เกมประกอบกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์
สร้างโดย : นางสาวกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์
สร้างเมื่อ จันทร์, 04/05/2009 – 09:16
มีผู้อ่าน 104,767 ครั้ง (18/10/2022)
เกมประกอบการจัดกิจกรรม
เรื่อง … กฎของผู้บำเพ็ญประโยชน์
1.ชื่อเกม รู้จักกฎผู้บำเพ็ญประโยชน์
2.วัตถุประสงค์ เพื่อให้สมาชิกรู้จักกฎ 10 ของผู้บำเพ็ญประโยชน์
3.จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน
4.สถานที่ ในห้องหรือลาน
5.สื่อ-อุปกรณ์
1. บัตรคำกฎข้อละ 1 ใบ แบ่งเป็น 4 สี สีละ 10 ใบ (เป็นกฎข้อละ 1 ใบ)
2. กระดาษกาวหรือบลูแทก
6.ระยะเวลา 3 – 5 นาที
7.วิธีเล่น
1. หัวหน้าหมวดติดบัตรคำกฎไว้รอบห้อง หรือบริเวณเก้าอี้ ฝาผนัง สลับคละสี ระยะห่างกันพอสมควร
2. ให้สมาชิกไปหาบัตรคำเหล่านั้นโดยต้องเป็นสีเดียวกันทั้งหมู่ หมู่ไหนหาครบก่อนชนะ
3. ให้หมู่ที่หาครบอ่านบัตรคำแต่ละข้อ
4.ให้สมาชิกอ่านบัตรคำ
8.กติกา หมู่ไหนหาครบก่อนชนะ
9.สรุปเกม
1.สมาชิกรู้จักกฎ 10 ข้อของผู้บำเพ็ญประโยชน์
2.สมาชิกมีความสามัคคีกัน ในการช่วยกันหาบัตรคำ (ใช้เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน)
อ่านเพิ่มเติม...
1. ชื่อเกม ความหมายของกฎผู้บำเพ็ญประโยชน์
2.วัตถุประสงค์
1.ให้สมาชิกรู้จักกฎ 10 ข้อ
2.สมาชิกเข้าใจความหมายของกฎผู้บำเพ็ญประโยชน์
3.จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน
4.สถานที่ ในห้องหรือลาน
5.สื่อ-อุปกรณ์
1.กระดาษขนาด A4 หมู่ละ 1 แผ่น
2.ปากกาเมจิก
3.บัตรคำกฎ 10 ข้อ
6.ระยะเวลา 5 นาที
7.วิธีเล่น
1.ให้สมาชิกแต่ละหมู่หาความสัมพันธ์ของกฎ 10 ข้อกับอาหาร ธรรมชาติ สี ดอกไม้ ยกตัวอย่าง พร้อมเหตุผลมาข้อละ 1 ชนิด เช่น หมู่ 1 เรื่องอาหารที่สอดคล้องกับกฎ เลือกผัดผักรวมมิตรสัมพันธ์กับกฎข้อ 4 (เป็นมิตรกับคนทั้งหลายและถือเป็นพี่เป็นน้องกับผู้บำเพ็ญประโยชน์ร่วมคณะ) หมู่ที่ 2 เรื่องดอกไม้ เลือกดอกมะเขือสัมพันธ์กับข้อ 5 (สุภาพอ่อนน้อม)
2.ให้แต่ละหมู่นำเสนอพร้อมให้เหตุผล
8.กติกา –
9.สรุปเกม
1.สมาชิกมีความเข้าใจว่ากฎสัมพันธ์ทุก ๆ สิ่งที่อยู่รอบตัว เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต
2.สมาชิกมีความคิดสร้างสรรค์
3.สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม
1.ชื่อเกม เกมบทบาทสมมติเรื่องกฎ
2.วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้สมาชิกรู้และเข้าใจความหมายของกฎ
2.สมาชิกนำไปปฏิบัติได้
3.จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4.สถานที่ ในห้องหรือลาน
5.สื่อ-อุปกรณ์
1.อุปกรณ์ประกอบการเล่น 4 ชุด ชุดละ 3-4 ชนิด ต่างกันเช่น หมู่ 1 ปากกา หมวก เครื่องคิดเลข ส้ม หมู่ 2 มีด หนังสือ ถุงพลาสติก แว่นตา เป็นต้น
2.บัตรคำสั่งให้แสดงบทบาทสมมติด้วยอุปกรณ์ที่ให้มาให้สัมพันธ์กับกฎ ข้อ……. จำนวน 4 ใบ (หมู่ละ 1 ใบ)
6.ระยะเวลา ให้เวลาซ้อม 2 นาที แสดงหมู่ละไม่เกิน 2 นาที
7.วิธีเล่น
1.หัวหน้าหมวดเรียกให้หัวหน้าหมู่เลือกอุปกรณ์หมู่ละ 1 ชุด พร้อมบัตร คำสั่ง 1 ใบ
2.ให้สมาชิกแต่ละหมู่แสดงบทบาทสมมติด้วยอุปกรณ์ที่แจกให้ โดยให้สัมพันธ์กับกฎตามที่ระบุในบัตรคำสั่ง (ผูกเป็นเรื่องเดียวกัน)
3.ให้สมาชิกแสดงบทบาทสมมติทีละหมู่ เวลาไม่เกิน 2 นาที ขณะแสดง ให้หมู่อื่นสังเกตว่าบทบาทสมมติสัมพันธ์กับกฎข้อใด
4.หมู่ที่แสดงเสร็จแล้ว สมาชิกหมู่อื่นทายว่าแสดงบทบาทสมมติสัมพันธ์กับกฎข้อใดบ้าง (ให้บอกได้ไม่เกิน 4ข้อ)
5.หมู่ที่แสดงเฉลยว่าถูกต้องหรือไม่
8.กติกา ความเห็นแต่ละหมู่อาจไม่เหมือนกัน หัวหน้าหมวดควรอธิบายเพิ่มเติม
9.สรุปเกม
1. สมาชิกได้แสดงออก
2. สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจความหมายของกฎ
3. สมาชิกได้ช่วยกันคิด ช่วยกันลงมือปฏิบัติ มีความคิดสร้างสรรค์
1. ชื่อเกม เกมทดสอบกฎ
2. วัตถุประสงค์ เพื่อให้สมาชิกจำกฎของผู้บำเพ็ญประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง
3. จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ บัตรคำกฎแต่ละข้อ แยกเป็นคำ ๆ หมู่ละ 1 ชุด (ชุดละ 10 ชิ้น) มีตัวลวง(ใส่ซอง)
6. ระยะเวลา 5 – 10 นาที
7. วิธีเล่น
1. สมาชิกเข้าแถวตอนลึก หมู่ละ 1 แถว
2. หัวหน้าหมวดแจกซองบัตรคำ หมู่ละ 1 ซอง ให้สมาชิกคนแรกถือ
3. หัวหน้าหมวดให้สัญญาณ สมาชิกคนที่ 1 วิ่งไปหน้าแถวของตนต่อบัตรคำ ต่อให้ได้ข้อความกฎที่ถูกต้อง
4. หัวหน้าหมวดให้สัญญาณ สมาชิกคนที่กำลังต่อบัตรคำ วิ่งกลับมาที่แถว
5. ตีมือสมาชิกคนต่อไปเพื่อเปลี่ยนไปต่อบัตรคำแทน
6. สมาชิกคนที่ 2 ทำเช่นเดียวกับสมาชิกคนที่ 1
8. กติกา
1 .เมื่อถึงเวลาพอสมควร ให้หัวหน้าหมู่และรองหัวหน้าหมู่ตรวจดูว่าถูกต้องหรือไม่
2. หมู่ไหนเรียงข้อความได้ถูกต้อง ตามลำดับข้อ ในเวลาน้อยที่สุด ชนะ
9. สรุปเกม
1. สมาชิกได้ทบทวนกฎ
2. สมาชิกร่วมมือกันทำกิจกรรม มีความสามัคคี
1. ชื่อเกม เก้าอี้กฎ
2. วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบสมาชิกในเรื่องกฎ
3. จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ เก้าอี้ 4 ตัว
6. ระยะเวลา 7 – 10 นาที
7. วิธีเล่น
1. สมาชิกเข้าแถวตอนลึก แถวละ 1 หมู่
2. เก้าอี้วางหน้าหมู่ละ 1 ตัว ระยะห่างพอควร หัวหน้าหมู่ยืนหลังเก้าอี้
3. สมาชิกแต่ละหมู่นับตามลำดับจากคนหน้าถึงหลังสุด จำหมายเลขของตนเอง
4. เริ่มเกมที่หัวหน้าหมวด เรียก เช่น หมายเลข 2 – กฎข้อ 5 สมาชิกที่นับเลข 2 ของทุกหมู่ วิ่งมานั่งที่เก้าอี้ ท่องกฎข้อ 5 หัวหน้าหมู่ (ซึ่งยืนอยู่หลังเก้าอี้ตรวจดูว่าสมาชิกท่องกฎถูกหรือไม่
5. ถ้าหัวหน้าหมวดสั่ง กฎของผู้บำเพ็ญประโยชน์ ให้สมาชิกทุกคนของแต่ละหมู่ เกาะเอววิ่งอ้อมเก้าอี้ และร้องเพลง “ผู้บำเพ็ญประโยชน์” (รวมทั้งหัวหน้าหมู่ด้วย หมู่ไหนร้องเพลงชัดเจน พร้อมเพรียง หัวหน้าหมวดอาจให้คะแนนเพิ่ม)
8. กติกา
1. สมาชิกที่ออกมาท่องกฎต้องตรงกับหมายเลขที่นับ
2. สมาชิกที่ท่องกฎไม่ถูกต้อง ไม่ได้คะแนน
3. หัวหน้าหมวดพยายามเรียกสมาชิกทุกคนเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม
9. สรุปเกม
1. สมาชิกได้ทบทวนกฎ
2. หัวหน้าหมู่ต้องจำกฎให้แม่นยำ
3. สมาชิกทุกคนได้แสดงออก และมีส่วนร่วม
4.ได้ออกกำลังกาย
เรื่อง … คำปฏิญาณของผู้บำเพ็ญประโยชน์
1.ชื่อเกม เกมผักเบี้ยคำปฏิญาณ
2.วัตถุประสงค์
1.ให้สมาชิกรู้จักคำปฏิญาณของผู้บำเพ็ญประโยชน์
2.เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำปฏิญาณ
3.จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4.สถานที่ ในห้องหรือลาน
5.สื่อ-อุปกรณ์ เขียนคำปฏิญาณในรูปผักเบี้ย ตัดเป็นชิ้น ไม่เกิน 12 ชิ้น ด้านหลังเป็นภาพกิจกรรมบพ.หรืออื่นๆ ซองละ 1 ชุด หมู่ละ 1 ซอง
6.ระยะเวลา 3 – 5 นาที
7.วิธีเล่น
1.สมาชิกแต่ละหมู่นั่งล้อมวงในหมู่ของตนเอง
2.หัวหน้าหมวดเรียกหัวหน้าหมู่รับซองจิกซอว์ นำกลับไปที่หมู่
3.สมาชิกช่วยกันต่อเป็นภาพกิจกรรมก่อน และกลับอีกด้านเป็นข้อความ คำปฏิญาณ
4.ให้อ่านคำปฏิญาณของ บพ.พร้อมกัน
8.กติกา หมู่ไหนต่อเสร็จก่อนและถูกต้อง ชนะ
9.สรุปเกม
1.สมาชิกรู้จักคำปฏิญาณ
2.สมาชิกร่วมกันทำงานในกลุ่ม
3.ใช้เป็นเกมนำเข้าสู่เรื่องการจัดกิจกรรมคำปฏิญาณ
1.ชื่อเกม เกมคำปฏิญาณ
2.วัตถุประสงค์
1.ให้สมาชิกรู้จักคำปฏิญาณของผู้บำเพ็ญประโยชน์
2.เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำปฏิญาณ
3.จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4.สถานที่ ในห้องหรือลาน
5.สื่อ-อุปกรณ์
1.หนังสือพิมพ์หมู่ละ 2 ฉบับ
2.กรรไกร กาว กระดาษ A43 แผ่น จำนวนหมู่ละ 1 ชุด
6.ระยะเวลา 10 – 15 นาที
7.วิธีเล่น
1.สมาชิกแต่ละหมู่นั่งล้อมวงในหมู่ของตนเอง
2.หัวหน้าหมวดเรียกหัวหน้าหมู่ แจกอุปกรณ์และหนังสือพิมพ์
3.ให้สมาชิกหาภาพ ข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับคำปฏิญาณทั้ง 3 ข้อ ให้เวลา 7 นาที
4.เมื่อสมาชิกหาครบตามกำหนด ให้นำเสนอทีละหมู่
8. กติกา –
9. สรุปเกม
1.สมาชิกเข้าใจความหมายของคำปฏิญาณ และสามารถยกตัวอย่างได้
2.สมาชิกในหมู่ร่วมกันทำกิจกรรม
3.สมาชิกได้ปฏิบัติตามกฎข้อ 3, 4, 5, 7
1.ชื่อเกม จับคู่ทดสอบคำปฏิญาณ
2.วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้สมาชิกจำและท่องคำปฏิญาณได้
2.เพื่อให้สมาชิกแสดงรหัสได้อย่างถูกต้อง
3.จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4.สถานที่ ในห้องหรือลาน
5.สื่อ-อุปกรณ์ –
6.ระยะเวลา 5 – 10 นาที
7.วิธีเล่น
1.สมาชิกยืนเป็นวงกลม เริ่มจากคนที่ 1
คนที่ 1 พูดว่า Girl
คนที่ 2 พูดว่า Guide
คนที่ 3 พูดว่า Girl
คนที่ 4 พูดว่า Guide
นับไปจนครบทุกคน
2. คนที่พูด Girl ยืนอยู่กับที่ คนที่พูด Guide ก้าวเข้ามาในวง 1 ตัว จับคู่กับคนที่พูด Girl (เป็น 2 วง)
3. ให้แต่ละหมู่กล่าวคำปฏิญาณ และแสดงรหัสของ บพ. ด้วย
4. กล่าวเสร็จแต่ละคน เปลี่ยนคู่โดยการเดินทางไปทางขวาของตนเองจะพบคู่ใหม่ ทำตามข้อ 3
8. กติกา หัวหน้าหมวดดูว่าสมาชิกกล่าวคำปฏิญาณและแสดงรหัสถูกต้องหรือไม่
9. สรุปเกม
1. สมาชิกสร้างความสัมพันธ์ในหมวด
2. สมาชิกสามารถกล่าวคำปฏิญาณและแสดงรหัสได้อย่างถูกต้อง
3. สมาชิกได้ทำตามกฎข้อ 4, 5
เรื่อง … คติพจน์ของผู้บำเพ็ญประโยชน์
1. ชื่อเกม คติพจน์
2. วัตถุประสงค์ สมาชิกรู้จักคติพจน์ของสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์
3. จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ บัตรคำ “คติพจน์ของผู้บำเพ็ญประโยชน์” “เตรียมพร้อมเสมอ” “BE PREPARED”
6. ระยะเวลา 10 – 15 นาที
7. วิธีเล่น
1. สมาชิกและหัวหน้าหมวดนั่งล้อมวง
2. หัวหน้าหมวดให้สมาชิกบอกคติประจำใจของแต่ละคน
3. หัวหน้าหมวดสนทนาซักถามใครรู้คติพจน์ของ บพ. บ้าง
8. กติกา ใครกล่าวคติพจน์ของ บพ.ได้ รับรางวัล
9. สรุปเกม
1. สมาชิกได้แลกเปลี่ยนคติประจำใจซึ่งกันและกัน
2. สมาชิกรู้จักคติพจน์ของ บพ.
เรื่องคำขวัญของผู้บำเพ็ญประโยชน์
1. ชื่อเกม คำขวัญ
2. วัตถุประสงค์ ให้สมาชิกรู้จักคำขวัญของ บพ.
3. จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ บัตรคำตัวอักษร “ทำความดีอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง” ตัวละ 1 แผ่น (กระดาษขนาด A4)
6. ระยะเวลา 7 – 10 นาที
7. วิธีเล่น
1 แจกบัตรคำสมาชิกคนละใบ
2. ให้สมาชิกนำบัตรคำมารวมกันให้ได้คำว่า “ทำความดีอย่างน้อยวันละ1 ครั้ง”
3. ให้สมาชิกรวมกลุ่ม สนทนาเรื่องการทำความดีว่าเราทำความดี (ไม่ใช่หน้าที่)อะไรบ้าง
4. ให้เล่นบทบาทสมมติ กลุ่มละ 1 เรื่อง เป็นเรื่องของการทำความดี
8. กติกา กลุ่มไหนรวมกันได้เร็วและถูกต้องถือว่าชนะ
9. สรุปเกม
1. สมาชิกมีความสามัคคี
2. สมาชิกได้แสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์
3. สมาชิกเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามคำขวัญ
เรื่องคติพจน์ของผู้บำเพ็ญประโยชน์
1. ชื่อเกม อัศวิน – พระราชา
2. วัตถุประสงค์ ให้สมาชิกรู้จักคติพจน์ และความหมายของคติพจน์ บพ.
3. จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ –
6. ระยะเวลา 3 – 5 นาที
7. วิธีเล่น
1. สมาชิกแต่ละหมู่ยืนห่างกัน
2. สมมติหัวหน้าหมวดเป็นพระราชา หัวหน้าหมู่แต่ละหมู่เป็นอัศวิน พระราชาต้องการอะไร อัศวินต้องไปหามา
3. หัวหน้าหมวด (พระราชา) เรียกหัวหน้าหมู่ ให้ทำตามคำสั่ง เช่น- ให้หาเหรียญบาท 5 เหรียญ อัศวินวิ่งกลับไปที่หมู่ของตน ขอเหรียญจากสมาชิกมาให้พระราชา
4. สิ่งของที่พระราชาต้องการควรเป็นสิงที่เป็นเรื่องของการเตรียมพร้อม เช่น ปากกา ดินสอ เหรียญบาท ยาดม ยาหม่อง
8. กติกา หมู่ไหนหาของได้ครบก่อน และรวดเร็ว ชนะ
9. สรุปเกม สมาชิกมีความสามัคคี ได้ปฏิบัติตามกฎข้อ 2, 3, 4, 5, 7, 8
เกมประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
1. ชื่อเกม แนะนำชื่อ
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สมาชิกรู้จักชื่อและสามารถเรียกได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติตามกฎข้อ 2, 4, 5, 7
3. จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ –
6. ระยะเวลา 25 – 30 นาที
7. วิธีเล่น
1. สมาชิกทุกคน (รวมหัวหน้าหมวด) ยืนเป็นวงกลม เริ่มเกมที่หัวหน้าหมวด หรือเริ่มจากสมาชิกคนที่ 1
2. สมาชิกคนที่ 1 กล่าว “สวัสดีค่ะ พี่ชื่อ…..(เหมียว) ค่ะ”
3. สมาชิกคนที่ 2 กล่าว “สวัสดีค่ะ คุณเหมียว ดิฉันชื่อเจน ค่ะ”
4. สมาชิกคนที่ 3 กล่าว “สวัสดีค่ะ คุณเหมียว คุณเจน ดิฉันชื่อกาญจน์ค่ะ”
5. สมาชิกคนที่ 4 กล่าว “สวัสดีค่ะ คุณเหมียว คุณเจน คุณกาญจน์ ดิฉันชื่อมะนาว ค่ะ”
6. เล่นจนครบทุกคน คนสุดท้ายต้องเรียงชื่อตั้งแต่คนแรกจนถึงตนเอง
8. กติกา
1. เมื่อเอ่ยชื่อใครให้มองผู้นั้นด้วย
2. ถ้าผู้เรียก เรียกชื่อใครผิด สมาชิกอาจช่วยตอบได้
3. อาจเปลี่ยน จากการเรียกชื่อเล่น เป็นชื่อจริง
9. สรุปเกม
1. สมาชิกได้ทำตามวัตถุประสงค์
2. สมาชิกจำชื่อและเรียกชื่อเพื่อนได้อย่างถูกต้อง
1. ชื่อเกม เพื่อนของฉัน”
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการทบทวนชื่อสมาชิก
2. สมาชิกมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. สมาชิกได้ปฏิบัติตามกฎข้อ 2, 4, 5, 7
3. จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 32 คน (4 หมู่)
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ ลูกบอล
6. ระยะเวลา 25 – 30 นาที
7. วิธีเล่น สมาชิกยืนล้อมวง เริ่มจากสมาชิกคนที่ 1
1. สมาชิกคนที่ 1 โยนบอลไปที่เพื่อน สมมติชื่อเพ็ญนภา แล้วบอกว่า ฉันรักเพ็ญนภา เพราะเพ็ญนภา เป็นคนแจ่มใสร่าเริง (บอกบุคลิกของชื่อเพื่อนที่มีอักษรคล้องจองหรืออักษานำหน้าเหมือนกับคุณเพ็ญนภา)
2. เพ็ญนภารับบอลมาและโยนไปให้สมาชิกคนต่อไปสมมติชื่อ วนาภรณ์ บอกว่าฉันรักวนาภรณ์เพราะวนาภรณ์เป็นคนน่ารัก
3. วนาภรณ์รับบอลและโยนไปให้กาญจนา บอกว่า ฉันรักกาญจนาเพราะกาญจนาเก่งคณิตศาสตร์
4. กาญจนารับบอล ส่งให้อรสา บอกว่า ฉันรักอรสาเพราะอรสาเป็นคนว่องไว
8. กติกา
1. การหาคำมาใช้ให้สอดคล้อง ตรงกับอักษรชื่อของเพื่อน ควรเป็นคำที่สร้างสรรค์
2. หากคิดหาคำใดไม่ออกอาจใช้คำเป็นภาษาอังกฤษได้
3. สมาชิกคนใดตอบไม่ได้ อาจให้ทำกิจกรรมอื่นแทน เช่น ให้ท่องกฎ คำปฏิญาณ หรือร้องเพลง
9. สรุปเกม
1. สมาชิกได้ทำตามวัตถุประสงค์ ทั้ง 3 ข้อ
2. เสริมสร้างความสัมพันธ์
3. สามารถประยุกต์ใช้กับวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และอื่น ๆ
เกมประกอบการจัดกิจกรรม เรื่องสิ่งแวดล้อม
1. ชื่อเกม โขง ชี มูล
2. วัตถุประสงค์
1. ให้สมาชิกรู้จักชื่อแม่น้ำ
2. ให้สมาชิกรู้ สถานที่ตั้งของแม่น้ำทั้ง 3 สาย
3. สมาชิกปฏิบัติตามกฎข้อ 2, 4, 5 และ 7
3. จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 40 คน
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ เก้าอี้สำหรับสมาชิกทุกคน
6. ระยะเวลา 5 – 10 นาที
7. วิธีเล่น
1. สมาชิกนั่งเก้าอี้ล้อมเป็นวง 1 วง
2. ถ้าผู้นำเกมสั่ง
– โขง ให้สมาชิกย้ายไปนั่งเก้าอี้ทางซ้ายมือของตน
– ชี ให้สมาชิกย้ายไปนั่งเก้าอี้ทางขวามือของตน
– มูล ให้สมาชิกทำท่าปลาว่ายน้ำ และพยายามไปนั่งเก้าอี้ตรงข้าม
8. กติกา
1. ใครนั่งช้าถือว่าแพ้ อาจให้ออกจากการเล่น หรือเล่นต่อก็ได้ หากต้องออกจากการเล่นให้นำเก้าอี้ออกไปด้วย
2. ผู้นำเกมอาจสั่งซ้อมกัน เช่น โขง-โขง ผู้เล่นต้องย้ายไปนั่งเก้าอี้ทางซ้าย 2 ครั้ง
3. อาจสั่งสลับกันได้ เช่น โขง-โขง-ชี
9. สรุปเกม
1. สมาชิกได้ออกกำลัง
2 ให้รู้จักชื่อแม่น้ำ และสถานที่ตั้ง
3. ทดสอบความจำของสมาชิก ในการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
4. ได้ปฏิบัติตนตามกฎ ข้อ 2, 4, 5, และ 7
เกมประกอบการจัดกิจกรรม เรื่องทักทาย
1. ชื่อเกม การทักทาย
2. วัตถุประสงค์
1. ให้สมาชิกรู้จักการทักทายและการแสดงรหัสของผู้บำเพ็ญประโยชน์
2. ให้สมาชิกรู้จักคำทักทายของภาษาต่างประเทศ
3. สมาชิกได้ใช้กฎข้อ 4, 5, 7
3. จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัด
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ –
6. ระยะเวลา 10 – 15 นาที
7. วิธีเล่น
1. ให้สมาชิกช่วยกันคิดทำทักทายภาษาต่าง ๆ ที่รู้จัก เช่น
อินเดีย – นามัสเต ญี่ปุ่น – โอไฮโย,โกชัยมัส ไทย – สวัสดี จีน – หนี–ห่าว
อังกฤษ – กูดมอนิ่ง ลาว – สบายดี ฝรั่งเศส – บองชู เขมร – โซสะเดย ฯลฯ
2. สมาชิกจับคู่กัน ให้แต่ละคู่เลือกเป็นชนชาติใด ชนชาติหนึ่ง (อาจมีหลายคู่ใน 1 ชาติ)
3. สมมติเหตุการณ์จะไปค่ายต่างประเทศ ให้หัวหน้าหมวดหรือผู้นำเกมสั่ง “LET’S GO TO THE CAMP”
4. สมาชิกทุกคนแยกย้ายกันไปค่ายต่างประเทศ (ต่างคนต่างไป) เดินรอบ ๆ ห้อง พบกับสมาชิกอื่น ให้จับมือ แสดงการทักทาย และแสดงรหัส (SALUTE) ยิ้มให้กัน กล่าวคำทักทายเป็นภาษาที่ตนเองเลือก
5. ผู้นำเกมสั่ง “TIME TO GO HOME” ให้กลับบ้านได้ สมาชิกทุกคนกลับมาที่เดิม จับคู่เดิมของตน กล่าวเป็นคำทักทายเป็นภาษาของตน
6. ผู้นำเกมอาจเล่น ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้สมาชิกทบทวนความจำ
8. สรุปเกม
1. สมาชิกได้ทำตามวัตถุประสงค์
2. สมาชิกมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น
1. ชื่อเกม แยกขยะ
2. วัตถุประสงค์
1. ให้สมาชิกรู้จักวิธีการแยกขยะ กำจัดขยะ
2. ได้ออกกำลังกาย
3. ได้ปฏิบัติตามกฎข้อ 2, 4, 5 และ 7
3. จำนวนผู้เล่น ไม่เกิน 40 คน
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์
1. บัตรคำ ชื่อของขยะ เช่น เศษอาหาร ใบไม้แห้ง ถุงพลาสติก หลอดกาแฟ รองเท้าขาดประมาณ 20 – 30 คำ หรือมากกว่าเขียนตัวโตขนาด 2 – 3 นิ้ว อาจใช้กระดาษรีไซเคิล
2. ตัวอย่างขยะ ที่สามารถนำมาเป็นตัวอย่างได้
3. บัตรคำ 4 ใบ (เขียนชื่อวิธีกำจัดขยะ ตัวโตขนาด 3 นิ้ว)
1) อาหารสัตว์ 2) เผา 3) ฝัง 4) นำกลับมาใช้ใหม่
6. ระยะเวลา 10 – 15 นาที
7. วิธีเล่น
1. ให้หัวหน้าหมู่ หรือตัวแทน 4 คน ยืนถือบัตรคำ วิธีแยกขยะ ห่างกันพอสมควร หรือแขวนเป็น 4 มุมก็ได้
2. หัวหน้าหมวดและสมาชิกยืนกลางวง
3. หัวหน้าหมวด ชูบัตรคำ หรือตัวอย่างขยะ สมาชิกอ่านแล้ววิ่งไปจุดที่มีบัตรคำวิธีการแยกขยะที่ตนคิดว่าควรจะเป็นการแยกขยะตามชื่อที่เห็น เช่น วิ่งไปที่ 1) อาหารสัตว์ วิ่งไปที่ 2) ฝัง วิ่งไปที่ 3) นำกลับมาใช้ใหม่
4. ขยะบางชนิด อาจกำจัดได้ 2 วิธี หรือมากกว่านั้น จึงมีผู้เล่นวิ่งไปหลายจุด ให้ทุกคนช่วยกันคิดว่าวิธีใดดีและเหมาะสมที่สุด
8. กติกา
1. เกมนี้ไม่มีแพ้ ชนะ แต่ให้สมาชิกได้คิด และแสดงความคิดเห็น
2. ขั้นตอนการชูบัตรคำ ชื่อขยะ ไม่ควรเป็นประเภทเดียวกันซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง ควรสลับให้เห็นความแตกต่างของการกำจัดขยะ เพื่อสมาชิกทุกคน ได้วิ่งสลับกันในแต่ละจุด (ไม่ควรยืนอยู่กับที่)
9. สรุปเกม
1. สมาชิกได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ ทั้ง 3 ข้อ
2. หัวหน้าหมวดอาจเพิ่มเติมความรู้ในเรื่องขยะอีกก็ได้
เกมประกอบการจัดกิจกรรม เรื่องประวัติ บพ. ไทย
1. ชื่อเกม ประวัติ บพ.ไทย
2. วัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนความรู้เรื่องประวัติ บพ. ไทย
3. จำนวนผู้เล่น จำนวน 32 คน
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ บัตรคำ ถาม-ตอบ ประวัติ บพ.ไทย จำนวนเท่ากับสมาชิกหรือมากกว่าก็ได้
สมมติบัตรคำถามให้ใช้เลขไทยในการเขียนข้อ บัตรคำตอบใช้เลขอารบิคในการเขียน
เช่น ๑. ในปี 2500 ใครเดินทางไปประชุมที่อเมริกา
1. นางสาวกนก สามเสน
6. ระยะเวลา 10 – 15 นาที
7. วิธีเล่น
1. สมาชิกนั่งล้อมวงบนเก้าอี้ (ใต้เก้าอี้ติดบัตรคำไว้ เก้าอี้ละ 1-2 ใบ)
2. เล่นเกม ย้ายเก้าอี้ ถ้าหัวหน้าหมวดสั่ง “Blue Birds” ให้ขยับไปนั่งเก้าอี้ทางขวามือของตน “Girl Guide” ให้ขยับไปนั่งเก้าอี้ทางซ้ายมือของตน “Senior Guide” วิ่งไปนั่งเก้าอี้ตรงข้าม
3. เล่นเกม 2 – 3 ครั้ง ให้สมาชิกก้มดูใต้เก้าอี้ หยิบบัตรคำเพื่อถาม-ตอบ
4. เริ่มจากบัตรคำหมายเลข ๑ (เลขไทย) ซึ่งเป็นเลขบัตรคำถามผู้ที่ได้เลข 1 (อารบิค) เป็นผู้ตอบ จนถึงหมายเลขสุดท้าย
8. กติกา การเล่นเกมตามข้อ 2 อาจส่งซ้ำ เช่น Girl Guide–Girl Guide ให้สมาชิกขยับไปนั่งทางซ้ายมือ 2 ครั้ง
9. สรุปเกม
1. สมาชิกมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นจากการเล่นเกม
2. เป็นการทบทวนความรู้เรื่องประวัติ บพ. ไทย
เกมประกอบการจัดกิจกรรม เรื่องการอยู่ร่วมกัน
1. ชื่อเกม ตุ๊กตา
2. วัตถุประสงค์ ให้สมาชิกรู้จักและเข้าใจเรื่องการอยู่ร่วมกัน
3. จำนวนผู้เล่น ไม่เกินจำนวน 32 คน
4. สถานที่ ในห้องหรือลาน
5. สื่อ-อุปกรณ์ ตุ๊กตา ขนาดกลาง 1 ตัว
6. ระยะเวลา 7 – 10 นาที
7. วิธีเล่น
1. สมาชิกยืนล้อมเป็นวงกลม
2. เริ่มจากสมาชิกคนที่ 1 จับตุ๊กตาและทำกริยา 1 อย่างกับตุ๊กตา สมมติจับจมูกตุ๊กตาให้สมาชิกคนสุดท้าย (ที่ยืนอยู่ซ้ายมือของคนที่ 1 สังเกตและจำว่าสมาชิกคนที่ 1 ทำอะไรกับตุ๊กตา)
3. สมาชิกคนที่ 1 ส่งตุ๊กตาให้สมาชิกคนที่ 2 สมาชิกคนที่ 2 สมมติลูบผม ตุ๊กตา สมาชิกคนที่ 1 (ซึ่งอยู่ซ้ายมือของสมาชิกคนที่ 2) สังเกตและจำว่าสมาชิกคนที่ 2 ทำอะไรกับตุ๊กตา (ในที่นี้คือลูบผม)
4. ส่งตุ๊กตาจนครบทุกคนในวง ทุกคนต้องจำได้ว่าคนทางขวาของตนทำอะไร ให้สมาชิกคนที่อยู่ซ้ายมือทำกริยาเดียวกับที่เราทำกับตุ๊กตา เริ่มจากสมาชิกคนที่ 1 ให้สมาชิกคนสุดท้าย (ซึ่งอยู่ซ้ายมือของคนที่ 1 ทำกับตนเองในที่นี้คือ จับจมูกสมาชิกคนที่ 1 เพราะสมาชิกคนที่ 1 จับจมูกตุ๊กตา
5. สมาชิกคนที่ 1 ลูบผมสมาชิกคนที่ 2 (เพราะคนที่ 2 ลูบผมตุ๊กตา)
8. กติกา –
9. สรุปเกม
1. สมาชิกได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การเข้าใจผู้อื่น
2. สมาชิกได้ทำตามกฎข้อ 2, 4, 5
แหล่งอ้างอิง: สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
ย่อ