วันคนพิการสากล
วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี
International Day of Persons with Disabilities
The annual observance of the International Day of Disabled Persons was proclaimed in 1992, by the United Nations General Assembly resolution 47/3. The observance of the Day aims to promote an understanding of disability issues and mobilize support for the dignity, rights and well-being of persons with disabilities. It also seeks to increase awareness of gains to be derived from the integration of persons with disabilities in every aspect of political, social, economic and cultural life.
The main programme of the observance of the International Day of Persons with Disabilities at the UN Headquarters in New York will include the Opening, panel discussions and cultural events. Member States, civil society organizations and the private sector are welcome to organize their own events to celebrate the International Day to raise awareness and promote the rights and perspectives of persons with disabilities around the world.
การถือปฏิบัติประจำปีของวันคนพิการสากลได้รับการประกาศในปี 1992 โดยมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 47/3 การถือปฏิบัติของวันนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในปัญหาความทุพพลภาพและระดมการสนับสนุนเพื่อศักดิ์ศรี สิทธิ และสวัสดิภาพของคนพิการ นอกจากนี้ยังพยายามที่จะเพิ่มความตระหนักในผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการบูรณาการของคนพิการในทุกด้านของชีวิตทางการเมืองสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
โปรแกรมหลักของการถือปฏิบัติของวันคนพิการสากลที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนิวยอร์กจะรวมถึงพิธีเปิด การอภิปราย และกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเทศสมาชิก องค์กรภาคประชาสังคม และภาคเอกชน สามารถจัดกิจกรรมของตนเองเพื่อเฉลิมฉลองวันสากลเพื่อปลุกจิตสำนึกและส่งเสริมสิทธิและมุมมองของคนพิการทั่วโลก
อ่านเพิ่มเติม...
Themes for previous years
- 2022: Not All Disabilities are Visible
- 2021: Leadership and participation of persons with disabilities toward an inclusive, accessible and sustainable post-COVID-19 world.
- 2020: Building Back Better: toward a disability-inclusive, accessible and sustainable post COVID-19 World
- 2019: Promoting the participation of persons with disabilities and their leadership: taking action on the 2030 Development Agenda
- 2018: Empowering persons with disabilities and ensuring inclusiveness and equality
- 2017: Transformation towards sustainable and resilient society for all
- 2016: Achieving 17 Goals for the Future We Want
- 2015: Inclusion matters: access and empowerment of people of all abilities
- 2014: Sustainable Development: The Promise of Technology
- 2013: Break Barriers, Open Doors: for an inclusive society and development for all
- 2012: Removing barriers to create an inclusive and accessible society for all
- 2011: Together for a better world for all: Including persons with disabilities in development
- 2010: Keeping the promise: Mainstreaming disability in the Millennium Development Goals towards 2015 and beyond
- 2009: Making the MDGs Inclusive: Empowerment of persons with disabilities and their communities around the world
- 2008: Convention on the Rights of Persons with Disabilities: Dignity and justice for all of us
- 2007: Decent work for persons with disabilities
- 2006: E-Accessibility
- 2005: Rights of Persons with Disabilities: Action in Development
- 2004: Nothing about Us without Us
- 2003: A voice of our own
- 2002: Independent Living and Sustainable Livelihoods
- 2001: Full participation and equality: The call for new approaches to assess progress and evaluate outcome
- 2000: Making information technologies work for all
- 1999: Accessibility for all for the new Millennium
- 1998: Arts, Culture and Independent Living
องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันคนพิการสากล” เพื่อเป็นการระลึกถึงวันครบรอบที่สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติมีมติรับแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ และได้ให้ประเทศสมาชิกร่วมจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจของสังคมต่อคนพิการ และยอมรับให้เข้าร่วมกิจกรรมในด้านต่างๆ และประเทศไทยในฐานะองค์การสมาชิก โดยคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้มีการขานรับวันคนพิการสากลและกีฬาเฟสปิกเกมส์ โดยจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคนพิการในด้านต่างๆ ทั่วประเทศ วันคนพิการสากล มีเป้าหมายเพื่อสร้างกระแสความเข้าใจต่อคนพิการและระดมการสนับสนุนแก่คนพิการเพื่อศักดิ์ศรีและความเป็นอยู่ของคนพิการ นอกจากนี้ก็ยังช่วยสร้างความตื่นตัวของประชาชนต่อคนพิการในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ความเป็นมาของวันคนพิการสากล
นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้ปี พุทธศักราช 2526-2535 เป็นทศวรรษคนพิการแห่งสหประชาชาติ หรือ UNITED NATION DECADE OF DISABLED PERSONS,1983-1992. ยังผลให้ประเทศต่างๆ รวมไปถึงองค์การต่างๆในทุกภูมิภาคทั่วโลก ได้ตื่นตัวในการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถถาพคนพิการอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศองค์การสมาชิกอย่างเป็นรูปธรรม การเสนอแนะประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ให้ใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุง การป้องกันความพิการ การสนองความต้องการของคนพิการ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ในทุกรูปแบบต่อประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนรณรงค์เรื่องสิทธิ และความเท่าเทียมกันในสังคนเพื่อคนพิการ รวมไปถึงมรการจัดกิจกรรมคนพิการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนา ทักษะการช่วยตัวเอง การเพิ่มพุนสมรรถภาพทางกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของคนพิการ และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกัน ระหว่างคนพิการและคนปกติ
ในปีพุทธศักราช2535 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค หรือ ESCAP ได้จัดให้มีสมัยการประชุมครั้งที่ 48 ขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่ประชุมได้มีมติประกาศให้ปีพุทธศักราช 2536-2545 เป็นทศวรรษคนพิการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค หรือรู้จักกันในนามสากลทั่วโลกว่า “Asian and Pacific Decade of Disabled Persons, 1993-2002” โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาคนพิการในทุกๆ ด้าน ทั่วทุกประเทศในแถบเอเชียและแปซิฟิค ทั้งในด้านการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ส่งเสริมการฝึกอบรมอาชีพและจัดหาสถานประกอบการรองรับแรงงานคนพิการ สนับสนุนด้านการศึกษา ตลอดจนผลักดันให้คนพิการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่ ซึ่งก็จะช่วยให้คนพิการมีโอกาสและมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับบุคคลทั่วไปในสังคม
จากการสำรวจทางสถิติขององค์การสหประชาชาติพบว่า กลุ่มประเทศแถบเอเชีย และแปซิฟิคนี้มีจำนวนประชากรที่เป็นบุคคลพิการมากที่สุดในโลก ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากปัญหาของความยากจน นอกเหนือจากนั้นก็เป็นเพราะสาเหตุของความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุบัติเหตุและผลของสงคราม และด้วยความพิการทุพพลภาพนี้เองที่เริ่มแพร่มากขึ้นทุกขณะ ทางองค์การสหประชาชาติจึงเร่งตระหนักที่หาหนทางวิธีการแก้ไขป้องกันโดยเร็ว ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะลดจำนวนของผู้พิการลงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยทางคณะกรรมธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค ก็ได้มีแนวนโยบายที่จะเร่งผลักดันแหนส่งเสริมคนพิการให้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของแต่ละชาติ ตั้งคณะกรรมการประสานงานให้ความร่วมมือช่วยเหลือคนพิการและองค์การต่างๆ ที่จะร่วมมือสร้างชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น ทั้งในระดับชาติและระดับสากล ตลอดจนเร่งพัฒนาส่งเสริมให้คนพิการทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ได้รับการฟื้นฟูบำบัดรักษา การศึกษา การฝึกฝีมือและอาชีพหรือแม้กระทั่งมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทั้งทางการกีฬา วัฒนธรรมประเพณีและสิ่งแวดล้อม
องค์การสหประชาติได้ส่งเสริมคนพิการในด้านต่างๆ มากมายด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ส่งเสริมให้คนพิการได้มีโอกาสอยู่ร่วมกับคนในสังคมและมีโอกาสได้รับการศึกษาในด้านต่างๆ เช่นเดียวกับคนปกติ และให้คนพิการมีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายซึ่งสามารถจำแนกออกมาในด้านต่างๆ อาทิเช่น ในด้านสังคม คนพิการสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมต่างๆ ได้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และทำตนไม่ให้เป็นภาระแก่คนในสังคมนั้น ซึ่งนานาประชาชาติได้มอบ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้คนพิการได้ช่วยเหลือตนเอง เช่น การคิดค้นประดิษฐ์หุ่นยนต์สุนัขเพื่อช่วยคนตาบอดในการเดินทาง หรือการประดิษฐ์เครื่องช่วยฟังสำหรับคนหูหนวก เป็นต้น ซึ่งช่วยให้คนพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมทั้งประดิษฐ์ขาเทียมเพื่อคนพิการทางขาอีกด้วย
นอกจากงานในด้านสังคมแล้ว ในด้านอาชีพก็เช่นกัน นานาประชาชาติได้เล็งเห็นความสำคัญในการประกอบอาชีพของคนพิการด้วย เพื่อให้คนพิการได้นำเงินมาจุนเจือตนเองและครอบครัว จึงได้สนับสนุนคนพิการในด้านต่างๆ เช่น งานหัตถกรรม เป็นต้น ขายล๊อตเตอรี่ พนักงานรับโทรศัพท์ งานช่างต่างๆ เช่น ช่างไม้ ช่างกระจก เป็นต้น ทำให้คนพิการได้มีโอกาสประกอบอาชีพต่างๆ ได้มากขึ้น ส่วนงานที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นนานาชาติก็ส่งเสริมได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้คนพิการได้นำเอาวิชาความรู้ไปใช้ในด้านการประกอบอาชีพและป้องกันการถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพ ซึ่งได้ให้โอกาสในการศึกษาของคนพิการในด้านต่างๆ เช่น การให้ทุนเกี่ยวกับการศึกษาแก่คนพิการ และการผลิตอุปกรณ์ทางการศึกษาแก่คนพิการต่างๆ เช่น การผลิตเครื่องเรียงสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และสแกนเนอร์ของคนตาบอด การผลิตลูกคิดสเลตและสไตลัสสำหรับคนตาบอด ทำให้คนตาบอดศึกษาหาความรู้ได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังมีการจัดแปลหนังสือเรียนของคนปกติมาพิมพ์เป็นหนังสือเรียนเป็นตัวอักษรเบลล์แก่คนตาบอดอีกด้วย ทางด้านกีฬาก็เช่นกันนานาประชาชาติก็ได้ส่งเสริมและให้โอกาสเพื่อให้คนพิการได้แสดงความสามารถในด้านกีฬาเช่นกัน ตั้งแต่การแข่งขันกีฬาระดับประเทศ ระดับโลกตามลำดับ ซึ่งนานาประชาชาติได้ให้โอกาสในด้านกีฬาต่างๆ เช่น การจัดงานแข่งขันเฟสปิคเกมส์ การว่ายน้ำคนพิการ วิ่งมาราธอนคนพิการ
เฟสปิกเกมส์ (Fespic Games-FarEast and South Pacific Games for the Disabled) เป็นกีฬาของคนพิการ ในประเทศที่อยู่ตะวันออกไกลและแปซิฟิกตอนใต้ ได้จัดเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2518 มีผู้เข้าร่วมแข่งขัน 973 คน จาก 18 ประเทศ ต่อมาในปี 2512 ประเทศญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 5 อีก โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันเพิ่มมากขึ้นเป็น 1700 คน จาก 41 ประเทศ ความสำเร็จในการจัดครั้งนั้น เป็นผลให้รัฐบาลของประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันตระหนักว่า การเล่นกีฬาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนี่ง ที่ช่วยให้คนพิการได้เพิ่มประสบการณ์ชีวิตด้านสังคม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดการฝึกอบรมผู้นำด้านกีฬาและผู้ฝึกสอน เพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ด้านกีฬาของคนพิการ
วันคนพิการในประเทศไทย องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา เพื่อระลึกถึงวันครบรอบที่สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ มีมติรับแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ ซึ่งประกอบด้วยนโยบาย มาตรการการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่จะเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ การให้โอกาสคนพิการได้เข้าร่วมกิจกรรมของสังคมด้วยความเสมอภาค รวมทั้งส่งเสริมสิทธิ และ ศักยภาพของคนพิการ องค์การสหประชาชาติได้เชิญชวนให้ประเทศสมาชิก ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนพิการ
ประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิก ได้ให้ความสำคัญกับคนพิการและได้ดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสิทธิ โอกาส และความเสมอภาคตามแนวทางของ องค์การสหประชาชาติมาโดยตลอด และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมวันคนพิการสากลเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา โดยคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้มีการขานรับวันคนพิการสากลและกีฬาเฟสปิกเกมส์ โดยจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคนพิการในด้านต่างๆ ทั่วประเทศ
วันคนพิการสากล มีเป้าหมายเพื่อสร้างกระแสความเข้าใจต่อคนพิการ และระดมการสนับสนุนแก่คนพิการเพื่อศักดิ์ศรีและความเป็นอยู่ของคนพิการ นอกจากนี้ก็ยังช่วยสร้างความตื่นตัวของประชาชนต่อคนพิการในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ความหมายของคนพิการ
คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีความสามารถถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้และมีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป (ความหมายตาม ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546 ไว้ดังนี้)
ประเภทของความความพิการ
- พิการทางการมองเห็น
- พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย
- พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว
- พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
- พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้
- พิการซ้ำซ้อน
ประเภทของความความพิการ คนพิการแต่ละประเภทมีรายละเอียดความพิการในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กำหนดลักษณะ ดังนี้
- พิการทางการมองเห็น คือ คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดา แล้วมองเห็นน้อยกว่า 6/18 หรือ 20/70 จนมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีเลนส์สายตาแคบกว่า 30 องศา
- พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย การได้ยิน เด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี ลักษณะความพิการ คือ หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดังเฉลี่ยเกิน 40 เดซิเบล จนไม่ได้ยิน ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 เด็กอายุเกิน 7 ปี ถึงผู้ใหญ่ ลักษณะความพิการ คือ ความผิดปกติ หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดัง 55 เดซิเบลขึ้นไป ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 การสื่อสาร
- พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายเห็นชัดเจน และคนที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ ระดับความผิดปกติ 3 ถึง 5
- พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติ ความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ระดับความผิดปกติ ระดับที่ 1 และระดับที่ 2
- พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ลักษณะพิการ คือ คนที่มีความผิดปกติ หรือความ บกพร่องทางสติปัญญาหรือสมอง จนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้
- พิการซ้ำซ้อน มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป
ย่อ