วันครู
สร้างโดย : นางสาวเบญจมาศ ภัคโชค
สร้างเมื่อ เสาร์, 11/10/2008 – 22:42
มีผู้อ่าน 32,879 ครั้ง (29/10/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/16930
วันครู
ตรงกับวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ ประกอบกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดได้
อ่านเพิ่มเติม...
การจัดงานวันครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
- กิจกรรมทางศาสนา
- พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
- กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน 1,000 รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์
มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
- เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
- ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
- ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
- รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
- ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
- ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
- ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
- ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
- ภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
- รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น
บทสวดเคารพครูอาจารย์
(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์ ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพาปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนานอยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ
คำขวัญวันครู
การจัดงานวันครูอันที่จริงมีมานานแล้ว ตั้งแต่ 16 มกราคม 2500 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21พฤศจิกายน 2499 แต่เริ่มจัดให้มีคำขวัญเกี่ยวกับงานวันครูเมื่อไม่นานมานี้เอง แรกๆ ก็เป็นคำขวัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา) ต่อมาก็เป็นคำขวัญของบุคคลทั่วไปที่ส่งเข้าประกวด และเปลี่ยนมาเป็นคำขวัญของนายกรัฐมนตรี ซึ่งพอจะรวบรวมได้ดังนี้
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2522
การให้การศึกษาแก่คนในชาติ เป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องระดมสรรพกำลังหลาย ๆ ด้านมาช่วยเหลือการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ครูซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้ทุกอย่างไปสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงหน้าที่อันมีเกียรตินี้ ในโอกาสที่วันสำคัญอย่างยิ่งของครูได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้าในนามของกระทรวงศึกษาธิการและประธานอำนวยการคุรุสภา ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงเพื่อนครูทุกท่าน ทั้งนอกและในราชการขอจงประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกันและขอได้โปรด ตระหนักถึงหน้าที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของครูที่ดีสืบไป เจ้าของคำขวัญ นายแพทย์บุญสม มาร์ติน
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2523
เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู เจ้าของคำขวัญ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์คำขวัญวันครู พ.ศ. 2524
ครูที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผนอันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านวิชาการ ความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย เจ้าของคำขวัญ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัตคำขวัญวันครู พ.ศ. 2525
ครูนั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละ ยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จึงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป เจ้าของคำขวัญ ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์คำขวัญวันครู พ.ศ. 2526
อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน เจ้าของคำขวัญ ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์คำขวัญวันครู พ.ศ. 2527
ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล สัมฤทธิ์ผลอันพึงปรารถนาตลอด เจ้าของคำขวัญนายชวน หลีกภัยคำขวัญวันครู พ.ศ. 2528
การที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติโดยยึดถือความดีมีคุณธรรมระดับสูงกว่าบุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจเมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครู ทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิด ผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป เจ้าของคำขวัญนายชวน หลีกภัยคำขวัญวันครู พ.ศ. 2529
ครูคือผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้า และอยู่รอดปลอดภัย เจ้าของคำขวัญ นายชวน หลีกภัยคำขวัญวันครู พ.ศ. 2530
ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี เจ้าของคำขวัญ นายมารุต บุญนาคคำขวัญวันครู พ.ศ. 2531
ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี เจ้าของคำขวัญ นายมารุต บุญนาคคำขวัญวันครู พ.ศ. 2532
ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย เจ้าของคำขวัญ พลเอกมานะ รัตนโกเศศคำขวัญวันครู พ.ศ. 2533
ครูคือผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี เจ้าของคำขวัญ พลเอกมานะ รัตนโกเศศคำขวัญวันครู พ.ศ. 2534
ครูคือผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี เจ้าของคำขวัญ พลเอกมานะ รัตนโกเศศคำขวัญวันครู พ.ศ. 2535
ครูคือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ เจ้าของคำขวัญ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์คำขวัญวันครู พ.ศ. 2536
ครูคือนักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม เจ้าของคำขวัญ นายสัมพันธ์ ทองสมัครคำขวัญวันครู พ.ศ. 2537
ครูคือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี เจ้าของคำขวัญ นายสัมพันธ์ ทองสมัครคำขวัญวันครู พ.ศ. 2538
อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี เจ้าของคำขวัญ นายสัมพันธ์ ทองสมัครคำขวัญวันครู พ.ศ. 2539
ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน เจ้าของคำขวัญ นายสุขวิช รังสิตพลคำขวัญวันครู พ.ศ. 2540
ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและนำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา เจ้าของคำขวัญ นายสุขวิช รังสิตพลคำขวัญวันครู พ.ศ. 2541
ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี เจ้าของคำขวัญ นายชุมพล ศิลปอาชาคำขวัญวันครู พ.ศ. 2542
ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา เจ้าของคำขวัญ นายปัญจะ เกสรทอง ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู เจ้าของคำขวัญ นางเซียมเกียว แซ่เล้าคำขวัญวันครู พ.ศ. 2543
ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เจ้าของคำขวัญ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา เจ้าของคำขวัญ นายประจักษ์ เสตเตมิคำขวัญวันครู พ.ศ. 2544
พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู เจ้าของคำขวัญ นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์คำขวัญวันครู พ.ศ. 2545
สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู เจ้าของคำขวัญ นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรีคำขวัญวันครู พ.ศ. 2546
ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู เจ้าของคำขวัญ นางสมปอง สายจันทร์คำขวัญวันครู พ.ศ. 2547
ครูคือพลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู เจ้าของคำขวัญ นางสาวพรทิพย์ ศุภกาคำขวัญวันครู พ.ศ. 2548
ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นศรัทธาบุชาครู เจ้าของคำขวัญ นายประจักษ์ หัวใจเพชรคำขวัญวันครู พ.ศ. 2549
ครูดีเป็นศรัแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู เจ้าของคำขวัญ นางพรรณา คงสงคำขวัญวันครู พ.ศ. 2550
สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู ปี เจ้าของคำขวัญ นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์คำขวัญวันครู พ.ศ. 2551
ครูของแผ่นดินเลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพลฯ ชนบูชา เจ้าของคำขวัญ นางพงษ์จันทร์ สุขเกษมคำขวัญวันครู พ.ศ.2552
ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครู เจ้าของคำขวัญ นางนฤมล จันทะรัตน์คำขวัญวันครู พ.ศ.2553
น้อมจิตวันทา บูชาครู กตัญญูกตเวที เจ้าของคำขวัญ นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์ จังหวัดลำพูนคำขวัญวันครู พ.ศ.2554
เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล เจ้าของคำขวัญ นางกนกอร ภูนาสูง จังหวัดกาฬสินธุ์คำขวัญวันครู พ.ศ.2555
บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์”ภูมิพล” เจ้าของคำขวัญ นางสาวขนิษฐา อุตรโส จังหวัดนครปฐมคำขวัญวันครู พ.ศ.2556
แปดสิบพรรษา พระราชินี ราษฏร์รัฐภักดี ครูศรีแผ่นดิน เจ้าของคำขวัญ นายสะอาด สีหภาค จังหวัดศรีสะเกษคำขวัญวันครู พ.ศ.2557
เทิดพระเกียรติทั่วหล้า กตัญญูบูชา แม่และครูแห่งแผ่นดิน เจ้าของคำขวัญ นายธีธัช บรรณะทอง จังหวัดพิจิตรคำขวัญวันครู พ.ศ.2558
เกียรติครูยิ่งใหญ่ น้อมใจบูชา เลิศล้ำคุณค่า ศรัทธาพระคุณ ของเด็กหญิงอนุสรา ชื่นบาล จังหวัดอ่างทองคำขวัญวันครู พ.ศ.2559
อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาคำขวัญวันครู พ.ศ.2560
ชาติพัฒนา ด้วยครูดี มีคุณภาพ ศิษย์ซาบซึ้ง ในพระคุณครู โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาคำขวัญวันครู พ.ศ.2561
ศิษย์ดี ก็ด้วยครูดี มีศรัทธา โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาคำขวัญวันครู พ.ศ.2562
ครูดี ศิษย์ดี มีพัฒนา ก้าวหน้า สู่เทคโนโลยี โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาคำขวัญวันครู พ.ศ.2563
ครูไทย รักศิษย์ คิดพัฒนา โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาคำขวัญวันครู พ.ศ.2564
ครูวิถีใหม่ ใส่ใจดิจิทัล สร้างสรรค์ คุณธรรม ประจำชาติ โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาคำขวัญวันครู พ.ศ.2565
คำขวัญวันครู พ.ศ.2566
พัฒนาครู พัฒนาเด็ก เรียนรู้สู่อนาคต โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
คำขวัญวันครู พ.ศ.2567
ครูวางฐานคิด ส่งเสริมศิษย์สร้างสรรค์ โดย นายเศรษฐา ทวีสิน
ดอกไม้วันครู
คณะกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ. 2539 ได้มีมติกำหนดให้ ดอกกล้วยไม้เป็นดอกไม้ประจำวันครู โดยพิจารณาเห็นว่าลักษณะของดอกกล้วยไม้มีลักษณะ และความหมายคล้ายคลึงกับ งานจัดการศึกษา และสภาพชีวิตครู ดังคำกลอนของท่านหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ที่ว่า
” กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด
การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ออกดอกคราวใด งานเด่น
งานสั่งสอนปลูกปั่น เสร็จแล้วแสนงาม “
ดอกไม้วันครู คือ “ดอกกล้วยไม้” โดยพิจารณาเห็นว่ามีคุณลักษณะของดอกกล้วยไม้ มีลักษณะและความหมายคล้ายคลึงกับ สภาพชีวิตครู นั้นคือ กว่ากล้วยไม้แต่ละช่อจะผลิตดอกออกผล ให้เราชื่นชมได้ ต้องใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย เช่นเดียกับครูแต่ละคนกว่าจะสั่งสอนเคี่ยวเข็นศิษย์คนแล้วคนเล่าให้มีความเจริญงอกงามก้าวหน้าในชีวิตได้ ก็ต้องใช้่เวลาอบรมสั่งสอนมิใช่น้อยเช่นกัน
นอกจากนี้กล้วยไม้ยังเป็นพิืชที่อยู่ในที่สูงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่ร่วงโรยง่ายเปรียบเสมือนครูที่อยู่ทั่วแดนไทยที่ต้องอดทนต่อสู้เพื่ออุดมการณ์และอุทิศตนเพื่อการศึกษาของชาติ
แหล่งข้อมูล :
- หนังสือวันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยฯ ของ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- baanmaha.com
- zabzaa.com
- http://www.mis.moe.go.th/intranet/punlada/p-day03.htm
ย่อ