:: Welcome to Website *_*  ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ::

 
 
 

  สรุปการลำเลียงสารอาหารในพืช
การลำเลียงอาหารของพืชในโฟลเอ็มมีความเร็วเฉลี่ยประมาณ 50-150เซนติเมตรต่อชั่วโมง การลำเลียงอาหารเกิดโดยขบวนการต่าง ๆ คือ
1. การแพร่ (Difusion) เป็นการลำเลียงอาหารจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งโดยเคลื่อนที่ไปตามความเข้มข้นของสารจากบริเวณที่มีอาหารเข้มข้นมากกว่า ไปยังบริเวณที่มีอาหารเข้มข้นน้อยกว่า ซึ่งเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ
2. การไหลเวียนของโพรโทพลาซึม (Protoplasm streaming) ศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฮอลันดาชื่อ ฮูโก เด ฟรีส์ (Hugo De Vries) เมื่อ พ.ศ.2428 (ค.ศ.1885)โดยพบว่าการเคลื่อนที่ของสารละลายภายใน ซีฟทิวบ์ ของโฟลเอ็ม เกิดจากการไหลเวียนของโพรโทพลาซึมหรือที่เรียกว่า
ไซโคลซิส (Cyclosis) การเคลื่อนที่นี้อาจช้ามากคือไม่กี่มิลิเมตรต่อชั่วโมง หรืออาจเร็วได้ถึงหลายร้อยมิลลิเมตรต่อชั่วโมง อาหารภายในโพรโทพลาซึมของ ซีฟทิวบ์ เคลื่อนตัวออกจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งโดยผ่านพลาสโมเดสมาตา (Plasmodesmata) ซึ่งเชื่อมโยงกันกับ ซีฟเพลต (Sieve plate) ซึ่งเป็นบริเวณที่ติดต่อกันระหว่าง ซีฟทิวบ์ แต่ละเซลล์การเคลื่อนที่โดยการไหลเวียนของอาหารใน โพรโทพลาซึม ของ ซีฟทิวบ์เกิดขึ้นในเซลล์ที่มีชีวิตเท่านั้นและการลำเลียงเชื่อมต่อกันได้ เนื่องจากเซลล์ของ ซีฟทิวบ์เชื่อมต่อกันตลอดความยาวของลำต้นสารอาหารเหล่านี้จึงเคลื่อนที่ติดต่อกันได้ตลอดและยังพบอีกว่าถ้าหากลดการเคลื่อนที่ของโพรโทพลาซึม ของซีฟทิวบ์ลง อัตราการลำเลียงอาหารจะลดลงด้วย
3. การไหลของอาหารเนื่องจากแรงดัน ( Pressure flow) การไหลของอาหารโดยวิธีนี้ศึกษาและเสนอทฤษฎีโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
อีมึนจ์(E. Munch) เมื่อปี พ.ศ.2473 คือทฤษฎีแรงดันเต่ง (Pressure flow theory) มีกลไกสำคัญคือ
3.1 เซลล์ในชั้น เมโซฟิลล์ (Mesophyll) ของใบสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้ำตาลกลูโคสมากขึ้นน้ำตาลกลูโคสเคลื่อนที่จากเซลล์ เมโซฟิลล์
เข้าสู่เซลล์ห่อหุ้มกลุ่มท่อลำเลียง (Bundle sheath cell)
3.2 การสะสมน้ำตาลซูโครสในเซลล์ห่อหุ้มกลุ่มท่อลำเลียง เปลี่ยนเป็นน้ำตาลซูโครส ทำให้มีการสะสมน้ำตาลซูโครสมากขึ้นเกิดการขนส่งซูโครสแบบ
แอกทิฟทรานสปอร์ต จากเซลล์ห่อหุ้มกลุ่มท่อลำเลียงเข้าสู่โพรโทพลาซึมของซีฟทิวบ์ซึ่งต้องมีการใช้พลังงานจาก ATP จำนวนมาก
3.3 การสะสมน้ำตาลซูโครสใน ซีฟทิวบ์ทำให้น้ำจากเซลล์ข้างเคียง เช่นเซลล์เมโซฟิลล์ และเซลล์ห่อหุ้มกลุ่มท่อลำเลียงแพร่เข้าสู่ ซีฟทิวบ์ ทำให้
ซีฟทิวบ์มีแรงดันเพิ่มขึ้นจะดันสารละลายให้เคลื่อนผ่าน ซีฟทิวบ์ที่เรียงติดกันจากแผ่นใบเข้าสู่ก้านใบ กิ่ง และลำต้นของพืชตามลำดับ
3.4 อาหารจะเคลื่อนตัวจากใบไปยังส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้หรือสะสม เช่นที่ราก ดังนั้นใบจึงมีความเข้มข้นของสารอาหารสูงกว่าบริเวณราก และที่เซลล์รากจะมีการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแป้งซึ่งไม่ละลายน้ำ
   
 

   
   
   
 

ก่อนหน้า | หน้าหลัก | ถัดไป