คำที่ใช้ ฤ, ฤๅ, ฦ, ฦๅ
สร้างโดย : นายอดุลย์ อินยัง
สร้างเมื่อ ศุกร์, 14/11/2008 – 18:02
มีผู้อ่าน 438,511 ครั้ง (25/10/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/18072
เรามาทำความเข้าใจกับตัว ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ
ตัว” ฤ “ไม่ไช่คำที่เป็นภาษาไทยแท้ เป็นคำที่นำมาจากภาษาอิ่น โดยนำมาจากภาษาสันสกฤตซึ่งในภาษาสันสกฤตจะอ่านออกเสียงเป็น ” ริ “ แต่เมื่อไทยเราได้นำมาใช้ ตัว” ฤ “ก็อ่านออกเสียงได้หลายแบบ และยังนำมาใช้เป็นสระในภาษาไทยจัดอยู่ในรูปของสระเกินหรือสระลอย ซึ่งสระในภาษาไทยของเราจะมี 21 รูป 32 เสียง รวม ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เข้าไปด้วย แต่ตัว” ฤ “ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสระอย่างเดียว ยังทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ หรือพยัญชนะต้นอีกด้วย
จุดประสงค์ของการเรียนรู้
- ผู้เรียนสามารถออกเสียง ฤ ฤๅ ได้อย่างถูกต้อง
- เขียน ฤ ฤๅ ได้ถูกวิธีและถูกตำแหน่ง
- อ่านและเขียนคำที่ใช้ ฤ ฤๅ ได้ถูกต้อง
- ร้องเพลงสระ ฤ ฤๅ ได้ถูกต้องตามคำร้อง ทำนอง และจังหวะ
- สามารถสรุปสาระสำคัญจากเนื้อเพลงได้
กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
การอ่านคำที่ใช้” ฤ “
การอ่านคำที่ใช้ ” ฤ “ ในภาษาไทยจะอ่านออกเสียงตัว” ฤ “ได้ 3 แบบ ได้แก่ อ่านออกเสียงเป็น” ริ ” อ่านออกเสียงเป็น” รึ “ อ่านออกเสียงเป็น” เรอ “
- อ่านออกเสียงเป็น” ริ “เมื่อตัว” ฤ “อยู่ตามหลังพยัญชนะ ก ต ท ป ศ ส ตัวอย่าง เช่น
- กฤษฤา อ่านว่า กริด – สะ – ดา หมายความว่า ที่ทำแล้ว
- กฤษณา อ่านว่า กริด – สะ – หนา หมายความว่า ไม้เนื้อหอมชนิดหนึ่ง
- กฤติ อ่านว่า กริด – ติ หมายความว่า เกียรติ
- กฤช อ่านว่า กริด หมายความว่า มีดสองคมปลายแหลม
- กฤษิ อ่านว่า กริ – สิ หมายความว่า การเพาะปลูก
- กฤปณ อ่านว่า กริ – ปะ – นะ หมายความว่า ยากไร้ กำพร้า
- กฤษาณ อ่านว่า กริ – สาน หมายความว่า คนที่ทำการเพาะปลูก
- กฤตานตะ อ่านว่า กริด – ตาน – ตะ หมายความว่า ชื่อพระยม
- ตฤท อ่านว่า ตริด หมายความว่า เจาะ แทง
- ตฤณ อ่านว่า ตริน หมายความว่า หญ้า
- ตฤณชาติ อ่านว่า ตริน – นะ – ชาด หมายความว่า หญ้าต่างๆ
- ตฤตียะ อ่านว่า ตริ – ตี – ยะ หมายความว่า ชายที่ ๓ เป็นสรรพนามพวกหนึ่ง
- ตฤษณา อ่านว่า ตริด – สะ – หนา หมายความว่า ความปรารถนา ความยาก
- ทฤษฏี อ่านว่า ทริด – สะ – ดี หมายความว่า หลักความคิด
- ทฤษัท อ่านว่า ทริด – สัด หมายความว่า หินตามภูเขา ก้อนหินใหญ่
- ปฤษฎางค์ อ่านว่า ปริด – สะ – ดาง หมายความว่า อวัยวะเบื้องหลัง
- ปฤงคพ อ่านว่า ปริง – คบ หมายความว่า ผู้ประเสริฐ หัวหน้า
- ปฤจฉา อ่านว่า ปริด – ฉา หมายความว่า คำถาม
- ปฤษฎ์ อ่านว่า ปริด หมายความว่า เบื้องหลัง
- ปฤษฐ อ่านว่า ปริด – สะ – ถะ หมายความว่า ยอด พื้นบน
- ศฤงคาร อ่านว่า สะ – หริง – คาน หมายความว่า ความรัก ความกำหนัด
- สฤก อ่านว่า สริก หมายความว่า ดอกบัว ลูกศร
- สฤต อ่านว่า สริด หมายความว่า ผ่านไป
- สฤคาล อ่านว่า สริ – คาน หมายความว่า หมาจิ้งจอก
- สฤษฏ์ อ่านว่า สะ – หริด หมายความว่า การสร้าง
- อ่านออกเสียงเป็น ” รึ ” เมื่อตัว “ฤ” อยู่ตามหลังพยัญชนะ ค น พ ม ห ตัวอย่าง เช่น
- คฤหาสน์ อ่านว่า คะ – รึ – หาด หมายความว่า เรือนอันสง่าผ่าเผย
- คฤโฆษ อ่านว่า คะ – รึ – โคด หมายความว่า ครึกครื้น กึกก้อง
- นฤมล อ่านว่า นะ – รึ – มน หมายความว่า คนที่มีความมัวหมอง
- นฤพาน อ่านว่า นะ – รึ – พาน หมายความว่า ความดับแห่งกิเลส
- นฤมิต อ่านว่า นะ – รึ – มิด หมายความว่า การสร้าง
- หฤโหด อ่านว่า หะ – รึ – โหด หมายความว่า ชั่วร้าย เลวทราม
- หฤหรรษ์ อ่านว่า หะ – รึ – หัน หมายความว่า ชื้นชม ร่าเริง
- หฤทัย อ่านว่า หะ – รึ – ไท หมายความว่า หัวใจ
- หฤษฎี อ่านว่า หะ – ริด – สะ – ดี หมายความว่า ความปลาบปลื้ม
- พฤกษ์ อ่านว่า พรึกอ่านว่า หมายความว่า ต้นไม้
- พฤกษา อ่านว่า พรึก – สา หมายความว่า ต้นไม้ต่างๆ
- พฤศจิก อ่านว่า พรึด – สะ – จิก หมายความว่า ราศีรูปดาวแมลงป๋อง
- พฤติกรรม อ่านว่า พรึด – ติ – กำ หมายความว่า การแสดงอาการ
- มฤค อ่านว่า มะ – รึก – คะ หมายความว่า สัตว์ป่า
- มฤคราช อ่านว่า มะ – รึก – คะ – ราด หมายความว่า เจ้าแห่งสัตว์
- มฤดก อ่านว่า มะ – รึ – ดก หมายความว่า สมบัติของผู้ตาย
คำที่ใช้ตัว” ฤ ” คำบางคำอาจมีข้อยกเว้น ตัวอย่างเช่น - หฤษฎ์ อ่านว่า หะ – ริด หมายความว่า น่าชื่นชม ยินดี
- นฤตย์ อ่านว่า นะ – ริด หมายความว่า การระบำ การฟ้อน
- อ่านออกเสียงเป็น “เรอ” ในภาษาไทยของเราเท่าที่นำตัว “ฤ” เข้ามาใช้อ่านออกเสียงเป็น “เรอ” ในภาษาไทยจะพบอยู่ตัวเดียวเท่านั้น คือ “ฤกษ์” อ่านออกเสียงว่า “เริก”
ข้อควรสังเกต ถ้า “ฤ” เป็นพยัญชนะต้น การอ่านจะออกเสียงได้หลายแบบ ตัวอย่าง เช่น- ฤณ อ่านว่า ริน หมายความว่า หนี้สิน ภาระ
- ฤต อ่านว่า รึด หมายความว่า ความจริง
- ฤษภ อ่านว่า รึ – สบ หมายความว่า วัวตัวผู้
- ฤทธี อ่านว่า ริด – ที หมายความว่า อำนาจ ความเจริญ
- ฤทธา อ่านว่า ริด – ทา หมายความว่า อำนาจ ความเจริญ
- ฤทธิ์ อ่านว่า ริด หมายความว่า อำนาจ ความเจริญ
- ฤษยา อ่านว่า ริด – สะ – หยา หมายความว่า ริษยา
- ฤดู อ่านว่า รึ – ดู หมายความว่า ช่วงฤดูกาล
- ฤทัย อ่านว่า รึ – ไท หมายความว่า หัวใจ
- ฤตียา อ่านว่า รึ – ตี – ยา หมายความว่า รังเกลียด ดูถูก
- ฤคเวท อ่านว่า รึก – คะ – เวด หมายความว่า ชื่อคัมภีร์หนึ่งในไตรเพท
แต่บางคำจะออกเสียงได้ทั้ง “ริ” และ “รึ” ตัวอย่าง เช่น
- มฤตยู อ่านว่า มะ – ริด – ตะ – ยู หรือ มะ – รึด – ตะ – ยู
- อมฤต อ่านว่า อะ – มะ – ริด หรือ อะ – มะ – รึด
- พฤนท์ อ่านว่า พริน หรือ พรึน
การอ่านคำที่ใช้” ฤๅ “
คำที่มี “ฤๅ” อ่านว่า รือ ถ้าใช้เพียงคำเดียวจะมีความหมายเหมือนกับคำว่า” หรือ “แต่ถ้าใช้ผสมกับคำอื่นจะไม่มีความหมายว่า“หรือ “ส่วนมากจะพบ ตัว” ฤๅ “ในคำกลอน โคลง หรือคำประพันธ์ต่างๆ ตัวอย่าง เช่น
- ฤๅแล้งแหล่งสยาม หมายความว่า หรือไม่มีทั่วแผ่นดินไทย
- ฤๅสาย อ่านว่า รือ – สาย หมายความว่า เป็นผู้ใหญ่
- ฤๅทัย อ่านว่า รือ – ไท หมายความว่า ความรู้สึก
- ฤๅชุ อ่านว่า รือ – ชุ หมายความว่า ตรง
- ฤๅษี อ่านว่า รือ – สี หมายความว่า นักบวชอยู่ในป่า
- ฤๅดี อ่านว่า รือ – ดี หมายความว่า ความยินดี
เรามักจะพบตัว “ฤๅ” อยู่ในคำประพันธ์ประเภทโคลง ตัวอย่างเช่น
คำที่มีตัว “ฦ” อ่านว่าลึ คำที่มีตัว “ฦๅ” อ่านว่าลือ ในปัจจุบันเราจะไม่พบการใช้ ตัว ฦ หรือ ตัวฦๅ หัวออกและไม่มีที่จะบรรจุลงในภาษาไทยแล้ว
กิจกรรมปริศนาคำทาย
กิจกรรมปริศนาคำทาย
1. อะไรเอ่ย? ไม่ใช่เณร ไม่ใช่พระ ห่มผ้าสีกระ เป็นลวดลายเสือ
2. หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน เขายกย่องกันว่าเป็นครู หนูหนูทายดูว่าวันอะไร?
3. เราเป็นคนไทย ใช้ภาษาไทย คนในโลกทั่วไปใช้ภาษาอะไร? ที่เป็นภาษากลาง
4. ดาวอะไร? อยู่ในท้องฟ้า ส่องแสงเจิดจ้า ไม่พึ่งพาแสงจากใคร
กิจกรรมปริศนาตัวเลือก
แหล่งอ้างอิงที่นำมาใช้ประกอบในสื่อนี้ :
- คู่มือการจัดกิจกรรมสำหรับครูยุคใหม่ เรียนภาษาไทยด้วยเพลง ชุดที่ ๑, เพลิดเพลินกับสระ, รศ.ปิตินันท์ (ประคอง) สุทธิสาร
- หนังสือชุด รักภาษาไทย, การอ่าน, สมาน จันทรจามร, พิมพา จันทรจามร
- ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ กลุ่มภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕, อ.รัชนี เหรัญกิจ และคณะ
- พจนะภาษา, เปลื้อง ณ นคร ป.ม., อ.ม. (กิตติมศักดิ์)