International STEM Day

สร้างโดย : นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล

International STEM Day
วันที่ 4 พฤศจิกายนของทุกปี

     การศึกษาในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เปิดเผยว่านักเรียนชาวอเมริกันไม่ประสบความสำเร็จในสาขาวิชา STEM ในอัตราเดียวกับนักเรียนในประเทศอื่นๆ รายงานคาดการณ์ถึงผลกระทบร้ายแรงหากประเทศไม่สามารถแข่งขันในเศรษฐกิจโลกอันเป็นผลมาจากการเตรียมความพร้อมของแรงงานที่ไม่ดี ดังนั้น นักการศึกษาจึงมุ่งความสนใจไปที่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ และเรื่องการศึกษา ความเจริญรุ่งเรืองของสหรัฐดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับมัน    

     ผลการศึกษาในปี 2549 ในภายหลังพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าเกณฑ์ในวิชาเหล่านี้ และประเทศนี้อยู่ในอันดับท้ายๆ ในการประเมินความสามารถและความรู้ทางวิทยาศาสตร์

     การเปรียบเทียบระหว่างประเทศทำให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับความต้องการการศึกษาและแรงงานในสหรัฐฯ STEM Education Caucus สภาคองเกรสสองพรรคกล่าวว่า “เศรษฐกิจฐานความรู้ของเราขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง รากฐานของนวัตกรรมอยู่ในพนักงานที่มีพลวัต มีแรงจูงใจและมีการศึกษาดีพร้อมทักษะ STEM”

     การวิจัยเพิ่มเติมได้เปิดเผยความต้องการของระบบโรงเรียนและเป็นแนวทางในการพัฒนาโซลูชันที่ตรงเป้าหมายอย่างเหมาะสม มูลนิธิ Claude Worthington Benedum ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ตั้งอยู่ในรัฐเพนซิลเวเนียทางตะวันตกเฉียงใต้ พบว่านักการศึกษาในสหรัฐฯ ไม่แน่ใจถึงความหมายของ STEM โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการรู้หนังสือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนทุกคนเป็นเป้าหมาย นักการศึกษาขาดความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับอาชีพ STEM และด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงไม่พร้อมที่จะแนะนำนักเรียนในสาขาเหล่านั้น

     ข้อค้นพบจากการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านการศึกษาหลายครั้งได้กระตุ้นให้ผู้ว่าการรัฐของสหรัฐอเมริกาแสวงหาวิธีการที่จะนำรัฐของตนไปสู่เป้าหมายในการสำเร็จการศึกษานักเรียนมัธยมปลายทุกคนด้วยความรู้และความสามารถที่จำเป็นของ STEM เพื่อประสบความสำเร็จในการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและการทำงาน หกรัฐได้รับทุนจากสมาคมผู้ว่าการแห่งชาติเพื่อดำเนินกลยุทธ์ที่เป็นประโยชน์

     การเติบโตของงาน STEM ของอเมริกาในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 เพิ่มอัตราการเติบโตของงานที่ไม่ใช่ STEM ถึงสามเท่า อย่างไรก็ตาม ช่องว่างทางเชื้อชาติและเพศยังคงเป็นปัญหา นายจ้างยังคงต่อสู้กับความต้องการพนักงาน STEM ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 

แหล่งข้อมูล https://nationaltoday.com/stem-steam-day/

อ่านเพิ่มเติม...

STEM ในประเทศไทย

https://www.youtube.com/watch?v=80gWU-AJwF0&t=3s

สะเต็มศึกษาคืออะไร

สะเต็มศึกษา(Science Technology Engineering and Mathematics Education:STEM Education) คือ แนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา ในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ดังนั้น สะเต็มศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการต่อยอดหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง และการประกอบอาชีพในอนาคต

สะเต็มศึกษาจึงส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มจะมีความพร้อมที่จะไปปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในภาคการผลิต และการบริการที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม การพลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพ ลอจิสติกส์

 อนึ่ง การทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มไม่ได้จำกัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี แต่สามารถนำความรู้ในวิชาอื่น เช่น ศิลปะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา มาบูรณาการได้อีกด้วย

ที่มา: เอกสาร สะเต็มศึกษา สสวท.

ในอดีตมีการแก้ปัญหารการศึกษาวิทยาศาสตร์อย่างไร

แนวทางที่เคยใช้ในการแก้ปัญหาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
จากปัญหาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่กล่าวมาแล้ว อาจจำแนกวิธีการแก้ไขที่เคยใช้ได้เป็นกลุ่ม ดังนี้

  1. การให้ทุนการศึกษา เพื่อจูงใจให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ เพื่อประกอบอาชีพครู อาจารย์และนักวิจัยต่อไป
  2. การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ โดยเน้นความสนุกสนานในการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเรียนวิชาการสายนี้
  3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีทางการศึกษา แบบเรียน และอุปกรณ์การทดลองที่ทันสมัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ จัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ เพื่อสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

แม้วิธีการเหล่านี้ได้ช่วยให้เกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญและส่งเสริมการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี แต่ผลสำเร็จยังอยู่ในวงจำกัด ดังนั้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) จึงต้องนำเสนอยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่บูรณาการวิศวกรรมศาสตร์ สู่การใช้ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต หรือที่เรียกว่า “สะเต็มศึกษา”

ทำไมต้องจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา

ประเทศไทยกำลังประสบปัญหา เกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาตร์และเทคโนโลยี หลายประการ ที่สำคัญได้แก่

  1. จำนวนผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีลดลงตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา นอกจากนี้การประเมินผลทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติบ่งชี้ว่า การศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในระดับโรงเรียน มีคุณภาพต่ำโดยเฉลี่ย
  2. ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ระดับปานกลาง ซึ่งต้องการกำลังคนที่มีความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการผลิต และการบริการที่มีการแข่งขันสูง เช่น การเกษตรแบบก้าวหน้า การผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง การสื่อสาร การคมนาคม การพลังงาน และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีสูง ตลอดจนการจัดการลอจิสติกส์ เป็นต้น แต่การศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยียังไม่สารมารถตอบสนองความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของชาติ
  3. ในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community – AEC) ที่เริ่มในปี พ.ศ. 2558 จะมีการเคลื่อนย้ายเสรีของกำลังคนด้านสะเต็ม(STEM workforce) เช่น วิศวกร นักสำรวจ สถาปนิก แพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล ซึ่งประเทศไทยยังขาดแคลนกำลังคนทางด้านนี้ ทั้งปริมาณและคุณภาพ จึงจำเป็นต้องเร่งปรับยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เน้นความรู้ทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพในเศรษฐกิจและสังคมยุคเออีซี

สสวท. มีบทบาทอย่างไรต่อสะเต็มศึกษา

คณะกรรมการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีมติเห็นชอบให้ สสวท. ดำเนินการโครงการสะเต็มศึกษา โดยมีแผนดำเนินงานดังนี้

  • พ.ศ. 2556 จัดตั้งคณะทำงาน และศูนย์สะเต็มศึกษา(STEM Academy) ใน 10 จังหวัด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ พัฒนากิจกรรมสะเต็ม ตลอดจนพัฒนาครูและบุคลากรสะเต็ม
  • พ.ศ. 2557 จัดให้มีการประเมินผลโครงการนำร่อง เพื่อพัฒนาเป็นแผนแม่บท(Master Plan) และแผนที่นำทาง(Road map) ประกอบการยกร่างนโยบายแห่งชาติ เสนอต่อรัฐบาลและเตรียมการขยายผลในทุกจังหวัด
  • พ.ศ. 2558 เริ่มจัดตั้ง iSTEM เป็นศูนย์การกระจายสื่อการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ต และร้านสะดวกซื้อ เพื่อสนับสนุนสะเต็มศึกษา และจัดตั้ง STEM Hall of Frame เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรตินักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์และทูตสะเต็ม(ผู้เชี่ยวชาญ)

ยุทธศาสตร์สะเต็มศึกษากำหนดไว้อย่างไร

ประเทศไทยจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาระบบการศึกษาในปัจจุบันให้เป็นระบบสะเต็มศึกษา สิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนามี 4 ประเด็นหลัก ดังนี้

  1. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ควรมีบทบาทเข้ามาร่วมจัด”สะเต็มศึกษา” รัฐควรออกมาตรการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สะเต็ม และภาคเอกชนควรสนับสนุนสะเต็มศึกษาโดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร(Corporate Social Responsibility:CSR)
  2. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ทั้งในและนอกห้องเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา
  3. การพัฒนาครูและบุคลากรสะเต็ม ให้สามารถนำกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาไปสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ครูควรได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม และมีโอกาสรับคำแนะนำจากผู้ประกอบอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญด้านสะเต็ม ซึ่งเรียกผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ว่า “ทูตสะเต็ม” (STEM Ambassador)
  4. การปรับเปลี่ยนการประเมินในโรงเรียน และระดับชาติ ให้สอดคล้องกับสะเต็มศึกษา โดยมุ่งเน้นการประเมินความรู้ ควบคู่ไปกับทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และพัฒนาระบบการประเมินให้ครอบคลุมการวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหาในชีวิตจริง

สะเต็มศึกษาให้อะไร

  1. ผู้เรียนมีทักษะการวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาในชีวิตจริงและสร้างนวัฒนกรรมที่ใช้สะเต็มเป็นพื้นฐาน
  2. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และมองเห็นเส้นทางการประกอบอาชีพในอนาคต
  3. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีสูงขึ้น
  4. ครูสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาอย่างมั่นใจ
  5. สสวท. ได้รูปแบบการจัดการศึกษาสะเต็มที่เชื่อมโยงกับกลุ่มสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มพูนโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในบริบทที่หลากหลาย มีความหมายและเชื่อมโยงกับชีวิตจริง
  6. ประเทศไทยจะมีกำลังคนด้านสะเต็ม (STEM Workforce) ที่จะช่วยยกระดับรายได้ของชาติให้สูงกว่าระดับรายได้ปานกลางในอนาคต

แหล่งข้อมูล : http://www.stemedthailand.org/

ย่อ