ทักษะชีวิต

สร้างโดย : นายนันทวัฒน์ หมื่นประจญ
สร้างเมื่อ พุธ, 19/01/2011 – 23:03
มีผู้อ่าน 149,568 ครั้ง (18/10/2022)

ทักษะชีวิต

  1. ทักษะการตัดสินใจ (Decision making) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพ หรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
  2. ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
  3. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็นความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
  4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และประเมินปัญหา หรือสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเราที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
  5. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication) เป็นความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ
  6. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal relationship) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
  7. ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self awareness) เป็นความสามารถในการค้นหารู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ต่าง ๆ และทักษะนี้ยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่น ๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การตัดสินใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น                     
  8. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ ช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน เช่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดเชื้อเอดส์
  9. ทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion) เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ และความเศร้าโศก ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม
  10. ทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็นความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกินการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

อ่านเพิ่มเติม...

          ความหมายของทักษะชีวิต คำว่าทักษะ(Skill)หมายถึง ความชัดเจนและความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้ได้แก่ทักษะอาชีพ การกีฬาการทำงานร่วมกับผู้อื่น การอ่าน การสอน การจัดการ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางภาษา ทักษะทางการใช้เทคโนโลยีฯลฯ ซึ่งเป็นทักษะภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากการกระทำหรือจากการปฏิบัติซึ่งทักษะดังกล่าว นั้นเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่จะทำให้ผู้มีทักษะเหล่านั้นมีชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้โดยมีโอกาสที่ดีกว่าผู้ไม่มีทักษะ (ประเสริฐตันสกุล) ทักษะชีวิต Lifeskill หมายถึงคุณลักษณะหรือความสามารถเชิงสังคม จิตวิทยา (Phychosoclalcompetence) ที่เป็นทักษะภายในที่จะช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลสุขภาพเอดส์ ยาเสพติด ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม คุณธรรมจริยธรรมฯลฯ เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หรือจะกล่าวง่ายๆ ทักษะชีวิตก็คือความสามารถในการแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวันเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทักษะชีวิต (LifeSkills) เริ่มต้นการนำมาเผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนรู้จักดูแลตนเองทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์และจิตใจ ซึ่งจะส่งผลให้คนมีสภาพการดำรงชีวิตที่มีความสุขและสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมโดยไม่เป็นภาระของสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตนในการรักษาสุขภาพ โดยเน้นความสำคัญของบุคคลให้รู้จักการปรับตัวพร้อมการเผชิญในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงให้ความหมายทักษะชีวิตเป็นความสามารถอันประกอบด้วยความรู้ เจตคติและทักษะ ซึ่งสามารถจัดการกับปัญหารอบๆ ตัวให้อยู่รอดในสภาพสังคมและวัฒนธรรมยุคปัจจุบันได้อย่างมีความสุข และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต คำนิยามของทักษะชีวิต (LifeSkills) ขององค์การอนามัยโลกเน้นความสำคัญในการดำรงตนของบุคคลที่มีความเหมาะสมและทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งปัญหาของสังคมในยุคปัจจุบันมีความซ้ำซ้อน บางปัญหามีความรุนแรงดังที่ปรากฏในปัญหาเรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ บทบาทชายหญิงชีวิตครอบครัวสุขภาพอิทธิพลสื่อสิ่งแวดล้อมฯลฯ ซึ่งคำนิยามดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า จะต้องมีการเรียนรู้ด้วยตนเองและรู้จักปรับตัว การฝึกฝนเป็นการเปิดโอกาสให้คนเกิดการพร้อมของตนเองและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข นอกจากคำนิยามทักษะชีวิตจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ดังที่กล่าวแล้ว ในเวลาต่อมาได้มีการเผยแพร่การศึกษาเรื่องทักษะชีวิตไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะองค์การช่วยเหลือเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้นำทักษะชีวิตไปใช้ในการป้องกันโรคเอดส์ โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาคนมิให้ติดเชื้อHIV ด้วยเหตุนี้คำนิยามของทักษะชีวิตมีจุดเน้นความสำคัญทางด้านจิตวิทยาสังคมและความสำคัญของบุคคลในด้านความสามารถในการปฏิบัติตน โดยอาศัยพื้นฐานทางด้านความคิดการตัดสินใจและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและสังคมโลก จะเห็นได้ว่า “ทักษะชีวิต” ได้นำไปใช้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมโลก ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาให้คนเกิดการพัฒนาตนเองโดยการใช้ความคิดการปรับตัว การตัดสินใจ การสื่อสาร การจัดการกับอารมณ์และความเครียดในการแก้ไขปัญหาให้กับตนเองได้อย่างฉลาด ด้วยเหตุนี้ทักษะชีวิตจึงประกอบด้วยทักษะต่างๆ ที่ส่งผลให้คนฉลาดรู้เลือกและปฏิบัติ รวมทั้งการรู้จักยับยั้งชั่งใจ บุคคลที่มีทักษะชีวิตจะเป็นคนที่มีเหตุผลรู้จักเลือกการดำรงชีวิตที่เหมาะสม สังคมบุคคลที่มีทักษะชีวิตจะสังคมเป็นสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

          องค์ประกอบของทักษะชีวิต องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของทักษะชีวิตไว้10 องค์ประกอบ จัดเป็น 3 ด้าน ดังนี้ องค์ประกอบของทักษะชีวิตด้านพุทธิพิสัย (ทักษะด้านความคิด) หมายถึงการรู้จักใช้ เหตุ และ ผล โดยรู้สาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นผล ย่อมมาจาก เหตุเมื่ออยากให้ ผลของการกระทำออกมาดีเป็นที่พึงประสงค์แก่ทั้งของตนเองและส่วนรวมก็ควรคิดกระทำ เหตุที่จะทำให้เกิดผลที่ดีเพื่อจุดประสงค์ที่จะพัฒนาชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้าสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมของมนุษย์ 

  1. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็นความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
  2. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Critical thinking) เป็นความสามารถในการคิดออกไปอย่างกว้างขวาง โดยไม่ยึดติดอยู่ในกรอบ องค์ประกอบของทักษะชีวิตด้านจิตพิสัย หรือ เจตคติ (ทักษะด้านจิตใจ) หมายถึง การฝึกฝนควบคุมนึกคิดให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงใสสะอาดในความดีงามประกอบด้วยคุณธรรมต่าง ๆ เช่นความรัก ความมีเมตตา กรุณาความเป็นมิตร ความมีน้ำใจ ความมีสัมมาคารวะ ความรู้จักยอมรับ และ เห็นความสำคัญของผู้อื่นความกตัญญู ความเพียรพยายาม ความซื่อสัตย์สุจริต
  3. ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self awareness) เป็นความสามารถในการค้นหารู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ต่าง ๆ และทักษะนี้ยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่น ๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การตัดสินใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  4. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ ช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน เช่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดเชื้อเอดส์ องค์ประกอบของทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัย หรือทักษะสังคม  (ทักษะด้านการกระทำ) หมายถึง การฝึกฝนตนเองให้มีทักษะด้านวินัยให้ตนเองเพื่อควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสมไม่เบียดเบียน ไม่สร้างความรำคาญ ไม่สร้างความเดือดร้อนไม่สร้างความลำบาก ให้แก่ตนเอง และ สังคมสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เป็นประโยชน์ต่อสังคมเน้น ความสุจริตทางกายและวาจา
  5. ทักษะการตัดสินใจ (Decision making) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพ หรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
  6. ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
  7. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภา(Effectivecommunication) เป็นความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ ฯลฯ
  8. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
  9. ทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion) เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ และความเศร้าโศก ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม
  10. ทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็นความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

          สำหรับการศึกษาขององค์การช่วยเหลือเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)  ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของทักษะชีวิตไว้  9  ประการ

  1. ทักษะการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์
  2. ทักษะในการประเมินศักยภาพของตนเองในสถานการณ์เฉพาะหน้า
  3. ทักษะในการคิดหาทางเลือกและวิเคราะห์จัดลำดับ
  4. ทักษะในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในการเลือกทางที่เหมาะสมที่สุด
  5. ทักษะในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดและการตัดสินใจ
  6. ทักษะในการปฏิเสธการเจรจาต่อรองเพื่อรักษาน้ำใจและเพื่อประโยชน์อันชอบธรรมของตนเอง
  7. ทักษะการควบคุมอารมณ์  ความคิดเห็นและพฤติกรรมภายใต้แรงกดดัน
  8. ทักษะการพัฒนาและปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเองและผู้เกี่ยวข้อง
  9. ทักษะการใช้เหตุผลโน้มน้าวจูงใจผู้อื่นให้คล้อยตามและสนับสนุนแนวคิดและการกระทำที่ถูกต้อง                

          ในประเทศไทยได้มีการนำทักษะชีวิตไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและเริ่มแพร่หลายตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา กรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการได้มีการนำเอาทักษะชีวิตไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ด้วยเหตุนี้เองได้มีการพัฒนาทักษะชีวิตโดยการปรับโครงสร้างและองค์ประกอบของทักษะชีวิตให้สอดคล้องกับการดำเนินงานด้านการป้องกันเอดส์โดยกรมสุขภาพจิตสาธารณสุขได้กำหนดองค์ประกอบของทักษะชีวิตไว้ 12 ทักษะซึ่งประกอบด้วย

  1. ทักษะความคิดวิเคราะห์วิจารณ์
  2. ทักษะความคิดสร้างสรรค์
  3. ทักษะความตระหนักรู้ในตน
  4. ทักษะความเห็นใจผู้อื่น
  5. ทักษะความภูมิใจในตนเอง
  6. ทักษะความรับผิดชอบต่อสังคม
  7. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
  8. ทักษะการสื่อสาร
  9. ทักษะการตัดสินใจ
  10. ทักษะการแก้ไขปัญหา
  11. ทักษะการจัดการกับอารมณ์
  12. ทักษะในการจัดการกับความเครียด

          ทักษะการฟัง (Listening) เป็นทักษะที่ผู้ให้คำปรึกษาแสดงความเอาใจใส่ต่อภาษาพูดและภาษาท่าทางของผู้รับคำปรึกษาโดยการประสานตาพยักหน้าหรือการตอบรับเช่นค่ะ  ครับอ้อใช่ถูกต้องอืมยังงั้นหรือการฟังอย่างมีประสิทธิภาพผู้ให้คำปรึกษาควรฝึกฝนดังนี้

  1. ฟังด้วยความตั้งใจโดยการประสานสายตาเพื่อแสดงความใส่ใจทั้งเนื้อหาสาระ  ความรู้สึก  รวมทั้งสังเกตท่าทางน้ำเสียงของผู้รับคำปรึกษา 
  2. ไม่แทรกหรือขัดจังหวะยกเว้นผู้รับคำปรึกษาพูดมากวกวนจึงใช้การสรุปประเด็นปัญหาให้เข้าใจขึ้น 
  3. ไม่เปลี่ยนเรื่องและติดตามประเด็นปัญหาของผู้รับคำปรึกษาไม่แสดงอาการรีบมองดูนาฬิกา

          ทักษะการถาม (Questioning) การถามเป็นทักษะที่จำเป็นที่จะได้ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ของผู้รับคำปรึกษา  รวมทั้งอารมณ์  ความรู้สึก และเรื่องราวต่างๆ  เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดซึ่งจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไปคำถามแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  1. คำถามปลายเปิดถามเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างละเอียดของผู้รับคำปรึกษา เช่น
    • วันนี้มีเรื่องอะไรที่จะเล่าให้เราฟังบ้างล่ะ
    • เธอคิดอย่างไรกับการที่ไม่ยอมพูดกับคุณพ่อ
    • เธอพอจะเล่ารายละเอียดเหตุการณ์วันนั้นให้ฟังหน่อยซิ
    • ต้อมคิดอย่างไรจึงตบหน้าเขา
  2. คำถามปลายปิด  เป็นคำถามที่ใช้เมื่อต้องการคำตอบเฉพาะเจาะจงมักจะได้คำตอบสั้นๆไม่ได้ข้อมูลรายละเอียด คำถามประเภทใช่/ไม่ใช่  ดี/ไม่ดี  ถูก/ผิด เป็นต้น คำตอบก็จะตอบเพียงสั้นๆ เช่นกัน เพียงแค่ ค่ะ ใช่ดี ไม่ใช่ เช่น
    •  เธอไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์หรือ
    •  กิ่งชอบอยู่นั่งอยู่คนเดียวใช่ไหม
    •  คุณแม่เธอจู้จี้ขี้บ่นทุกวันหรือเปล่า
    •  เธอชอบไปนอนค้างบ้านเพื่อนใช่ไหม
  3. ข้อควรระวังการใช้คำถามที่ขึ้นต้นด้วย ทำไม มักไม่นิยมใช้ในการให้คำปรึกษาเพราะจะเป็นลักษณะการประเมินหรือตัดสินผู้อื่นมากไป เช่น  ทำไมเธอจึงเป็นคนแบบนี้  ฟังแล้วอาจทำให้เกิดการต่อต้าน

          ทักษะการเงียบ (Silence) เป็นทักษะที่นำมาใช้ขณะที่ผู้รับคำปรึกษากำลังพูดและสนับสนุนให้เขาพูดไปเรื่อยๆผู้ให้คำปรึกษาเพียงแต่แสดงสีหน้าและกิริยาท่าทาง ว่ากำลังสนใจฟัง  ด้วยการพยักหน้า  ประสานสายตาแต่ถ้าผู้รับคำปรึกษาเงียบนานเกินไป  ก็ควรใช้คำพูดกระตุ้น เช่น ขณะนี้เธอรู้สึกอย่างไร ก้อยกำลังคิดอะไรอยู่หรือ

          ทักษะการให้กำลังใจ (Assurance) เป็นทักษะที่ส่งเสริม  สนับสนุน  ให้ความรู้สึกที่ดีต่อผู้รับคำปรึกษา เกิดความเข้าใจ  กระจ่างชัด  คลายความวิตกกังวลเกิดความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตนเอง

          ทักษะการสรุปความ (Summarization) เป็นการสรุปประเด็นและสาระในสิ่งที่พูดคุยกัน  หรือใจความสำคัญทั้งหมดของความคิด  อารมณ์  ความรู้สึกที่ผู้ขอรับคำปรึกษาสื่อออกมาด้วยภาษาพูด และภาษาท่าทาง  เพื่อผู้สนทนามีความเข้าใจที่ตรงกันและชัดเจนขึ้น 

แหล่งอ้างอิง:  กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2541) คู่มือส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสำหรับครู กรุงเทพ .

ย่อ