สตรอเบอรี่

k\agri\tree\nav\nav_6_sec01p03_bh.gifผู้จัดทำไม้ผล ไม้ยืนต้นพืชผักสวนครัว

 

ศุภโชค 
สตรอเบอรี่ 
มะนาวนอกฤดู 
กล้วยนานาชนิด 
มะพร้าวตัดยอด 

 

 การปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย
(Strawberry Cultivation in Thailand)

ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์

บทนำ
สตรอเบอรี่ จัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกระจายกันมากที่สุดในโลก สามารถพบได้แทบทุกประเทศตั้งแต่ แถบขั้วโลกลงมาถึงพื้นที่ในเขตร้อน ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งสภาพภูมิอากาศและชนิดดินที่ใช้ปลูก บางพันธุ์จะพบว่าสามารถปลูก ในทางเหนือของโลก เช่น รัฐ Alaska ได้ดีเท่ากับปลูกในทางใต้ลงมาเช่นแถบ Equator
สตรอเบอรี่ เป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมาหลายร้อยปีมาแล้ว ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้พบว่าผลผลิต ที่ใช้สำหรับบริโภคเป็นผลสด และใช้ในเชิงอุตสาหกรรมแปรรูปได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็วตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ เป็นสาเหตุมาจากการผสมพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตยาวนานขึ้น การนำระบบปลูกแบบดูแลอย่างใกล้ชิดมาใช้ ตลอดจนการเลือกพื้นที่ปลูก ที่มีความเหมาะสมมากกว่าแต่ก่อน ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการทดลองวิจัยที่จะหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้การปลูก สตรอเบอรี่นั้นง่ายขึ้น โดยเน้นการให้ผลผลิตสูงและสามารถทำรายได้ตอบแทนเป็นที่พอใจแก่เกษตรกรผู้ปลูก
ในประเทศไทยแม้ว่าจะมีพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือ เช่น บางอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย และในพื้นที่ บางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น แต่ยังมีแนวโน้มที่สามารถปลูกได้ผลพอสมควร ในพื้นที่สูงของภาคกลาง เช่น แถบบนภูเขาของจังหวัดกาญจนบุรี เนื่องมาจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ขณะนี้ สตรอเบอรี่จึงถูกพิจารณาจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ ซึ่งสามารถช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกนับเป็นพันครอบครัว ให้ดีขึ้นทั้งพื้นที่ราบและบนที่สูง นอกจากนี้ยังพบว่ามีศักยภาพสูงมาก สำหรับการผลิตสตรอเบอรี่เพื่อจุดประสงค์ในการขยายช่วงของ การเก็บเกี่ยวหรือผลิตให้ผลออกนอกฤดูกาลบนพื้นที่สูงของประเทศไทยซึ่งมีสภาพอากาศหนาวเย็นพอเหมาะตลอดทั้งปีและมีอนาคต สำหรับการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งสามารถผลิตได้ในช่วงดังกล่าวอีกด้วย

ประวัติ

ทางภาคเหนือของประเทศไทยได้มีการปลูกสตรอเบอรี่มานานหลายปีแล้ว แต่ที่นับว่าเริ่มมีความสำคัญเป็นพืชเศรษฐกิจก็ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ชาวอังกฤษที่มาทำงานเกี่ยวกับป่าไม้ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้นำต้นสตรอเบอรี่เข้ามาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2477 ซึ่ง ต่อมาสตรอเบอรี่พันธุ์นี้ถูกเรียกว่า พันธุ์พื้นเมือง เพราะไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอน ผลของพันธุ์นี้จะมีลักษณะนิ่ม มีขนาดเล็ก สีผลออกเป็นสีปูนแห้ง และให้ผลผลิตต่อพื้นที่ต่ำ ต่อมาหลังจากที่ได้มีการแนะนำวิธีการปลูกสตรอเบอรี่แล้ว ก็มีการแพร่ขยายการปลูก ในฐานะเป็นผลไม้ชนิดใหม่ภายในส่วนของโรงเรียน และสถานีทดลองเกษตรของส่วนราชการต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ได้มี การปลูกเพื่อการค้าอย่างจริงจังก่อนถึงปี พ.ศ. 2522 มีเกษตรกรบางรายพยายามปลูกเป็นการค้าในพื้นที่ใหญ่ ๆ แต่ก็ไม่ได้รับความ สำเร็จเท่าที่ควร
ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงก่อตั้งโครงการหลวงซึ่งปัจจุบันใช้ชื่อว่า มูลนิธิ โครงการหลวง โดยมี หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานมูลนิธิฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารของพื้นที่ทาง ภาคเหนือของประเทศ หยุดยั้งการปลูกฝิ่งของชาวไทยภูเขา โดยหาพืชอื่นทดแทนให้ปลูกและช่วยยกระดับการครองชีพ ตลอดจนความ เป็นอยู่ของชาวไทยภูเขาให้ดีขึ้น ดังนั้นโครงการวิจัยสตรอเบอรี่จึงเป็นอีกโครงการหนึ่งโดยเริ่มดำเนินการในระหว่างปี พ.ศ. 2517- 2522 โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้รับผิดชอบโครงการและได้รับทุนวิจัยจากทางฝ่ายงานวิจัยกระทรวงเกษตร ประเทศ สหรัฐอเมริกา (Agricultural Research Service ของ USDA) ระหว่างการวิจัยนี้ได้มีการนำสตรอเบอรี่พันธุ์ต่าง ๆ เข้ามามากมาย เพื่อทดลองปลูกตามสถานีทดลองเกษตรที่มีระดับความสูงที่ต่างกัน รวมทั้งศึกษาเรื่องของโรคแมลงการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และตลอดจนทางด้านของการตลาด
ผลของความสำเร็จและข้อมูลที่ได้มาจากโครงการวิจัยสตรอเบอรี่นี้ได้นำไปใช้ในงานส่งเสริม ให้แก่ชาวไทยภูเขา รวมทั้งเกษตรกร พื้นราบในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตสตรอเบอรี่และต้นไหลด้วย ปัจจุบันสตรอเบอรี่จึงถูกจัด เป็นพืชเศรษฐกิจพืชหนึ่งที่ทำรายได้ค่อนข้างดี และให้ผลตอบแทนที่รวดเร็วแก่เกษตรกรผู้ปลูกในทั้งสองจังหวัดนี้

พันธุ์
ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 จนถึง พ.ศ. 2541 ได้มีการนำสตรอเบอรี่พันธุ์ต่าง ๆ จากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกมากมาย จากปี พ.ศ. 2515 ปรากฎว่าพันธุ์ Cambridge Favorite, Tioga และ Sequoia (โดยรู้จักกันในนามพันธุ์พระราชทานเบอร์ 13, 16 และ 20 ตามลำดับ) ได้ถูกพิจารณาว่าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ต่อมาพบว่า พันธุ์ Tioga สามารถปรับตัวได้ดีทั้งพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงระดับ 1,200 เมตรและพื้นที่ราบของทั้งสองจังหวัด เกษตรกรขณะนั้นเกือบ ทั้งหมดใช้พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้ากันทั่วไปโดยไม่มีพันธุ์อื่นมาแทนที่ พ.ศ. 2528 ได้มีการนำพันธุ์ Akio Pajaro และ Douglas จากอเมริกาทดลองปลูกในสถานีโครงการหลวงที่ดอยอินทนนท์ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาอีกหนึ่งปีได้มีการนำพันธุ์ Nyoho Toyonoka และ Aiberry จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูก ผลปรากฎว่าสองพันธุ์แรกสามารถปรับตัวได้ดีบนพื้นที่สูง หลังจากนั้น มาเริ่มมีผู้นำพันธุ์อื่น ๆ เข้ามาปลูกทดสอบมากมาย จนกระทั่งมีการตั้งพันธุ์ Toyonoka เป็นพันธุ์พระราชทาน 70 (ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา) และพันธุ์ B5 เป็นพันธุ์พระราชทาน 50 ปี (ปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี) ปัจจุบันพันธุ์สตรอเบอรี่ที่นับว่าปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่ของประเทศได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 16, 20, 50 และ 70 นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ Nyoho, Dover และ Selva บ้าง ในบางพื้นที่
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงขณะนี้ทางศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรในเขตที่สูง และสถานีวิจัยดอยปุยของสำนักงานโครงการ จัดตั้งสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรในเขตวิกฤต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็กำลังดำเนินการวิจัยศึกษาหาข้อมูลของ สตรอเบอรี่เพิ่มเติมมาโดยตลอด รวมทั้งเทคนิควิธีการปลูกและการดูแลแบบสมัยใหม่เหมือนในต่างประเทศที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม การค้า โดยจะนำผลงานที่ได้เหล่านี้ทำการส่งเสริมเผยแพร่หรือจัดฝึกอบรมให้เกษตรกรผู้ปลูกในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป

พื้นที่การผลิต

พื้นที่การปลูกสตรอเบอรี่ของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา เนื่องมาจากการขยายตัวของตลาด ทั้งภายในและภายนอกประเทศโดยเฉพาะในด้านการนำมาแปรรูปพื้นที่การผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เพราะมีอากาศเย็นที่สตรอเบอรี่สามารถให้ผลผลิตได้ในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมรวมพื้นที่การผลิตทั้งประเทศประมาณ 2,600-3,000 ไร่ต่อปี
1. เชียงใหม่ สามารถแบ่งพื้นที่ปลูกออกมาตามอำเภอต่าง ๆ ได้ดังนี้คือ ฝาง แม่ริม สะเมิง จอมทอง (บนดอยอินทนนท์) และพื้นที่รอบ ๆ ตัวเมือง ผลผลิตส่วนใหญ่ของพื้นที่ปลูกในอำเภอแม่ริม ดอยอินทนนท์และพื้นที่รอบ ๆ เมืองเชียงใหม่จะทำการจำหน่าย เป็นผลรับประทานสดแก่นักท่องเที่ยว และขนส่งเข้าตลาดที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก ส่วนผลผลิตที่อำเภอสะเมิงและฝางจะส่งจำหน่าย ให้แก่โรงงานใกล้เคียงเพื่อทำการแปรรูป ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2539-41 พื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ในอำเภอสะเมิงมีประมาณ 2,000-2,500 ไร่ ในขณะที่อำเภอฝางมีประมาณ 200 ไร่
2. เชียงราย พื้นที่หลักในการผลิตสตรอเบอรี่อยู่ที่อำเภอแม่สาย และอาจมีกระจายบ้างอยู่ทั่วไป ๆ บริเวณใกล้เคียง ผลผลิต ส่วนใหญ่ประมาณ 60% จะส่งเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อจำหน่ายเป็นผลรับประทานสด นอกนั้นจะทำการส่งเข้าโรงงานเพื่อแปรรูป ประมาณ 20% และเกษตรกรจะจำหน่ายเองให้กับนักท่องเที่ยวอีก 20% เนื่องจากมีโรคระบาดและต้นตายมากหลังปลูกจึงทำให้ พื้นที่ปลูกในปี พ.ศ. 2535 ประมาณ 800 ไร่ ลดลงเหลือ 350 ไร่ ใน พ.ศ. 2537 และ 250 ไร่ใน พ.ศ. 2540 นอกจากนี้เกษตรกร บางรายได้ขายที่ดินหรือเปลี่ยนไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น จึงทำให้พื้นที่ปลูกลดลงด้วย ปัจจุบันเกษตรกรในอำเภอแม่สายสามารถผลิต สตรอเบอรี่ได้เพียง 60% ของความต้องการของตลาดเท่านั้น
3. สตรอเบอรี่ยังถูกปลุกกันโดยทั่วไปบนที่สูงในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ทางตะวันตก เช่น เทือกเขาในอำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ซึ่งคาดว่าอาจจะเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญต่อไปในอนาคตสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่ของประเทศไทย

การตลาดและเศรษฐกิจ

ประเทศไทยมีการส่งออกผลสตรอเบอรี่ ในเชิงอุตสาหกรรมไปยังต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และสามารถทำรายได้หลายร้อย ล้านบาทต่อปี ประเทศหลักที่ส่งไปจำหน่ายได้แก่ ญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีปริมาณการส่งออกในระยะสองสามปีที่ผ่านมาลดลงเนื่องมาจากมี ประเทศคู่แข่งคือ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลี การที่ไม่ได้มีพัฒนาทางด้านการปลูกแบบสมัยใหม่เพื่อให้ผลผลิตมากขึ้น หรือไม่มี การเปลี่ยนเป็นพันธุ์ใหม่ที่ตลาดต้องการรวมทั้งภายในประเทศเองก็มีการใช้บริโภคทั้งผลสดและแปรรูปมากขึ้นก็นับว่าเป็นหลาย ๆ สาเหตุประกอบกัน
ในอำเภอแม่สายและพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่นั้นมูลค่าต้นทุนของการผลิตต่อไร่ตกประมาณ 25,000-30,000 บาทและรายได้ ตอบแทนต่อไร่ 62,500 บาท (คิดจากค่าเฉลี่ย 2,500 กก. ต่อไร่และ 25 บาทต่อ กก.) ขณะที่เกษตรกรบนดอยอินทนนท์ใช้ต้นทุน การผลิตไร่ละ 30,000-35,000 บาท และมีรายได้ไร่ละ 72,500 บาท เนื่องจากสามารถขายเป็นผลรับประทานสดแก่นักท่องเที่ยว และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานกว่าพื้นราบ ปกติแล้วผลผลิตจะออกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคมในพื้นที่ปลูกบนที่สูง และระหว่างเดือนธันวาคมถึงเมษายนในพื้นที่ปลูกบนพื้นราบ ผลผลิตที่ออกก่อนในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมจะมีคุณภาพดีและ ขนาดใหญ่ ทำให้จำหน่ายได้ในราคาสูงประมาณ 70-80 บาทต่อกิโลกรัมในท้องตลาดทั่วไป หลังจากนั้นขนาดผลจะเล็กลง และ จำหน่ายได้ในราคา 20-30 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงเดือนมกราคมถึงกลางเดือนมีนาคม
ปัจจุบันยังมีความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อใช้ผลิตของสตรอเบอรี่ในเชิงอุตสาหกรรมเป็นปริมาณมากมายต่อปี และกำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนประชากร ประเทศญี่ปุ่นเป็นแหล่งใหญ่ของไทยในการนำเข้าผลสตรอเบอรี่ เพื่อใช้ ในการแปรรูปมากที่สุด (ที่ผ่านมาประมาณ 1,000-3,000 ตันต่อปี) นอกจากนี้ยังเคยมีการขนส่งผลรับประทานสดไปจำหน่ายยัง ประเทศฮ่องกง สิงคโปร์ และบางประเทศในแถบยุโรปบ้างเล็กน้อยโดยมูลนิธิโครงการหลวงอีกด้วย

การปลูก

ด้วยระบบการปลูกสตรอเบอรี่ในปัจจุบันของประเทศไทย ต้นไหลจะถูกบังคับให้เกิดการพัฒนาของตาดอกและเพื่อความแข็งแรง ก่อนปลูก โดยการปล่อยให้ได้รับอุณหภูมิเย็นในเวลากลางคืนบนที่สูด ซึ่งจะทำให้ ออกดอกได้เร็วกว่าต้นไหลที่ผลิตบนพื้นราบ

การปลูกบนพื้นราบ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ตอนปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ต้นไหลทั้งหมด ที่ออกมาจะถูกปลูกลงในถุงพลาสติกเล็กที่บรรจุดินแล้วขนาด 3 x 5 ซม. และปล่อยให้เจริญเติบโตในแปลงจนกระทั่งเดือนมิถุนายน จึงขนขึ้นไปปลูกบนที่สูงประมาณ 1,200-1,400 เมตร เพื่อผลิตต้นไหลต่อไปซึ่งจะตรงกับช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) หลังจากที่ ปล่อยให้ต้นไหลที่เจริญอยู่ในถุงพลาสติก และได้รับความหนาวเย็นบนที่สูงจนเพียงพอแล้วจะนำลงไปปลูกในแปลงที่พื้นราบไม่เกิน ต้นเดือนตุลาคม เพราะถ้าหากปลูกช้าเกินไปจะทำให้ผลผลิตออกช้าตามไปด้วย ต้นไหลที่ผลิตได้จากบนที่สูงนี้จะสามารถตั้งตัวและ ออกดอกได้เร็วกว่า (ประมาณเดือนธันวาคม) ปกติเกษตรกรจะใช้ระยะปลูก 30 x 40 ซม. สำหรับการปลูกแบบสองแถว และระยะปลูก 25 x 30 ซม. สำหรับการปลูกแบบสี่แถว ดังนี้จะใช้จำนวนต้นไหลทั้งหมดประมาณ 8,000-10,000 ต้นต่อไร่ การคลุมแปลงนั้นจะใช้ ฟางข้าว ใบตองเหียง หรือใบตองตึง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือร่วมกันก็ได้คลุมระหว่างแถวในแปลงยกร่อง (โดยจะทำการคลุมก่อนหรือ หลังจากปลูกได้ 1-2 สัปดาห์แล้วแต่พื้นที่) ดอกแรกจะบานได้ในราวต้นเดือนพฤศจิกายน และสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเดือนมีนาคมในพื้นที่ปลูกของจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดเชียงรายซึ่งมีสภาพอากาศที่เย็นกว่าจะเก็บเกี่ยวต่อไปได้อีกจนถึงเดือน เมษายน
เมื่อถึงปลายฤดูการเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้น ต้นไหลที่เจริญออกมาก็จะถูกบังคับให้เจริญในถุงพลาสติกขนาดเล็กใส่ดิน เหมือนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และเตรียมไว้ใช้เป็นต้นแม่สำหรับการขนขึ้นไปขยายต้นไหลบนที่สูงต่อไปเป็นวงจรเหมือนกันทุก ๆ ปี

การปลูกบนที่สูง เมื่ออากาศร้อนขึ้นในปลายช่วงของการเก็บเกี่ยวคือประมาณปลายเดือนพฤษภาคม ต้นสตรอเบอรี่จะมี การสร้างไหลและต้นไหลออกมา ต้นไหลเหล่านี้จะถูกขุดขึ้นมาปลูกลงในถุงพลาสติกเหมือนในพื้นที่ราบราวกลางเดือนสิงหาคม (มีเกษตรกรบางรายที่ปล่อยให้ต้นไหลเจริญในแปลงโดยตรงซึ่งไม่ได้ชำลงในถุงพลาสติก) และปล่อยให้เจริญอยู่ในแปลง จนกระทั่ง ปลายเดือนกันยายนเพื่อให้แน่ใจว่าต้นไหลเหล่านี้ได้รับความหนาวเย็นจนเพียงพอต่อการเกิดตาดอกสำหรับเป็นต้นที่ใช้ปลูกในคราว ต่อไป ก่อนปลูกนั้นเกษตกรบนที่สูงซึ่งส่วนมากเป็นชาวไทยภูเขาจะทำการยกแปลงปลูก และคลุมแปลงด้วยใบตองเหียงหรือใบตองตึง ต่อจากนั้นจึงเจาะรูโดยใช้กระป๋องนมที่ทำการเปิดปากออกแล้วกดลงไปบนวัสดุคลุมแปลงให้เป็นรูช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมเพื่อให้ ได้รับผลผลิตสูงที่สุดคือก่อนปลายเดือนกันยายนเป็นอย่างช้าปกติจะปลูกเป็นแบบแถวเดี่ยว หรือแถวคู่โดยใช้ระยะปลูก 25 x 30 ซม. บางพื้นที่จะทำการปลูกเป็นแบบขั้นบันไดจึงทำให้แถวแคบกว่าการปลูกในพื้นราบ ผลผลิตจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ระหว่างต้นเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม โดยในระหว่างกลางเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม ต้นสตรอเบอรี่อาจจะชะงักการเจริญเติบโต เล็กน้อยและไม่ให้ผลผลิตเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นเกินไปในเวลากลางคืน (ต่ำกว่า 10 ํC) เป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง
การปลูกทั้งในพื้นที่ราบและบนที่สูงจะให้น้ำโดยปล่อยให้ไหลผ่านไปตามร่องของแปลงปลูก (Furrow irrigation) แหล่งน้ำที่ได้อาจมา จากบ่อ สระ หรือคลองเล็ก ๆ ซึ่งไม่จัดว่าเป็นน้ำที่สะอาดและอาจมีเชื้อโรคต่าง ๆ สะสมอยู่ในน้ำนั้น อย่างไรก็ดีมีบางพื้นที่มีการให้น้ำ แบบสปิงเกอร์ (Sprinkle system) โดยใช้น้ำบาดาลที่สูบขึ้นมาซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ดีกว่าที่กล่าวข้างต้น เพราะทำให้ลดการแพร่ระบาด ของเชื้อโรคที่จะไหลไปยังแปลงอื่น ๆ โดยมีน้ำเป็นตัวพา
ปกติเกษตรกรจะทำแปลงปลูกต้นสตรอเบอรี่ให้อยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ต้นได้รับแสงเต็มที่เป็นการเพิ่มการเจริญเติบโต และสี ของผลก็จะพัฒนาได้ดีขึ้น สภาพพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่โดยทั่วไปจะอยู่ใกล้ตลาดหรือโรงงานแปรรูป หรือเป็นพื้นที่เดิมที่ใช้ต่อเนื่องกันมา ทุก ๆ ปี โดยมีการปลูกพืชอื่นหมุนเวียนเป็นส่วนใหญ่ โดยทั่วไปก่อนทำการปลูกสตรอเบอรี่นั้นเกษตรกรไม่ได้ทำการอบดินในแปลงปลูก ด้วยสารเคมีเพื่อควบคุมโรคในดิน ไส้เดือนฝอย หรือวัชพืชแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการ ปลูกสตรอเบอรี่ที่ถูกต้อง ตลอดจนถึงการดูแลรักษา และการควบคุมศัตรูพืชด้วย
เนื่องมาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดที่ใช้ผลผลิตสตรอเบอรี่ในเชิงอุตสาหกรรมทำให้มีความต้องการต้นไหลในปัจจุบันมาก กว่า 25-30 ล้านต้นต่อปี ราคาของต้นไหลที่จำหน่ายจะขึ้นกับปริมาณมากน้อยของแต่ละปี รวมทั้งขนาดของต้นไหลเองอีกด้วย ซึ่ง ส่วนใหญ่จะจำหน่ายกันในราคา 1-1.50 บาทต่อต้น

การเก็บเกี่ยว

ผลผลิตรวมทั้งประเทศนั้นส่วนใหญ่ประมาณ 40% จะถูกขนส่งเข้าสู่ตลาดกรุงเทพมหานครเพื่อจำหน่ายเป็นผลสดอีก 40% จะส่งเข้า โรงงานเพื่อทำการแปรรูปสำหรับใช้ภายในและส่งออกต่างประเทศ จะส่งเข้าโรงงานเพื่อทำการแปรรูปสำหรับใช้ภายในและส่งออก ต่างประเทศ และส่วนที่เหลืออีกประมาณ 20% จะจำหน่ายเป็นผลสดและแปรรูปในอุตสาหกรรมแบบครัวเรือนให้กับนักท่องเที่ยว ภายในท้องถิ่นนั้น ๆ
ผลที่ใช้รับประทานสดจะถูกเก็บเกี่ยวและแบ่งเกรดโดยเกษตรกรเองในโรงเรียนชั่วคราวใกล้แปลงปลูก ผลจะถูกแบ่งเกรดตาม การพัฒนาของสีออกเป็น 3 กลุ่มคือ 61-80 % สำหรับจำหน่ายในท้องถิ่น 41-60 % สำหรับจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวและ 21-40 % สำหรับขนส่งเข้ากรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งจากพื้นที่ปลูกบนที่สูงสู่ตลาดพื้นราบ ทำให้เกษตรกรบางราย เก็บเกี่ยวขณะที่สีของผลพัฒนาเพียง 10-15 % ตามร้านขายผลไม้ในตลาดสดและร้านจำหน่ายข้างทางจะจำหน่ายโดยชั่งน้ำหนักเป็น กิโลกรัมแล้วบรรจุลงในถุงพลาสติก สำหรับการจำหน่ายเป็นผลรับประทานรับประทานสดของมูลนิธิโครงการหลวงนั้นผลจะถูกแบ่งเกรด ตามน้ำหนักและคุณภาพแล้วบรรจุวางเรียงสองชั้นในถาดพลาสติกใส (แต่เดิมใช้ถาดโฟมบรรจุชั้นเดียว) หุ้มด้วยพลาสติกบางเพื่อไม่ให้ ผลเคลื่อนที่ในขณะเวลาขนส่งและใส่รวมกันชั้นเดียวในกล่องกระดาษแข็งสำหรับใส่ผลไม้ ปกติจะบรรจุถาดละ 250-260 กรัม เพื่อขาย ตามซุปเปอร์มาเกตหรือร้านค้าทั่วไป
ผลสตรอเบอรี่ที่ใช้ในการแปรรูปจะถูกเก็บมาจากแปลงปลูกและขนส่งมาที่โรงงาน (ผลอาจจะจะถูกตัดขั้วออกก่อนนำมาส่งหรือตัดที่ โรงงาน) แบ่งคัดตามเกรดล้างด้วยน้ำที่สะอาด หลังจากนั้นผลบางส่วนจะถูกแช่แข็งเลยทันที และบางส่วนจะนำมาใส่ถุงพลาสติกที่บรรจุ อยู่ในภาชนะเช่น ปี๊บแบบที่ใส่น้ำมันก๊าด และใส่น้ำตาลบนผลสตรอเบอรี่ตามสัดส่วนที่ตลาดเป็นผู้กำหนดมาเช่น น้ำหนักผล 14 กก. ต่อน้ำตาลทรายขาว 1.2 กก. เป็นต้น หลังจากนั้นจะทำการปิดฝาและรีบนำเข้าห้องเย็นแบบแช่แข็งเตรียมขนส่งไปยังต่างประเทศต่อไป

ปัญหา

1. พันธุ์ Tioga ได้ถูกปลูกมาเป็นเวลานานเกือบ 30 ปีแล้ว โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนเป็นพันธุ์ใหม่ที่ดีกว่า ขณะนี้เกษตรกรกำลังต้องการ พันธุ์ใหม่ที่ตลาดต้องการมาทดแทน เนื่องจากพันธุ์นี้มีช่วงการเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างสั้น ผลมีขนาดเล็กซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของตลาด รับประทานผลสด รวมทั้งรสชาติที่ค่อนข้างเปรี้ยวไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค
2. เนื่องมาจากปัญหาต่าง ๆ เช่น ไม่มีการคัดเลือกต้นแม่ที่มีคุณภาพในการขยายต้นไหล ขาดวิธีจัดการที่ดีทางเขตกรรมในแปลงก่อน และหลังการปลูก รวมทั้งการใช้ต้นแม่พันธุ์เก่าขยายต้นไหลอย่างสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานหลายสิบปี โดยไม่ได้มีการใช้ต้นแม่พันธุ์ ที่ผ่านการรับรองซึ่งได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญและปลอดโรค จึงทำให้ต้นไหลที่ได้อ่อนแอให้ผลผลิตต่ำในช่วงของฤดูกาลปลูก ผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพที่ไม่ดีตามไปด้วย ขนาดของผลเล็กลงมากในช่วงกลางและปลายฤดูจนไม่สามารถจำหน่ายได้ ซึ่งถือว่าเป็น การสูญเสียอย่างมาก
3. ผลที่เก็บเกี่ยวมาไม่มีการพัฒนาของสีหรือความสุกที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน (ซึ่งโดยทั่วไปควรจะให้มีการพัฒนาของสีอยู่ระหว่าง 50-70 % บนผิวผล) ในประเทศไทยเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่จะเก็บเกี่ยวผลหลายช่วงของการพัฒนาของสีโดยขึ้นอยู่กับตลาด ปัญหาที่เกิดขึ้นคือความไม่มีรสชาติของผลที่สุกไม่เต็มที่ เนื่องจากสตรอเบอรี่จัดเป็นผลไม้พวก Non-climacteric ซึ่งต้องเก็บเกี่ยว ตอนผลสุกจึงจะให้รสชาติที่ดี นอกจากนี้ผลมีความชอกช้ำง่ายในขณะขนส่ง ทำให้กลายเป็นผลเกรดต่ำอย่างรวดเร็ว เมื่อไปถึงตลาด ในสภาพอากาศร้อน การพิจารณาช่วงเก็บเกี่ยวที่เป็นมาตรฐานและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพ ควรนำมาใช้ใน การปลูกสตรอเบอรี่ที่เป็นการค้าอย่างจริงจัง
4. เนื่องมาจากการเข้าทำลายของโรคทางราก และลำต้นในช่วงสามปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่การปลูกสตรอเบอรี่บางแห่งลดปริมาณลงไป กว่าครึ่ง เช่น ที่อำเภอแม่สายและฝาง ปัจจุบันก็ยังเป็นปัญหาอยู่โดยเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการแก้ไข หรือการควบคุม ป้องกันเรื่องโรคแมลงที่เป็นศัตรูต่าง ๆ รวมทั้งยังขาดการประสานงานและความช่วยเหลืออย่างทันเหตุการณ์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นอีกด้วย
5. ราคาผลผลิตต่อกิโลกรัมที่ค่อนข้างต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเช่น ผลผลิตส่งโรงงานกิโลกรัมละ 8-13 บาท และผลรับประทานสดเฉลี่ย กิโลกรัมละ 20-30 บาท

งานที่ต้องดำเนินการในอนาคต

การนำเข้าสตรอเบอรี่พันธุ์ใหม่ ๆ จากต่างประเทศที่ให้ผลผลิตได้เร็ว คุณภาพดีและเป็นพันธุ์ที่ต้องการความหนาวเย็นไม่มาก (Low chilling cultivars) มาทำการทดลองปลูกอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ ปีเท่าที่จะสามารถกระทำได้ ซึ่งมีความจำเป็นต้อง และพันธุ์คาฮัวคูล่า (Ka Hua Kula) ทั้งสองพันธุ์เคยนำมาปลูกในเมืองไทยแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในอาฟริกาใต้มี พันธุ์แปรงมัลเฮเบ (Frank Malherbe และ Fan Retief) ในออสเตรเลีย ได้ทดลองปลูกฝรั่งสายพันธุ์จากฮาวายไว้หลายเบอร์ แต่ clone ที่ได้แนะนำไว้ คือ clone หมายเลข GA 11-56T7, ในแคลิฟอร์เนีย มีฝรั่งสำหรับคั้นน้ำ 2 พันธุ์ คือ บลิทซ์ (Blitch) และพันธุ์ปาติลโล (Patillo)
คุณลักษณะของฝรั่งบางพันธุ์ พันธุ์ Beaumont ผลน้ำหนักประมาณ 235 กรัม มีความเป็นกรดค่อนข้างต่ำ (pH) ประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์เนื้อสูง สีชมพูกลิ่นหอม มีคุณภาพการแปรรูปเป็น puree (เนื้อฝรั่งบดหรือปั่น เป็นวัตถุดิบในการแปรรูป) ดีเยี่ยม พันธุ์ Ka Hau Kula น้ำหนักผลประมาณ 207277 กรัม เนื้อสีชมพู พันธุ์ Blitch มีผลทรงกลมมีรูปไข่ น้ำหนัก ประมาณ 112 กรัม พันธุ์ Patillo มีผลทรงกลมรูปไข่คล้ายพันธุ์ Blitch แต่กลมกว่า ทั้ง 2 พันธุ์นิยมปลูกเพื่อใช้คั้นน้ำ เพราะมีกรดสูงพันธุ์ Fan Retief รูปร่างคล้ายสาลี่ยุโรป ค่อนข้างกลม เนื้อแน่น สีชมพู รสเปรี้ยวเล็กน้อย ไวตามินซีสูง ทนต่อการขนส่งได้ดีมาก ผลไม่ร่วงง่ายเมื่อสุกจึงน่าจะใช้เป็นแม่พันธุ์ในการปรับปรุงพันธุ์สำหรับฝรั่งคั้นน้ำ พันธุ์ Frank Malherbe เป็นพันธุ์หนักกว่าพันธุ์ Fan Retief ผลสีเหลืองหรือเหลืองแก่ อาจมีสีแดงเป็นจ้ำ ๆ เนื้อสีแดงเข้ม แน่น แก่จัดจะฉ่ำน้ำ รสหวาน คุณภาพดีมากสำหรับทั้งกินสดและแปรรูป ไวตามินซีสูงมาก เมล็ดน้อย
คุณลักษณะของพันธุ์ฝรั่งสำหรับคั้นน้ำ ควรมีลักษณะคือ
1. ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เติบโตเร็ว ให้ผลผลิตได้เองโดยไม่ต้องใช้สารเคมีบังคับ
2. ให้ผลผลิตสูง คือ ออกดอกติดผลดก และผลใหญ่
3. เนื้อผลสีแดงหรือชมพูจะดีกว่าเนื้อสีเหลือง หรือสีขาว
4. มีน้ำตาล (TSS) และกรดต่าง ๆ สูง คือ เปรี้ยวจัด
5. ควรมีไวตามินซีสูง
6. มีกลิ่นหอมแรง
(Day-neutral cultivars) ก็สมควรที่จะต้องทำการศึกษาหาข้อมูลในการปลูกบนพื้นที่สูงเพื่อผลิตผลสตรอเบอรี่สดนอกฤดูด้วย สำหรับ ปัญหาในด้านการแปรรูปเช่นพันธุ์ที่เหมาะสม และตลาดส่วนใหญ่ต้องการระบบการปลูก รวมทั้งราคาผลผลิตที่ค่อนข้างต่ำอยู่ในขณะนี้ ก็สมควรที่จะต้องถูกนำมาพิจารณาแก้ไขโดยเร่งด่วน
ท้ายที่สุดนี้ยังคงมีความเป็นไปได้อย่างมากสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่ให้เป็นการค้าอย่างจริงจังในประเทศไทย เกษตรกรผู้ปลูกทั้งหมด กำลังรอความหวังจากมหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐและเอกชนเพื่อช่วยพวกเขาในการแก้ปัญหา การรวมกันขององค์ประกอบ ดังเช่น ภายใต้สภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยทางเศรษฐกิจ ตัวเกษตรกรเอง และการทำงานกันอย่างเต็มที่ของทีมงานวิจัยจากทางมหาวิทยาลัย ก็คาดได้ว่าจะส่งผลทำให้การปลูกสตรอเบอรี่ของประเทศไทยสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการค้าที่สดใส และเกิดมีชื่อเสียงมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้นี้
 

 

จัดทำโดยครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
โรงเรียสตรีศรีสุริโยทัย เขตสาทร กทม.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม  2006

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.