วันวิสาขบูชา
สร้างโดย : นางสาวเบญจมาศ ภัคโชค
สร้างเมื่อ อาทิตย์, 12/10/2008 – 14:28
มีผู้อ่าน 49,532 ครั้ง (04/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/16939
วันวิสาขบูชา
วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน6 หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน7 หรือราวเดือนมิถุนายน ในปี 2567 ตรงกับวันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2567
วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (คือเดือน 6) ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้
1. เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า
2. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี
การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า “ฌาน” เพื่อให้บรรลุ “ญาณ” จนเวลาผ่านไปจนถึง …
ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ “อาสวักขญาณ” คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ 4หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่
1.ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
2.สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3.นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
4.มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง 4 ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
3. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน6 ก่อนพุทธศักราช 1 ปี วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป) การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง 45 ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน6 นั้น
วันวิสาขบูชา จึงนับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ ที่มีต่อปวงมนุษย์และสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้
การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา จุดมุ่งหมายในการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา เพื่อรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณพระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ
อ่านเพิ่มเติม...
พุทธกิจ 5 ประการ
1.ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ คือเสด็จไปโปรดจริง เพราะทรงพิจารณาเห็นตอนจวนสว่างแล้ว ว่าวันนี้มีใครบ้างที่ควรไปโปรดทรงสนทนา หรือแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดบ้าง เป็นต้น
2.ตอนบ่าย ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ ซึ่งปรากฏว่าไม่วาพระองค์จะประทับอยู่ที่ใด ประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าตลอดถึง ผู้ปกครอง นครแคว้นจะชวนกันมาเฝ้าเพื่อสดับตับพระธรรมเทศนาทุกวันมิได้ขาด
3.ตอนเย็น ทรงเเสดงโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำ ณ สถานที่นั้นบางวันก็มีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก
4.ตอนเที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาเทวดา หมายถึง เทพพวกต่างๆ หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ ผู้สงสัยในปัญญาและปัญหาธรรม
5.ตอนเช้ามืด จนสว่าง ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดได้ แล้วเสด็จไปโปรดโดยการไปบิณฑบาตดังกล่าวแล้วในข้อ 1
โดยนัยดังกล่าวมานี้พระพุทธองค์ทรงมีเวลาว่าอยู่เพียงเล็กน้อยตอนเช้าหลังเสวยอาหารเช้าแล้ว แต่ก็เป็นเวลาที่ต้องทรงต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มาเยือนอยู่เนืองๆ เสวยน้อย บรรทมน้อย แต่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาก ตลอดเวลา 45 พรรษานั้นเอง ประชาชนชาวโลกระลึกถึงพระคุณของพระองค์ดังกล่าวมาโดยย่อนี้ จึงถือเอาวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระองค์เป็นวันสำคัญ จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นในทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา
วันสำคัญนี้ ชาวพุทธทั่วโลกมักจัดพิธีทำบุญใหญ่ นอกจากถือศีลฟังธรรมแล้ว ยังปล่อยนกปล่อยปลา และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในตอนค่ำด้วย
ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันวิสาขบูชา
เมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึงในรอบปี พุทธศาสนาชนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต (พระสงฆ์ สามเณร) หรือ ฆราวาส (ผู้ครองเรือน) ทั่วไป จะร่วมกันประกอบพิธีเป็นการพิเศษทำการสักการบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นดวงประทีปโลก เมื่อวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงในวันเดียวกัน ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญวิสาขบูชา กลางเดือน 6 ประมาณเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น 3 พิธี คือ
1.พิธีหลวง (พระราชพิธี)
2.พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
3.พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)
การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา ปฏิบัติคล้ายกับการประกอบพิธีในวันมาฆบูชา
1.ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
2.ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3.ไปเวียนเทียน ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
4.จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา
5.ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก (ด้วยชื่อวันว่า “Vesak”) โดยการเสนอของประเทศศรีลังกา และมีมติเป็นเอกฉันท์ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยให้เหตุผลว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน
อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ UN Secretary-General António Guterres
ขอให้เรายึดเอาช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูจิตวิญญาณนี้ไว้ และถวายเกียรติแด่ปัญญาของพระพุทธเจ้าด้วยการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว สามัคคี ก่อร่างโลกที่ดีขึ้นและสงบสุขขึ้นสำหรับทุกคน
let us seize this moment of spiritual renewal, and honour Buddha’s wisdom by coming together as one, in solidarity, and shaping a better, more peaceful world for all people.
“วันวิสาขบูชา” วันพระจันทร์เต็มดวงในเดือนพฤษภาคม เป็นวันที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดสำหรับชาวพุทธหลายล้านคนทั่วโลก เป็นวันวิสาขบูชาเมื่อสองพันครึ่งปีที่แล้วในปี 623 ปีก่อนคริสตกาลที่พระพุทธเจ้าประสูติ เป็นวันวิสาขบูชาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และในวันวิสาขบูชาที่พระพุทธเจ้าในปรินิพพานปีที่แปดสิบของพระองค์
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตามมติที่ 54/115ของปี 2542 ได้ยอมรับวันวิสาขบูชาในระดับสากลเพื่อรับทราบการมีส่วนสนับสนุนที่ศาสนาพุทธซึ่งเป็นหนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ได้ทำมานานกว่าสองพันปีและยังคงดำเนินต่อไปเพื่อ จิตวิญญาณของมนุษยชาติ วันนี้มีการเฉลิมฉลองทุกปีที่สำนักงานใหญ่ของ UN และสำนักงานอื่นๆ ของ UN โดยปรึกษาหารือกับสำนักงานของ UN ที่เกี่ยวข้องและกับภารกิจถาวร ซึ่งต้องการปรึกษาด้วยเช่นกัน
“Vesak”, the Day of the Full Moon in the month of May, is the most sacred day to millions of Buddhists around the world. It was on the Day of Vesak two and a half millennia ago, in the year 623 B.C., that the Buddha was born. It was also on the Day of Vesak that the Buddha attained enlightenment, and it was on the Day of Vesak that the Buddha in his eightieth year passed away.
The General Assembly, by its resolution 54/115 of 1999, recognized internationally the Day of Vesak to acknowledge the contribution that Buddhism, one of the oldest religions in the world, has made for over two and a half millennia and continues to make to the spirituality of humanity. This day is commemorated annually at the UN Headquarters and other UN offices, in consultation with the relevant UN offices and with permanent missions, which also wish to be consulted.
พื้นหลัง
คำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้อยคำแห่งความเมตตา สันติสุข และความปรารถนาดีของพระองค์ได้สะเทือนใจคนนับล้าน ผู้คนนับล้านทั่วโลกปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และในวันวิสาขบูชาวันประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ข้อความจากอดีตเลขาธิการ Javier Perez de Cuellar ถึงชาวพุทธในวันวิสาขบูชาในเดือนพฤษภาคม 2529 อ่านว่า:
“สำหรับชาวพุทธทุกหนทุกแห่ง เป็นโอกาสอันน่ายินดีอย่างยิ่ง ในขณะที่ระลึกถึงการประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพานของพระพุทธเจ้ากัวตามา เพื่อเฉลิมฉลองข้อความแห่งความเมตตาและการอุทิศตนเพื่อรับใช้มนุษยชาติ ข้อความนี้ในปัจจุบันอาจมีความเกี่ยวข้องมากกว่าที่เคยเป็นมา”
สันติภาพ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ของมนุษยชาติที่มาแทนที่ความแตกต่างระดับชาติและระดับนานาชาติเป็นสิ่งสำคัญ หากเราต้องรับมือกับความซับซ้อนของยุคนิวเคลียร์
ปรัชญานี้เป็นหัวใจของกฎบัตรสหประชาชาติและควรมีความโดดเด่นในความคิดทั้งหมดของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีสันติภาพสากลนี้”–ฆาเบียร์ เปเรซ เด กูเอลาร์
Background
The teachings of the Buddha, and his message of compassion and peace and goodwill have moved millions. Millions around the world follow the teachings of the Buddha and on the Day of Vesak commemorate the birth, the attainment of enlightenment and the passing away of the Buddha.
A Message from the former Secretary-General, Javier Perez de Cuellar, to Buddhists on the Day of Vesak in May 1986 reads:
“For Buddhists everywhere it is indeed a felicitous opportunity, while commemorating the birth, enlightenment and passing away of Guatama Buddha, to celebrate his message of compassion and devotion to the service of humanity. This message is today perhaps more relevant than ever before.”
Peace, understanding and a vision of humanity that supersedes national and other international differences are essential if we are to cope with the complexities of the nuclear age.
This philosophy lies at the heart of the Charter of the United Nations and should be prominent in all our thinking, especially during this International Year of Peace”–Javier Perez de Cuellar.
แหล่งข้อมูล : https://www.un.org/en/observances/vesak-day
ย่อ