วรรณคดีวิจักษ์ : สามก๊ก

สร้างโดย : นางสาวอภิญญา ตู้นิ่ม และนางสาวศรีสวาสดิ์ บุนนาค
สร้างเมื่อ อาทิตย์, 15/11/2009 – 16:29
มีผู้อ่าน 191,052 ครั้ง (27/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/43933

วรรณคดีวิจักษ์ : สามก๊ก

ประวัติผู้แต่งและสาระสำคัญ

ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง (หน)  

http://learners.in.th/file/tonykukku/001002.jpg

               เจ้าพระยาพระคลัง(หน)เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับราชการเป็นหลวงสรวิชิต แล้ว ไปเป็นนายด่านเมืองอุทัยธานี ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เลื่อนเป็น พระยาพิพัฒน์โกษา และเป็นเจ้าพระยาพระคลังในที่สุด เจ้าพระยาพระคลัง(หน)เป็นกวียอดเยี่ยมคนหนึ่งของไทย งานที่สำคัญ เช่น สามก๊ก ราชาธิราชร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก (กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี) บทมโหรี เรื่อง กากี ลิลิตเพชรมงกุฎ และอิเหนาคำฉันท์ เป็นต้น เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. 2348     สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ   คัดมาจากหนังสือสามก๊กของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) 

               ตอนที่ 22 ฉบับราชบัณฑิตยสภาชำระ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วประเภทนิทานที่ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นหนังสือที่แต่งดียอดเยี่ยมประเภทร้อยแก้ว คู่กับหนังสือราชาธิราช ลักษณะการเขียน   เรื่องสามก๊กเป็นร้อยแก้วที่ได้รับการยกย่องว่ามีสำนวนโวหารดี ถ้อยคำภาษาเรียบเรียง ไว้อย่างสละสลวย จนมีนักประพันธ์ยุคหลังได้เลียนแบบสำนวนโวหารจากเรื่องสามก๊ก ทั้งนี้เพราะว่าเป็นเรื่องที่บรรยายได้ดี และมีการดำเนินเรื่องดี ในการกล่าวถึงลักษณะ นิสัยตัวละคร การสนทนา นอกจากสำนวนภาษาที่จัดว่าดีเยี่ยมแล้ว หนังสือสามก๊กยังอยู่ ในความนิยมของผู้อ่านไม่ว่าจะอยู่ในสมัยใด เพราะเนื้อเรื่องของสามก๊กนั้น ไม่ว่าจะ จับเอาตอนใดขึ้นมาปรับใช้กับชีวิตคนในทุกยุคทุกสมัยได้เป็นอย่างดี

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง 

  1. การมีความซื่อตรงและการรักษาสัตย์เป็นคุณสมบัติของนักรบที่จะนำมาซื่งเกียรติยศ ชื่อเสียง
  2. การให้ความสำคัญกับทหารหรือผู้ร่วมงาน ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของแม่ทัพและ หัวหน้า
  3. การเสียสละของคนชั้นหัวหน้า ย่อมเป็นแนวทางให้ผู้น้อยได้เห็นน้ำใจ มีกำลังที่จะ เสียสละมากยิ่งขึ้น การใช้ภาษา   สามก๊กเป็นเรื่องที่มีสำนวนเฉพาะตัว ได้รับการยกย่องว่ามีสำนวนโวหารดีเยี่ยม ทั้งใน การเรียบเรียงถ้อยคำที่สละสลวย และการใช้โวหารอุปมาอุปไมย บรรยายโวหาร จนถือ เป็นแบบอย่างการเขียนร้อยแก้วที่ดี ถ้อยคำสำนวนต่างๆล้วนเป็นสำนวนที่ติดใจคนอ่าน ทุกยุคทุกสมัย 

เรื่องย่อ 

https://play.google.com/store/books/details?
id=6vI4EAAAQBAJ&PAffiliateID=1100l9bPF

               ในสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ โจโฉตั้งตัวเป็นมหาอุปราชสำเร็จราชการแผ่นดิน และคิดกำจัดเล่าปี่ซึ่งขณะนั้นครองเมืองซีจิ๋วอยู่ โจโฉตีเมืองเสียวพ่าย และเมืองซีจิ๋ว ซึ่งเป็นหัวเมืองของจ๊กก๊กได้ เล่าปี่หนีไปตัวคนเดียวเข้าพึ่งอ้วนเสี้ยว โจโฉจึงคิดจะไปตี เมืองแห้ฝือ ที่ กวนอู รักษาครอบครัวของเล่าปี่อยู่ในเมืองนี้

               กวนอู จึงคุมทหารหนีไปหยุดพักอยู่บนเขา ทหารไส้ศึก เปิดประตูเมืองรับโจโฉเข้าเมือง โจโฉให้จุดไฟเผาเมือง สำหรับครอบครัวเล่าปี่นั้นให้ทหารรักษาไว้ดังเดิม กวนอูตกอยู่ในวงล้อมของโจโฉ โจโฉ ต้องการ กวนอู ไว้ช่วงใช้ เตียวเลี้ยว นายทหารของโจโฉ อาสาเกลี้ยกล่อมกวนอูให้เข้ารับราชการกับโจโฉ

               เตียวเลี้ยว เดิมเป็นเบ๊ ของลิโป้ ติดตามลิโป้มาตั้งแต่อยู่เมือง ตันลิว จนลิโป้ได้ครองเมืองชีจิ๋ว แล้วถูกโจโฉตีแตก ขณะที่ลิโป้ถูกลากตัวไปประหาร ลิโป้โกรธเล่าปี่ ที่ไม่ช่วยเหลือจึงร้องด่าไปตลอดทาง

               โจโฉได้ให้ เทียหยก ลวง กวนอู ออกมาจากเมืองแห้ฝือ และล้อมจับตัวกวนอูไว้ เทียหยก ได้ใช้อุบายปล่อยทหารของ เล่าปี่ ที่ โจโฉ จับเป็นเชลย เข้าไปเป็นไส้ศึกใน เมืองแห้ฝือ จน กวนอู เชื่อใจ แล้วให้ แฮหัวตุ้น คุมทหารไปท้ารบกับ กวนอู และสกัดทางไม่ให้กวนอูกลับเข้าไปในเมืองได้

น้ำใจของโจโฉ

https://3.bp.blogspot.com/-_8p68OW-JlA/W8rIXie77OI/AAAAAAAAsic/YEhXuCehFXkfLflcHwZrIVo6ybudFWQjgCKgBGAs/s1600/00000007_00472.jpg

               โจโฉเป็นมหาอุปราชของพระเจ้าเหี้ยนเต้ เป็นขุนพลผู้มีฝีมือ มีกลยุทธ์ และ ทะนงองอาจ แต่เมื่อจะทำการใดมักจะหารือเหล่าขุนนางเพื่อฟังความคิดเห็นต่างๆ เช่นตอนที่จะยกทัพกวนอู โจโฉถามขุนนางว่า “ท่านทั้งปวงจะเห็นประการใด”ขุน นางทั้งหลายได้แก่ ซุนฮก กุยแก เตียวเลี้ยวและเทียหยก ต่างแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ จนโจโฉเห็นชอบด้วยแล้วจึงสั่งการ การตัดสินใจของโจโฉมักขึ้นอยู่กับเหตุผล ดังจะเห็นได้จากตอนที่เตียวเลี้ยวนำข้อเสนอของกวนอูมาแจ้งแก่โจโฉ โจโฉพิจารณาเห็นว่าที่กวนอูจะขอเป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้เท่ากับได้เข้ามา อยู่ในบังคับบัญชาของตน “เราเป็นถึงมหาอุปราช กวนอูจะยอมเป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เหมือนเป็นบ่าวเรา ถ้าเราบังคับบัญชาราชการประการใดกวนอูก็จะไม่ขัดได้” โจโฉจึงยอมรับข้อเสนอข้อแรกของกวนอูได้

               เมื่อกวนอูเสนอเงื่อนไขข้อที่สองว่าจะขอดูแลภรรยาทั้งสองของเล่าปี่ “แลอยากให้ผู้ใดเข้าออกกล้ำกรายเข้าถึงประตูที่อยู่ได้” โจโฉยืนยันว่า “ทุกวันนี้อย่าว่าแต่ภรรยาเล่าปี่เลย ถึงภรรยาผู้น้อยลงไปเราก็มิได้ให้ทำหยาบช้า” อาจกล่าว ได้ว่าโจโฉรักษาน้ำใจของผู้ที่อยู่ได้ปกครองของตนโดยไม่ยุ่งเกี่ยวและรังแก ภรรยาของผู้น้อย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถึงคราวจะต้องใช้กลยุทธ์เอาชนะฝ่ายตรงข้าม โจโฉก็คิด “ขอยืมมือ” ผู้อื่นทำการนี่ได้ ดังจะเห็นได้จากตอนที่โจโฉให้กวนอูกับนางทั้งสองอยู่ในเรือนเดียวกันเพราะ “หวังจะให้กวนอูคิดทำร้ายพี่สะใภ้ น้ำใจจะได้แตกออกจากเล่าปี่ จะได้เป็นสิทธิ์แก่ตัว”

               โจโฉต้องการให้กวนอูมีใจสามิภักดิ์ต่อตนจึงพยายามเอาใจทุกโอกาส เช่น เมื่อเชิญมากินอาหารก็ “จัดแจงให้กวนอูนั่งที่สูงกว่าขุนนางทั้งปวง แล้วให้เครื่องเงินเครื่องทอง และแพรอย่างดีแก่กวนอูเป็นอันมาก” เมื่อ เห็นกวนอูใส่เสื้อขาดก็เอาเสื้ออย่างดีมาให้ และเมื่อเห็นกวนอูขี่ม้าผอมก็เอาม้าฝีเท้าดีมาให้ แต่ทั้งๆที่ทำนุบำรุงกวนอูด้วยยศศักดิ์ศฤงคารบริวาร กวนอูก็ยังแสดงว่าภักดีต่อเล่าปี่อยู่เหมือนเดิม โจโฉจึงคิดน้อยใจ และในที่สุดก็ปลงใจยอมปล่อยกวนอูไป อาจกล่าวได้ว่าโจเป็นคนที่มีมานะ เพียรทำทุกวิธีที่จะได้ตัวลูกน้องผู้ที่มีคุณลักษณะที่ดีมาเป็นกำลัง แต่เมื่อไม่สำเร็จก็ยอมจำนน มิได้ดึงดันบังคับให้เขาอยู่ต่อไป โจโฉเป็นตัวละครที่มีอุปนิสัยและพฤติกรรมทั้งส่วนดีและส่วนเสีย ทำให้ผู้อ่านมีทรรศนะต่อบทบาทของโจโฉต่างๆกัน พวกหนึ่งอาจจะเห็นด้วยกับฉายาที่ยาขอบตั้งให้ว่า “โจโฉ ผู้ไม่ยอมให้โลกทรยศ” ซึ่ง หมายความว่าโจโฉจะเป็นฝ่ายทรยศผู้อื่นก่อนที่จะถูกผู้อื่นทรยศตน ในแง่นี้โจโฉจึงไม่ใช่คนดีนัก ต่างกับทรรศนะของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งกล่าวว่า “…ยิ่งได้อ่านสามก๊กมากครั้งเข้า ก็ยิ่งมีใจฝักใฝ่เป็นข้างโจโฉมากขึ้น… จึงนึกว่าลองเขียนสามก๊กแบบเล่านิทาน แต่จะทำใจเป็นฝ่ายโจโฉตลอดเรื่อง” หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งฉายาให้โจโฉว่า “โจโฉ นายกตลอดกาล” เพราะโจโฉสามารถดำรงตำแหน่งขุนนางของพระเจ้าเหี้ยนเต้ไปจนถึงอายุขัยของตน นับว่าเป็นผู้ปกครองที่มีความสามารถคนหนึ่ง

ความสามิภักดิ์ของกวนอู   

https://2.bp.blogspot.com/-_NhzTfcRXdA/V35taZKF7wI/AAAAAAAAn1U/I1IF5UE5WCIbkU0NiGI5An-dU38SPzaDQCKgB/s640/00000007_00146.jpg

               กวนอูเป็นคนที่สามิภักดิ์ต่อเจ้านายด้วยจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ เมื่อจะกระทำการใดก็จะคิดถึงประโยชน์ต่อเล่าปี่อยู่เสมอ ดังจะเห็นได้จากการที่กวนอูคุ้มครองดูแลภรรยาของเล่าปี่อย่างดีตามที่รับคำจากเล่าปี่ไว้ แม้เมื่อมาเข้ากับโจโฉก็เล็งเห็นประโยชน์เพื่อเล่าปี่เป็นสำคัญ เตียวเลี้ยวเข้าใจความมุ่งมั่นข้อนี้ของกวนอู เมื่อมาเจรจาเกลี้ยกล่อมกวนอูเตียวเลี้ยวจึงอ้างถึงเล่าปี่ว่า ถ้ากวนอูไม่ยอมอยู่กับโจโฉ แต่ยังดึงดันจะสู้รบต่อไปหากตายไปก็จะหมดโอกาสที่จะไปช่วยเหลือเล่าปี่ได้ และจะไม่มีผู้ใดดูแลภรรยาของเล่าปี่อีกด้วย กวนอูจึงเห็นจริงตามนั้น

               กวนอูไม่ปิดบังเจ้านายใหม่ว่าตนยังมีใจจงรักต่อเจ้านายเก่าอยู่ เมื่อได้เสื้อใหม่จากโจโฉ กวนอูสวมไว้ข้างใน โดยสวมเสื้อเก่าที่เล่าปี่ให้ทับอีกทีหนึ่งและบอกโจโฉว่า “ครั้นจะเอาเสื้อใหม่นั้นใส่ชั้นนอก คนทั้งปวงจะครหานินทาว่าได้ใหม่แล้วลืมเก่า” คำพูดของกวนอูมีในความหมายว่า แม้จะมีเจ้านายใหม่ก็ยังไม่ลืมเจ้านายเก่า เมื่อได้ม้าเซกเธาว์จากโจโฉ กวนอูดีใจมากและบอกโจโฉว่า “ม้าเซกเธาว์ตัวนี้มีกำลังมาก เดินทางได้วันละหมื่นเส้น แม้ข้าพเจ้ารู้ข่าวว่าเล่าปี่อยู่ที่ใด ถึงมาตรว่าไกลก็จะไปหาได้โดยเร็ว” โจโฉจึงแจ้งประจักษ์จากคำตอบนี้ว่า “กวนอูก็คิดรักเล่าปี่อยู่มิได้ขาด” อันที่จริงกวนอูก็สำนึกในบุญคุณของโจโฉเหมือนกัน แต่ไม่เท่าเล่าปี่ เพราะกวนอูเห็นว่า “เล่านี้นั้นมีคุณแกเราก่อน” อีกทั้งยังได้สาบานเป็นพี่น้องกันไว้ด้วย เมื่อกวนอูตัดสินใจจากโจโฉไปหาเล่าปี่ กวนอูก็ได้สัญญาว่าจะทดแทนบุญคุณโจโฉ และได้ทำตามคำพูดจริงๆ เมื่อปล่อยโจโฉหนีไปจากเงื้อมมือของซุนกวนและเล่าปี่ เท่ากับกวนอูได้ช่วยชีวิตโจโฉผู้มีบุญคุณไว้เป็นการตอบแทนแล้ว นับได้ว่ากวนอูเป็นแบบอย่างของผู้ที่รักษาความสัตย์

คุณค่าที่ได้รับจากเรื่องสามก๊ก

               การอ่านอย่างพินิจถ้อยคำสำนวนโดยพิจารณาบริบทของเรื่องประกอบด้วยดังตัวอย่างนี้ จะทำให้ผู้อ่านเข้าถึงคุณค่าของวรรณศิลป์ของวรรณคดีเรื่องนี้ได้ดียิ่งขึ้นสมกับพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาลกมหาราชที่มีพระราชประสงค์ให้วรรณคดีเรื่องสามก๊ก  “ เป็นหนังสืออันสมควรแปลไว้เพื่อประโยชน์ราชการบ้านเมือง”ผู้แต่งเรื่องสามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ คือ ข้าราชการที่ชื่อตันซิ่วเป็นผู้บันทึกไว้ในสมัยราชวงศ์จิ้น  (ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 9)

คลิกเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษา

ผู้จัดทำ   

อาจารย์ศรีสวาสดิ์  บุนนาค 

น.ส.อภิญญา  ตู้นิ่ม
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

แหล่งอ้างอิง :

  • http://learners.in.th/file/tonykukku/001002.jpg
  • http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&date=22-12-2007&group=1&gblog=39
  • http://img66.imageshack.us/i/maruek10lx8.jpg/
  • http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai04/18/lukpasa/images/aj.jpg
  • http://mblog.manager.co.th/uploads/1027/images/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%.gif
  • http://jeepy–jeep.blogspot.com/2007/10/blog-post_06.html
  • http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kritsvv
  • www.wt.ac.th/~supaporn/samkok.ppt
  • http://student.nu.ac.th/lovingu/images/Guan%20Yu%20%20กวนอู.jpg
  • http://www.bkkonline.com/upload/picture/เล่าปี.jpg
  • http://www.bkkonline.com/upload/picture/เตียวหุย01.jpg
  • http://media.photobucket.com/image/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2588%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2589/tstawe6z/ZhaoYun.jpg
  • http://student.nu.ac.th/k_net_l_t/gallery/อ้วนเสี้ยว.jpg
  • http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=15912
  • http://www.vcharkarn.com/vcafe/133270
  • http://www.banglamung.ac.th/stubm6282550/CHPAN.html
  • http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=101505
  • http://thai135.multiply.com/journal/item/3
  • http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/wtripoom.htm
  • http://piromwasee.exteen.com/20080325/entry-1
  • http://cddweb.cdd.go.th/cdregion03/cdr03/samake.htm
  • http://www.kroobannok.com/blog/16875
  • www.kidsquare.com/show.php?pid=1950
  • http://psc.212cafe.com/user_blog/psc/picture/1185843766.jpg
  • http://www.makkasan.com/mss1/rp63index_files/Page496.htm