![]() |
|
ข้อควรระวังในการใช้ว่านหางจระเข้ ผู้ใช้ว่านหางจระเข้ครั้งแรก เคล็ดลับในการใช้ ก. สำหรับบาดแผล ก่อนใช้ต้องนำว่านหางจระเข้ไปลวกน้ำร้อนก่อน ผู้ที่มีผิวบอบบาง ให้ใช้เฉพาะส่วนเนื้อวุ้นที่มีฤทธิ์ระคายเคืองค่อนข้างน้อย ข. ถ้ากินว่านหางจระเข้แล้วอาเจียนและท้องร่วง ควรลดปริมาณลง และถ้ากิน 1 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่หาย ก็ควรหยุดกิน ค. ผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรง ให้กินในขณะท้องว่างหรือก่อนอาหาร ส่วนผู้ป่วยที่ร่างกาย อ่อนแอให้กินหลังอาหาร และผู้ที่กินครั้งแรก ก็ควรกินหลังอาหารด้วย ง. ควรเริ่มกินในปริมาณน้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณมากขึ้น จนกินได้วันละ 2 ช้อนโต๊ะ จ. ควรกินตามสภาพสุขภาพร่างกาย เพราะว่านหางจระเข้จะให้สรรพคุณไม่เหมือนกันตามสภาพร่างกายและอาการเจ็บป่วยที่ต่างกัน ผู้ใช้ว่านหางจระเข้เป็นประจำ เคล็ดลับในการใช้ ก. ผู้ที่เกิดอาการลมชัก ควรรีบพาไปให้แพทย์ตรวจรักษา อย่าให้กินว่านหางจระเข้ ข. สตรีในช่วงที่มีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์ จะมีเลือดคั่งอยู่ในมดลูกง่าย ทางที่ดีจึงควรเลี่ยงไม่ใช้ว่านหางจระเข้ ค. น้ำคั้นจากใบว่านสดที่แช่ไว้ในตู้เย็น หากมีสีเปลี่ยนไปก็ไม่ควรใช้อีก ง. ใบว่านไม่ว่าจะเป็นใบสด น้ำคั้นหรือน้ำว่านต้ม ก็ใช้กินได้เป็นประจำ ซึ่งใบสดจะให้ผลดีกว่า จ. ว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์เสพติด จึงใช้ต่อเนื่องได้ โดยไม่ต้องกินมากขึ้นเรื่อยๆ สรุป การใช้ว่านหางจระเข้ เป็นที่นิยมใช้อย่างมากจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จนถึงแม้กระทั่งปัจจุบันนี้ ในหลายประเทศ ทั้งในทวีปยุโรปและอเมริกา ก็ได้ให้ความสนใจพืชชนิดนี้เป็นอย่างมาก เพราะสรรพคุณอันน่าอัศจรรย์ของว่านหางจระเข้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ว่านหางจระเข้กลับมาเป็นที่นิยมอย่างมาก นอกจากสรรพคุณที่เรารู้จักกันในการรักษาแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือแผลไฟไหม้แล้ว ว่านหางจระเข้ยังมีสรรพคุณอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ อาทิเช่น รักษาผิวพรรณ รักษาแผลเป็น บำรุงร่างกาย ฯลฯ ถึงแม้ว่า ว่าหางจระเข้จะมีประโยชน์อย่างมหัศรรษ์ แต่ถ้าเราไม่ระมัดระวังในการใช้ ก็อาจทำให้เกิดโทษได้เช่นกัน จึงควรศึกษาสรรพคุณในการรักษาต่างๆ ปริมาณที่ใช้ ตลอดจนระมัดระวังในการใช้ หรือปรึกษาแพทย์ ก่อนใช้ เพราะจะทำให้เราได้รับประโยชน์จากว่านหางจระเข้อย่างสูงสุด และไม่ก่อให้เกิดโทษ |
คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่ ตั้งแต่วันพุธที่
11 กันยายน พ.ศ. 2545 Copyright(c) 2002.Sutida Thunkparsertsuk All rights reserved. |