และอ่อนไหว ผู้ใหญ่จึงต้องอดทน ใจเย็น มีเมตตา และให้อภัย คอยรับฟังเมื่อเขามีปัญหา และให้ความเอาใจใส่ ใกล้ชิดกับเด็กให้มาก
สภาพจิตใจของวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยของการเร่งเจริญเติบโตทั้งในทางชีวะ สรีระ และจิตวิทยา เป็นวัยเร่งสร้างสุขนิสัย เร่งปรับตัว เร่งทางวิชาการ และเริ่มเลือกอาชีพ สรุปแล้วเป็น การเร่งเจริญเติบโตทุกๆด้าน คำว่า adolescent มาจากภาษาลาติน adolescere ซึ่งหมายความว่า to grow up4 มีวัยรุ่นและพ่อแม่ของวัยรุ่นจำนวนไม่น้อย ที่ต้องเดือดร้อนไปกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายนี้ แต่ในเวลาเดียวกันก็มีวัยรุ่นอีกจำนวนมากที่ผ่านระยะของวัยนี้ไปได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ความผิดปกติ
การแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง (Identity Versus Role Confusion :12-20 ปี) การปรับตัวของวัยรุ่นเป็นพัฒนาการต่อจากวัยเด็ก แต่วัยรุ่นจะต้องเผชิญกับ ความคาดหวังของผู้อื่นมากกว่าสมัยเมื่อเขายังเด็ก
การเปลี่ยนแปลงจากเด็กที่พึ่งพาอาศัยพ่อแม่ไปเป็นคนที่กำลังจะเริ่มเป็นผู้ใหญ่ จะเริ่มรับผิดชอบตัวเอง ทำให้วัยรุ่นต้องมีการปรับตัวทางอารมณ์และสังคมอย่างมาก มีการสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง สร้างทัศนคติ และค่านิยมแห่งชีวิต
เมื่อเริ่มห่างจากพ่อแม่ มิตรภาพระหว่างเพื่อนฝูงก็กลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของวัยรุ่น การแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเองนี้เรียกว่าเป็น identity crisis หรือวิกฤตการณ์แห่งการแสวงหาเอกลักษณ์ มีการมองตน และเห็นตนเองตามที่ผู้อื่นเห็น เรียนรู้และยอมรับความสามารถของตน เลือกเอาความเป็น “ตน” เหมือนตัวละคร เลือกสวมหน้ากาก ซึ่งตนจะแสดงบทบาทได้เหมาะสม
การยอมรับตนขึ้นอยู่กับการใช้สติปัญญาของผู้นั้นด้วย ถ้ามีเหตุมีผลใช้สติปัญญาก็จะเข้าใจตัวเองตามที่เป็นจริง (realistic) ถ้าใช้อารมณ์อย่างเดียวก็จะมองเห็นตนตามที่ตนอยากจะเป็น (ideal self) ผู้ที่ใช้สติปัญญาย่อมมองเห็นความแตกต่างระหว่างตัวเองจริงๆ กับตัวเองในอุดมคติ การมองเห็นตัวเองนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากสังคม วัฒนธรรมที่แวดล้อมตนอยู่ ถ้าพ่อแม่เพื่อนฝูงยอมรับ ก็จะเกิดความมั่นใจในตัวเอง ถ้าเข้ากับใครไม่ได้ ก็ทำให้เกิดความสงสัยไม่มั่นใจ และไม่เชื่อว่าผู้อื่นจะยอมรับตนต่อไป
อารมณ์ของเด็กวัยรุ่น
อารมณ์ของเด็กวัยรุ่นมักเป็นผลสืบเนื่องมาจากระยะก่อนวัยรุ่น โดยบางครั้ง อาจเพิ่มความรุนแรงขึ้นบ้าง เด็กวัยนี้มักจะมีความรู้สึกที่เปิดเผย เชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่าตนมีความสุข แต่ในบางครั้งก็อาจจะหดหู่ มีความสงสัยอยู่ตลอดเวลาได้ รู้สึกชอบและไม่ชอบรุนแรง ไม่ค่อยจะยอมใครง่ายๆ แต่บางครั้งก็จะโอบอ้อมอารี บางครั้งก็เป็นคนเห็นแก่ตัวแบบเด็กๆ มักจะมีความรู้สึกนึกคิดขัดแย้งกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ ถ้าพ่อแม่ให้โอกาสเด็กวัยรุ่นได้แสดงความเห็น ก็จะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีการขึ้นทีละน้อยถ้าไม่เปิดโอกาสเลย เด็กจะเกิดความเครียดและเกิดปัญหาทางอารมณ์ตามมา เวลาที่อยู่บ้านเด็กวัยรุ่นมักจะชอบอยู่ในห้องส่วนตัวตามลำพัง ไม่ชอบให้ใครรบกวน แต่เวลาอยู่กับเพื่อนๆจะชอบช่วยเหลือให้คำแนะนำเพื่อนฝูง ชอบคบกันเป็นกลุ่มๆ ชอบให้เพื่อนฝูงยอมรับและยกย่อง เวลาที่เด็กวัยรุ่นอยู่บ้าน พ่อแม่มักจะเห็นว่าเป็นเด็กอยู่เสมอ เด็กเองก็ไม่ชอบการบังคับและมักจะมีข้อขัดแย้งอยู่ภายในใจของเด็กเสมอ เช่น บางครั้งก็อยากเป็นผู้ใหญ่ จะได้ทำอะไรได้ตามใจตนเอง บางครั้งก็อยากจะมีคนดูแล อยากจะสบายแบบเด็กๆอีก
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเด็กกำลังเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ มีความต้องการที่จะพึ่งพาตนเอง จึงทำให้เด็กมักจะฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ต่างๆในครอบครัว ไม่เห็นด้วยกับพ่อแม่ทั้งๆที่ยังคงต้องการความสนใจจากพ่อแม่อยู่ ทั้งนี้
เพราะต้องการความเป็นอิสระนั่นเอง บ่อยครั้งที่ความขัดแย้งเกิดขึ้นจากเรื่องเล็กๆ เช่น การแต่งกาย ถ้าพ่อแม่เข้มงวดมากก็จะทำให้เด็กเกิดความเครียดมากขึ้น ความต้องการที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็กวัยนี้ คือ ต้องการให้คนอื่นๆยอมรับความเป็นเพศชายหรือเพศหญิงของตน ต้องการมีทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเพื่อนๆเพศเดียวกันในกลุ่ม ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ต้องการให้เพื่อนๆรู้สึกประทับใจในพฤติกรรมของตน เด็กวัยรุ่นจะรู้สึกนิยมความกล้าหาญของหญิงหรือชายที่มีชื่อเสียงดีเด่นและต้องการมีบทบาทแบบผู้ใหญ่ด้วย
เด็กวัยรุ่นมักจะเอาใจใส่กับรูปร่างหน้าตาของตนมากขึ้น นึกถึงความเปลี่ยนแปลงของตนอยู่ตลอดเวลา รู้สึกกังวลใจกับความเก้งก้างของตน ไม่พอใจรูปร่างหน้าตา แม้ผู้ใหญ่จะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญนัก แต่เด็กเองจะกังวลใจมากเพราะต้องการให้ตนนั้นเป็นที่ยอมรับของเพื่อนฝูง การที่เด็กวัยรุ่นมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่ายและรุนแรง
ก็เพราะมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้นไปทางแบบผู้ใหญ่ เด็กก็สนใจจะทำตามแบบอย่างของผู้ใหญ่
ซึ่งบางครั้งก็ทำได้ไม่เหมาะสมหรือไม่เข้าใจ ผู้ใหญ่ก็จะมองว่ายังเป็นเด็กอยู่
นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงของต่อมไร้ท่อและอวัยวะภายใน ทำให้เด็กกินจุขึ้น ออกกำลังมากขึ้น ต้องการพักผ่อนมากขึ้น ผู้ใหญ่อาจจะเข้าใจว่าเกียจคร้าน เด็กวัยรุ่นเริ่มสนใจเพศตรงข้าม ต้องการพึ่งตนเองและหมู่คณะ
จึงมักรวมกันเป็นกลุ่มเป็นแก๊งค์ ถ้าผู้ใหญ่ขัดขวางก็ทำให้เกิดความเครียด หงุดหงิด อยากออกนอกบ้าน หรือเก็บตัวอยู่แต่ในห้อง การพยายามปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ และสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ทำให้เด็กวัยรุ่นมีอารมณ์ที่ไม่มั่นคง จะเกิดความคับข้องใจอยู่เสมอ
ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของเด็กวัยรุ่น ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของวัยรุ่นมีผลสืบเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กนั่นเอง อาจจะแยกเป็นหลายแง่มุมดังนี้
- มีความต้องการใหม่ๆเกิดขึ้น และเป็นไปอย่างรุนแรง ต้องการอะไร เมื่อไม่ได้ดังใจก็จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น โกรธฮึดฮัดและจะพยายามหาความพอใจเอาทางใดทางหนึ่งให้ได้ ผู้ใหญ่มักกีดกันห้ามไม่ให้เด็กได้รับความสุขเพลิดเพลินทั้งๆที่บางครั้งก็ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายแต่ อย่างใด
- มีความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้น เด็กจะมองเห็นความสวยงาม แต่จะพิถีพิถันในการแต่งตัวเพื่ออวดเพศตรงข้าม การให้ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องเพศจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในวัยรุ่น
- เกิดความกังวลใจเรื่องการเจริญเติบโต ร่างกายเติบโตเร็ว จนทำให้เด็กกังวลว่ารูปร่างจะใหญ่โตเทอะทะ บางคนจะอดข้าวบ้าง ยืนนั่งต้องงอๆเพื่อให้ตัวเล็กลงบ้าง เด็กหญิงมักสวมเสื้อชั้นในคับๆรัดรูปทรงไม่ให้รู้สึกว่าเติบโตขึ้น เด็กชายกังวลเรื่องเสียงเปลี่ยนไป เป็นต้น
- สติปัญญา ความคิดเจริญมากขึ้น สนใจแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถ เริ่มเข้าใจความไพเราะ ความดี ความสวยงาม ความเจริญทางด้านนี้จะค่อยเป็นค่อยไป
- รู้จักรับผิดชอบและต้องการเป็นอิสระ เด็กเชื่อความสามารถของตนเอง รักเกียรติยศชื่อเสียง สนใจทำสิ่งที่ดีงามและเป็นประโยชน์ ชอบแสดงความคิดเห็นและกระทำสิ่งต่างๆตามลำพัง ชอบทดลองสิ่งนั้นสิ่งนี้เรื่อยไป สิ่งใดที่พอใจก็รับเอาไว้ การเข้าใจเด็กวัยรุ่นและแนะนำให้รู้จักการตัดสินใจโดยถูกต้องเหมาะสม จึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ
- อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และรุนแรง ประเดี๋ยวรักประเดี๋ยวโกรธ ทำอะไรสำเร็จก็ดีใจ พลาดพลั้งก็เสียใจ กระตือรือร้น
- มีจินตนาการมากขึ้น โดยถือตนเองเป็นคนสำคัญในจินตนาการและมักเกี่ยวกับความรัก ความสำเร็จ ความปลอดภัย ความสงสารตนเอง ความตาย
- ความเชื่อมั่นต่างๆเป็นไปอย่างรุนแรง เชื่ออะไรก็มักจะเชื่อเอาจริงๆจังๆเช่ เชื่อเรื่องของความถูกต้อง ความดี แต่ในขณะเดียวกันก็จะเกิดระแวง ไม่ยอมเชื่ออะไรง่ายๆ นอกจากจะมีหลักฐานมาประกอบอ้างอิง
- ความสนใจในการสมาคมมีมากขึ้น เข้าใจความสัมพันธ์และหน้าที่ที่ตนจะต้องปฏิบัติ หมู่คณะมีอิทธิพลเหนือเด็ก เด็กวัยนี้จะคล้อยตามระเบียบปฏิบัติของหมู่คณะหรือสังคม ดังนั้น การจัดสิ่งแวดล้อม สโมสรสังคมสิ่งที่ดีงาม ก็จะเป็นประโยชน์แก่เด็ก
- ประสาทและความรู้สึกด้านสัมผัสตื่นตัวขึ้นมาก เด็กจะสนใจดนตรี วรรณกรรม ศิลปกรรมต่างๆ ผู้ที่มีความเป็นพิเศษอยู่ทางด้านนี้บ้างแล้วก็จะก้าวหน้าไปมาก นิสัยการกระทำหลายๆอย่างก็มักจะเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงหรือเลิกไปในวัยนี้ รวมทั้งนิสัยในการคิดและรู้สึกด้วย เช่น สร้างนิสัยอดทนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น
14. อยากสวย
การจัดฟันเป็นการรักษาทางทันตกรรมแขนงหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการสบฟันที่ดี ฟันเรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพในช่องปาก บางกรณียังทำให้ลักษณะของใบหน้าดีขึ้น เป็นการเพิ่มความมั่นใจในบุคลิกภาพของผู้รับการรักษา การจัดฟันจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีการสบฟันที่ไม่เหมาะสม ฟันเรียงตัวไม่สวยงาม เช่น ฟันเก ฟันยื่น ฟันห่าง
ผู้ที่ประสงค์จะรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันจะได้รับการตรวจจากทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน เพื่อประเมินความเหมาะสมที่จะรักษาด้วยการจัดฟัน โดยมีการตรวจลักษณะการสบฟันโดยละเอียด มีการพิมพ์ปากทำแบบจำลองการสบฟัน เพื่อดูขนาดฟันแต่ละซี่ ถ่ายภาพ x-ray เพื่อดูโครงสร้างศีรษะ ใบหน้า ขากรรไกร และรากฟัน เนื่องจากการตรวจด้วยตาเปล่าจะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ละเอียดพอ รวมทั้งปัญหาบางอย่างอาจตรวจไม่พบด้วยตาเปล่า หลังจากนั้นทันตแพทย์จะนัดมาฟังผลและอธิบายแผนการรักษาในการจัดฟัน เช่นจะต้องถอนฟันกี่ซี่ ซี่ไหนบ้าง มีฟันคุดหรือไม่ ระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ในการจัดฟัน รวมทั้งข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจมีแตกต่างกันในแต่ละคน
เครื่องมือจัดฟันส่วนใหญ่เป็นชิ้นโลหะที่มีลักษณะซับซ้อนและติดแน่นกับตัวฟัน เป็นที่กักเก็บเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ได้ง่าย หากทำความสะอาดได้ไม่ดีอาจทำให้เกิดฟันผุ ผิวเคลือบฟันละลายตัวเป็นฝ้ารอบเครื่องมือ เหงือกบวมอักเสบมีเลือดออก จึงควรเพิ่มเวลาการแปรงฟันแต่ละครั้งให้นานขึ้น การแปรงฟันในช่วงเช้า ก่อนเข้านอน
และหลังอาหารทุกครั้งจึงเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้ผู้รับการจัดฟันควรใช้แปรงซอกฟัน และเส้นใยขัดซอกฟัน (dental floss) ด้วย โดยเฉพาะในบริเวณที่การแปรงฟันทำได้ไม่ทั่วถึง
15. ติดเกม
ในปัจจุบันปัญหาเรื่องเด็กติดเกมกำลังเป็นปัญหาสำคัญของสังคม ที่ผู้ใหญ่ทั้งหลายกำลังปวดหัวและหาทางแก้ไขกันอยู่ เพราะเมื่อเด็กติดเกมแล้วก็ทำให้เสียทั้งสุขภาพ เสียนิสัย เสียเวลา เสียการเรียน โง่เขลา และสุดท้ายก็เสียอนาคต ซึ่งถ้าสังคมเรามีเด็กติดเกมมากๆ สังคมเราก็คงจะล่มจมลงในไม่ช้าเป็นแน่ ซึ่งในการแก้ปัญหาเรื่องเด็กติดเกมนี้ ทางพุทธศาสนาจะมีหลักในการแก้ปัญหาไว้เป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
- ต้องรู้ว่าเกมนั้นคืออะไร?
- ต้องรู้จักว่าเกมนั้นมันมีอำนาจอะไรที่ดึงดูดให้เด็กติด?
- ต้องรู้ว่าโทษจากการเล่นเกมนั้นมีอย่างไรบ้าง?
- ต้องรู้วิธีการที่จะหลุดพ้นจากการติดเกมว่าทำอย่างไร?
ผลเสียจากการเล่นเกมนั้น
ถ้าเรามองอย่างผิวเผินก็เหมือนกับว่าการเล่นเกมนั้นเป็นเพียงแค่การเล่นที่สนุกสนาน แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วจะพบว่าการเล่นเกมนี้มีโทษหรือผลเสียมากมายทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งแก่ตัวเด็กเองและแก่สังคมโดยรวม ซึ่งก็จะสรุปได้ดังนี้
- เสียสุขภาพ คือการนั่งเพ่งจอภาพนานๆก็จะเกิดผลเสียกับร่ายกายหรือดวงตา เช่นปวดเมื่อย สุขภาพอ่อนแอ ปวดหัว หรือทำให้ดวงตาเสื่อมสภาพเร็ว คือทำให้ตาฝ้าฟางและอาจจะทำให้ระบบสายตาเสียหายจนสายตาพิการได้ อีกทั้งรังสีจากจอภาพนั้นก็มีโทษแก่ร่างกายด้วย เป็นต้น ซึ่งข้อนี้ยังเป็นเพียงโทษเล็กน้อยเท่านั้น
- เสียนิสัย การเล่นเกมนั้นจะสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้กับเด็กโดยไม่รู้ตัวอย่างเช่น เด็กที่ติดเกมมักจะมีนิสัยเกียจคร้าน ขาดความรับผิดชอบ เด็กบางคนเมื่อติดเกมมากๆ เมื่อพ่อแม่ไม่ให้เงินไปเล่นเกมก็จะลักขโมยเงินพ่อแม่ที่แม้จะยากจนและจำเป็นจะต้องใช้เงินนั้น เด็กก็จะไม่สนใจว่าพ่อแม่จะเดือดร้อนอย่างไร เพื่อเอาเงินไปเล่นเกม ซึ่งก็สร้างปัญหาให้กับครอบครัวอย่างมาก หรือเด็กบางคนเมื่อพ่อแม่ห้ามไม่ให้เล่นเกมหรือกักขังหรือทำโทษ เด็กก็จะโกรธ หรือไม่พอใจพ่อแม่อย่างรุนแรง ซึ่งก็อาจถึงขั้นทำร้ายพ่อแม่ได้ หรือบางคนอาจจะเสียใจถึงขั้นประชดชีวิตด้วยการทำร้ายตัวเองก็ได้ หรือเกมประเภทที่ทำร้ายกัน หรือฆ่ากันอย่างเหี้ยมโหดก็จะทำให้ผู้ที่เล่นนั้น สั่งสมนิสัยใจร้ายหรือเหี้ยมโหดเอาไว้ในจิตใต้สำนึกโดยไม่รู้ตัว ซึ่งก็จะทำให้ผู้เล่นนั้นมีนิสัยขาดเมตตา หงุดหงิดง่าย ใจร้าย และโมโหง่าย แล้วผลที่ตามมาก็คือเมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดโทสะเขาก็จะขาดสติและเกิดโทสะขึ้นอย่างรุนแรง แล้วก็สามารถทำร้ายผู้อื่น หรือฆ่าคนอื่นได้อย่างง่ายดายเพราะรู้สึกเหมือนกับได้เล่นเกม ซึ่งเรื่องอย่างนี้ก็มีให้เห็นทางสื่อต่างๆอยู่บ่อยๆ ทั้งในและต่างประเทศ เกมจึงเปรียบเหมือนปีศาจร้ายที่มาครอบงำจิตใจเด็กให้ติดให้ลุ่มหลงแล้วทำให้เด็กโง่เขลา ไร้ความคิด ไร้สติปัญญา เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว ใจร้าย เอาแต่ใจตัวเอง ดื้อรั้น เกียจคร้าน ไม่อดทน ขาดความรับผิดชอบ ฟุ่มเฟือย คือจากเด็กที่มีนิสัยดีก็เปลี่ยนมาเป็นเด็กที่มีนิสัยเลวได้เพราะติดเกม
- เสียทรัพย์ คือการเล่นเกมนี้ก็ต้องใช้ทรัพย์แลกเปลี่ยน ซึ่งคนทีร่ำรวยก็อาจซื้อหามาเล่นได้โดยไม่ทำให้เดือดร้อนส่วนคนที่มีทรัพย์น้อยก็ต้องไปอาศัยเช่าเครื่องเล่นตามร้านที่คนเห็นแก่ตัวเขาเปิดให้บริการ ซึ่งถ้าค่าบริการแพงเด็กก็ไปเล่นน้อยหรือเล่นไม่นาน แต่ถ้าค่าเช่าถูก เด็กก็จะยิ่งเล่นมากหรือเล่นนาน เด็กบางคนอาจเล่นเกมติดต่อกันได้เป็นวันๆโดยไม่ได้พักผ่อนก็มี ซึ่งเงินที่พ่อแม่หามาได้เพื่อให้ลูกเอาไปกินขนมลูกก็เอาไปเล่นเกมจนหมดหรือเงินที่พ่อแม่หามาด้วยความยากลำบากเพื่อให้ลูกเอาไปใช้จ่ายในการเรียน ลูกก็กลับเอาไปเล่นเกมจนหมดโดยไม่รู้ตัวเหมือนคนไม่มีความคิด หรือเหมือนคนปัญญาอ่อนที่คิดอะไรไม่เป็น หรือคิดเป็นอย่างเดียวคือจะเล่นแต่เกมอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงอนาคตว่าต่อไปมันจะเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสอย่างไรก็ไม่สนใจ คือเหมือนกับว่าจิตใจของเด็กที่ติดเกมนั้นจะมืดบอด ไม่มีแสงสว่างของสติปัญญาอยู่เลยสักนิด เด็กจะคิดได้แต่เพียงว่า “ช่างมันขอให้ได้สนุกจากการเล่นเกมนี้อย่างเดียวก็พอใจแล้ว ถึงแม้จะต้องแลกด้วยการตกเป็นทาสตลอดชีวิต หรือถูกเอาไปฆ่า เอาไปทรมาน เอาไปข่มเหงรังแกอย่างไรก็ยอม ซึ่งนี่คือจุดที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งเพราะมันทำให้เด็กสามารถทำได้ทุกอย่างแม้การกระทำนั้นจะผิด หรือจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตอย่างไรก็ยอม เพียงเพื่อแลกกับการได้เล่นเกมที่ตนเองชอบเท่านั้น
- เสียเวลา คือเด็กที่ติดเกมนั้นส่วนมากจะเอาแต่นั่งเล่นเกมเพียงอย่างเดียว ไม่ยอมทำอะไร ยิ่งถ้าพ่อแม่บังคับลูกไม่ได้ ลูกก็จะได้ใจและจะไม่ยอมทำอะไรเลยนอกจากเล่นเกมทั้งวันทั้งคืน จนกระทั่งร่างกายทนไม่ไหวจึงจะไปพักผ่อน พอตื่นมาก็จะมาเล่นเกมต่อทันที ซึ่งนี่ก็คือการทำให้เสียเวลาที่จะเอาไปทำสิ่งที่จะเกิดประโยชน์แก่ชีวิตให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เด็กบางคนก็เรียนไม่จบก็ทำให้เสียเวลาไปเปล่าๆไปเป็นปีๆโดยไม่ได้อะไรเลยเพราะมัวแต่ไปเล่นเกม หรือคนที่กลับตัวได้แต่ก็ต้องเสียเวลามาตั้งต้นเล่าเรียนใหม่ ซึ่งก็ต้องใช้ความอดทนและความพากเพียรหนักขึ้นกว่าเดิม ซึ่งก็อาจจะตามเพื่อนๆไม่ทัน หรืออาจจะท้อถอยจนละเลิกการเรียนไปอีกก็ได้
- เสียปัญญา คือการที่เด็กเอาเวลาไปเล่นเกมนั้นก็จะทำให้เด็กเสียเวลาในการเรียน การทำการบ้านและการอ่านหนังสือหรือเสียเวลาในการศึกษาสิ่งที่จะทำให้เกิดความรอบรู้ในด้านต่างๆแก่ตนเอง ซึ่งก็ย่อมที่จะทำให้เด็กนั้นโง่เขลา หรือไม่มีความรู้เท่าเพื่อนที่ไม่ติดเกม ซึ่งเมื่อโง่เสียอย่างเดียวชีวิตก็หาความสุขความเจริญที่มั่นคงยั่งยืนไม่ได้
- เสียอนาคต คือถ้าเสียสุขภาพ ก็จะทำให้เสียโอกาสที่จะมีความก้าวหน้าในการเรียนหรือในหน้าที่การงานได้ ส่วนเด็กที่ความรู้ต่ำหรือโง่เขลาเพราะไม่ได้เรียนก็ย่อมที่จะได้ทำแต่งานที่ต่ำลงตามไปด้วย จึงทำให้ชีวิตตกต่ำหรือไม่เจริญก้าวหน้าอย่างคนที่เขามีการศึกษาทั้งหลาย คือทำให้ต้องทนทำงานที่ต่ำต้อยหรือหนักแต่ว่าได้เงินน้อยไปจนตลอดชีวิต ซึ่งนี่ก็เท่ากับว่าเด็กนั้นได้ “ขายอนาคตให้กับปีศาจเกม”ไปเสียแล้ว
วิธีการที่จะหลุดพ้นจากการติดเกมนั้น
จะสรุปอยู่ที่การพิจารณาให้เห็นถึงโทษจากการติดเกมอย่างจริงจัง จนเกิดความกลัวต่อโทษนั้น แล้วก็หันมาฝึกสมาธิเพื่อให้จิตมาติดอยู่ในความสุขจากสมาธิแทน ในขั้นนี้ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่า “มนุษย์ทุกคนที่เกิดมานั้นต้องการความสุข” ซึ่งเมื่อใครได้รับการปลูกฝังให้ติดใจลุ่มหลงในความสุขจากสิ่งใดแล้ว เขาก็จะติดใจลุ่มหลงความสุขจากสิ่งนั้นเรื่อยไปและละเลิกได้ยาก นอกเสียจากว่าเขาจะได้รับความสุขใหม่ๆที่ดีกว่าเก่ามาให้ติดใจลุ่มหลงแทน เขาก็จะเปลี่ยนไปติดใจลุ่มหลงในความสุขใหม่นั้นแทน การเล่นเกมนั้นมันก็ทำให้เกิดความสุขอย่างมากแก่จิตใจอย่างหนึ่ง
แต่ความสุขจากการเล่นเกมนี้เราก็รู้ว่ามันมีโทษมาก ดังนั้นเราก็ต้องละเลิกและหาความสุขใหม่ที่ไม่มีโทษมาให้จิตใจติดแทน ซึ่งความสุขที่ไม่มีโทษนี้ก็หาได้จากการเรียน และการทำงานที่เด็กที่ไม่ติดเกมทั้งหลายเขามีกันอยู่ แต่เด็กที่ติดเกมนี้ย่อมที่จะไม่ชอบเรียน ไม่ชอบทำงานเพราะเขาจะรู้สึกเป็นทุกข์แทนที่จะรู้สึกเป็นสุข ดังนั้นจึงอาจจะต้องใช้การบังคับและใช้เวลามากกว่าจะเปลี่ยนให้เด็กที่ติดเกมเปลี่ยนมาติดในการเรียนหรือการทำงานได้ ซึ่งก็อาจจะทำไม่ได้เลยก็ได้ถ้าพ่อแม่หรือผู้ปกครองขาดสติปัญญาและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กไม่ได้
แหล่งที่มา :
http://www.psyclin.co.th/new_page_31.htm
http://campus.sanook.com/teen_zone/spice_01931.php
http://news.sanook.com/scoop/scoop_188004.php
http://www.vcharkarn.com/vblog/36292
http://www.teenrama.com/dad_mam/old_dad_mam6.htm
http://www.mirror.or.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=1001&auto_id=10&TopicPk=
http://www.ramamental.com/pan/addict.htm
http://www.amnatcharoen.org/sara5.php
http://www.amnatcharoen.org/sara14.php
http://www.kidsquare.com/content/content_detail.php?id=223&catid=118
http://icare.kapook.com/content_detail.php?t_id=0&id=1557
http://www.sema.go.th/files/Content/Non_formal/0093/men/__19.html
http://www.oknation.net/blog/casino/2008/06/06/entry-1
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=jamell&id=205
http://www.thaimental.com/modules.php?name=News&file=article&sid=698
http://www.love4home.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=110956&Ntype=2
http://www.thaihotline.org/enews.php?act=sh&Id=MTI=
http://www.cityvariety.com/index.php?cmd=citycontent&option=interview&id=3448
http://www.thaipost.net/sunday/151109/13556
http://www.thaihealth.or.th/node/4534
http://healthnet.md.chula.ac.th/text/forum1/psychiatry/psy22.html
http://bangkok-guide.z-xxl.com/?tag=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99
http://www.pattayadailynews.com/thai/showfeature.php?FeatureID=0000000783
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=121965
http://www.ramamental.com/old2.html
http://www.elib-online.com/doctors3/child_friend03.html
http://202.129.0.133/createweb/00000//00000-1755.html
http://guru.sanook.com/answer/question/วัยà¸à¸µà¸/
http://www.elib-online.com/doctors/mental_teenage.html