ความลำพองของมนุษย์อาจทำให้หลงลืมไปว่า เขื่อนเป็นเพียงที่กักเก็บน้ำชั่วคราว ผิดกับป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำถาวร ยิ่งไปกว่านั้น ป่ายังสร้างสรรค์ศิลปะอันงดงามที่คงอยู่นิรันดร์ ผิดกับเขื่อนที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่อายุยืนยาวก็แค่ 100-1,000 ปี
ต่อแต่นี้ คือ เขื่อนที่สร้างบาดแผลให้กับธรรมชาติไม่ใช่น้อย ๆ
เขื่อนไตรโตรก (Three Gorges Dam) : ประเทศจีน

ที่มา : www.etravelblackboard.com/images/etc/2008/thr...
เขื่อนไตรโตรก
ปี พ.ศ. 2552 นี้ เขื่อนใหญ่ที่สุดในโลกแห่งใหม่ได้เปิดตัวขึ้น นั่นก็คือ เขื่อนสามผา หรือ ไตรโตรก
ทางการจีนภาคภูมิใจว่าเขื่อนไตรโตรกจะมีอายุการใช้วานได้นานถึง 1,000 ปี
ผลของการสร้างเขื่อนนี้ จะทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนสูงขึ้น 175 เมตร ท่วมทับผืนป่าริมฝั่งและหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังท่วมทับสุสานอายุนับพันปี ถ้าหากทางการจีนไม่ได้สั่งย้ายซะก่อน ซึ่งรัฐบาลจีนหวังจะขายไฟฟ้าและการท่องเที่ยว โดยลืมนึกถึง ปลาโลมาและปลาสเตอร์เจียนสายพันธุ์จีนต้องสูญพันธุ์ อันเป็นผลมาจากทิศทางและคุณภาพน้ำที่เปลี่ยนไป
เขื่อนบัลบิน่า (Balbina Dam) : ประเทศบราซิล

ที่มา : www.internationalrivers.org/files/images/Balb...
เขื่อนบัลบิน่า
เขื่อนแห่งนี้ท่วมทับผืนป่าอะเมซอนถึง 24,000 ตารางกิโลเมตร โดยนักอนุรักษ์ป่าอะเมซอนได้คำนวณว่า 3 ปีแรกที่เขื่อนสร้างเสร็จและเริ่มกักเก็บน้ำ ซากอินทรีย์สารที่ทับทมกันเป็นตะกอนจะเริ่มมักหมม แล้วปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาถึง 23,750,000 ตัน และก๊าซมีเทนมากถึง 1400,000 ตัน ซึ่งก๊าซ 2 ชนิดนี้นั้นจะส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลกอย่างรุนแรง
เขื่อนรัชชประภา : ประเทศไทย

ที่มา : www.weekendhobby.com/offroad/toyota/picture%5...
เขื่อนรัชชประภา
ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นได้บ่มเพาะความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดขึ้น แต่เขื่อนนี้กลับทำลายลงอย่างรวดเร็ว เขื่อนรัชชประภาตั้งอยู่ใจกลางผืนป่าปักษ์ใต้ ป่าไม้ซึ่งมีความหลากหลายสุดยอดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันเห็นเพียงเกาะแก่งน้อยใหญ่ 162 เกาะ
|